การเลี้ยงหอยแมลงภู่


การเลี้ยงหอยแมลงภู่
      หอยแมลงภู่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประชาชนนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั้งประกอบกันเป็นอาหารรับประทานสดและการถนอมในรูปแบบต่างๆ อาทิ ตากแห้ง ทำเค็ม และหมักดองเป็นต้น นับเป็นอาหารทะเลที่มีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งบริโภคทั้งในและต่างประเทศนับวันจะเพิ่มปริมาณตามความต้องการมากยิ่ง ขึ้น อีกทั้งหอยชนิดนี้สามารถทำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก    หอยแมลงภู่ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดทั่วไปปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้จากแหล่งเลี้ยงในท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเล ทั้งในบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทยตอนนอก ชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ แม้ว่าการเลี้ยงหอยแมลงภู่ในประเทศไทยจะได้ขยายขอบเขตออกไปในพื้นที่ที่ เหมาะสมมากขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

หอยแมลงภู่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เจริญ เติบโตเร็ว ไม่จำเป็นต้องให้อาหารหรือใช้ปุ๋ยอย่างการเลี้ยงปลาในบ่อ เพราะว่าหอยแมลงภู่จะกรองกินพวกแพลงตอนพืชและสัตว์ขนาดเล็กรวมใทั้งอินทรีย์ วัตถุที่แขวนลอยในทะเลเป็นอาหารซึ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ และล่องลอยอยู่ในน้ำทะเล การเลี้ยงหอยแมลงภู่จึงเป็นธุรกิจที่ใช้ต้นทุนต่ำและสามารถใช้แรงงานของ สมาชิกในครอบครัวเพื่อการนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าแรงงานมากนักสำหรับ ธุรกิจขนาดเล็ก ส่วนการเลี้ยงหอยแมลงภู่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ก็มีลู่ทางที่ดำเนินการให้ประสบ ผลสำเร็จด้วยดีได้เช่นกัน

การเลือกสถานที่      
ทำเลพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงหอยแมลงภู่ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพการเลี้ยงหอยแมลงภู่ จึงมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1 ควรเป็นแหล่งน้ำที่มีพันธุ์หอยแมลงภู่เกิดชุกชุมตามธรรมชาติ
2 ต้องเป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มและคงสภาพความเค็มอยู่เป็นเวลานานประมาณ 7 – 9 เดือนในรอบปี
3 ควรเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากกระแสน้ำคลื่นลมแรง
4 ควรเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจถ่ายเทน้ำเสียอันเป็นพิษเป็นภัยต่อสัตว์น้ำ
5 แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่ควรเป็นแหล่งน้ำตื้นชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำลึกประมาณ 3 – 10 เมตร
6 แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่หากมีทางเลือกควรอยู่ใกล้ตลาด การคมนาคมสะดวก และห่างไกลจากแหล่งมิจฉาชีพ

ประเภทการเลี้ยง      
การ เลี้ยงหอยแมลงภู่มีหลายแบบ แต่ละแบบเหมาะที่จะใช้ตามลักษณะภูมิประเทศและสภาวะแวดล้อม การที่จะเลี้ยงแบบใดนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมซึ่งรูป แบบที่นิยมมีดังนี้

1 การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย
          การเลี้ยงแบบนี้เหมาะสมที่จะดำเนินการในพื้นที่ย่านน้ำตื้นซึ่งมีความลึก ประมาณ 4 – 6 เมตร  ตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีสภาพเป็นอ่าวทั่วไป พื้นทะเลตั้งแต่เส้นขอบฝั่งออกไปไม่ลาดชันเกินไป สภาพดินเป็นโคลน และโคลนปนทราย   ระดับน้ำสูงสุดและต่ำสุดไม่แตกต่างกันมากนัก เป็นแหล่งน้ำที่มีแพลงตอนอาหารตามธรรมชาติของหอยเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  หากมีเกาะแก่งกระจายกันอยู่และบางบริเวณมีภูเขาที่ตั้งอยู่ชายน้ำจะช่วยเป็น เครื่องกำบังคลื่นลมและกระแสน้ำได้ดี

แหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่  ของประเทศไทยจะมีลูกหอยเกิดแทบทุกเดือนตลอดทั้งปี แต่ฤดูวางไข่จะมีลูกหอยเกาะจำนวนมาก พบในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม ช่วงหนึ่ง และอีกช่วงหนึ่งในเดือนตุลาคม- ธันวาคมของทุกปี ในช่วงหลังนี้มีลูกหอยชุกชุมมากกว่าช่วงแรก  เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยจึงต้องเตรีมปักหลักไม้เพื่อให้แล้วเสร็จก่อนที่ลูกหอย จะเริ่มเกาะประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หลักที่ใช้กันทั่วไปเป็นไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่นวล และไม้เป้ง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 5 – 6 เมตรโดยจะปักเรียงกันเป็นแถว ไม้ไผ่แต่ละต้นปักให้ลึก 1 – 1.5 เมตรและมีความเอียงทำมุมกับพื้นทะเลประมาณ 60  องศา ทั้งนี้ใช้ไม้เอียงไปทางขวาและทางซ้ายสลับกันไปทุกต้น การที่ปักหลักไม้เอียงดังกล่าวก็เพื่อช่วยให้กล่าวหักโค่นลดน้อยลงเมื่อหอย มีขนาดโตขึ้นและน้ำหนักมากขึ้น รวมทั้งป้องกันการเสียดสี เมื่อมีกระแสน้ำไหลแรง ซึ่งจะทำให้หอยหล่นเสียหายได้

ในพื้นที่เลี้ยงหอย 1 ไร่  (1600 ตารางเมตร) จะปักหลักไม้จำนวนประมาณ 1200 ต้น โดยแบ่งออกเป็น 4 แถว แถวละ 300 ต้น หรืออาจเพิ่มจำนวนไม้และเพิ่มจำนวนแถวได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรปักเกิน 1600 – 1800 ต้น เพราะจะทำให้มีความหนาแน่นมากเกินไป เป็นผลให้หอยได้รับอาหารไม่เพียงพอและเจริญเติบโตช้า
      
การ เจริญเติบโตของลูกหอยที่เริ่มเกาะหลักไม้ ประมาณว่าเมื่อลูกหอยมีอายุ 7 เดือน จะมีความยาวเฉลี่ย 5.86 เซนติเมตร ซึ่งจัดว่าเป็นขนาดที่สามารถส่งจำหน่ายแก่ผู้บริโภคต่อไปได้ การที่ลูกหอยมีขนาดหนาแน่นมากเกินไปไม่เพียงแต่ทำให้มีอัตราการตายสูงมาก เท่านั้นแต่จะเป็นผลให้หอยมีการเจริญเติบโตช้าลงอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหอยต้องแย่งอาหารกัน
      
ต้นทุนการเลี้ยง หอยแมลงภู่แบบปักหลักเลี้ยงโดยตรงซึ่งเฉลี่ยทุกท้องที่จากผลการสำรวจในปี 2528 เท่ากับ 12,995.11 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนคงที่ 738.68 บาท และต้นทุนผันแปร 12,256.43 บาท หรือร้อยละ 5.68 และ 94.32 ของต้นทุนทั้งหมด โดยเป็นค่าไม้หลักมากที่สุด 6,341.34 บาท และคิดเป็นร้อยละ 48.80 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมาเป็นค่าแรงงาน 3,802.16 บาท/ไร่ เป็นค่าจ้างแรงงาน 3,228.52 บาท  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24.84 ของต้นทุนทั้งหมด และเมื่อพิจารณาต้นทุนโดยเฉลี่ยต่อผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้เท่ากับต้นละ 785.72 บาทโดยเป็นต้นทุนผันแปร 741.06 บาท  และต้นทุนคงที่ 44.66 บาทต่อตัน


