ผักแขยง เงินล้าน




ชื่อสมุนไพร ผักแขยง
ชื่ออื่นๆ - กะออม กะแยง คะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง(อุบลราชธานี) ผักพา(เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila geoffrayi Bonati.
ชื่อวงศ์ Scorphulariaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก- ฤดูเดียว สูง 10-35 เซนติเมตร
ลำต้น -เรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่น ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน
ใบ – ใบเดี่ยว  เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร  บ้านอะลาง

ขอบใบ - ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ
ดอก - ช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดเล็กๆคล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน

ผล - ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย 
เมล็ด - เมล็ดรูปร่างกลมรี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก
กลุ่มพรรณไม้น้ำ – ประเภทชายน้ำ ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย เป็นวัชพืชในนาข้าว
แหล่งที่พบ - พบทั่วไปตามบริเวณที่ชื้นแฉะ และริมคูน้ำของทุกภาค

การขยายพันธุ์
แยกกอ การปลูก
เตรียมพื้นที่ปลูกลักษณะคล้ายกับแปลงนาข้าวเพื่อปักดำโดยการทำเป็นแปลงนาเล็กๆ ขนาดประมาณ ๑๐ x ๑๐ เมตร ไถดะหรือใช้จอบขุดพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอก แล้วระบายน้ำเข้าหลังจากนั้นไถคลาด ใช้พันธุ์ที่เตรียมไว้มาดำลงในแปลงลักษณะคล้ายกับการดำนา ระยะปลูกประมาณ ๑๕ x ๒๐ เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ วัน จึงทำการหว่านปุ๋ยเคมีสูตร ๑๖-๑๖-๘ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕
โรคแมลงที่สำคัญ : มีน้อย


การเก็บเกี่ยว
หลังปลูก ๒๐-๓๐ วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ โดยวิธีการถอนแยกปล่อยส่วนโคนและรากให้เหลือติดไว้กับดิน หลังจากนั้นก็จะหวานปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร ๑๖-๑๖-๘ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕ แล้วให้น้ำขังระดับน้ำเหนือผิวดินประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร ภายในระยะเวลา ๑-๒ สัปดาห์ก็สามารถเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปได้




ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน
ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 3,000 บาท / ไร่ ถ้าใช้ปุ๋ยคอก และ แรงงานทำด้วยตัวเอง คาดว่าต้นทุนคงประมาณ ไม่เกิน 1,000
ผลผลิต ประมาณรวม 7,500 กิโลกรัม / ไร่
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 10 บาท / กิโลกรัม
รายได้รวม 75,000 บาท / ไร่ / รุ่น
รายได้สุทธิ 72,100บาท / ไร่ / รุ่น
ภาคอีสานขายได้ตลอดทั้งปี  บ้านอะลาง


ส่วนสรรพคุณทางยา 
ตำรายาพื้นบ้านระบุว่า นำทั้งต้นของ ผักแขยง รวมทั้งรากจำนวนตามต้องการล้างน้ำให้สะอาด เอาไปตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ในช่วงฤดูหนาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไข้หัวลม ได้ดี
ต้นของผักแขยงยังใช้กินเป็นยาขับน้ำนมในสตรี ขับลม และเป็นยาระบายท้องได้ดีด้วย นำต้นสดประมาณ 15-30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มแก้ไข้ ใช้ต้นสดต้มกับน้ำหรือคั้นเอาน้ำทาแก้คัน กลาก ฝี ต้นสดๆ ประมาณ 15 กรัม ตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสดขนาด 30 กรัม แล้วเอาไปผสมกับน้ำส้มปริมาณพอควร คั้นเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากนั้นเอาพอกรอบๆ แผล แต่อย่าพอกบนแผล แก้พิษงูที่ไม่มีพิษร้ายแรง

ส่วนประโยชน์ทางอาหาร 
รับประทานทั้งลำต้น
- ยอดอ่อนและใบอ่อน โดยรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับ แจ่ว ป่น ส้มตำ ลาบ ก้อยและซุบหน่อไม้
- เป็นเครื่องปรุงรสและแต่งกลิ่น แกงหน่อไม้ ต้มส้ม แกงอ่อมต่างๆ เช่น อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมปลา อ่อมเนื้อวัว อ่อมหอย ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว
ผักแขยง มีกลิ่นฉุนแมลงไม่ชอบ จึงปลอดภัยจากยาค่าแมลงค่ะ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่นิยมบริโภคผักพื้นบ้าน  เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง

การปลูกโกโก้



โกโก้  ลักษณะทางธรรมชาติ เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่  อายุยืนนับร้อยปี  กำเนิดในป่าชื้นเขตอเมริกาใต้ (บราซิล.  แม็กซิโก.  โคลัมเบีย.  ให้ผลผลิตตลอดปีแบบไม่มีฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ชอบแสงแดดรำไรหรือมีร่มเงาบ้าง ฝนชุก ต้องการไม้พี่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงตลอดไป  การปลูกโกโก้แซมแทรกในสวนมะพร้าวโดยมีมะพร้าว (อายุต้นมากกว่า 10 ปี) ช่วยบังแดด และมีกล้วยแซมแทรกบ้างเพื่อสร้างความชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะช่วยให้ต้นโกโก้เจริญเติบโตดี  บ้านอะลาง
             
อายุต้นหลังปลูก 3 ปี  เริ่มให้ผลผลิตและให้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 50 ปี ออกดอกติดผลตามลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่  ทุก 2-3 สัปดาห์ อายุผลตั้งแต่ออกดอก ถึง เก็บเกี่ยว 5-6 เดือนเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยวผลอ่อนมีสีเขียว  ผลแก่มีสีเหลืองอมส้ม  ผลแก่จัดสีเหลืองอมแสด

การเก็บเกี่ยว  ให้เลือกเก็บเฉพาะผลที่แก่สุกพอเหมาะ ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป เปลือกผลสีเหลือง  วิธีเก็บเกี่ยวให้ใช้กรรไกคมๆตัดขั้วผล หลังจากเก็บเกี่ยวผลชุดแรกไปแล้ว อีก 2-3 สัปดาห์โกโก้จะออกดอก ณ บริเวณใกล้เคียงอีก ถ้าใช้วิธีดึงผลจนเปลือกฉีกเป็นแผลบริเวณนั้นจะไม่ออกดอกหรือต้องใช้ระยะเวลานาน
             
หมายเหตุ : ธรรมชาติของโกโก้ออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นอาจไม่จำเป็นต้องบำรุงตามขั้นตอน หากต้นมีความสมบูรณ์อยู่เสมอจะออกดอกติดผลเอง.....การปลูกโกโก้แซมแทรกในสวนมะพร้าวซึ่งพืชทั้งสองชนิดนี้มีธรรมชาติ  การออกดอกติดผลเหมือนกันจึงใช้วิธีบำรุงร่วมกันได้หากต้องการผลผลิตเป็นรุ่นเดียวกันทั้งต้นทั้งแปลง เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตมาก และคุณภาพดีตามที่ตลาดต้องการก็จำเป็นต้องปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนเช่นเดียวกันกับไม้ผลทั่วๆไป

สายพันธุ์       
1. เวสแอฟริกัน อมิโลนาโด :เป็นพันธุ์นิยมปลูกมากที่สุดเพราะผสมเกสรในตัวเองได้ดี
    และคุณภาพเมล็ดเป็นที่ต้องการของตลาด              
2. ครีโอโล : ป็นพันธุ์ผลค่อนข้างใหญ่  กลิ่นจัด  เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมโกโก้
3. อั๊พเปอร์ อเมซอน : เป็นพันธุ์ให้ผลผลิตสูงและเร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ              
4. ทรินิ ตาริโอ : เป็นพันธุ์ต้านทานโรคดีที่สุดแต่ให้ผลผลิตต่ำ

การขยายพันธุ์ 
เพาะเมล็ดโดยการเลือกเมล็ดจากผลแก่จัดคาต้น สมบูรณ์  คุณภาพดี  ไม่มีโรคและแมลง  ต้นแม่ให้ผลผลิตดกดี  ออกดอกติดผลประจำทุกปี  อยู่ในดงหรือสวนโกโก้ขนาดใหญ่เมล็ดไม่มีระยะพักตัว  เมื่อได้มาจากต้นแล้วขยำเนื้อและเปลือกเหลือแต่เมล็ดใน  ผึ่งลมแห้งแล้วนำลงเพาะในวัสดุเพาะทั่วไปได้ทันทีโดยให้ส่วนตายอดอยู่ด้านบนและตารากอยู่ด้านล่างเสมอทั้งนี้จะวางเมล็ดแบบแบนราบหรือตั้งขึ้นก็ได้  ภายใน 7 วัน รากจะงอกถ้าไม่งอกแสดงว่าเมล็ดนั้นใช้การไม่ได้ บ้านอะลาง      

ระยะปลูก
เลือกพื้นที่ปลูกแซมแทรกในสวนมะพร้าวจึงให้พิจารณาตามความเหมาะสม  3 X 3 ม.
หรือ  3 X 2.5 ม. กรณีปลูกแซมแทรกในสวนมะพร้าว  ให้ห่างจากต้นมะพร้าว  3-4 ม.
อยู่ด้านร่มเงาของมะพร้าว

เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ             
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง              
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง                
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่มล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง
    - ให้มูลค้างคาว 1-2 กำมือ/ต้น/3 เดือน              

หมายเหตุ :   
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5   หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้    ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
          
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน
ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่   การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้      
  
    - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดเฉพาะช่วงสำคัญ เช่น เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  สะสมอาหาร  บำรุงผลกลาง       ช่วงละ 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 20-30 วัน.....ถ้าให้บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นเกิดอาการนิ่ง ไม่ตอบสนอง       ต่อสารอาหารหรือฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น

   - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความ      สมบูรณ์สูง
             
เตรียมต้น 
ตัดแต่งกิ่ง : ปกติโกโก้ที่ปลูกจากเมล็ดจะเจริญเติบโตทางสูงเป็นลำต้นเดี่ยวๆโดยอายุต้น 1 ปี-1 ปีครึ่งหลังปลูกจะสูงประมาณ 1.5-2 ม.  จากนั้นจะหยุดการเจริญเติบโตทางสูงแล้วเจริญเติบโตทางข้าง  มีกิ่งแขนงแตกออกทางข้าง 4-5 กิ่งเรียกว่า เรือนยอด จากนั้นก็จะแตกกิ่งกระโดงจากตาของกิ่งเรือนยอดเป็นกิ่งกระโดง เรียกว่า ชูพอน เมื่อชูพอนโตขึ้นก็จะสร้างเรือนยอดขึ้นมาอีก และตาของกิ่งเรือนยอดก็จะแตกกิ่งกระโดงออกมาอีก  เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนต้นมีขนาดทรงพุ่มสูงและใหญ่

     -โกโก้ต้นที่ให้ผลผลิตแล้วให้ตัดแต่งกิ่งโดยตัดกิ่งแห้ง  กิ่งเป็นโรค  กิ่งชี้เข้าในทรงพุ่ม กิ่งไขว้  เพื่อให้ภายในทรงพุ่มโปร่ง  แสงแดดและลมพัดผ่านสะดวก  ต้นที่ความสูงน้อยกว่า 1.5ม. ให้เลี้ยงกิ่งกระโดงที่เกิดใหม่ไว้ก่อน เพื่อให้สร้างเรือนยอดสำหรับเพิ่มความสูงให้แก่ต้น

     -ต้นที่สมบูรณ์มากๆจะมีหน่อแทงออกมาจากโคนลำต้นเหนือผิวดินเล็กน้อย ถ้าต้นมีความสูงพอเพียงแล้วให้ตัดหน่อทิ้งไปทั้งหมดตั้งแต่เริ่มแทงออกมาโดยตัดให้ชิดเปลือกลำต้น แต่ถ้าต้นยังได้ความสูงไม่พอเพียงก็ให้คงหน่อที่แข็งแรงไว้ 1-2 หน่อ เพื่อให้เป็นลำต้นใหม่แล้วสร้างเรือนยอดต่อไป

    - หลังจากตัดยอดประธานเพื่อควบคุมความสูงหรือยอดประธานหักเองจะมีหน่อเกิดใหม่ที่ใต้รอยตัดนั้นให้บำรุงหน่อใหม่จนเป็นต้นสำหรับทดแทนได้

    - การตัดแต่งกิ่งโกโก้ต้องทำทุก 1-2 เดือนเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งอยู่เสมอซึ่งจะส่งผลดีต่อการออกดอกติดผล
              

ตัดแต่งราก : 
โกโก้ช่วงต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งรากแต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้น  และมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม  ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อโกโก้          


หลักการและเหตุผล :              
    1.โกโก้ต้องปลูกแบบแซมแทรกระหว่างมะพร้าวเพื่ออาศัยมะพร้าวเป็นไม้พี่เลี้ยงตลอดชีวิตโกโก้จึงจะให้ผลผลิตดี  ระยะห่างระหว่างต้นมะพร้าวกับมะพร้าว หรือโกโก้กับโกโก้  หรือมะพร้าวกับโกโก้  จึงเอาแน่นอนไม่ได้
             
    2.โกโก้กับมะพร้าวมีนิสัยออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ตราบเท่าที่ต้นสมบูรณ์เหมือนกันต่างกันก็แต่อายุของผลผลิตเท่านั้น  จากหลักการและเหตุผลทางธรรมชาติของไม้ผลทั้งสองที่ต้องอยู่ร่วมกันนี้ แนวทางการปฏิบัติบำรุงให้ใช้วิธีการเดียวกันเป็นหลัก  จากนั้นจึงเลือกให้สารอาหารบางอย่างสำหรับมะพร้าวหรือโกโก้โดยเฉพาะเสริมด้วยการให้ทางใบหรือทางรากโดยตรง        


1.ระยะกล้า - ยังไม่ให้ผลผลิต          
      ทางใบ :          
    - ให้น้ำ 100 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. โดย
    -การฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ทุก 15-20 วัน            
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
            ทางราก :       
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(200-500 กรัม)/เดือน/ต้น/เดือน
    - ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก 2-3 วัน              

หมายเหตุ :  เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางใบและทางรากหลังจากต้นแตกใบใหม่ได้แล้ว 2-3 ใบ  โดยช่วง
                                ระยะต้นเล็กให้แต่น้ำเปล่าก็พอ              


2.ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้ว          
ทางใบ : ในรอบ 15-20 วัน ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 ครั้งกับให้น้ำ100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100ซีซี.+ เอ็นเอเอ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.อีก 1ครั้ง ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
ทางราก :           
ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-1/2 กก.)/เดือน/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน ให้น้ำเปล่าปกติ  ทุก 2-3 วัน              

หมายเหตุ :  ระยะต้นโตให้ผลผลิตแล้วถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นชะงักไม่ออกดอกและผลทั้งใน
                                ฤดูกาลปีนี้และฤดูกาลเดียวกันของปีต่อไป
   

3.บำรุง  “ดอก + ผล”  หลายรุ่น              
ทางใบ :              
สูตร 1.....ให้น้ำ 100 ล. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนสมส่วน 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 25 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2.....ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56(200-250 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + เอ็นเอเอ.25 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ไคโตซาน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

      เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งหรือใช้ทั้งสองสูตรสลับครั้งกัน ฉีดพ่นพอเปียกใบทุก 15-20 วัน
      ทางราก :              
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (200-250 กรัม)/เดือน/ต้น
    - ให้น้ำเปล่าทุก 2-3 วัน              
    - ช่วงก่อนเข้าหน้าหนาว (ฝนต่อหนาว) และช่วงหน้าแล้งต้องให้น้ำทุกวันหรือวันเว้นวันจะ
       ช่วยให้หน้าแล้งปีถัดไปผลโกโก้จะไม่ขาดต้น              

หมายเหตุ :           
    - ให้ไคโตซาน 2-3 เดือน/ครั้ง จะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้น
    - ถ้าติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 2-3 เดือน/ครั้ง โดยแบ่งให้ตลอดระยะ
       เวลาที่มีผลผลิตอยู่บนต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น
    - ให้สังกะสีคีเลต 2-3 เดือน/ครั้งจะช่วยให้เนื้อหนาและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 
เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง

การปลูกดอกทานตะวัน




ทานตะวัน   เป็นพืชฤดูเดียวมีระบบรากแก้วลึก ส่วนรากแขนงจะเจริญอยู่ในระดับ 30 เซนติเมตรจากผิวดิน มีลำต้นทรงสูง ใบใหญ่ เกิดสลับกันบนลำต้น มีการแตกแขนงของลำต้น สามารถให้ดอกได้  บ้านอะลาง  ทานตะวันแต่เดิมเป็นพันธุ์ที่ใช้ปลูกต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร จึงทำให้ติดเมล็ดยาก ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสม (แปซิฟิค 33, 44, 55, 29 และ77)  เป็นพันธุ์ที่ติดเมล็ดได้ดี  ไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดี  และทนต่อสภาพแห้งแล้งและร้อนได้เป็นอย่างลักษณะพันธุ์ของทานตะวันลูกผสม มีอัตราการงอกสูงกว่า 80% เป็นทานตะวันพันธุ์ลูกผสม เก็บเกี่ยวได้ภายใน 95-120 วัน ให้ผลผลิต 250-400 กิโลกรัม/ไร่ เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 16-20 เซนติเมตร สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีเยี่ยม  เพราะมีระบบรากลึกกว่า 3 เมตร (คุณสมบัติดังกล่าว ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์)  บ้านอะลาง


ฤดูปลูก
การปลูกทานตะวันควรปลูกปลายฤดูฝน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ด้วย  คือ ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียวสีดำ  ควรปลูกระหว่างเดือน กันยายน-พฤศจิกายน  และในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนทราย  ควรปลูกระหว่างเดือน ปลายสิงหาคม–ตุลาคม ในกรณีพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ สามารถปลูกในฤดูแล้งได้อีกครั้งหนึ่ง โดยปลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์



การเตรียมดิน
การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผิวดินร่วนซุย  อากาศถ่ายเทได้สะดวก  และสามารถเก็บรักษาความชื้นได้ดีรวมทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชในขั้นต้นอีกด้วย การไถเตรียมดิน  ควรทำเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ  ก่อนไถควรดายหญ้าให้เตียน หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 กิโลกรัม/ไร่ แล้วทำการไถดะให้ลึกที่สุด หลังจากนั้นจึงทำการไถแปรให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอตลอดแปลง  ถ้าแปลงเป็นที่ลุ่มน้ำขังควรทำร่องระบายน้ำรอบแปลง


วิธีการปลูก
การปลูกทานตะวันให้ได้ผลดี  ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี และมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง เพื่อให้ได้ต้นทานตะวันที่แข็งแรงสมบูรณ์และมีจำนวนต้นต่อไร่ที่เหมาะสม โดยปลูกทานตะวันขณะที่มีความชื้นในดินพอดี หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 2-3 เมล็ด  ระยะระหว่างหลุม40 เซนติเมตร  ระยะระหว่างร่องหรือแถว75 เซนติเมตร  กลบดินหนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ให้แน่นพอสมควร  หลังจากปลูกได้แล้ว 5-10 วัน  ให้ตรวจดูความงอก  จำนวนต้นต่อไร่  รวมทั้งการปลูกซ่อม หลังจากนั้น 5-8 วัน  ทำการถอนแยกให้เหลือ 1 ต้น/หลุม โดยเลือกถอนต้นที่มีขนาดเล็กหรือผิดปกติกว่าต้นอื่น การปลูกในระยะดังกล่าว จะใช้เมล็ดพันธุ์ทานตะวันเพียง 0.8 กิโลกรัม/ไร่  และจะได้ต้นทานตะวันประมาณ 6,400-8,500  ต้น/ไร่


การใส่ปุ๋ย
ก่อนหยอดเมล็ดควรใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 หรือ 25-7-7 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ อาจจะใช้ผงบอแร็กซ์ หรือโบรอน (B) อัตรา 2 กิโลกรัม/ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนทรายโดยหว่านให้ทั่วแปลงหรือผสมพร้อมปุ๋ยรองพื้น  เมื่อทานตะวันอายุ 25-30 วัน  ให้ทำรุ่นพูนโคนและกำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0  อัตรา 15-20  กิโลกรัม/ไร่  ห่างจากโคนต้น 20 เซนติเมตร (ระวังอย่าให้สัมผัสโดนใบ) เสร็จแล้วกลบปุ๋ยพูนโคนตามแถว


การกำจัดวัชพืช
ให้ใช้ยาคุมหญ้าประเภทอลาคลอร์  เมตลาคลอร์  อัตรา  300-400 ซีซี./ไร่  หรือ  7-8  ช้อนแกงต่อน้ำ 18-20 ลิตร  (ในกรณีใช้ถังโยกหรือมือฉีด) ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่เมล็ดจะงอกหรือใช้แรงงานจากเครื่องจักร หรือคนทำรุ่นตามความจำเป็น
ข้อควรระวัง  ห้ามใช้ยาอาทราซีน.กับทานตะวันโดยเด็ดขาด


การเก็บเกี่ยว
เมื่อทานตะวันมีอายุได้  95-120  วัน  จานดอกจะเริ่มเปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล  ให้เก็บเกี่ยวและตากแดดให้แห้ง 1-2 แดดก่อน แล้วจึงนวดโดยใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสง หรือใช้เครื่องสีข้าวฟ่างก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ควรทำความสะอาดเมล็ดให้ดีและเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด กันฝน  และแมลงศัตรูได้  ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บไว้ควรไม่เกิน 10%


โรคและแมลงศัตรูทานตะวัน
ในประเทศไทย ปัญหาโรคและแมลงศัตรูของทานตะวันพบน้อยแต่บางครั้งอาจมีปัญหาต่างๆ ดังนี้
ปัญหาเรื่องเมล็ดเน่าเสียหาย  เนื่องจากทานตะวันดอกค่อนข้างใหญ่  เมื่อเวลาเมล็ดแก่ จานดอกจะห้อยลง  และด้านหลังของจานดอกเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน  เมื่อมีฝนตก น้ำฝนจะขังอยู่ในที่ดังกล่าว  ทำให้เกิดการเน่าขึ้นเป็นส่วนมากและเมล็ดเสียหาย  ป้องกันโดยการปลูกทานตะวันปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-มกราคม  โดยที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนพฤศจิกายน, ธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์  และมีนาคม  และช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวมีฝนน้อยทำให้ได้เมล็ดทานตะวันมีคุณภาพดี


แมลงที่สำคัญ  ได้แก่ 
ผีเสื้อกลางคืน > มักเข้าทำลายเมื่อทานตะวันดอกบาน ป้องกันโดยใช้ยาฟูราดาน F4, ไพดริน
เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว และแมลงมวนเขียวข้าว > มักเข้าทำลายเมื่อทานตะวันอายุได้ 40-45  วัน  ป้องกันโดยใช้ยาอะโซดริน อัตรา 15 ซี.ซี./ไร่  น้ำ 20 ลิตร หรือใช้เซพวิน 3 ช้อนแกง/ไร่  น้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่น
การทำลายของนก > ป้องกันได้โดยการปลูกทานตะวันในฤดูฝน เนื่องจากอาหารในธรรมชาติของนกมีมาก  จึงไม่ทำลายทานตะวัน เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง

เห็ดถังเช่า กิโลเป็นแสน




เห็ดถั่งเช่า นับเป็นสมุนไพรที่ได้รับความสนใจจากบรรดาชายหนุ่มมากมาย สำหรับ "ถั่งเช่า"  หรือ "หนอนเทวดา" เห็ดมหัศจรรย์ที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างดีเยี่ยมพอ ๆ กับยาไวอะกร้า ยิ่งล่าสุด หลังจากได้มีการนำเห็ดชนิดนี้เข้ามาปลูก ในประเทศไทยได้สำเร็จแล้วดูเหมือนว่า "ถั่งเช่า" จะยิ่งได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้นเห็ดถั่งเช่า หรือ ชื่อเต็มว่า ตังถั่งแห่เช่า เป็นราแมลงในกลุ่ม Ascomycetes มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Cordyceps Sinensis ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหนอน ซึ่งเป็นหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง ส่วนบนของตัวหนอนที่มีเห็ดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. บ้านอะลาง

มีแหล่งกำเนิดเฉพาะถิ่น คือ ในพื้นที่สูง 4,000-5,000 เมตร จากระดับ น้ำทะเล เช่น....เช่น ประเทศจีน ภูฏาน และทิเบต เกิดขึ้นโดยสปอร์เชื้อราจะเข้าสู่ตัวอ่อนของ หนอนผีเสื้อค้างคาว ที่ฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และเมื่อถึงฤดูร้อน ก้านสปอร์จะเติบโต ขึ้นมาบนพื้นดิน ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนต้นหญ้าที่ขึ้นเฉพาะฤดูร้อน และด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า "ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า" หรือ "หนาวหนอนร้อนหญ้า"ถั่งเช่า มีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะสารคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) มีฤทธิ์บำรุงไต กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยรักษาสมดุลย์ของคลอเรสเตอรอลในหลอดเลือด และมีฤทธิ์บำรุงกำลังทางเพศ ดังนั้นเมื่อกินเห็ดชนิดนี้เข้าไป ก็จะส่งผลให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น ซึ่งจากงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่าหากกินถั่งเช่าวันละ 1 กรัม เป็น เวลา 46 วัน จะช่วยให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้นถึง 64% เลยทีเดียว  ( ปัจจุบัน ถั่งเช่า กิโลกรัมละ 200,000 บาท )


เห็ดถังเช่าแท้จากเมืองจีน

 
สรรพคุณของเห็ดถั่งเช่า ที่เราได้ยินกันมานาน ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยศิลปากร ศึกษาวิจัย จนได้สารอาหารที่ใช้เสริมรักษาโรคเบาหวานและมะเร็ง

นายแพทย์สมยศ กิตติมั่นคง หัวหน้ากลุ่มงานโรคเอดส์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เห็ดถั่งเช่า เป็นเห็ดหายาก พบได้ในจีนและภูฏาน ซึ่งก่อนหน้านี้พบสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ล่าสุดยังนำเห็ดถั่งเช่ามาเป็นส่วนประกอบผลิตสารอาหารชนิดพิเศษ ที่ใช้ควบคู่กับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเรื้อรัง และโรคมะเร็งในตับและลำไส้ได้ผลดี หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารอาหารจากเห็ดถั่งเช่าผสมเห็นหลินจือ และจมูกข้าว ไม่เกิน 2 สัปดาห์

วิธีการทำเรียกว่าเทคนิคไบโอ คือนำเอาเห็ดถั่งเช่า เห็นหลินจือ และจมูกข้าว มาทำวิธีการฟรีซ และดราย คือทำให้เห็นทั้งสองชนิดเป็นน้ำแข็งด้วยอุณหภูมิ ลบ 40 องศาเซลเซียส ก่อนนำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาผสมหาสารสกัด บรรจุใส่เม็ดแคปซูล ในแง่ของการออกฤทธิ์ โดยปกติเห็ดมีสารเม็ตตาบอไลท์ และสารที่มีสิ่งมีชีวิต สร้างออกมาเป็นแอนตี้บอติก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

ผลจากการศึกษาค้นคว้านานถึง 2 ปี โดยทดสอบในผู้ป่วยที่สมัครใจ ทั้งมะเร็ง และเบาหวานจำนวน 100 คน พบว่าเมื่อรักษาควบคู่กับการกินสารอาหารที่มีเห็ดถั่งเช่า โดยให้กินวันละ 4 เม็ดต่อเนื่อง 2-3 เดือนก็จะเห็นผล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ถึงขั้นจะต้องตัดขาทิ้ง ก็กลับพบว่าแผลดีขึ้น และหายเป็นปกติ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ทางผู้วิจัยได้ประกาศหาโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ



        

“เห็ดถั่งเช่าสีทอง” เพาะในประเทศไทย
     
เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว มีการประชุมเห็ดเป็นยานานาชาติขึ้นที่เมืองหนานตง ประเทศจีน โดยมีนักวิทยาศาสตร์และผู้คนสนใจจากทั่วโลกนับพันคน และถือว่า เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของประเทศจีน ที่เป็นผู้นำในการใช้เห็ดเป็นยาสืบทอดกันมานับพันๆปี ทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับเห็ดเป็นยา โดยเป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้คนในแถบเอเซีย เป็นชนชาติที่ใช้เห็ดพื้นบ้านหรือเห็ดธรรมชาติหลากหลายชนิดเป็นยา ยิ่งมีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ วิจัย ยิ่งทำให้รู้ว่า มีเห็ดมากมายหลายชนิด มีคุณสมบัติทางยาที่น่าสนใจ จนกระทั่ง ปัจจุบัน มีประเทศที่เจริญทางวิชาการ ที่แต่เดิมเคยสนใจแต่ การเพาะเห็ดเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ปัจจุบัน กลับให้ความสนใจ ที่จะทำการเพาะและผลิตเห็ดเป็นยาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ไปเลย เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา และมาเลเซีย รวมทั้งจีนที่แม้ทางรัฐบาลกำลังทุ่มเทสนับสนุนให้มีการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ โดยใช้เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น จากอดีตที่เคยเพาะเห็ดไม่ถึง 1 ล้านตันต่อปี ขณะที่ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 5-6 ล้านตัน แต่ปัจจุบัน ประเทศจีน สามารถเพาะเห็ดเศรษฐกิจได้มากกว่า 20 ล้านตัน มากกว่าประเทศอื่นใดรวมกัน 3-4 เท่า บ้านอะลาง


อานนท์ เอื้อตระกูล
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส(เห็ด)
องค์การสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2524-2548

                เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว มีการประชุมเห็ดเป็นยานานาชาติขึ้นที่เมืองหนานตง ประเทศจีน โดยมีนักวิทยาศาสตร์และผู้คนสนใจจากทั่วโลกนับพันคน และถือว่า เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของประเทศจีน ที่เป็นผู้นำในการใช้เห็ดเป็นยาสืบทอดกันมานับพันๆปี ทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับเห็ดเป็นยา โดยเป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้คนในแถบเอเซีย เป็นชนชาติที่ใช้เห็ดพื้นบ้านหรือเห็ดธรรมชาติหลากหลายชนิดเป็นยา ยิ่งมีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ วิจัย ยิ่งทำให้รู้ว่า มีเห็ดมากมายหลายชนิด มีคุณสมบัติทางยาที่น่าสนใจ จนกระทั่ง ปัจจุบัน มีประเทศที่เจริญทางวิชาการ ที่แต่เดิมเคยสนใจแต่ การเพาะเห็ดเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ปัจจุบัน กลับให้ความสนใจ ที่จะทำการเพาะและผลิตเห็ดเป็นยาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ไปเลย เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา และมาเลเซีย รวมทั้งจีนที่แม้ทางรัฐบาลกำลังทุ่มเทสนับสนุนให้มีการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ โดยใช้เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น จากอดีตที่เคยเพาะเห็ดไม่ถึง 1 ล้านตันต่อปี ขณะที่ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 5-6 ล้านตัน แต่ปัจจุบัน ประเทศจีน สามารถเพาะเห็ดเศรษฐกิจได้มากกว่า 20 ล้านตัน มากกว่าประเทศอื่นใดรวมกัน 3-4 เท่า


ขวดหัวเชื้อเห็ดถังเช่าสีทอง

    กระนั้นก็ตาม ทางการของจีนก็ยังให้การสนับสนุนทั้งทางภาครัฐและเอกชน ให้มุ่งไปทำการผลิตและศึกษาเห็ดเป็นยามากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ยกตัวอย่างเช่น แต่เดิม เขตปกครองตัวเองทิเบต ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกประเทศจีนยึดครองมานั้น ในอดีต ความเป็นอยู่ของชาวทิเบตถือว่า ค่อนข้างยากจน แทบจะไม่มีสินค้าเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ต้องพึ่งสินค้าที่สำคัญต่อการอุปโภคและบริโภคจากผืนแผ่นดินใหญ่ คือ จีน แต่เมื่อมีการศึกษาเรื่องเห็ดเป็นยา พบว่า ที่ทิเบต มีเห็ดชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับหนอนที่อาศัยอยู่พื้นที่สูงๆ โดยสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 4,000 เมตรขึ้นไป ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่ อากาศหนาวและมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดทั้งปี หนอนดังกล่าว จะออกมาหาอาหารหลังจากหิมะละลายในฤดูร้อนที่มีในช่วงระยะเวลาอันสั้น เมื่ออากาศเย็น มันจะหลบลงรู จำศีลอยู่ในรูไม่ขยับเขยื้อนครั้งละหลายเดือน ซึ่งการที่มันออกมาหาอาหาร กินน้ำค้างในช่วงฤดูร้อนนั้น หากตัวมันเองไปมีบาดแผล เพราะการเคลื่อนไหว มันก็จะเป็นโรคแล้วค่อยๆตายไปในที่สุด เมื่อมันตายไป เชื้อโรคที่อยู่ในตัวมัน จริงๆแล้ว ก็คือ เชื้อเห็ดชนิดหนึ่งนั่นเอง มันจะกินตับไตไส้พุงในตัวหนอนจนไม่มีอะไรเหลือ ยกเว้นปลอกหุ้มตัวหนอนเท่านั้น แล้วมันก็จะรวมตัวกันสร้างดอกเห็ดขึ้นมาเพื่อรับอากาศและสร้างสปอร์เพื่อสืบลูกสืบหลานต่อไป คนทิเบตพบว่า หากนำเอาเห็ดที่เป็นตัวหนอน ที่เรียกว่า ตังถั่งเช่ามาทานแล้ว จะทำให้กำลังวังชาดีขึ้น จึงเป็นที่นิยมกันสำหรับผู้คนที่ต้องการเสริมพละกำลัง

เห็ดถังเช่ากำลังเกิดดอกในขวดเพาะ


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกีฬาที่จะต้องใช้พละกำลังค่อนข้างมาก จนกระทั่งในปี 2536 นักกีฑาจีนที่ไปแข่งวิ่งมาราธอนตั้งแต่ 10,000 ม. ขึ้นไป สามารถกำชัยชนะมาได้มากถึง 9 คน และทำลายสถิติโลกด้วย หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา มีการแข่งก๊ฑาประเภทเดียวกันที่เยอรมัน ก็พบว่า นักกีฑาจีนสามารถวิ่งระยะไกลได้ดีกว่าชาติไหน โดยได้รับการเปิดเผยว่า เคล็ดลับที่ทำให้นักกีฑาจีนสามารถวิ่งระยะไกลได้ดีกว่าคนในชาติอื่นนั้น เป็นเพราะนักกีฑาเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ทานเห็ดตัวถั่งเช่าทั้งสิ้น ในช่วงที่กำลังมีข่าวฮือฮากันนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อที่จะยับยั้งการใช้ตังถั่งเช่าให้แก่นักกีฬาก่อนการแข่งขัน ปรากฏว่า ไม่สามารถกระทำได้ เพราะตังถั่งเช่า หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า ถั่งเช่านั้น คือ อาหารเสริมจากธรรมชาติ ไม่ใช่ยากระตุ้น จึงอนุญาตให้ใช้ได้ จากจุดนี้เอง ทำให้เห็ดหนอน หรือเห้ดถั่งเช่า กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และจากการที่เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันเฉพาะคนทิเบตหรือคนภูฎานในราคาถูกมาก ตัวละไม่กี่บาท กลายเป็นสินค้าที่ทั่วโลกต้องการ และเนื่องจากมีปริมาณที่จำกัด ราคาจึงถีบตัวขึ้นนับพันนับหมื่นเท่า

ปัจจุบัน เห็ดถั่งเช่าเกรดเอ ขนาด 2,500 – 3,000 ตัวต่อ กก. ราคาที่ตลาดซิหนิง ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของทิเบตที่ติดกับจีน ประมาณ 3-4 ล้านบาท ปัจจุบันที่เมืองซิหนิง ที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ผู้คนนับหมื่นนับแสน หรือเมืองทั้งเมือง มีการค้าเห็ดถั่งเช่ากันขวักไขว่ไปหมด ดังนั้น ในงานประชุมเห็ดเป็นยานานชาติ ครั้งที่ 5 ที่เมืองหนานตง เมื่อ 3 ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณในการจัดประชุมประสพผลสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้คนรู้จักประเทศจีนมากขึ้น และรู้ว่า ประเทศจีนมีการผลิตเห็ดเป็นยากันอย่างจริงๆจังๆ จึงทำให้เกิดมีอุตสาหกรรมเห็ดเป็นยาเกิดขึ้นใหม่อย่างมากมาย กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่โดดเด่นที่สุดอีกแขนงหนึ่งของจีนในปัจจุบัน แน่นอน การประชุมเห็ดเป็นยานานชาตินั้น จะหมุนเวียนกันไปตามประเทศสมาชิกต่างๆทั่วโลก โดยจะจัดขึ้นในทุกๆ 2 ปี โดยประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพ ที่พัทยา ในการประชุมครั้งที่ 2 ปีที่แล้ว(2554) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ที่ประเทศโครเอเซีย ที่เมืองซีเกรป ครั้งที่ 7 ก็น่าจะเป็นประเทศอื่นที่ยังไม่เคยจัด แต่ด้วยผลประโยชน์ที่เคยได้รับอย่างมหาศาลในการจัดครั้งที่ 5 ที่เมืองหนานตง ปรากฎว่า ในการจัดครั้งที่ 7 ที่จะถึงในปีหน้า คือ ปี 2556 นั้น รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบมหาศาล เพื่อขอให้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเห็ดนานชาติขึ้นอีก ณ ที่เดิม คือ ที่บริษัทอัลเฟ เมืองหนานตงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้ ทราบว่าได้มีการเตรียมการและจัดงานยิ่งใหญ่กว่าครั้งที่ 5 อย่างแน่นอน

และที่แน่ๆ เห็ดที่น่าจะเป็นพระเอกที่สุด ก็คือ เห็ดถั่งเช่านั้นเอง ซึ่งตอนนี้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่า เห็ดถั่งเช่าที่มีคุณสมบัติทางยานั้น ไม่จำเป็นต้อง เป็นเห็ดถั่งเช่าที่มาจากที่สูง เช่น ทิเบตหรือที่ประเทศภูฎานเท่านั้น ยังมีเห็ดถั่งเช่าอีกหลายชนิด หนึ่งในนั้น คือ เห็ดถั่งเช่าสีทอง ซึ่งได้มีการค้นพบว่า เห็ดถั่งเช่าสีทองมีสารชนิดเดียวกับเห็ดตังถั่งเช่า หรือเห็ดถั่งเช่าที่มาจากทิเบตและภูฎาน แต่มีปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์เป็นยาสูงกว่าหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร Cordycepin  และ Cordycepic acid ซึ่งเป็นสารหลักในการช่วยในขบวนการหายใจ ทำให้ร่างกายรับและนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นตัวช่วยเสิรมสร้างภูมคุ้มกันได้อย่างดีเลิศ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับ ผู้ป่วยพักฟื้นจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคมะเร็ง โรคไต ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นเหตุให้เห็ดพวกนี้เป็นที่นิยมและต้องการในตลาดสูง เพราะมันมีผลต่อการเสริมสร้างพลังทางเพศ และเชื้ออสุจิที่แข็งแรงขึ้นเหมาะสำหรับผู้ที่เสื่อมสมรรถนะทางเพศ หรือผู้ชายที่มีบุตรยาก อันเนื่องจากเชื้อตัวผู้ไม่แข็งแรง

ดังนั้นที่ประเทศไต้หวัน จึงได้ทำการเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทองเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง โดยส่วนใหญ่ ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะทำเพื่อจำหน่ายเป็นยาบำรุงร่างกายแก่มนุษย์เท่านั้น ยังมุ่งเน้นที่เอาไปใช้กับสัตว์ เพื่อนำไปผสมกับอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สัตว์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี นอกจากนี้ ยังนำเอาไปใช้ในการเพิ่มสมรรถนะของพ่อพันธุ์สัตว์ เช่น วัว หมู ไก่ ให้สามารถทำการผสมพันธุ์ได้นานยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างที่ อเมริกา ปกติ พ่อวัวพันธุ์ ที่จำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลในการพัฒนากว่าจะได้พ่อวัวพันธุ์ดีเอาไว้รีดน้ำเชื้อ แต่ก็สามารถรีดน้ำเชื้อได้สูงสุดประมาณ 2 ปี เท่านั้น แต่หากนำเอาเห็ดถั่งเช่าสีทองผสมเข้าไปในอาหารในปริมาณที่เหมาะสม สามารถยืดอายุที่สามารถรีดน้ำเชื้อได้นานกว่า 4 ปี หรือกว่า 1 เท่าตัว ซึ่งอาหารเสริมที่ทำจากเห็ดถั่งเช่าสีทองที่ใช้กับสัตว์นั้น ประเทศไทยก็นำเข้าจากไต้หวันปีๆหนึ่งเป็นเงินหลายร้อยล้านบาท


จากเหตุผลดังกล่าว ทางอานนท์ไบโอเทค จึงได้ทำการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองเป็นธุรกิจมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่เป็นการผลิตภายใต้สัญญาผูกขาดเพื่อส่งออกเท่านั้น บัดนี้สัญญาผูกขาดได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงถือว่าเป็นไท ที่ทางอานนท์ไบโอเทคพร้อมที่จะเผยแพร่ให้แก่สาธารณชนแล้ว โดยจากนี้ไป ทางอานนท์ไบโอเทค จะทำการถ่ายทอดเทคโนโลยี่เรื่องเห็ดเป็นยาหลายชนิดอันได้แก่ เห็ดถั่งเช่าสีทอง เห็ดกระดุมบราซิล เห็ดไมตาเก๊ะ เห็ดกระถินพิมาน เห็ดเยื่อไผ่ เห็ดตีนแรดหิมาลัย การผลิตเอ็นไซม์จากเห็ด การผลิตซูเปอร์รอยัลครีมจากเห็ดเป็นต้น  เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง

การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว


แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีน ชวา ไทย สุมาตรา อินเดีย ปากีสถาน และยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว  สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ  บ้านอะลาง

อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ
1. ความเป็นอยู่ 
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส 

2. นิสัยการกินอาหาร 
2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว 

2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน 

3. การแยกเพศ
ลักษณะภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ
ภาพที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะปลาตัวผู้และตัวเมียที่สมบูรณ์เพศ
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะเพศปลาตัวผู้และตัวเมีย


การอนุบาลลูกปลา
บ่อที่ใช้เป็นบ่อดินขนาดประมาณครึ่งไร่ถึงหนึ่งไร่ ความลึกประมาณ 1 เมตร ก่อนปล่อยลูกปลาต้องเตรียมบ่อให้ดีเพื่อกำจัดศัตรูและเพิ่มอาหารของ ลูกปลาในบ่อ การอนุบาลลูกปลาตะเพียนขาวนี้ระดับน้ำในบ่ออนุบาลขณะเริ่ม ปล่อยลูกปลาควรอยู่ในระดับ 30 - 40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำ สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตรเพื่อรักษาคุณสมบัติน้ำ ส่วนการใส่ปุ๋ยนั้นหากวางแผน จะอนุบาลด้วยอาหารสมทบเพียงอย่างเดียวก็ไม่ต้องเติมปุ๋ยในบ่อ

อนึ่ง การขนย้ายลูกปลาลงบ่อดินเมื่อย้ายลูกปลาลงบ่อดินแล้วให้อาหาร ซึ่งอาจใช้ไข่ต้มเอาแต่ไข่แดงนำไปละลายน้ำและกรองผ่านผ้าโอลอนแล้ว นำไปบรรจุในกระบอกฉีดน้ำและพ่นให้ทั่วผิวน้ำหรือตักราดให้ทั่วบ่อ ปริมาณไข่ที่ให้ขึ้นอยู่กับพื้นที่บ่อ บ่อ 1 ไร่ ปล่อยลูกปลาประมาณ 1,000 - 1,500 ตัว/ตารางเมตร

เมื่อลูกปลาโตขึ้น ในวันที่ 5 จะเริ่มลดอาหารไข่และให้รำละเอียด โดย ค่อย ๆ โรยทีละน้อยรอบ ๆ บ่อกะให้รำแผ่กระจายเป็นพื้นที่กว้างประมาณ 1 วา จากขอบบ่อ เพราะลูกปลาส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ การสังเกตการกิน อาหารทำยาก เพราะลูกปลายังไม่ขึ้นมากินที่ผิวน้ำ แต่จะคอยกินอาหารที่ค่อยๆ จมลง หลังให้อาหารแล้วใช้แก้วตักลูกปลามาดู ถ้าลูกปลากินอาหารดีท้องจะขาว เห็นชัดเจน เมื่ออนุบาลไปได้ประมาณ 2 สัปดาห์ลูกปลาจะเริ่มขึ้นมากินอาหาร ที่ผิวน้ำจะสังเกตการกินอาหารได้ง่ายขึ้น โดยจะโรยรำด้านเหนือลม รำจะค่อย ๆ ลอยโปร่งตรงข้ามต้องคอยสังเกตว่าเศษรำที่ลอยมาติดขอบบ่อมีมากน้อย เพียงใด ถ้ามีมากก็แสดงว่าให้อาหารมากเกินไปต้องลดอาหารลง