2 การเลี้ยงแบบแพ
          ขนาดของแพมีหลายขนาดตั้งแต่ 25 ตารางเมตร ,75 ตารางเมตร และ 150 ตารางเมตร เป็นต้นวัสดุที่ใช้ประกอบด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดอื่นๆ ประกอบกันเป็นแพ จำนวน 7 แถว ยาวกันห่างแถวละ 1/2เมตร ทุ่นลอยใช้โฟมถังน้ำมัน หรือถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรประกอบหัวท้ายสามารถรับเชือกเลี้ยงหอยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 มม. ยาว 3 เมตร ได้ไม้ละ 35 เส้น ระยะเวลาการเลี้ยง 8 เดือนจะได้น้ำหนักหอยประมาณ 1200 กก. ขนาดแพอาจประกอบกันได้หลายชุดและตรึงไว้ด้วยสมอขนาด 15 กก. โดยใช้เชือกสมอ มีความยาว  5   เท่าของความลึกของน้ำบริเวณใดกระแสน้ำแรงจัดก็เพิ่มได้ตามความเหมาะสม กรณีที่ต้องการสร้างแพด้วยท่อเหล็กควรทาสีกันสนิมด้วย การเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกก็เป็นวิธีเลี้ยงอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถ เลี้ยงได้บริเวณคลื่นลมแรงพอสมควร พื้นดินเป็นดินแข็ง หรือบริเวณที่ปักไม้ไม่ลงก็สามารถเลี้ยงได้ ส่วนตัวแพที่เลี้ยงมีความคงทนมีอายุการใช้งานหลายปี วัสดุที่ใช้หาง่ายมีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป

ปัจจุบันมีการพัฒนาการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก ซึ่งใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการประกอบแพเชือก ดังนี้
1. เชือกโพลีโพรพีลีน (polypropylene = pp) หรือ โพลีเอธทีลีน (polyethylene = pe) ขนาด 6-8 และ 20 มิลลิเมตร
2. ถังทุ่นขนาด 20 – 30 ลิตร
3. ทุ่นสมอปูนขนาด 60 – 80 ซม.
4. กระชังเหล็กสำหรับเป็นพาหนะเคลื่อนย้ายทุ่นสมอปูนขนาด 2 x 2 ตารางเมตร
5. เนื้ออวนขนาดตาเหยียด 6 เซนติเมตร ขนาดเส้นเชือก 700D/15



สำหรับการประกอบตัวแพ ขนาด 40 x 40 ตารางเมตรมีการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆคือ
1 การถักแพเชือก ขนาด 40 x 40 ตารางเมตร
           นำเชือกขนาด 16 มิลลิเมตร ตัดยาว 50 เมตร มาถักให้ได้ขนาดตา 1 x 1 ตารางเมตร กว้าง 40 เมตร ซึ่งจะเท่ากับพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อถักเสร็จแล้วใช้เชือกขนาด 20 มิลิเมตร วางรอบนอกตัวแพและในส่วนปลายของเชือก 16 มิลลิเมตร ผูกติดกับเชือก 20 มิลลิเมตร รอบนอกเพื่อให้ตัวแพมีสภาพคงทนและแข็งแรง

2 การผูกถังทุ่น ขนาด 20 – 30 ลิตร
          เมื่อถักเชือก ขนาด 16 มิลลิเมตรเป็นตัวแพเรียบร้อยแล้ว มีขนาด 40 x 40 ตารางเมตร ตัวแพจะมีแถวตามแนวตั้ง 41 แนว แถวแนวนอน 41 แนว นำถังทุ่นขนาด 20 – 30 ลิตร ใช้เชือกขนาด 6 – 8 มิลลิเมตร ผูกถังทุ่นที่ปมให้แน่นโดยผูก 6 แถว ตามแนวตั้ง เว้นแถวเพื่อต้องการให้เรือเข้าทำงานในตัวแพได้ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการซ่อมแซม และเก็บเกี่ยว ทำการผูกถังทุ่นจนหมดพื้นที่ 1 ไร่

3 การเตรียมทุ่นสมอปูน
          นำท่อนเหล็กปล้องอ้อย ขนาด 0.6 นิ้ว ยาว 1 เมตร และเหล็กหูแหนบ 2 อัน มาเชื่อมให้ติดกันที่หัว- ท้ายของปลายเหล็กเพื่อทำเป็นห่วงนำไปวางตรงกลางในท่อปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 60 – 80 เซนติเมตร เทปูนภายในจะได้ทุ่นสมอปูนสำหรับยึดตัวแพใน 1 แพ จะใช้ทุ่นสมอปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร 6 ลูก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร 6 ลูก