ภาพที่ 9 การให้อาหารเช่น รำ แก่ลูกปลาที่อนุบาลในบ่อดิน
อาหารที่ให้นี้ ถ้าให้ได้คุณค่าทางโภชนาการดียิ่งขึ้นควรผสมปลาป่น ร่อนแล้วในอัตราส่วน รำ : ปลาป่นเท่ากับ 3 : 1 การให้รำอาจจะให้วันละ 3 - 4 ครั้ง ในระยะแรก ๆ และลดลงเหลือ 2 ครั้งในเวลาต่อมา โดยทั่วไปเมื่ออนุบาล ได้ 4 - 6 สัปดาห์จะได้ลูกปลาขนาดประมาณ 1 นิ้ว อัตรารอดประมาณร้อยละ 30 - 40 ซึ่งหมายความว่าจะได้ลูกปลาจำนวน 480,000 - 640,000 ตัว/ไร่  บ้านอะลาง


การใส่ปุ๋ยในบ่อปลา
อัตราการใส่ปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 150-200 กิโลกรัม /ไร่ ใส่ทุก ๆ ช่วง 2 - 3 เดือนปริมาณแตกต่างกันไปตามสภาพของบ่อ และความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยง สำหรับอัตราการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็จะ แตกต่างกันไปตามชนิดของปุ๋ยคือ
ปุ๋ยฟอสเฟต เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด พอสรุปได้ว่าควรใช้ประมาณ 25 - 30 กิโลกรัมต่อ 6 ไร่ต่อ 6 เดือน
ปุ๋ยไนโตรเจน อัตราการใช้ไม่ค่อยแน่นอนแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียเหลว มีไนโตรเจนอยู่ 20 เปอร์เซ็นต์ใช้ 150 ลิตรต่อ 6 ไร่ ส่วนผสมปุ๋ย เอ็น - พี - เค 300 - 500 กิโลกรัมต่อ 6 ไร่ต่อปี

การเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดินบ่อที่เหมาะสมควรมีขนาดเนื้อที่ที่ผิวน้ำ มากกว่า 400 ตารางเมตรขึ้นไป ลึกประมาณ 1- 1.5 เมตร หลังจากเตรียมบ่อ ดังได้กล่าวมาแล้ว ปล่อยลูกปลาขนาด 1.5 - 2 เซนติเมตร ในอัตรา 3 - 4 ตัว/ตารางเมตรให้อาหารวันละ 2 เวลา เช้า - เย็น ในอัตรา 3 - 4 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปลา รูปแบบบ่อที่ใช้เลี้ยงควรมีระบบการระบายน้ำที่ดี

การเลี้ยงปลาตะเพียนในนาข้าว ควรมีเนื้อที่ประมาณ 10 - 15 ไร่ การดัดแปลงพื้นที่นาให้เป็นนาปลาก็สามารถปฏิบัติได้ง่าย โดยขุดดินในพื้นที่นา รอบๆ ถมเสริมคันดินให้สูงขึ้นทำให้มีความแข็งแรงจะทำให้เกิดคูรอบคันดิน สามารถเก็บกักน้ำให้ขังอยู่ในพื้นที่นา ใช้สำหรับเลี้ยงปลา คูที่ขุดนี้ควรมีขนาด กว้างไม่น้อยกว่า 50 ซม. ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร คันดินควรสูงประมาณ 75 - 100 เซนติเมตร เหลือให้คันดินสูงกว่าระดับน้ำสูงประมาณ 60 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร มุมที่จะเป็นทางระบายน้ำออกจากนาควรเป็นด้านที่ต่ำสุด ถ้าเป็นไปได้ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 60 - 70 เซนติเมตรไว้เพื่อ สะดวกในการจับปลา โดยปลาจะมารวมกันเองในหลุมนี้เมื่อเวลาน้ำลดในฤดู เก็บเกี่ยวขนาดของปลาที่ปล่อยใช้ขนาด 3 - 5 เซนติเมตรขึ้นไป ปล่อยอัตรา 400 - 600 ตัว/ไร่ การใส่ปุ๋ยและการให้อาหารจะใช้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบอื่นๆ เราจะให้อาหารเพียงวันละครั้ง การปล่อยปลาจะปล่อยหลังจากดำกล้าประมาณ 7 วัน 
ปล่อยน้ำเข้านาให้สูงประมาณ 1 ฟุต ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 - 4 เดือน ซึ่งจะพอดีกับข้าวสุกปลาก็โตมีขนาดพอนำไปจำหน่ายตาม ท้องตลาดได้ การเลี้ยงปลาตะเพียนขาวสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เพื่อเป็น การใช้ประโยชน์ภายในบ่อให้ได้เต็มที่ปลาแต่ละชนิดที่ปล่อยลงเลี้ยงร่วมกันจะ ต้องโตได้ขนาดตลาดในเวลาพร้อมกันเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ปลาที่ เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวจะต้องไม่มีนิสัยที่ชอบทำร้ายปลาชนิดอื่น และไม่ควรเป็นพวกปลากินเนื้อ ปลาที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการนอกจากใช้อาหารธรรมธาติ ซึ่งมีอยู่ในบ่อเลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลา มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าว ได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำ ปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็น เม็ดกลม ๆ ขนาดเท่าๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ใช้โปรยให้กินสด ๆ) เศษผักต่างๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าว ที่ต้มสุก, กากถั่วเหลือง, กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วน อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของพวกสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ากับรำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ใน กระบะไม้ในบ่อ


ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
ปัญหาทั่วไปที่มักจะพบ ได้แก่ ปลา ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ทั้งนี้ เพราะไม่ได้ถ่ายเทน้ำเป็นประจำ จึงทำให้เกิดเห็บปลาและหนอนสมออันเป็นพยาธิ ของปลา หรือโรคจากบักเตรี ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงปลาแน่นเกินไป

ศัตรูของปลาตะเพียนขาว ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด งูกินปลา และนก ฯลฯ
ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่ง คือ การลักขโมยซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น ใช้ตาข่าย แห กระชัง ลอบ ทำให้นักเลี้ยงปลาประสบการขาดทุนมาก หลายรายแล้ว
อนึ่ง ปัญหาเหล่านี้ผู้เลี้ยงควรศกษาและแก้ไขโดยใกลชิด พร้อมทั้ง ปฏิบัติตามคำแนะนำในด้านวิชาการจากเจ้าหน้าที่ของกรมประมงอย่างเคร่งครัด

รูปร่างลักษณะ
ปลาตะเพียนขาวมีลักษณะลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปาก ขอบส่วนหลังโค้งยกสูงขี้นความยาวจากสุดหัวจรดปลายหาง 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ ต้นของครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับเกล็ด ที่สิบของเส้นข้างตัว เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวมี 29 -31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงิน ส่วน หลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว ที่โคนของเกล็ดมีสีเทาจนเกือบดำ ปลาตะเพียนขาว ขนาดโตเต็มที่มีลำตัวยาวสูงสุดถึง 50 เซนติเมตร



การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว
ในการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เอง บ่อขุนเลี้ยง พ่อแม่พันธุ์ควรเป็นบ่อดินขนาดประมาณ 400 ตารางเมตร ถึง 1 ไร่โดยปล่อย ปลาเพศผู้เพศเมีย แยกบ่อกันในอัตราประมาณ 800 ตัว/ไร่ให้ผักต่างๆ หรือ อาหารผสมในอัตราประมาณร้อยละ 3 ของน้ำหนักตัว การเลี้ยงพ่อแม่ปลา อาจจะเริ่มในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน โดยคัดปลาอายุประมาณ 8 เดือน แยกเพศและปล่อยลงบ่อ เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ควรตรวจ สอบพ่อแม่ปลา ถ้าอ้วนเกินไปก็ต้องลดอาหาร หากผอมเกินไปก็ต้องเร่งอาหาร ทั้งนี้ควรจะถ่ายน้ำบ่อยๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของไข่และน้ำเชื้อ การเพาะพันธุ์ จะเริ่มได้ประมาณเดือนมีนาคมถึงกันยายน โดยพ่อแม่พันธุ์จะพร้อมที่สุด ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

1. การคัดพ่อแม่พันธุ์
ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่จัดจะมีท้องอูมโป่งและนิ่ม ผนังท้องบาง ช่องเพศและช่องทวารค่อนข้างพองและยืน ส่วนปลาเพศผู้แทบจะไม่มีปัญหา เรื่องความพร้อมเนื่องจากสร้างน้ำเชื่อได้ดีเกือบตลอดปี

2. การฉีดฮอร์โมน
โดยทั่วไปจะใช้ต่อมใต้สมองจากปลาจีน หรือปลายี่สกเทศ ฉีดใน อัตรา 1.5 - 2 โดส ขึ้นกับความต้องการของแม่ปลา ฉีดเพียงเข็มเดียว ปลาเพศผู้ไม่ต้องฉีด ตำแหน่งที่นิยมฉีดใต้เกล็ดบริเวณใต้ครีบหลังเหนือเส้น ข้างตัวหรือบริเวณโคนครีบหู ในบางพื้นที่นิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRN ฉีดในอัตรา 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ควบคู่กับยาเสริมฤทธิ์ Domperidone ในอัตรา 5 - 1O มิลลิกรัม/กิโลกรัม จะมีผลให้ปลาวางไข่เช่นเดียวกัน

ภาพที่ 3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมเทียม
ภาพที่ 4 การฉีดฮอร์โมน


3. การผสมพันธุ์  การผสมพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือ
3.l ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง
หากเลือกวิธีการนี้เมื่อฉีดฮอร์โมนเสร็จ ก็จะปล่อยพ่อแม่ปลาลง ในบ่อเพาะรวมกัน โดยใช้อัตราส่วนแม่ปลา l ตัว/ปลาเพศผู้ 2 ตัว บ่อเพาะ ควรมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 ตารางเมตร ลึกประมาณ l เมตร บ่อขนาดดังกล่าว จะปล่อยแม่ปลาได้ประมาณ 3 ตัว เพื่อความสะดวกในการแยกพ่อแม่ปลา ควรใช้อวนช่องตาห่าง ปูในบ่อไว้ชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงปล่อยพ่อแม่ปลาลงไป แม่ปลาจะวางไข่หลังการฉีดประมาณ 4 - 7 ชั่วโมง โดยจะไล่รัดกันจนน้ำ แตกกระจาย เมื่อสังเกตว่าแม่ปลาวางไข่หมดแล้ว ก็ยกอวนที่ปูไว้ออกพ่อแม่ปลา จะติดมาโดยไข่ปลาลอดตาอวนลงไปรวมกันในบ่อ จากนั้นก็รวบรวมไข่ปลา ไปฟักในกรวยฟัก การผสมพันธุ์วิธีนี้มีข้อดีในเรื่องคุณภาพของไข่ที่ได้มักจะ เป็นไข่ที่สุกพอดี นอกจากนั้นผู้เพาะยังไม่ต้องเสียเวลารอด้วย แต่ในบางครั้ง ปลาตัวผู้อาจไม่ฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทำให้ไข่ที่ได้ไม่ฟักเป็นตัว นอกจากนั้น ไข่ที่รวบรวมได้มักจะไม่สะอาด

3.2 วิธีการผสมเทียม
หลังจากฉีดประมาณ 4 - 5 ชั่วโมงจะสามารถรีดไข่ปลาใดโดยปลา จะมีอาการกระวนกระวายว่ายน้ำไปมารุนแรงผิดปกติ บางตัวอาจจะขึ้นมาฮุบ อากาศบริเวณผิวน้ำ เมื่อพบว่าปลามีอาการดังกล่าวกีดวรตรวจดูความพร้อม ของแม่ปลา โดยจับปลาหงายท้องขึ้นโดยตัวปลายังอยูในน้ำและบีบบริเวณใกล้ ช่องเพศเบา ๆ หากพบว่าไข่พุ่งออกมาอย่างง่ายดายก็นำแม่ปลามารีดไข่ได้ การผสมเทียมใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลงโดยใช้ผ้าขับตัวปลาให้แห้ง แล้วรีดไข่ลง ในภาชนะที่แห้งสนิท จากนั้นนำปลาตัวผู้มารีดน้ำเชื้อลงผสม ในอัตราส่วนของ ปลาตัวผู้ 1- 2 ตัว ต่อไข่ปลาจากแม่ไข่ 1 ตัวใช้ขนไก่คนไข่กับน้ำเชื้อจนเข้ากันดี แล้วจึงเติมน้ำสะอาดเล็กน้อยพอท่วมไข่การคนเล็กน้อยในขั้นตอนนี้เองเชื้อตัวผู้ ก็จะเข้าผสมกับไข่  จากนั้นจึงเติมน้ำจนเต็มภาชนะถ่ายน้ำเป็นระยะๆ เพื่อล้างไข่ ให้สะอาด ไข่จะค่อย ๆ พองน้ำ และขยายขนาดขึ้นจนพองเต็มที่ภายในเวลา ประมาณ 20 นาที ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวต้องคอยถ่ายน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกัน ไม่ให้ไข่บางส่วนเสีย เมื่อไข่พองเต็มที่แล้วก็สามารถนำไปฟักในกรวยฟักได้

ภาพที่ 5 การรีดไข่แม่พันธุ์
ภาพที่ 6 การรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์
ภาพที่ 7 คนไข่และน้ำเชื้อให้ผสมเข้ากัน
ภาพที่ 8 นำไข่ที่ผสมแล้วไปฟักในกรวยฟักไข่



การเลี้ยงปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนสามารถเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำทั่วไป เป็นปลาที่เลี้ยง ง่ายกินพืชเป็นอาหาร อาศัยอยู่ได้ดีทั้งในแหล่งน้ำไหลและแหล่งน้ำนิ่งแม้กระทั่ง ในนาข้าว เมื่ออายุเพียง 6 เดือน ก็สามารถจะมีน้ำหนักได้ถึงครึ่งกิโลกรัม

บ่อเลี้ยง ควรเป็นบ่อขนาด 400 ตารางเมตร จนถึงขนาด 1 ไร่ หรือ มากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้ลึกกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลา ที่มีขนาดยาว 5 - 7 เซนติเมตรขึ้นไป ในอัตราส่วน 3 - 4 ตัว ต่อตารางเมตร หรือ 5,000 ตัว/ไร่