4 การเคลื่อนย้ายทุ่นสมอปูน
          อาศัยช่วงน้ำขึ้นโดยให้น้ำขึ้นสูงกว่าทุ่นสมอปูนประมาณ 1 เมตร ใช้กระชังเหล็กขนาด 2 x 2 ตารางเมตร อยู่ด้านบนทุ่นสมอปูน ใช้แรงงานคน 5 – 6 คน อยู่บนกระชัง นำเชือก 16 มิลลิเมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 2 เส้น ปลายเชือกทั้ง 2 เส้น ผูกที่ตัวกระชังใกล้กับห่วงทุ่นสมอปูน  ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งร้อยเข้าห่วงเหล็กนำมาผูกกับตัวกระชัง การผูกต้องผูกให้ตึง แต่ให้แก้ง่ายเพื่อสะดวกในการปล่อยทุ่นลงสู่พื้นในทะเล ต่อจากนั้นย้ายคนสลับด้านไปอยู่ฝั่งตรงข้ามทำเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อผูกเสร็จแล้วคนลงจากกระชัง กระชังจะลอยขึ้น ช่วงกระชังลอยขึ้น จะดึงทุ่นสมอปูนขึ้นจากพื้นดิน ใช้เรือลากตัวแพไปทิ้งทุ่นสมอปูนตามจุดที่ต้องการ

5 การนำแพเชือกลงทะเล
          ทิ้งทุ่นสมอปูนเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตรก่อน 4 มุม ห่างกันประมาณ 100 เมตร เมื่อทิ้งเสร็จใช้เรือลากแพลงทะเล ใช้เชือกขนาด 20 มิลลิเมตร ผูกสมอยึดแพไว้ 4 มุม ก่อน ต่อไปเอาทุ่นสมอปูน 80 เซนติเมตร ดึงด้านหน้า 2 ลูก ส่วนด้านข้างอีก 3 ด้านใช้ทุ่นสมอปูนเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร   ด้านละ 2 ลูก รวมใช้ทุ่นทั้งหมด 12 ลูก หลังจากลงแพเรียบร้อยจัดเตรียมสายเลี้ยงลูกหอยโดยใช้เนื้ออวนขนาดตา 6 เซนติเมตร ตัดให้ยาว 2 เมตร    กว้าง  20 เซนติเมตร (3-4 ตา) ผูกปลายด้านหนึ่งด้วยหินทะเลหรือหินที่ใช้ในการก่อสร้างโดยใช้หินเบอร์ 2-3 ใส่ถุงพลาสติก ใช้หนังยางผูกติดกับปลายเนื้ออวนที่ตัดไว้แล้ว ส่วนอีกปลายด้านหนึ่งผูกกับเชือกขนาด 16 มิลลิเมตร ของแพที่จัดเตรียมไว้แล้วในทะเลโดยผุกใต้ถังทุ่น 1 สาย และผูกรอบนอกถังทุ่นอีก 4 สาย เพราะฉะนั้น 1 ถังทุ่นจะมีสายเลี้ยงหอย 5 สายในพื้นที่ 1 ไร่ จะผูกสายเลี้ยงหอยได้ทั้งหมด (1600 x 5) เท่ากับ 8,000 สาย
     
หลังจากลูกหอยแมลงภู่เกาะแล้วจะกินอาหารธรรมชาติ จำพวกแพลงตอนพืชและแพลงตอนสัตว์ ใช้เวลาการเลี้ยงประมาณ 6 เดือน  หอยจะมีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร ให้เริ่มทยอยขายได้โดยเลือกกลุ่มที่มีขนาดตลาดต้องการก่อน เก็ยเฉพาะตัวหอย เหลือสายเลี้ยงหอยไว้เพื่อให้ลูกหอยรุ่นต่อไปเกาะ จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไป

ประมาณรายจ่ายต่อไร่ของการเลี้ยงหอยแบบแพเชือก
เชือกโพลีโพรพีลีน ขนาด 16 มิลลิเมตร 24 ม้วน                      51,700      บาท
เชือกโพลีโพรพีลีน ขนาด 20 มิลลิเมตร 2 ม้วน                         6,600      บาท
เชือกโพลีโพรพีลีน ขนาด 8 มิลลิเมตร 18 ม้วน                         11,100    บาท