บ่อใหม่หมายถึงบ่อที่เพิ่งขุดใหม่และจะเริ่มการเลี้ยงเป็นครั้งแรกบ่อใน ลักษณะเช่นนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคพยาธิที่ตกค้างอยู่ในบ่อ เพียงแต่บ่อใหม่ จะมีอาหารธรรมชาติอยู่น้อย หากภายในบ่อมีคุณสมบัติของดินและน้ำไม่ เหมาะสมก็ต้องทำการปรับปรุง เช่น น้ำและดินมีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6.5 ก็ต้องใช้ปูนขาวช่วยในการปรับสภาพ ระบายน้ำเข้าให้มีระดับประมาณ 10 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์จึงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์จากนั้น ก็ระบายน้ำเข้าให้มีระดับประมาณ 50 เซนติเมตรทิ้งไว้อีก 5 - 7 วันจึงปล่อยน้ำ ให้ได้ระดับตามต้องการประมาณ 1 - 1.5 เมตร จึงปล่อยปลาลงเลี้ยง

บ่อเก่าหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้วหลังจากจับปลาแล้วทำการสูบน้ำ ออกให้แห้งทิ้งไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งวันจากนั้นใส่ปูนขาวฆ่าเชื้อโรค และพยาธิพร้อม ทั้งปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของก้นบ่อ แต่ถ้าเป็นบ่อที่มีเลนอยู่มากควร ทำการลอกเลนขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยใส่ปูนขาว จากนั้นตากบ่อทิ้งไว้อีก 7 วันแล้ว จึงปฏิบัติเหมือนกับบ่อใหม่ แต่ถ้าไม่สามารถสูบน้ำให้แห้งได้จำเป็นต้องกำจัด ศัตรูปลาให้หมดเสียก่อน ศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก กบ เขียด และงู ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัมต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียดนำลงแช่น้ำลึก 1 หรือ 2 ปีบ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆ ครั้งจนหมดแล้วนำลงไปสาดให้ ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมาต้องเก็บออกทิ้ง อย่าปล่อยให้ เน่าอยู่ในบ่อก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 10 วัน เพื่อให้ ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัวเสียก่อน ส่วนน้ำที่จะระบายเข้ามาใหม่ ควรใช้ตะแกรง กรองเอาเศษต่างๆ และปลาอื่นๆ ไม่ให้เข้ามาในบ่อได้


ต้นทุนและผลผลิตของการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาวที่เลี้ยงกันตามอัตราการปล่อยปลาที่กล่าวแล้ว จะมี ผลผลิตไร่ละประมาณ 800 ถึง 1,000 กิโลกรัม เมื่อเทียบราคาปลากิโลกรัมละ 15 บาท ได้รายรับประมาณไร่ละ 12,000 ถึง 15,000 บาท ในเวลาประมาณ 7 เดือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่อไร่ ได้แก่ รำ 1,400 บาท กากถั่วเหลืองประมาณ 2,200 บาท ค่าแรงงานสำหรับผู้เลี้ยงหรือเจ้าของไร่ละประมาณ 875 บาท รวม เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ไร่ละประมาณ 4,475 บาท ดังนั้นจะได้กำไรสุทธิไร่ละ ประมาณ 7,525 บาท ซึ่งนับว่าเป็นผลผลิตที่สูงอย่างหนึ่ง ถ้าหากได้มีการ ปรับปรุงดูแลใกล้ชิดก็จะได้ผลผลิตสูงขึ้น ปลาตะเพียนขาวใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือน จะมีน้ำหนักประมาณ 3 - 4 ตัว/กิโลกรัม
ภาพที่ 10 ปลาตะเพียนขาวขนาดตลาด


แนวโน้มของการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นบ้านของคนไทย ประชาชนนิยมบริโภค อย่างแพร่หลาย ส่วนของผู้เลี้ยงปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเจริญเติบโต เร็วเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับต้นทุนการผลิตก็ไม่สูงมาก ดังนั้น การ เลี้ยงปลาชนิดนี้จึงเป็นก่งที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง
เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง

ไก่เบตง



ไก่เบตง
เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีนที่เรียกว่าไก่กวางไส ซึ่งเป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่พันธุ์แลนซาน ไก่เบตงถือว่าเป็นไก่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ไก่เบตงจะมีลักษณะที่สำคัญแยกตามเพศพอที่สังเกตได้ดังนี้ ลักษณะไก่ตัวผู้จะมีสีเหลืองอ่อนๆตรงปากพร้อมกับมีจงอยปากงุ้มที่แข็งแรงมาก ตรงส่วนหัวจะกว้างและมีขนสีเหลืองทองที่ค่อย ๆ จางไปทีละน้อยจนถึงลำตัวคล้ายสร้อยคอ มีดวงตานูนใสแจ๋วและก็มีหงอนสีดำเป็นจักรๆไร้ตุ้มหู ตรงส่วนลำคอจะตั้งตรงมีลักษณะที่แข็งแรง ตรงส่วนปีกทั้งสองข้างนั้นสั้นแต่ว่าแข็งแรงมากพอสมควรและก็มีสีเหลือง บางทีอาจจะมีเส้นขนดำๆ 1-2 เส้นตรงแกนของขนด้วย อกกว้างแบบไก่พันธุ์เนื้อทั่วไปที่ควรจะเป็น ขนตรงบริเวณหน้าอกและ บริเวณใต้ปีกมีสีเหลืองบางๆ ส่วนหลังกว้างเป็นแผ่นๆที่ขนานกับพื้น ขนหางบางนุ่มแต่ว่า มีหางไขสั้นๆอยู่ 1 เส้น ส่วนก้นนั้นเป็นรูปตัดอย่างชัดเจนมาก ลำขาใหญ่นั้นมีสีเหลืองกลมและแข็งแรงเหมาะกับลำตัวพอดี มีขนสีเหลืองปกคลุมตรงขาบางๆผิวหนังมีสีแดงระเรื่อเพราะไม่ค่อยจะมีขนเท่าไหร่แต่ถ้าเป็นไก่ตอนจะมีขนดกกว่านี้เยอะ  บ้านอะลาง


ตรงส่วนหน้าขานั้นจะมีเกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบสีเหลืองนิ้วเท้าเหยียดตรงแข็งแรงอีกทั้งมีเล็บสีขาวอมเหลือง สำหรับไก่ตัวเมียจะมี โคนปากมีสีน้ำตาลเข้มที่ค่อย ๆจางลงมาจนเป็นสีเหลืองที่ปลาย ปากพร้อมกับมีจงอยปากที่งุ้มแข็งแรง ส่วนหัวนั้นจะกว้างอีกทั้งมีหงอนรูปถั่วสั้นติดตรงบริเวณหนังหัวพร้อมตาใสแจ๋ว ส่วนลำคอนั้นตั้งตรงแข็งแรงสีเหลืองอ่อนๆ มีอกกว้างหนาตามลักษณะไก่เนื้อพร้อมมีขนสีเหลืองดกปกคลุมอยู่ทั่วตัว มีขนสีเหลืองดกตรงหลังและก็วางแนวขนานกับพื้น ปีกพอเหมาะกับลำตัวแข็งแรง มีขนนุ่มๆสีดำอย่างประปรายตรงบริเวณส่วนปีกเต็มไปหมด ส่วนหางที่อ่อนนุ่มดกดำปนสีเหลือง ส่วนขานั้นแข็งแรงสมกับลำตัวพร้อมมีขนสีเหลืองดกปกคลุม ไว้ ตรงบริเวณส่วนแข้งนั้นจะกลมสีเหลือง เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบนิ้วเท้าเหยียดตรงอย่าง แข็งแรงและก็มีเล็บเท้าสีขาวอมเหลือง ไก่ทั้งสองเพศแม้จะมีลักษณะที่ต่างกันแต่ว่ามีส่วนที่เหมือนกันอย่างเห็นเด่นชัดนั้นคือมีขนสีเหลืองทองเกือบจะทั้งตัว ไก่เบตงเป็นไก่เนื้อที่มีคนนิยมรับประทานกันมากเนื่องจากมีรสชาติที่อร่อยเนื่องจากมีลักษณะพิเศษดังนี้ตรงส่วนหนังจะมีสีเหลืองอ่อนเนื้อค่อนข้างเหลืองและก็นุ่ม ไม่ค่อยจะมีไขมันกลิ่นหอมมาก


ไก่พันธุ์เบตง 
เป็นไก่พันธุ์ต่างประเทศอีกพันธุ์หนึ่ง ซึ่งเข้ามานิยมกันในประเทศไทย ตอนล่าง เมื่อสมัย 30 กว่าปี ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา ก็คือ ไก่กวางใส ซึ่งเป็นไก่พันธุ์เนื้อ ที่มีคุณภาพดีเลิศ รสชาติดี เนื้อนุ่ม ไม่เหนียว กลิ่นหอมชวนรับประทาน และต่อมา ได้เรียกชื่อไก่พันธุ์ ไก่พันธุ์เบตง ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์นี้ เข้าใจว่าเป็นไก่ซึ่งมี เชื้อสายมาจากไก่พันธุ์ แลนซาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาตั้ง หลักแหล่งในประเทศไทยที่อำเภอเบตง ได้นำเอาไก่พันธุ์นี้มาเลี้ยงด้วย ต่อมาก็แพร่พันธุ์ไป ทั่วในจังหวัดยะลา และจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันไก่พันธุ์นี้จำนวนลดน้อยลง เนื่องจากมีการ อพยพบ้านเรือนบ่อย ๆ และราษฎรบางที่ไม่นิยมการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ไก่ตายไปเป็นจำนวนมาก ๆ จนแทบจะสูญพันธุ์


ลักษณะที่แท้จริงของไก่เบตง จะมีขนสีเหลืองทอง ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้ปากเหลือง อ่อน จงอยปากงุ้มแข็งแรงเป็นพิเศษ ตานูนแจ่มใส หงอนจัก หัวกว้าง ตุ้มหูไม่มี คอตั้งตรง แข็งแรงขนมีสีเหลืองทองที่หัว และค่อย ๆ จางลงไปถึงลำตัว ปีกแข็งแรง ขนปีกมีสีเหลือง อาจมีเส้นดำ 1-2 เส้นทีแกนของขน อกกว้างตามลักษณะของไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนที่อกและ ใต้ปีกสีเหลืองบางหลังมีระดับขนานกับพื้นดิน ขนหางไม่ดก มีหางไข 1 เส้น ไม่ยาวนัก บั้นท้าย เป็นรูปตัดเห็นได้ชัด ขาใหญ่แข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองผิวหนังแดงเรื่อ ๆ แต่ถ้าเป็น ไก่ตอนจะมีขนดก แข้งสีเหลืองกลมล่ำสัน เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบนิ้วเท้าเหยียดตรงแข็งแรง เล็บสีขาวอมเหลือง ตัวเมีย ปลายปากเหลือง โคนปากสีน้ำตาลเข้ม จงอยปากงุ้มแข็งแรง หัวกว้าง ตาแจ่มใส หงอนรูปถั่วสั้นติดหนังหัว คอตั้งแข็งแรงสีเหลืองอ่อน อกกว้างหนา ขนสีเหลืองดก คลุมทั้งตัว หลังมีขนสีเหลืองดกวางแนวขนานกับพื้น ปีกพอเหมาะกับลำตัวแข็งแรง ขนปีกเต็ม มีสีดำประปรายหางดำสีเหลือง ขาแข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองดก แข้งกลมสีเหลือง เกล็ดวางแนวได้ระเบียบนิ้วเหยียดตรง แข็งแรง เล็บสีขาวอมเหลือง คุณลักษณะของไก่พันธุ์เบตง หนังสีเหลืองอ่อน เนื้อนุ่มค่อนข้างเหลือง ไขมันมีน้อย กลิ่นหอมชวนรับประทาน รสชาติอร่อยมาก เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แม้ว่าอายุมากเนื้อก็ยังไม่เหนียวเหมือน ไก่พันธุ์อื่น รสชาติคงที่ขายได้ ราคาดี ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีราคาสูงมาก


การเลี้ยงดู
ไก่เบตงเป็นไก่ที่ชอบอิสระ หากินเป็นอิสระในสนามหญ้าตามบริเวณบ้าน ตามป่าโปร่ง ไม่ชอบการกักขัง อาจจะเป็นเพราะไก่พันธุ์นี้มีลักษณะเป็นไก่ป่าอยู่มาก ราษฎรใน อำเภอเบตงชอบเลี้ยงตามบ้านหรือสวนยางพารา เชื่องมาก ชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งเราจะพบตัวผู้กกลูกแทนตัวเมีย ไก่เบตง เป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตดี ตัวผู้โตเต็มที่ น้ำหนัก 4.50 - 5 กิโลกรัม ตัวเมียโตเต็มที่ 2.50 - 3 กิโลกรัม อาหาร ได้แก่ มด แมลง ไส้เดือน ตัวปลวก หญ้าสดและผักต่าง ๆ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก ไม่ชอบอาหารผสม อาหารที่ชอบ มากที่สุดได้แก่ หญ้าสดและผักสด ดังนั้นหากท่านมีพื้นที่ว่างเพียงเล็กน้อย พอที่จะปลูกผัก และหญ้าไว้เลี้ยงไก่เบตง ก็จะเป็นการที่เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ให้จังหวัดยะลา จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้าน พันธุ์เบตงขึ้นที่หมู่บ้านสันติ อำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา เป็นหมู่บ้านอพยพของราษฎรจาก น้ำท่วม หลังจากสร้างเขื่อนพลังน้ำปัตตานีเสร็จ จังหวัดยะลาจึงมอบหมายให้สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดยะลา จัดทำโครงการนี้อย่างรีบด่วน ซึ่งคาดว่าในโอกาสต่อไปหมู่บ้านสันติ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ไก่เบตงอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้สถานนี บำรุงพันธุ์สัตว์ยะลาผลิตไก่พันธุ์เบตง เพื่อจำหน่ายและจ่ายแจกให้ราษฎร ตามโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านพันธุ์เบตง


ไก่เบตง
มี หงอนแบบจักร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ขนปีกน้อย ไม่มีขนหาง สีขน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เหลืองทองเข้ม เหลืองทองอ่อน และ ขาว หรือ ขาวแซมน้ำตาล
ไก่พันธุ์นี้ทนต่อสภาพอากาศร้อน ทนต่อโรคแมลง สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าไก่พันธุ์พื้นเมืองทั่วๆไป ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอัตราใกล้เคียงกัน เพศผู้ อายุ 14 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,800 กรัม ตัวเมีย เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,700 กรัม ....โดยน้ำหนักเฉลี่ยที่อายุ 15 สัปดาห์ จะอยู่ประมาณ 1,700 กรัม...
ตัวเมียจะออกไข่ฟองแรกเมื่ออายุได้ 27 สัปดาห์ และจะวางไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 100 ฟอง

ไก่เบตง....มีเนื้อมาก เหนียวนุ่มหอม รสชาติดี เนื้อไม่แฉะ จึงเป็นที่นิยม ไม่ว่าจะแปรรูปอาหารชนิดใด อาทิ ไก่สับ ไก่นึ่ง ไก่ต้ม ตุ๋นยาจีน ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าไก่ ฯลฯ... อร่อยลืมอิ่มกันทั้งนั้น (แต่ต้องอยู่กับฝีมือคนปรุงด้วย)  ด้วยความอร่อย(ของเนื้อ)เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภคนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้นำไก่พันธุ์เบตงมาทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป

รศ.ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ คณบดีคณะเกษตร มก. บอกถึงเรื่องนี้ว่า...ปัจจุบันได้ทำการวิจัยและพัฒนาไก่เบตงจน กระทั่งรสชาติและคุณภาพเนื้อ เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพ ดีกว่า เนื้อมากและนุ่มกว่าเดิม อีกทั้งราคาไม่แพง...จน กระทั่งสายพันธุ์นิ่งสามารถขยายพันธุ์เข้าสู่ภาคปศุสัตว์ในภาคธุรกิจได้ จึงให้ชื่อว่า...ไก่เคยูเบ-ตง ตามนามของสถาบัน
ปัจจุบันพร้อมให้เกษตรกรโดยทั่วไปเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับ ผู้บริโภค
หากสนใจ สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฟาร์มสุวรรณวาจกสิกิจ ภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โทร. 0-2579-8525 เวลาราชการ
เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง

การปลูกเมลอน



วิธีการปลูกเมลอน
 แตงเทศ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า เมลอน หรือ แคนตาลูป เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีรสชาติดี เนื้อนุ่ม หวานฉ่ำและมีกลิ่นหอม ''บ้านอะลาง''
สีของเนื้อผลยังมีหลากหลาย ทั้งขาว ครีม เหลือง เขียว ส้มและแสด จึงชวนให้รับประทานมายิ่งขึ้น จัดเป็นทั้งผลไม้และผัก ขึ้นกับลักษณะของการนำไปใช้บริโภค ซึ่งมีทั้งใช้บริโภคสดในรูปผลไม้ หรือใช้เป็นส่วนประกอบในสลัดผัก  นอกจากนี้ยังใช้ประกอบของหวานและเครื่องดื่มหลายชนิด อาทิเช่น ฟรุ๊ตสลัด ไอศกรีม น้ำแข้งใส และน้ำผลไม้ปั่น เป็นต้น แตงเทศ จึงมีราคาดีที่สุดในบรรดาพืชวงศ์แตงเดียวกัน

    การขายแตงเทศนิยมขายกันตามน้ำหนักของผล ซึ่งมีตั้งแต่ราคากิโลกรัมละ 20 บาท ไปจนถึง กิโลกรัมละ 80 -100 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของแตงเทศซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นบางพันธุ์มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 65 วัน หลังหยอดเมล็ดเท่านั้น จึงจัดเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างดีในเวลาอันรวดเร็ว ข้อเสียของแตงเทศคือมักอ่อนแอ ไม่ค่อยทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด หรือมีฝนตกชุกเกินไป การปลูกแตงเทศให้ได้ผลดี ประการแรก จึงควรเลือกชนิดและพันธุ์ของแตงเทศที่มีอยู่มากมายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่และฤดูกาลที่จะปลูก ชนิดและพันธุ์ แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ในแถบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. ซึ่งมีอยู่หลายวาไรตี้ (variety) หรือ ชนิด (group) แต่ที่ปลูกที่เป็นพืชเพื่อการบริโภคมีอยู่ 3 วาไรตี้ ได้แก่

1. วาไรตี้ แคนตาลูปเพนซิส (Cantaloupensis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. cantaloupensis มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ร็อคเมลลอน (Rock melon) เพราะผลมีผิวแข้ง ขรุขระ แต่ไม่ถึงกับเป็นร่างแห
2. วาไรตี้ เรติคูลาตัส (Reticulatus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. Melo L. var. reticulatus มีชื่อเรียกทั่วไปว่า เน็ดท์เมลอน (netted melon) มัสค์เมลอน (muskmelon) หรือ เปอร์เซียนเมลอน (persian melon) เป็นชนิดที่ผิวนอกของผลลักษณะขรุขละเป็นร่างแหคลุมทั้งผล และผลมีกลิ่นหอม เนื้อผลเป็นสีเขียว หรือสีส้ม
3. วาไรตี้ อินอะดอรอส (Inodorous) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. inodorous ผิวของผลเรียบ และมักไม่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์แตงเทศโดยการผสมภายในกลุ่มและการผสมข้ามระหว่างกลุ่มจนได้พันธุ์แตงเทศที่มีลักษณะผสมกันระหว่างกลุ่มต่างๆ และเป็นพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) มากมาย
สำหรับพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทยโดยการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศและวางจำหน่ายในท้องตลาด เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้  ''บ้านอะลาง''

 แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปแอฟริกา จึงไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัด แต่ชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ร้อนจัด อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงอยู่ที่ 25- 30 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และ 18-20 องศาเซลเซียส ในเวลากลางคืน ดังนั้นฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกแตงเทศในประเทศไทยจึงเป็นปลายฤดูฝนหรือฤดูฝนหนาว ในเขตที่อากาศไม่หนาวจัด เช่นภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก รวมทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉลียงเหนือที่อากาศไม่หนาวจัดจนเกินไป

หากแตงเทศกระทบกับอากาศหนาวเย็นจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า การออกดอกติดผลจะล่าช้า และถ้าอากาศยิ่งหนาวจัด ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ต้นแตงเทศจะหยุดการเจริญเติบโต ในทำนองกลับกันต้นแตงเทศก็ไม่ชอบอากาศที่ร้อนจัดเกินไป ถ้าอุณหภูมิเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส แตงเทศมักจะสร้างแต่ดอกตัวผู้ ไม่มีดอกตัวเมีย หรือถ้ามีดอกตัวเมียแต่จะร่วงง่ายไม่ติดผล ปัญหาจากสภาพแวดล้อมของอากาศที่สำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศอีกประการหนึ่งคือฝน

ถ้าแตงเทศถูกน้ำฝนบ่อย มักจะเกิดโรคราน้ำค้างระบาดตามมา เนื่องจากแตงเทศเป็นพืชที่มีใบกว้างใหญ่และมีขน เมื่อสัมผัสกับน้ำฝนจะเกิดหยดน้ำค้างบนใบอยู่เสมอ ไม่แห้งง่าย จึงเป็นสภาพที่อำนวยให้เกิดการเข้าทำลายของเชื้อราน้ำค้างบนใบได้ร่วมกับสภาพอากาศที่เย็นและชื้นหลังฝนตก โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน เป็นโรคสำคัญที่ทำความเสียหายมากสำหรับพืชในวงศ์แตง โดยเฉพาะกับแตงเทศจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก

ดังนั้นในการปลูกแตงเทศในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะสมนั้น จะต้องมีการดูแลรักษา ให้น้ำ ปุ๋ย และการป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ จึงจะได้ผลดี ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงเทศ ควรเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกแตงเทศในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัด ที่มีการระบายที่ไม่ดี ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเน่าในระบบรากได้ง่าย และยังเป็นที่สะสมของโรคทางดิน ติดต่อไปยังฤดูต่อไป รวมทั้งยากต่อการลดความชื้นในดินก่อนเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการปลูกแตงเทศในดินชนิดนี้ควรยกแปลงให้สูง 30 - 40 ซม. มีร่องน้ำกว้างเพื่อการระบายน้ำที่ดี และไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมในฤดูติดกัน ค่าความเป็นกรด - ด่าง (pH) ของดินควรอยู่ที่ 6.0 - 6.5 ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้แสดงว่าดินมีสภาพเป็นกรด ต้องทำการปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง ของดินให้สูงขึ้นด้วยปูนขาว มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าของระบบรากในดิน

ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ไม่แนะนำให้ปลูกแตงเทศซ้ำในพื้นที่เดิมในฤดูติดกัน ควรปลูกพืชในวงศ์อื่นคั่น 1 - 2 ฤดู ก่อนที่จะกลับมาปลูกในที่เดิมอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคทางดินที่อาจสะสมอยู่จากการปลูกในฤดูที่ผ่านมา การเพาะย้ายกล้า ปกติการปลูกพืชในวงศ์แตงมีเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ จึงสะดวกที่จะหยอดเมล็ดลงในหลุมในแปลงปลูกได้โดยตรง จำนวนหลุมละ 2 - 4 เมล็ด แล้วจึงถอนแยกให้เหลือต้นที่แข้งแรงเพียง 1 ต้นเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้วิธีการดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมแล้วเพราะเป็นวิธีที่สิ้นเปลืองเมล็ด ที่ปัจจุบันเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นการเพาะเมล็ดในกะบะเพาะหรือถุงเพาะเมล็ดก่อนแล้วจึงย้ายปลูกจึงเป็นวิธีที่แนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ มักมีความงอก ความบริสุทธิ์สูง และปลอดจากเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด สามารถนำมาเพาะได้ทันที แต่ในกรณีที่ไม่แน่ใจในเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดและต้องการกระตุ้นให้เมล็ดงอกได้ดีและเร็วขึ้นให้แช่เมล็ดในน้ำหรือน้ำอุ่น สูงพอท่วมหลังเมล็ด ประมาณ 6 ซม. หุ้มด้วยผ้าเปียกน้ำหมาดต่ออีก 1 คืน สังเกตว่าเมล็ดมีรากขาวเริ่มออกมาแล้วจึงค่อยนำไปเพาะต่อในวัสดุเพาะ แล้วจึงรดด้วยสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราเจือจาง ในการเพาะกล้าแตงเมศ เริ่มจาก

การเตรียมวัสดุเพาะกล้า 
ปัจจุบันวัสดุเพาะกล้าที่ให้ผลดีที่สุดได้แก่ พีทมอส ซึ่งเป็นวัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงกว่าวัสดุเพาะกล้าภายในประเทศทั่วไป มีลักษณะเบา อุ้มน้ำ ได้ดี แต่มีช่องว่างให้มีอากาศที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหลังงอก ในพีทมอสนี้ยังมีธาตุอาหารในรูปของอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายตัวแล้วให้กับต้นกล้าได้ใช้ในการเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง นอกจากนี้พีทมอสยังมีคุณสมบัติที่ดีและมีประโยชน์มากสำหรับการเพาะกล้าอีกประการหนึ่งคือ ปลอดจากเชื้อโรคทางดินต่างๆ จึงเป็นวัสดุปลูกที่ให้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถ้าต้องการประหยัด อาจใช้วัสดุปลูกภายใน
ประเทศที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับพีทมอส เช่น ขุยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกไปแล้ว ผสมกับปุ๋ยคอกและทรายหยาบที่ร่อนเอาเม็ดกรวดออกไปแล้ว ในอัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร หรือในสถานที่ที่หาดินร่วนได้ง่าย อาจเพิ่มดินร่วนที่ผ่านการตากแดดฆ่าเชื้อและนำมาย่อยจนละเอียดดีแล้วอีก 1 ส่วน เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นกล้าอีกทางหนึ่ง

เมื่อคลุกเคล้าวัสดุปลูกที่ต้องการใช้ให้เข้ากันดีแล้ว ทำการกรอกวัสดุปลูกลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงพลาสติกเพาะกล้า ทำการหยอดเมล็ดลงในกระบะหรือถุงเพาะหลุมละ 1 ต้น ให้ลึกประมาณ 2 ซม. กลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะชนิดเดียวกัน รดน้ำให้ชุ่ม ก่อนนำไปวางไว้ในที่ร่ม รำไร ไม่ให้โดนแสงแดดจัดโดยตรง ในระหว่างการอนุบาลต้นกล้าแตงเทศ จะต้องรักษาความชื้นในวัสดุปลูกให้สม่ำเสมอ คงที่ ถ้าวางไว้นอกโรงเรือน ในที่กลางแจ้งควรใช้ฟางข้าวคลุมเหนือผิววัสดุปลูกเพื่อช่วยเก็บความชื้น ไม่ให้ระเหยออกไปจากวัสดุปลูกอย่างรวดเร็วจนทำให้วัสดุปลูกนั้นแห้งเร็วเกินไป รอจนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอกและมีใบจริงสีเขียวจึงค่อยๆ ทะยอยเปิดฟางข้าวออกให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละน้อย ตามอายุการเจริญเติบโต มิฉะนั้นต้นกล้าจะมีปล้องที่ยึดยาวหาแสงทำให้ลำต้นผอมบาง ไม่แข้งแรง และอย่าลืมว่าควรเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้แตฃก่ต้นกล้าให้มากขึ้นเมื่อต้นกล้าโตขึ้นตามลำดับ ขนาดของกระบะเพาะกล้าในปัจจุบันมีหลายขนาด สามารถเพาะกล้าให้เมล็ดงอกได้ดีพอกัน แต่การเลืกกระบะที่มีขนาดใหญ่กว่าจะได้เปรียบตรงที่มีปริมาณวัสดเพาะต่อต้นกล้าและได้ระยะห่างระหว่างต้นกล้าด้วยกันมากกว่าของกระบะที่มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ได้ต้นกล้าภายหลังการงอกที่ได้จากกระบะเพาะที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดของต้นกล้าที่แข้งแรงพอที่จะย้ายปลูกได้ คือที่ใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ

การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า แตงเทศเป็นพืชที่มีราคาแพง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด จึงคุ้มค่ากับการปลูกทั้งในแปลงเปิดที่ลงทุนต่ำและในโรงเรือนที่ลงทุนสูง
การปลูกภายนอกโรงเรือน ก่อนอื่นควรมีการเก็บตัวอย่างดินจากแปลงที่จะปลูกไปตรวจเพื่อให้ทราบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (โครงสร้างดิน ความเป็นกรด - ด่าง ความเค็ม และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน) การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มต้นด้วยการไถดะในระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 ซม. ซึ่งเป็นความลึกที่อย่างน้อยต้องมีให้รากแตงชอนไซหาอาหารได้สะดวก จากนั้นจึงทำการไถแป เพื่อย่อยดินให้ละเอียด แต่ถ้าในกรณีที่เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัดไม่ควรย่อยดินให้ละเอียดมากเกินไปแล้ว จึงใส่ปูนขาวตามคำแนะนำของผลการวิเคราะห์ดิน(ถ้ามี) ต่อมาให้ทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,500 - 2,000 กก.ต่อไร่ ทำการพรวนดินอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้ปุ๋ยคอกผสมกับดินให้ทั่ว ยกแปลงสูง 30 ซม. หรือ 40 ซม. สำหรับฤดูฝน กว้างประมาณ 1 - 1.20 ม. มีความยาวตราความยาวของพื้นที่สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ เว้นร่องน้ำกว้าง 0.80 ม. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 15 - 15 - 15 จำนวน 50 กก./ไร่ โดยโรยเฉพาะบนแปลง และพรวนดินเพื่อพลิกปุ๋ยลงสู่ดินล่าง หากต้องการป้องกันวัชพืช ควรคลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมแปลงกลบชายพลาสติกด้วยดินข้างแปลงให้เรียบร้อย เจาะรูบนพลาสติกเป็ฯ 2 แถว ตามความยาวแปลง ระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. และระหว่างหลุมในแถวห่างกัน 0.5 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตร.ม. จะสามารถปลูกได้ 3,200 ต้น สำหรับในพื้นที่ที่หาฟางข้าวได้ง่ายอาจใช้ฟางข้าวคลุมแปลงแทนการใช้พลาสติกเพื่อการประหยัด ยกเว้นในฤดูฝนควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟางคลุมดิน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าที่โคนต้นและระบบรากจากเชื้อราที่ติดมากับฟาง