ด้ายเบอร์ 36 จำนวน 10 มัด                                                       700      บาท
ทุ่นสมอปูน 12 ลูก                                                                      9,600      บาท
ถังทุ่นพลาสติก ขนาด 20 – 30 ลิตร จำนวน 1,476 ใบ                 39,900      บาท
อวนขนาดตา 6 เซนติเมตร เนื้ออวน 700D/15 จำนวน 6ม้วน     31,200     บาท
อื่นๆเช่น ค่าแรง ค่าจับ และน้ำมันเชื้อเพลิง                                45,000   บาท
รวมค่าใช้จ่าย                                                                             195,800   บาท
ประมาณการรายรับต่อไร่ของการเลี้ยงหอยแบบแพเชือก
จำนวนสายเลี้ยงหอย 8000 สาย เฉลี่ยสายละ 8 กิโลกรม รวม        64,000 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ                                                                           5      บาท
รวมเป็นเงิน                                                                                320,000    บาท



3 การเลี้ยงแบบหอยแขวนแบบราวเชือก
          วิธีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแขวน มีความเหมาะสมสำหรับแหล่งเลี้ยงที่มีระดับความลึกและปลอดภัยจากกระแสคลื่นลม แรงและ อยู่ห่างฝั่ง ส่วนประกอบที่สำคัญคือเชือก เส้นใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1/2นิ้ว ยาวประมาณ 100 เมตร มีทุ่นผูกเป็นระยะ 2 – 4 เมตร เพื่อพยุงไม่ให้จมเชือกนี้มีเส้นเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผูกเป็นระยะๆ เพื่อให้หอยเกาะมีระยะห่างกัน 50  เซนติเมตร ปลายเชือกยาวไม่เกินระดับน้ำลงต่ำสุด  ที่ปลายเชือกเส้นใหญ่ทั้งสองข้างผูกไว้กับสมอยึดไม่ให้เคลื่อนที่ ถ้าเป็นทุ่นใหญ่อาจผูกเชือกคู่ก้ได้ ผลผลิตพอๆ กับการเลี้ยงหอยแบบแพ แต่วิธีนี้เชื่อว่ามีความต้านทานต่อคลื่นลมได้ดี
      
สำหรับ การเลี้ยงแบบหลักไม้แขวนลอย การเลี้ยงแบบนี้จะรวบรวมพันธุ์หอยจากแหล่งธรรมชาติมาเตรียมให้หอยเกาะกับ หลักไม้เป้งความยาว 1 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร โดยใช้ถุงอวนบางประกอบกับไม้แล้วบรรจุหอยลงในช่วงระหว่างเนื้อถุงอวนกับ ผิวไม้ ผูกมัดเป็นส่วนๆ ประมาณ 3 – 4 ส่วน ตามความยาวไม้ จากนั้นจึงใช้เชือกลอดตามรูปลายไม้ด้านบนที่เจาะเตรียมไว้ แล้วผูกให้แน่นนำหลักไม้ที่พันหอยแมลงภู่นี้ไปแขวนลอยไว้บนราวที่มีเสาค้ำ จุน โดยจัดให้หลักหอยจมน้ำอยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นระยะที่น้ำลดต่ำสุดภายใน 4 – 5 วัน หอยจะเกาะกระจายอยู่ตามผิวหลักไม้อย่างมั่นคง จากนั้นจึงตัดอวนออกและเลี้ยงให้หอยเจริญเติบโตต่อไป ในระยะเวลา 8 เดือน หอยเจริญเติบโตได้ขนาดตลาด ซึ่งมีความยาวเฉลี่ย 7.3 เซนติเมตร ให้ผลผลิตเฉลี่ยหลักละ 5 กิโลกรัม ประมาณได้ว่าพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงได้ 4 หลัก ในแหล่งน้ำที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีอาหารตามธรรมชาติสมบูรณ์ในเนื้อที่ 1 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตจากการเลี้ยงหอยได้ประมาณ 30 – 32 ตัน/ไร่

4 การเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
          การเลี้ยงแบบตาข่ายเชือกสามารถเลี้ยงได้ในระดับน้ำลงต่ำสด 2 เมตร และในบริเวณดินแข็งที่ไม่สามารถปักไม้เลี้ยงหอยได้ การเลี้ยงแบบนี้มีข้อดี คือวัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุสงเคราะห์ซึ่งหาได้ง่ายตามตลาดทั่วไป และวัสดุที่ใช้เลี้ยงมีความคงทนใช้งานหลายปี สำหรับการเตรียมงานติดตั้งตาข่ายเชือกมีขั้นตอนต่างๆดังนี้

1 การเตรียมฐานเสา
          นำแม่แบบเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 เซนติเมตรวางตะแกรงเหล็กภายในแม่แบบ ที่ตะแกรงเหล็กเชื่อมห่วงหรือเหล็กหูแหนบสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร ตัดท่อพีวีซี ยาว 40 เซนติเมตร ตั้งในแบบ 4 ท่อน เทปูนภายในแบบให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ฐานเสาจะมีรูสำหรับสวมเสาเหล็ก 4 รู  ข้อควรระวัง อย่าให้เนื้อปูนเข้าในท่อพีวีซี จะทำให้เกิดการอุดตันไม่สามารถสวมเหล็กแป๊บได้

2 การเตรียมเสาเหล็กสวมใส่ท่อพีวีซี
          นำท่อแป๊บขนาด 2 นิ้วเชื่อมห่วงโซ่ขนาด 1 นิ้ว ให้ติดกับท่อแป๊บ 2 จุด จุดแรกเชื่อมที่โคนเสาให้ห่างจากโคนเสา 30 เซนติเมตร จุดที่2    ขึ้นอยู่กับน้ำลดต่ำสุด ถ้าน้ำลดลงต่ำสุด 2 เมตรวัดจากโคนเสาไปถึงปลายเสาให้เชื่อมที่ระดับ 2 เมตร (การเชื่อมจุดที่2 เพราะป้องกันการรูดลงของเชือก)เสร็จแล้วเทปูนภายในท่อแป๊บเพื่อให้ท่อแป๊บมี ความแข็งแรงยิ่งขึ้น

3 การเตรียมราวเชือก
          นำเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร มาถักให้ได้ขนาดตา กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 2.5 เมตร ถักให้เป็นผืนใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร  หรือผืนเล็ก 4 ผืน กว้าง 10 เมตร ยาว 40 เมตร การถักราวเชือกควรเหลือปลายเชือกรอบนอกไว้สำหรับผูกยึดเชือก 14 – 16 มิลลิเมตร ประมาณ 1 เมตร

4 การเคลื่อนย้ายฐานเสา
          นำกระชังเหล็กขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ใช้เชือกผูกถังขนาด 100 ลิตรจำนวน 8 – 12 ใบ การเตรียมย้ายต้องอาศัยระดับน้ำ เป็นตัวช่วยเวลาย้ายฐานเสา ควรเป็นช่วงที่น้ำข้นสูงกว่าฐานเสาประมาณ 1 เมตร การเคลื่อนย้ายนำกระชังให้ลอยอยู่บนฐานเสาใช้เชือกขนาด 14 – 16 มิลลิเมตร 2   เส้น ยาว   4 เมตร มีขั้นตอนลำดับดังนี้ ใช้คน 5 – 6 คน ขึ้นบนกระชังให้อยู่ด้านใดด้านหนึ่ง นำปลายของเชือกเส้นแรกผูกติดกับกระชังก่อน  ส่วนอีกปลายหนึ่งร้อยเข้าห่วงเหล็ก แล้วนำมาผูกติดกับตัวกระชัง การผูกต้องให้ตึงและแก้ง่ายเพื่อสะดวกในการปล่อยฐานเสา เสร็จแล้วย้ายคนสลับด้านไปอยู่ฝั่งตรงข้าม ทำเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อผูกเชือกเสร็จแล้วคนลงจากกระชัง กระชังจะลอยขึ้น วงเวลากระชังลอยขึ้นจะดึงฐานเสาขึ้นจากพื้นเสร็จแล้วใช้เรือลากกระชังไปทิ้ง ทุ่นสมอตามจุดที่ต้องการ