การปลูกในโรงเรือน ในการปลูกแตงเทศในโรงเรือนช่วยให้สามารถปลูกแตงเทศได้ในฤดูฝนโดยที่ไม่ต้องกลัวการระบาดของโรคทางใบ แต่ก็ต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่า จึงควรใช้เป็นวิธีการปลูกแตงเทศพันธุ์ที่มีราคาแพง เพื่อผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน วิธีการปลูกในโรงเรือนนั้นสามารถปลูกลงในดินหรือปลูกในวัสดุปลูกที่อยู่ในภาชนะหรือกระถาง แต่การปลูกลงในกระถางจะมีข้อดีกว่าตรงที่ สามารถใช้ระยะปลูกที่ชิดกว่าการปลูกลงดินและเป็นวิธีนี้ยังช่วยให้สามารถปลูกแตงเทศต่อเนื่องในฤดูติดกัน เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องของการระบาดของโรคทางดินเนื่องจากปลูกในกระถางที่ใช้วัสดุปลูกที่มีความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อให้ปลอดภัยมาแล้ว ในกรณีที่ปลูกมนกระถางขนาด 12 นิ้ว ให้วางกระถางแบบแถวคู่ ภายในแถวคู่ที่ระยะห่างระหว่างกระถางในแถว 50 ซม. ระยะห่างภายในแถวคู่ 80 ซม. และระยะระหว่างแถวคู่เท่ากับ 1.5 ม. ในโรงเรือนที่มีพื้นที่ 360 ตร.ม. จะปลูกได้ 1,000 ต้น วัสดุปลูกที่ใช้สามารถใช้ได้หลายชนิด ถ้าใช้วัสดุจากต่างประเทศ ได้แก่ พีทมอส หรือ ภูมิส สามารถใช้วัสดุ ชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หรือ ถ้าใช้วัสดุภายในประเทศ เช่น ขุยมะพร้าว ถ่านแกลบ ทราย ให้นำผสมกันเสียก่อน ในอัตราเช่น ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ : ทราย : ในอัตรา 1 : 1 : 1 เป็นต้น ไม่ควรใช้ขุยมะพร้าว แกลบดิบ ทราย หรือถ่านแกลบ เพียงอย่างใด อย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เพราะวัสดุภายในประเทศเหล่านี้โดยตัวเองเพียงอย่างเดียว ยังไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช เมื่อเตรียมแปลงและหลุมปลูก หรือ กระถางบรรจุวัสดุปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการย้ายต้นกล้าแตงเทศที่เตรียมไว้ลงปลูก หลังปลูก รดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ความชื้นแก่ต้นกล้าและให้ดิน

กระชับรากต้นกล้า
ในกรณีของการปลูกในโรงเรือนต้องวางระบบน้ำหยดและติดตั้งหัวน้ำหยดที่แต่ละกระถางปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา แตงเทศเป็นพืชที่ต้องการการปฏิบัติเป็นพิเศษแตกต่างจากพืชอื่นๆ ในหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การให้น้ำและใส่ปุ๋ย การขึ้นค้าง การตัดแต่งกิ่ง

การผสมเกสรและการไว้ผล และการดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล ที่ถูกต้องเหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตที่ดี ในต้นแตงเทศหนึ่งต้นจะปล่อยให้ติดลูกเพียงหนึ่งผลเพื่อต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ผล ดังนั้น หากมีการดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นแตงเทศนั้นเลย ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

การขึ้นค้าง แตงเทศเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ในการใช้ระยะปลูกชิดแบบปัจจุบันจึงต้องบังคับให้เถาแตงเลื้อยขึ้นด้านบนโดยการจัดค้างให้เถาแตงได้เกาะโดยหลังจากปลูกได้ประมาณ 14 วัน ต้องมีการปักค้างให้กับต้นแตงเทศ ไม้ค้างควรมีความสูงจากผิวดินหลังการปักลงดินแล้วไม่น้อยกว่า 1.80 ซม. ในกรณีปลูก 2 แถว อาจผูกไม้ค้าง 2 ฝั่ง เข้าหาเป็นกระโจมเพื่อเพิ่มความแข้งแรงให้มากขึ้นก็ได้ และระหว่างไม้ค้างที่ปักในแนวตั้งให้ยึดด้วยไม้ค้างตามแนวนอนทั้งบนและล่างอีกตลอดความยาวของแปลง ไม้ค้างที่ใช้อาจเป็นไม้ไผ่รวก ไม้กระถิน หรือ อื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูก ต้นแตงเทศทุกต้นต้องมีที่ยึดเกาะให้ลำต้นเลื้อย หากไม่สามารถลงทุนซี้อไม้ค้างให้กับต้นแตงทุกต้นได้ สามารถลดต้นทุนโดยการปักไม้ค้าง้ป็นช่วงห่างกัน 2 - 2.5 ม. และหาเชือกไนลอนหรือเชือกอื่นที่มีความแข้งแรงพอที่จะรับน้ำหนักต้นแตงเทศได้ผูกโยงที่บริเวณปลายของไม้ค้างแต่ละอันให้ตึงและบนเส้นเชือกตำแหน่งที่ตรงกับต้นแตงเทศให้ผูกเชือกห้อยลงมายาวจรดดิน ในการเริ่มต้นให้ต้นแตงเกาะกับหลักหรือเชือกจะต้องช่วยบังคับโดยการผูกต้นแตงกับหลักหรือเชือก ทุกๆ ข้อเว้นข้อ ก่อนในระยะแรก ถ้าเป็นเชือกให้เวียนเชือกรอบต้นแตงด้วย เพื่อเชือกสัมผัสและรับน้ำหนักและพยุงต้นแตงเทศไว้ได้ การเลี้ยงลำต้นและกิ่งแขนง หลังจากปลูกแตงเทศได้ระยะหนึ่ง ต้นแตงเทศจะเริ่มมีการแตกกิ่งแขนงออกมา ให้ปลิดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นต่ำกว่าข้อที่ 8 และสูงกว่าข้อที่ 12 ออกเสียโดยปลิดแขนงออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กและปล่อยกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นระหว่าง ข้อที่ 8 - 12 ไว้ให้เป็นที่เกิดของดอกตัวเมียที่จะติดเป็นผลต่อไป

ทำการแต่งกิ่งแขนงโดยตัดปลายยอดทิ้งให้เหลือใบเพียง 2 ใบ เท่านั้น คือใบที่ใกล้กับข้อแรกที่จะเกิดดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ และใบที่ข้อถัดขึ้นไป ปล่อยให้มีดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เกิดขึ้นเพียงแขนงละ 1 ดอก เท่านั้น และเมื่อต้นแตงเทศเจริญเติบโตจนถึง 25 ข้อ ให้ตัดปลายยอดของต้นออกเสีย เพื่อหยุดการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น นอกจากนี้ให้เด็ดใบล่างสุดออกอีก 3 - 5 ใบ ที่ไม่ค่อยได้รับแสงแดดออกไ เพื่อทำให้ต้นโปร่งเพิ่มการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้เกิดการสะสมของความชื้นที่ชักนำให้เกิด
โรคราต่างๆ

การผสมเกสรและการไว้ผล แตงเทศเป็นพืชที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่กันคนละดอกแต่เกิด อยู่บนต้นเดียวกัน หรือบางพันธุ์มีดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันก็มี โดยดอกเพศผู้จะเกิดก่อนและเกิดเป็นช่อที่มุมระหว่างก้านใบกับลำต้น หรือ ลำต้นกับกิ่งแขนง ส่วนเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศจะเกิดทีหลังและเกิดเป็นดอกเดี่ยว ที่ข้อแรกหรือข้อที่สองของกิ่งแขนง โดยปกติแตงเทศเป็นพืชผสมข้าม จำเป็นที่ต้องที่การผสมเกสรจากภายนอกโดยแมลงหรือมนุษย์จึงจะติดเป็นผลได้ ดังนั้นในการปลูกแตงเทศจึงจำเป็นต้องมีการช่วยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ การผสมเกสรต้องกระทำเมื่อดอกบาน ในตอนเช้า ตั้งแต่เวลา 06.00 - 10.00 น. ในขณะที่อากาศยังมีอุณหภูมิไม่ขึ้นสูง หลังจากนั้นดอกตัวเมียจะหุบไม่รับการผสมอีกต่อไป วิธีการผสมเกสรทำโดย นำเด็ดดอกตัวผู้ที่บานในวันนั้นจากต้นใดก็ได้ นำมาปลิดกลีบดอกออกให้หมดเหลือแต่ละอองเกสรตัวผู้ที่สังเกตเห็นว่ามีละอองเกสรตัวผู้เกาะติดอยู่เต็มไปหมด แล้วนำมาคว่ำและเตาะลงที่ยอดของดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ ที่บานในวันนั้นให้ทั่วโดยรอบดอก ทะยอยผสมเกสรให้ดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศที่เกิดอยู่บนกิ่งแขนงที่เกิดบนข้อที่ 8 - 12 ซึ่งจะบานไม่พร้อมกันจึงต้องใช้เวลาหลายวัน จึงจะผสมครบทั้ง 5 ดอก

เมื่อเริ่มติดเป็นผลอ่อนขนาดเท่าไข่ไก่ จึงทำการเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว โดยดูจากผลที่รูปร่างสมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว และมีขั้วผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่เหลือให้ปลิดทิ้ง หลังติดผล 2 สัปดาห์ให้เริ่มใช้เชือกผูกที่ขั้วผลโยงไว้กับค้างเพื่อช่วยพยุงและรับน้ำหนักผลที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อไปจากนั้นให้รีบห่อผลด้วยกระดาษหนัวสือพิมพ์ให้มิดชิดเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทอง การให้น้ำ ต้นแตงเทศเป็นพืชที่มีใบใหญ่คายน้ำมากจึงต้องการน้ำมากในแต่ละวัน นับจากหลังจากย้ายปลูกแล้ว ความต้องการน้ำของต้นแตงเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งแตงเทศเริ่มออกดอกและติดผลจะเป็นช่วงที่แตงเทศมีปริมาณความต้องการน้ำสูงที่สุด การให้น้ำแก่แตงเทศจึงต้องเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่ต้นเพิ่มมากขึ้นทุกสัปดาห์ จนถึงระยะออกดอกและติดผลจึงให้น้ำในปริมาณที่คงที่ได้ ปริมาณน้ำที่ต้องให้แก่ต้นแตงเทศนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าปลูกแตงเทศในช่วงที่อากาศร้อนจัด ในฤดูร้อนจัดและอากาศแห้งแล้ง ความต้องการน้ำของต้นแตงเทศในช่วงเริ่มต้นหลังย้ายกล้าอาจอยู่ในช่วง 0.5 - 1 ลิตร/ต้น/วัน และในช่วงที่กำลังออกดอกและติดผลอาจสูงถึงวันละ 2 - 3 ลิตร/ต้น/วัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำของแตงเทศสามารถเปลี่ยนแปลงไปใบฤดูกาลเดียวกัน ยังแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สำหรับวิธีการให้น้ำแก่แตงเทศ สามารถทำได้หลายวิธี เช่นการปล่อยน้ำเข้าข้างร่องปลูกและปล่อยให้น้ำซึมเข้าสู่แปลงจากด้านข้าง ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่สิ้นเปลืองน้ำและแรงงาน

ปัจจุบันนิยมใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดซึ่งเป็นการให้น้ำแก่ต้นแตงที่ในบริเวณรากของต้นแตงแต่ละต้นโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่า และยังสามารถผสมปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิดลงไปในระบบน้ำหยดได้ด้วย แต่ต้องใช้การลงทุนสูงในครั้งแรกแต่สามารถเก็บไว้ใช้ในฤดูกาลปลูกต่อๆไป การให้ปุ๋ย . การใส่ปุ๋ยให้แก่แตงเทศที่ถูกวิธีและประหยัดนั้น ก่อนการให้ปุ๋ยแก่ต้นแตงเทศควรมีการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียก่อนว่ามีอินทรีย์วัตถุ ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโปแตสเซียม ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในปริมาณเท่าใดก่อน จึงค่อยกำหนดปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้แก่ดินที่ปลูกนั้นอีกครั้ง เนื่องจากความอุมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน คำแนะนำในการให้ปุ๋ยแก่ต้นแตงเทศต่อไปนี้ จึงเป็นคำแนะนำทั่วไปสำหรับแปลงปลูกพืชที่ไม่มีผลการตรวจวิเคราะห์ดิน

การให้ปุ๋ยเคมีทางดิน ในระหว่างการเตรียมดินก่อนปลูก ได้มีการใส่ปุ๋ยรองพื้นให้แก่ต้นแตงเทศครั้งหนึ่งแล้ว แต่หลังการย้ายปลูกต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอีกเป็นระยะๆ ในช่วงก่อนออกดอก ช่วงกำลังออกดอกและติดผลอ่อน และช่วงก่อนผลแก่ ดังนี้ หลังย้ายปลูก 7 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15 - 15 - 15 ที่โคนต้นแตงเทศในปริมาณ 15 กรัม/ต้น หรือ 50 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 25 วัน และ 50 วัน หลังย้ายปลูก โรยปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 50 กก./ไร่ และเมื่ออายุ 65 วัน หลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ย 0 - 0 - 60 อัตรา 25 กก./ไร่ หว่านลงที่ร่องระหว่างแปลงปลูก ก่อนการให้น้ำผ่านทางร่องแปลง
การให้ปุ๋ยเคมีทางน้ำ หากมีการใช้ระบบน้ำหยดกับการปลูกแตงเทศแล้ว ควรที่จะใช้วิธีการให้ปุ๋ยทางน้ำแก่ต้นแตงเทศ เพราะเป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยดีที่สุด ทำได้โดยการติดตั้งปั๊มปุ๋ยเข้าที่ส่วนต้นทางของระบบน้ำหยดก่อนเข้าสู่แปลงปลูก และผสมปุ๋ยลงในถังผสมขนาดใหญ่ 80 -200 ลิตร เป็นต้น เมื่อจุ่มสายดูดจากปั๊มปุ๋ยลงในถังผสมปุ๋ยและปล่อยให้ปั๊มทำงานเพื่อดูดปุ๋ยเข้มข้นขึ้นไปผสมกับน้ำที่กำลังผ่านเข้าไปในแปลงปลูกสู่ต้นพืช กลายเป็นน้ำปุ๋ยเจือจางหยดให้กับต้นแตงเทศแต่ละต้น ในความเข้มข้นดังนี้ ธาตุไนโตรเจน (N) 150 - 200 มก./ลิตร ธาตุฟอสฟอรัส (P) 30 - 50 มก./ลิตร และธาตุโปแตสเซียม (K) 150 - 200 มก./ลิตร ในช่วงหลังของการพัฒนาของผล ควรเพิ่มความเข้มข้นธาตุอาหารโปแตสเซียมให้มากขึ้นอีกเล็กน้อยและลดความเข้มข้นของไนโตรเจนที่ให้ไปพร้อมกับน้ำลง เพื่อเพิ่มความหวานให้แก่แตงเทศก่อนการเก็บเกี่ยว