5 การวางฐานเสา
          ใช้ไม้ปักวางแนวก่อนให้ห่างกัน 10 เมตร ใช้เรือลากฐานเสานำไปทิ้งใกล้กับไม้ที่ปักทำเป็นแนวจะได้ฐานเสาห่างกัน 10 เมตร ในเนื้อที่ 1 ไร่ จะใช้ฐานเสา 25 ฐาน ในกรณีที่ลงฐานเสาไม่ตรงจุดทำการเคลื่อนย้ายได้โดยทำเช่นเดียวกับการเคลื่อน ย้ายฐานเสา

6 การสวมเสาหลัก
          นำเสาหลักที่เตรียมไว้แล้วสวมในรูฐานเสา 2 ต้น แล้วใช้เชือก 2 เส้น เส้นที่ 1 ผูกที่ปมเหล็ก ด้านบนให้แน่น ให้เสาติดอยู่คู่กันแล้ว ใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งขนาด 10 มิลลิเมตร ผูกปมเหล็กด้านบนไปยึดห่วงเหล็กด้านล่างให้ตึง การผูกยึดเพื่อป้องกันการหลุดของเสาหลัก

7 การขึงเชือก 14 – 16 มิลลิเมตร
          นำเชือก ขนาด 10 มิลลิเมตร ที่ถักเรียบร้อยแล้ววางพาดบนเชือกขนาด 14- 16 มิลลิเมตร ใช้ปลายเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร ที่เหลือไว้ผูกติดกับเชือก 14 – 16 มิลลิเมตรให้แน่น

8 การวางตาข่ายเชือก
          นำเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร ที่ถักเรียบร้อยแล้ววางพาดบนเชือก ขนาด 14 – 16 มิลลิเมตร ใช้ปลายเชือกขนาด 10 มิลลิเมตรที่เหลือไว้ผูกติดกับเชือก 14 – 16 มิลลิเมตรให้แน่น

9 การเก็บเกี่ยวลูกหอย
          เนื่องจากการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบราวเชือกเป็นการเลี้ยงหอยอยู่กับที่ เวลาเก็บเกี่ยวต้องน้ำลงไปเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังการเก็บเกี่ยวทำความสะอาดเส้นเชือก แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้หอยมาเกาะในรุ่นต่อไป

10 การเสริมฐานเสา
          ถ้าปริมาณลูกหอยเกาะตามราวเชือกจำนวนมากต้องเสริมฐานเสาขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง 1 เมตร การเสริมฐานเสา เสริมกลางระหว่างฐานเสาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร การเสริมฐานเสาเสริมกลางระหว่างฐานเสา 4 ต้น ถ้าราวเชือกหย่อนให้เพิ่มฐานเสาอีก

ถ้าเลี้ยงได้ในระดับ น้ำลงต่ำสด 2 เมตร และในบริเวณดินแข็งที่ไม่สามารถปักไม้เลี้ยงหอยได้ การเลี้ยงแบบนี้มีข้อดี คือวัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุสงเคราะห์ซึ่งหาได้ง่ายตามตลาดทั่วไป และวัสดุที่ใช้เลี้ยงมีความคง
ทนใช้งานหลายปี สำหรับการเตรียมงานติดตั้งตาข่ายเชือกมีขั้นตอนต่างๆดังนี้                                                                                                                 
ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อไร่ของการเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
เชือกโพลีโพรพีลีนขนาด 10 มิลลิเมตร จำนวน 20 มัด                     16,900     บาท
เชือกโพลีโพรพีลีนขนาด 16 มิลลิเมตร 2.5 มัด                                 5,100         บาท
ฐานเสาปูนขนาด 1.50 เมตร 25 ฐาน                                               12,500     บาท
ฐานแซม ขนาด 1 เมตร16 ฐาน                                                        2,400     บาท
เหล็กแป๊บ ขนาด 2 นิ้ว                                                                     6,600    บาท
ท่อพีวีซี ขนาด 2.5 นิ้ว                                                                      2,400    บาท
อื่นๆเช่น ค่าแรง ค่าจับ ค่าน้ำมันและเหล็ก                                        14,100   บาท
รวมเป็นเงิน                                                                                    60 ,000  บาท

ประมาณการรายรับต่อพื้นที่ตาข่าย 1 ไร่ ของการเลี้ยงหอยแบบตาข่ายเชือก
ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 6 กิโลกรัม /1เมตร                  25,680       บาท
ราคากิโลกรัมละ                                                                 5        บาท
รวมเป็นเงิน                                                           128,400        บาท
ฉะนั้นกำไรสุทธิ                                                        68,400       บาท

การดูแลรักษา
การดุแลรักษาสำคัญมากเพราะว่าผลผลิตจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของผู้เลี้ยง ซึ่งพอจำแนกเฝ้าระวังรักษาได้ดังนี้

1 ควรมีการกำหนดขอบเขตแปลงเลี้ยงหอยอย่างแน่ชัด โดยทำเครื่องหมายที่สามารถสังเกตได้ชัด เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอก เข้ามาทำการประมงด้วยเครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทต่างๆ บริเวณที่เลี้ยงหอยทีได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว

2 ในแปลงเลี้ยงหอยควรมีที่พักคนเฝ้าไว้สำหรับดูแลรักษาแปลงหอยเป็นการป้องกันไม่ให้หอยสูญหายจากมิจฉาชีพ

3 ในการเลี้ยงหอยแบบแขวน ควรจะได้มีการตรวจและซ่อมแซม วัสดุ อุปกรณ์ที่อาจชำรุด ตลอดจนชำระล้างตะกอน โคลนและกำจัดศัตรู เช่น ปู หอย เพรียง และปลาที่เข้ามาอาศัย อย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อครั้ง โดยดำเนินการเวลาเช้าตรู่ปลอดจากความร้อนสูงของแสงแดด

4 การเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการตายของหอยอย่าง มาก โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนที่ฝนตกชุกความเค็มจะลดต่ำลงอย่างกะทันหัน เป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำขาดความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติ หอยแมลงภู่จะผอมและมีน้ำหนักลดลงหรืออาจตายได้ ดังนั้นระยะเวลาดังกล่าว ผู้เลี้ยงควรพิจารณาเก็บผลผลิตส่งจำหน่ายก่อน

5 ความหนาแน่นของหอยที่เกาะเลี้ยงตัวบนวัสดุ มีผลต่อการเจริญเติบโตเพราะความหนาแน่นสูง หอยจะเบียดกันมากและแย่งอาหารกัน กินนอกจากนี้ถ้าเป็นหลักไม้หากหอยเกาะมากเกินความพอเหมาะของพื้นที่ที่มี อยู่หอยบางส่วนจะหลุดร่วงจากหลักจมโคลนและตายในที่สุด ดังนั้นผู้เลี้ยงควรจะนำหอยที่มีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร ซึ่งมีความหนาแน่นมากไปจำหน่ายใช้เป็นอาหารเลี้ยงเป็ดหรืออาจนำไปเลี้ยงโดย วิธีการอื่น ได้แก่การเลี้ยงแบบแขวนในกระบะและวิธีอื่นๆ เพื่อลดความหนาแน่นของหลักไม้ให้ต่ำลง

6 การเลี้ยงหอยแบบหลักแขวนลอย ในบางฤดูที่มักจะเกิดน้ำเสียหรือเกิดขี้ปลาวาฬ ผู้เลี้ยงหอยควรจะได้สอดส่องดูแลระมัดระวัง ตลอดจนเตรียมการระมัดระวังเตรียมการป้องกันหรือเคลื่อนย้ายแพเลี้ยงหอยออกไป พักไว้ในบริเวณที่ปลอดภัยจากน้ำเสีย

7 ความขุ่นของน้ำในบริเวณที่เลี้ยงหอย ถ้าขุ่นมากตะกอนและโคลนตมจะเกาะตามเหงือก ทำให้หอยหายใจไม่ออกและตายได้ นอกจากนี้ความขุ่นยังทำให้ประสิทธิภาพการกรองอาหารต่ำลง

8 ปัญหาจกคลื่นลมและกระแสน้ำ รวมทั้งการทำการประมงด้วยเรืออวนลากและอวนรุนเป็นผลให้ไม้หลักเลี้ยงหอยถูกทำลาย

9 ปัญหาน้ำเสียจากโรงงาน