ปัจจุบันปุ๋ยน้ำสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปผงที่ละลายน้ำได้มีการนำมาจำหน่ายแล้ว มีมากมายหลายสูตรแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นก่อนการออกดอกติดผล ควรใช้สูตรปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20 - 20 - 20 , 21 - 11 - 21 , 10 - 10 - 20 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น แต่ภายหลังเมื่อเริ่มออกดอกติดผลแล้ว ควรเปลี่ยนมาใช้สูตรปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูงขึ้น เช่น 14 - 7 - 28 , 12 - 5 - 40 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น ความเข้มข้นในถังปุ๋ยที่จะทำการผสมเพื่อดูดไปผสมกับน้ำแล้วได้ความเข้มข้น สุดท้ายเท่ากับที่ต้องการให้กับต้นแตงเทศนั้น จะขึ้นกับอัตราการดูดปุ๋ยของปั๊มปุ๋ย และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลงปลูกซึ่งจะแตกต่างกันไป ตามชนิดและขนาดของปั๊มปุ๋ยที่ใช้ และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลง คำนวณจากจำนวนหัวน้ำหยดและอัตราการหยดต่อหัวในการนี้บริษัทผู้ขายปุ๋ยสามารถให้คำแนะนำในการผสมได้

การเพิ่มความหวานในผลก่อนเก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ให้ค่อยๆ ลดปริมาณการให้น้ำแก่ต้นแตงเทศลงทีละน้อย จนถึง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้ลดน้ำลงจนกระทั่งต้นแตงปรากฎเกิดอาการเหี่ยวในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำตาลในผลแตงเทศและลดปัญหาการแตกของผลแตงเทศก่อนการเก็บเกี่ยว แตงเทศที่จัดว่ามีความหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ควรมีค่าความหวานอยู่ที่ประมาณ 14 องศาบริกซ์ ขึ้นไป หรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ยิ่งมีค่ามากยิ่งหวานมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว เมื่อผลแตงสุกแก่ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก คือ ในพันธุ์ที่ผิวมีร่างแหจะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสีและอ่อนนุ่นลง และในบางพันธุ์เริ่มมีกลิ่นหอมเกิดขึ้น เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุดออกจากขั้ว ในการเก็บเกี่ยวผลแตงเทศเพื่อการจำหน่ายจึงต้องเก็บเกี่ยว ในระยะที่พอดี หากเก็บเร็วเกินไปจะได้ผลแตงที่อ่อนเกินไป รสชาติยังไม่หวานและมีน้ำหนักน้อย หากเก็บเกี่ยวล่าช้าไป ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่มเกินไปไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษาและการจำหน่าย อายุเก็บเกี่ยวของแตงเทศที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์เบา ที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 60 - 65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30 - 35 วัน หลังดอกบาน , พันธุ์ปานกลางมีอายุเก็บเกี่ยว 70 - 75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40 - 45 วัน หลังดอกบาน พันธุ์หนักที่มีอายุเก็บเกี่ยวเกินกว่า 80 - 85 วันหลังเพาะเมล็ดหรือ 50 - 55 วัน หลังดอกบาน

นอกจากการนับจำนวนวันแล้ว การเก็บเกี่ยวแตงเทศยังสามารถดูจากลักษณะภายนอกได้ด้วย แตงเทศที่เริ่มสุกแก่เก็บเกี่ยวได้จะเริ่มมีกลิ่นหอมในพันธุ์ที่มีกลิ่มหอมและมีรอยแยกที่ขั้วผลเกิดขึ้นแสดงว่าผลแตงกำลังจะหลุดร่วงจากต้นโดยทั่วไปมักจะเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดรอยแยกประมาณ 50 % หรือครึ่งหนึ่งของรอบขั้วผล ซึ่งเป็นระยะที่ผิวของผลแตงยังไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป สามารถเก็บรักษาหรือขนส่งไปจำหน่ายในตลาดได้โดยไม่กระทบกระเทือน และอยู่ตลาดได้อีกระยะหนึ่ง

การเก็บรักษา แตงเทศเป็นผลไม้สามารถเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลพัฒนาเต็มที่แต่ยังไม่ถึงระยะสุกงอมและนำมาบ่นให้สุกก่อนการบริโภคได้เช่นเดียวกับมะม่วง กล้วยและมะละกอ ดังนั้นถ้าหากเก็บเกี่ยวแตงเทศที่แก่แล้วนำมาวางเก็บไว้ในสภาพอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 27 - 30 องศาเซลเซียส) ผลแตงเทศจะเกิดการสุกงอม เนื้อผลอ่อนและเน่าเสียในที่สุด ในเวลาอันสั้น หากต้องการเก็บรักษาแตงเทศให้คงสภาพเดิมไว้ให้นานที่สุด

เพื่อรอการจำหน่ายหรือขนส่งไปจำหน่ายในสถานที่ห่างไกล ควรจะต้องเก็บแตงเทศในสภาพที่มีอากาศเย็น ประมาณ 2 - 5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 95 % จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาแตงเทศออกไปได้นานถึง 15 วัน ในระหว่างการขนส่งและวางจำหน่ายหากสวมผลแตงเทศไว้ในถุงตาข่ายโฟมจะช่วยป้องกันการกระแทกระหว่างกัน กันให้เกิดรอยซ้ำได้

โรคและแมลง
โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิด Pseudoperonospora ชนิด หนึ่งซึ่งระบาดในสภาพอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง อาการของโรคเกิดขึ้นบนใบเป็นแผลสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวหม่นเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณที่ตรงกับแผล เมื่ออาการรุนแรง ทำให้ใบแห้ง และเถาตายได้ ในขณะที่กำลังออกดอกติดผล เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศในฤดูฝนของประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการระบาดของเชื้อโรค

การป้องกันก่อนการเกิดโรคในฤดูฝน ควรมรการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา จำพวกมาเน็บ หรือ ไซเน็บ เป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์ ถ้าหากพบว่าเชื้อราเข้าทำลายแล้วควรควบคุมอาการของโรคด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์ดูดซึม เช่น ริโดมิล สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงแล้ว ควรถอนต้นทิ้งแล้วนำมาเผาไฟเสีย เพื่อป้องกันการเชื้อโรคแพร่กระจายออกไปมากยิ่งขึ้น

โรคเหี่ยวจากเชื้อฟูซาเลียม (Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อราชนิด Fusarium ที่อยู่ในดิน ทำให้ต้นแตงเทศเกิดอาการใบเหลืองและเหี่ยวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลายในท่อน้ำท่ออาหาร การรักษาทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะเชื้อโรคอย่ในดิน เมื่อพบว่ามีต้นเป็นโรคนี้ ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง การปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง ของดินให้มีค่าสูงขึ้น จะช่วยชลออาการของโรคนี้ได้ ถ้าพบว่าเกิดโรคนี้อย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกใดควรงดการปลูกพืชในวงศ์แตงนี้ซ้ำในที่เดิมในฤดูติดกัน

โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส ต้นแตงเกิดอาการใบด่างเหลือง หยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งขึ้น ทำให้แตงชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกและติดผล ถ้าพบว่าเริ่มมีต้นแตงเทศเป็นโรคนี้ ควรรีบถอนต้นนั้นทิ้ง และนำไปเผาทำลาย ในการป้องกันการเกิดโรคนั้นต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดอื่นในวงศ์แตงในบริเวณใกล้เคียง และพยายามกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เป็นพาหนะของโรคนี้ คือ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เป็นระยะๆ แต่ต้องงดการฉีดก่อนการเก็บเกี่ยว
โรคราแป้งขาว (Powdery mildew) เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่ง ระบาดในสภาพอุณหภูมิและความชื้นสูง อาการเกิดบนใบ และผล ทำให้ใบกรอบเป็นสีน้ำตาล อาจเกิดร่วมกับโรคราน้ำค้าง ป้องกันกำจัดได้ด้วยการฉีดพ่นกำมะถันผง หรือ สารป้องกันกำจัดเชื้อราเบนโนมิล (Benomy)

แมลงศัตรูที่สำคัญ
เพลี้ยไฟ (Thrips) เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง แลนแนท

ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เซฟวิน 85 หรือ ตั้งแต่ก่อนย้ายปลูก ให้หยอดสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน หรือฟูราดาน ที่ก้นหลุม ก่อนย้ายปลูก ซึ่งจะมีฤทธิ์ป้องกันแมลงต่างๆ ได้ประมาณ 45 วัน แต่ไม่ควรใช้สารชนิดนี้อีกในระหว่างการเจริญเติบโตและติดผล เพราะจะตกค้างในผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

หนอนชอนใบ (Leaf minor) เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูลแตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อไปของต้นแตงเทศ วิธีการกำจัดต้องใช้สารเคมีชนิดดูดซึมเท่านั้นจึงจะได้ผล เช่น อะบาเมคติน เป็นต้น แต่ไม่ควรฉีดในระยะก่อนเก็บเกี่ยว

แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุกแก่  ''บ้านอะลาง''





ชมชิม"เมล่อน"หลากสายพันธุ์จาก"สวนวาสนา"
แคนตาลูปและเมล่อน นับเป็นผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดที่ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และมีราคาดี ผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานไม่เพียงแต่จะถูกป้อนเข้าตลาดระดับบนอย่างห้างสรรพสินค้าชั้นนำเท่านั้น แต่ยังมีการผลิตเพื่อส่งออกอีกด้วย

"ท่องโลกเกษตร" จะพาไปชมสวนวาสนา อ.หนองแค จ.สระบุรี นับเป็นแหล่งผลิตแคนตาลูปและเมล่อนรายใหญ่อันดับต้นๆ ของบ้านเรา ด้วยพื้นที่การผลิต 130 ไร่ กับปริมาณผลผลิตที่ส่งป้อนห้างสรรพสินค้าสัปดาห์ละ 3-5 ตัน มานานกว่า 6 ปี ภายใต้ชื่อ “ฟาร์มเฟรช” (FARM FRESH) โดย ภานุวัฒน์ อรุณโรจน์ศิริ ผู้ดูแลสวนวาสนาและเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่นำความรู้เชิงวิทยาศาสตร์มาใช้ในการวางแผนการผลิต คัดเลือกสายพันธุ์ และปรับปรุงคุณภาพเมล่อนและแคนตาลูปของสวน เปิดเผยเทคนิคการปลูกว่าระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 40 ซม. ระยะระหว่างแถว 50-60 ซม. จะได้จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 3,000 ต้น

การไว้ผลจะเลือกไว้ผลในข้อที่ 9-11 และเลือกไว้ผลที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงผลเดียว โดยให้ความสูงของต้นอยู่ที่ 20-25 ใบ และจะทำการตัดแต่งใบวันเว้นวันจนต้นอายุได้ 50 วัน

ส่วนการให้ปุ๋ยจะให้ไปพร้อมระบบน้ำ โดยใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จ ที่ใช้เป็นหลักจะมีเพียง 2 สูตร คือ สูตร 13-13-13 จะใช้ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเลือกไว้ผล เมื่อต้นอายุประมาณ 45 วัน จากนั้นก็จะเปลี่ยนมาใช้สูตร 12-6-18 ไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ปริมาณการให้ปุ๋ยเฉลี่ย 1 กรัมต่อต้น นอกจากการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำแล้วยังมีการให้ธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซียม-โบรอน แมกนีเซียม สังกะสี เป็นต้น

"โรคเหี่ยวจากไวรัสนับเป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับแหล่งปลูกแคนตาลูปในหลายพื้นที่ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับสวนวาสนา แม้จะมีการปลูกซ้ำที่มานานกว่า 8 ปี เนื่องจากมีระบบการจัดการและการเตรียมดินที่ดี  มีการใช้ขี้เถ้าแกลบ โดโลไมท์  ร็อกฟอสเฟต ในการปรับปรุงดิน และเมื่อพบการระบาดของโรค-แมลง ก็จะเลือกสารเคมีที่เหมาะสมและพ่นให้ตรงกับช่วงเวลาการระบาดมากที่สุด ซึ่งจะมีการป้องกันด้วยการขึงซาแลนสีดำรอบสวนเป็นแนวรอบพื้นที่ปลูก"

เจ้าของสวนคนเดิมระบุอีกว่า สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้การปลูกประสบความสำเร็จ ซึ่งสวนวาสนาได้มีการทดสอบสายพันธุ์เมล่อนและแคนตาลูปมากกว่า 30 สายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์ของไทย ไต้หวัน และญี่ปุ่น จนได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน 8 สายพันธุ์ คือ กลุ่ม เมล่อน ได้แก่ ออเรนจ์เน็ต (เนื้อส้ม) กรีนเน็ต (เนื้อเขียว) ไซตามะเมล่อน กลุ่ม แคนตาลูป ได้แก่ ท็อปซัน (เนื้อส้ม) ท็อปสตาร์ (เนื้อเขียว) แคนตาลูปสีทอง ได้แก่ ท็อปโกลด์ (เนื้อขาว) โกลเด้นท์ ซัน (เนื้อส้ม) และซันไช่ แอปเปิ้ลเมล่อน ซึ่งเป็นพันธุ์จากไต้หวัน โดยพันธุ์ที่มีความโดดเด่นที่สุดคือ “ไซตามะเมล่อน” ที่มีรูปทรงผลสวย ลายสวย รสชาติอร่อย ในญี่ปุ่นมีการซื้อขายผลสดกันในราคาสูงถึงผลละ 3,000-4,000 บาท ในขณะที่ราคาจำหน่ายในห้างสยามพารากอนนั้น เพียง 270 บาท/กก. เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ลูกค้าจะตอบรับเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่เตรียมเปิดตัวในช่วงปลายปี  คือ เมล่อนเลมอน ที่เกิดจาการพัฒนาพันธุ์ร่วมกันของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นพันธุ์ที่มีความโดดเด่นมากในส่วนของเนื้อและรสชาติแปลกใหม่ หวานอมเปรี้ยว เป็นผลไม้สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ และเป็นพันธุ์ที่น่าสนใจสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศ ซึ่งไม่นิยมผลไม้รสหวาน

ใครสนใจเรียนรู้เทคนิคการผลิตเมล่อน หรือต้องการเลือกซื้อผลผลิตสดจากสวน ในวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2552 นี้ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จะจัดกิจกรรมเกษตรทัศนศึกษา พาชมสวนเมล่อน (สวนวาสนา) สวนมะละกอฮอลแลนด์ และฟาร์มเห็ดเศรษฐกิจ ที่ จ.สระบุรี สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดได้ที่สมาคมฯ โทร.0-2940-5425-6, 08-6341-1713 ทุกวันในเวลาราชการ
ทีมข่าวเกษตร เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง