เลี้ยงแมงป่องช้าง ลงทุนน้อย ตลาดรับไม่อั้น


 แมงป่องช้าง'ลงทุนน้อย-ตลาดรับไม่อั้น 
'แมงป่องช้าง' สัตว์เศรษฐกิจ ลงทุนน้อย-ตลาดรับไม่อั้น : โดย...กวินทรา ใจซื่อ

แมงป่องช้าง เป็นแมงที่คนรุ่นก่อน โดยเฉพาะในภาคอีสานนิยมนำมาบริโภค ด้วยนำมาย่างทำเป็นน้ำพริกจิ้มกินกับผัก คล้ายน้ำพริกแมงดา จากข้อมูลพบว่าแมงป่องช้างมีโปรตีนสูงจำพวกเดียวกับหนอนไหม ปัจจุบันด้วยจำนวนแมงป่องช้างในธรรมชาติที่ลดน้อยลงเนื่องจากป่าถูกทำลาย ที่เห็นวางขายตามแผงขายแมลงทอดทั้งหมด ล้วนนำเข้าจากประเทศกัมพูชา ทำให้มีราคาขายสูงถึงตัวละ 20 บาท

การลดลงของแมงป่องช้างทำให้ นายนพดล ภูมาลัย เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.ขอนแก่น (ผึ้ง) ทดลองเพาะเลี้ยงแมงป่องช้างเพื่อเศรษฐกิจ โดยเริ่มต้นงานวิจัยและทดลองเลี้ยงเมื่อปี 2536 ทำให้มีข้อมูลด้านการคุ้มทุน ความน่าสนใจ หากเกษตรกรต้องการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม


“ตลอด 20 ปีที่มีการศึกษาวิจัยการเลี้ยงแมงป่องถือเป็นสัตว์ที่เลี้ยงยาก ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงหลังผสมพันธุ์และหลังออกลูก ตัวเมียจะกินตัวผู้และกินลูกตัวเอง ทำให้อัตราการรอดเหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ได้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง หากมองในแง่เศรษฐกิจถือว่าเป็นการเลี้ยงที่น่าสนใจทีเดียว เพราะมีตลาดรองรับมาก และความต้องการของตลาดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทว่า เกษตรกรต้องเอาจริงเอาจัง คิดว่าทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องอาศัยใจรักและความอดทน” นพดล แจง

โดยการเลี้ยงแมงป่องช้าง ต้องเริ่มจากรวบรวมพ่อแม่พันธุ์โดยให้สังเกตจากลำตัว ตัวผู้จะมีลักษณะเรียว หางยาวและก้ามใหญ่ แถบข้างลำตัวสีขาวอมเทา เมื่อถูกบุกรุกจะชูก้าม ชูหางข่มคู่ต่อสู้ ส่วนตัวเมียส่วนท้องจะอ้วนและโตกว่า แถบข้างลำตัวสีขาวอมเทา จะสงบเสงี่ยมเมื่อถูกรุกราน มีนิสัยหากินช่วงกลางคืน กลางวันจะหลบซ่อนตัว ชอบอากาศร้อนชื้นที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส

การเลี้ยงต้องเลี้ยงในที่ร่ม ใช้บ่อปูนขนาด 80 เซนติเมตร ในบ่อให้ใส่ดินหนา 10 เซนติเมตร และใบไม้แห้ง เพื่อใช้หลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน หลังจากให้อาหารใช้ตาข่ายปิดรอบปากบ่อรัดให้แน่น ส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1 ต่อ 1 บ่อละ 40-50 ตัว ให้อาหารช่วงเย็นวันเว้นวัน จำพวกสัตว์เล็กๆ เช่น แมงมุม ตั๊กแตน ปลวก จิ้งหรีด ต้องมีน้ำวางไว้ในบ่อให้กินตลอด ต้องใส่ก้อนหินไว้ให้ด้วยเพื่อป้องกันแมงป่องจมน้ำ ช่วงเมษายนต้องแยกตัวเมียออกไปเลี้ยงลำพังเพื่อเตรียมออกลูก ซึ่งจะออกครั้งละ 7-29 ตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่

ช่วง 15 วันแรก ลูกแมงป่องจะมีสีขาว ขนยาว อาศัยบนหลังแม่ตลอด ไม่กินอาหาร ระหว่างนี้จะลอกคราบ 1 ครั้ง จากนั้นจะเริ่มลงจากหลังแม่หากินใกล้แม่ และเริ่มแยกตัวหากินลำพัง จนอายุครบ 1 เดือน ต้องแยกแม่ออกป้องกันแม่กินลูก แล้วนำลูกมาเลี้ยงอนุบาลรวมกันอายุ 8 เดือน หรือ 1 ปี จึงจะจับขายได้

“หากต้องการเลี้ยงเป็นอาชีพจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ 1,000 คู่ ขึ้นไป ส่วนพื้นที่เพาะเลี้ยงได้ทดลองปรับจากบ่อซีเมนต์ เป็นเพาะเลี้ยงในปี๊บ เลี้ยงได้เช่นกัน อาจทำเป็นปี๊บคอนโดซ้อนกัน ช่วยประหยัดพื้นที่ ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะตลาดมีความต้องการมาก ดูได้จากมีพ่อค้าแม่ค้าฝั่งไทยไปรับซื้อที่ตลาดโรงเกลือเพื่อนำมาขายต่อ เพราะฝั่งประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีแมงป่องตามธรรมชาติให้จับอยู่มาก ทว่า ในบ้านเรายังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงอย่างจริงจัง แต่หากต้องการเลี้ยงก็ไม่ยาก ลงทุนไม่มาก อาหารไม่เปลือง เป็นอาชีพที่น่าสนใจทีเดียว” นพดล กล่าว

พร้อมฝากถึงเกษตรกร ประชาชนที่สนใจศึกษาการเลี้ยงแมงป่องช้าง สอบถามรายละเอียดหรือเข้าไปดูการเลี้ยงได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.ขอนแก่น (ผึ้ง) โทร.0-4325-5066, 0-4325-5066 ได้ในวันและเวลาราชการ

วิธีเพาะเลี้ยงปลากระทิงลาย


 วิธีเพาะเลี้ยงปลากระทิง 
ปลากระทิงลาย ลักษณะทางชีววิทยา
ปลากระทิงลาย ชื่อสามัญ Armed Spiny Eel ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembelus armatus รูปร่าง
คล้ายปลาไหลแต่ลำตัวแบนข้าง มีเกล็ดเล็กละเอียดบนลำตัวและหัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้มมีแถบสีดำเป็นเส้นคดเคี้ยวตั้งแต่บริเวณนัยน์ตาจนถึงฐานครีบหาง เส้นแถบนี้จะประแต้มไปจนถึงครีบหลังและครีบก้นปากเล็ก ฟันซี่เล็ก ลักษณะของจะงอยปากยาวดูคล้ายงวง ช่องเหงือกแคบเล็ก อยู่ค่อนไปทางตอนใต้ของส่วนหัว ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นเชื่อมติดกัน บริเวณหน้าครีบหลังและครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว ที่เปนหนามแข็งปลายแหลม ไม่มีครีบท้อง พบในแม่น้ำ หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาค กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า (กรมประมง, 2535)

 การเพาะพันธุ์ 
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
ปลากระทิงที่รวบรวมจากธรรมชาติจะตื่นตกใจง่าย ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะยอมรับอาหาร
ที่ฝึกให้กินเป็นอย่างดี โดยอาหารที่ให้เป็นลูกปลาตะเพียนขาว,ปลายี่สกเทศ ขนาดประมาณ 2 - 3
เซนติเมตร และพ่อแม่พันธุ์ปลามีความสมบูรณ์เพศพร้อมที่จะทำการผสมพันธุ์ ได้ในเดือนกันยายน โดยการตรวจสอบลักษณะภายนอก แม่ปลาดูลักษณะส่วนท้องอูมเป่ง ผนังท้องบางและนิ่ม ช่องเพศขยาย พ่อปลาเมื่อรีดที่ท้องจะมีน้ำเชื้อไหลออกมา

 การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม 
ปลากระทิงลายสามารถเพาะพันธุ์ได้โดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม อัตราการใช้ฮอร์โมนเป็นดังนี้
แม่พันธุ์ปลา แบ่งฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 8 ชั่วโมง ครั้งที่ 1 ฉีด 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ครั้งที่ 2
ฉีด 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และทั้ง 2 ครั้งฉีดร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
พ่อพันธุ์ปลาฉีดพร้อมกับแม่พันธุ์ปลาครั้งที่ 2 ในอัตรา 10ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ
ยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ครั้งที่ 2 แล้วประมาณ 37 – 41 ชั่วโมง จะสามารถรีดไข่จากแม่ปลาได้
ไข่ปลากระทิงลายเป็นแบบจมติดสีเหลืองอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ซึ่ง
ไข่ 1 กรัม จะมีปริมาณไข่ประมาณ 78 ฟอง หลังจากรีดไข่แล้วจะรีดน้ำเชื้อลงผสมกับไข่ น้ำเชื้อมีสีขาวขุ่น  การผสมเทียมใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง ( modified dry method ) ไข่ปลากระทิงลายสามารถฟักได้ในถาดฟักไข่ปลานิล โดยโรยไข่ลงไปบาง ๆ เปิดน้ำให้กระแสน้ำไหลตลอดเวลา หลังจากรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง มีอัตราการปฏิสนธิร้อยละ 95 – 97 อัตราการฟักร้อยละ 80 – 90 และอัตรารอดของลูกปลาร้อยละ 94 - 95 ที่อุณหภูมิน้ำ 26 – 27 องศาเซลเซียส โดยหลังจากฟักเป็นตัวจนลูกปลาถุงไข่แดงยุบหมดใช้เวลา 7 – 9 วันที่อุณหภูมิน้ำ 25 – 26 องศาเซลเซียส

ลักษณะท้องและช่องเพศของแม่ปลา
รังไข่และถุงน้ำเชื้อ
รีดไข่จากแม่พันธุ์ปลา
รีดน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ปลา
การผสมไข่กับน้ำเชื้อ

ไข่ที่โรยเพื่อฟักในถาดฟักไข่ปลานิล
ลูกปลาอายุ 1 วัน
ลูกปลาอายุ 2 วัน
ลูกปลาอายุ 5 วัน
ลูกปลาอายุ 7 วัน (ถุงไข่แดงยุบ)


การอนุบาลลูกปลากระทิง
ลูกปลากระทิงมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า โดยใช้เวลาถึง 7 วันถุงไข่แดงจึงจะยุบ ลูกปลาแรกฟัก
จะนอนนิ่ง ๆ ที่พื้นของถาดฟักไข่ เมื่อลูกปลาอายุ 3 วันจะเริ่มรวมกลุ่มและหลบอยู่ตามมุมถาด
สามารถว่ายน้ำไปมาได้เล็กน้อย เริ่มให้ไรแดงร่อนเป็นอาหารเมื่อลูกปลาอายุได้ 7 วัน และลูกปลาสามารถกินไรแดงร่อนได้ดีเมื่ออายุ 9 วัน


การเลี้ยงปลากระทิง
ลูกปลาอายุ 10 – 40 วันให้ไรแดงเป็นอาหาร หลังจากนั้นจะเริ่มฝึกให้กินเนื้อปลานิลสับละเอียด
ปรับขนาดของเนื้อปลาสับตามขนาดของปากลูกปลา การเลี้ยงลูกปลากระทิงจะประสบปัญหาปลาป่วยเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่นเห็บระฆัง อิพิสไทลิส การรักษาใช้ฟอร์มาลิน 25 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตรเป็นเวลา 3 – 5 วัน ปลาจะมีอาการดีขึ้น (ศิพร และ คณะ, 2552 )

เลี้ยงปลาหลดเงินล้าน


ปลาหลด เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และอยู่ตามพื้นน้ำ ฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน หากินอาหาร ในเวลากลางคืน ชอบกินตัวอ่อนของแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อ เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้เดิมที่ชุกชุมมากช่วงฤดูฝน ยกยอครั้งใดมัก จะติดขึ้นมาด้วยเสมอ

ปัจจุบันนี้หารับประทานกันได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก แหล่งน้ำมีสารพิษและการเน่าเสีย สภาพแวดล้อมไม่สมดุลทำให้การวางไข่ลด ลง จำนวนปลาจึงน้อยลงและมีให้เห็นแต่เพียงตัวเล็กๆ ถ้าปลาหลดตัวใหญ่นั้น เป็นปลาที่มาจากประเทศกัมพูชา ไม่แปลกราคาปลาหลดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 120-200 บาท




 ลักษณะของปลาหลด 
ลักษณะที่โดดเด่นของปลาหลดคือ เป็นปลาที่อดทนสูง อาศัยอยู่ในโคลนตมได้ นาน รูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวสามารถยืดหดได้ ลำตัวยาวเรียว ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวปลากลมมน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม ปากและตา เล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ไม่มีครีบท้อง หลังสี

น้ำตาลท้องมี สีอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3-5 จุด เกล็ดเล็กมาก จนมองดูเหมือน ไม่มี อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า

สำหรับในการเลี้ยงปลาหลดเพื่อการค้าอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการหาพ่อแม่พันธุ์ ปลาหลดยังต้องหาตามแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำให้ปลามีความบอบซ้ำและปริมาณก็ ไม่มากพอ แหล่งที่มีการรวบรวมพันธุ์ที่สำคัญคือ ตลาดโรงเกลือ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

คณะวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ เห็นความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยและทดลองการเพาะเลี้ยงปลาหลดอย่างเอาจริง เอาจัง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี

ผ.ศ.หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง หนึ่งในคณะผู้ วิจัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ปลาหลด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรให้มีรายได้จากการ เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น




 ที่อาศัยของปลาหลด 
ปลาหลด ( Macronathus siamensis ) เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ใน ห้วย หนอง คลอง บึง ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แพร่กระจายทั่วประเทศ เป็นปลาที่มีความอดทนสูง อาศัยในโคลนตมได้นาน ชอบอาศัยตามพื้นท้องน้ำ และฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน มีนิสัยชอบหากินในเวลากลางคืนเป็นปลากินเนื้อ กินอาหารจำพวกตัวอ่อนแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อเน่าเปื่อย ปลาหลดมีรูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวและสามารถยืดหดได้ มีสีเทาและสีดำ ปากเล็ก ฟันเล็กและคม มีช่องเหงือกเปิดอยู่ใต้หัวปลาหลดเป็นที่นิยมรับประทานในรูปของปลาสด ตากแห้ง หรือทำเค็มโดยปกติจะมีการซื้อขายในตลาดเป็นจำนวนมากอยู่

 การเพาะพันธุ์ปลาหลด  
เราจะคัดปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์คือเพศเมียลำตัวอ้วนป้อมจากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพศเมียทำการฉีด 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พัก ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 ชั่วโมง เพศผู้ ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว โดย ฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 แล้วก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบ ร้อย ปล่อยลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ


 พ่อ-แม่พันธุ์ปลาหลด 
ปลาหลดเพศ 1 ตัว จะให้ไข่ได้ถึง 3,000 - 5,000 ฟอง ซึ่งจมติดวัตถุใน น้ำและฟักตัวในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลา ประมาณ 48-60 ชั่วโมง หลังจากไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว อาหารที่ให้ในระยะ การอนุบาลควรเป็นไรแดง เพราะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่ สุด แล้วค่อยให้หนอนแดงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร

ผ.ศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อ ซีเมนต์ ลักษณะของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4x4 เมตร หรือ 2x4 เมตร ความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร หรือเพียง 50 เซนติเมตร เพาะปลาหลดจะไม่กระโดด แต่ ถ้าสูงก็สามารถป้องกันงูและศัตรูอื่นๆ ได้ดี

ผิวบ่อฉาบเรียบ อาจทำให้ลาดเอียงประมาณครึ่งบ่อเพื่อใส่ทรายปนดินเหนียว ไว้ที่ก้นบ่อ ข้อดีของบ่อซีเมนต์คือสามารถควบคุมไม่ให้ปลาหนีได้ ซึ่งบ่อ ดินจะทำให้ปลาหลดหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลน การจับขายค่อนข้างลำบาก ลูกปลา อายุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป หรือความยาว ประมาณ 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000 - 2,500 ตัว สามารถปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง ได้ แต่ถ้าจะให้ดีต้องอายุ 1 เดือน

“ในการเลี้ยงปลานั้น เราต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ตรวจสอบคุณภาพ ของอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ น้ำจะเสียได้ง่าย ใช้วิธีเพิ่ม น้ำเข้าไปแล้วไหลออกอีกทางหนึ่ง ปลาจะมีความรู้สึกว่าน้ำไหลเวียน พื้นบ่อ ควรจะหากระบอกไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาหลดชอบหลบอาศัยอยู่ในโพรงหรือ กระบอก ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ระดับความสูงของน้ำให้ท่วม บริเวณพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร”

 ปลาหลดจะโตเร็ว ใช้เวลา เพียง 6-7 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 ตัว ต่อ กิโลกรัม หากเลี้ยงจนได้อายุ 1 ปี ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้

สำหรับอาหารที่ใช้ในเลี้ยงปลาหลดนั้น เหมือนกันกับเหยื่อของปลาไหล โดยมี หลักๆ ดังนี้ หอยเชอร์รี่ นำมาทุบแยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน แล้วสับเนื้อ หอยให้ละเอียด นำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อระหว่างทรายกับผิวปูน ซีเมนต์ กองไว้ เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากินหรืออาจกินตั้งแต่สดๆ


"เราจะต้องคอยดูว่า ปลาหลดจะกินหมดในเวลา 2-3 วัน หรือไม่ ถ้าหมดควร เพิ่มให้อีก แต่ถ้าเหลือควรลดลง เวลาการให้อาหารควรระวัง คือต้องอย่าให้ เกิดการกระเทือน เพราะจะทำให้ปลาตกใจหนี"

"ในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาชนิดทั่วๆ ไปนั้น ต้องมีต้นทุนในการซื้อ อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในขณะที่อาหารปลาหลดเราหาได้เองตามธรรมชาติ เช่น หอยเชอ รี่ ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าวมีจำนวนมาก หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยัง ช่วยทำลายหอยเชอรี่โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด อีกอย่างไส้เดือนก็หาได้ ทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วปลาชนิดอื่นขายขายได้ในราคาที่ ถูกกว่า ปลาหลดขายได้แพงกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่า เกษตรกรสามารถประกอบเป็น อาชีพเสริมได้อย่างดี " ผศ.หทัยรัตน์ กล่าว

เลี้ยงไส้เดือนเป็นอาหารปลาหลด
อย่างที่บอกครับว่า ปลาชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิดทำให้ผศ.หทัยรัตน์ เกิดความคิดที่จะเพาะไส้เดือนมาให้ปลากิน จึงได้ไปอบรมการเพาะเลี้ยง ไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

"ไส้เดือน น่าจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับการนำมาเลี้ยงปลาหลด เพราะตาม ธรรมชาติแล้วช่วงฤดูฝนเวลาเราจับปลาหลดได้ พอผ่าท้องออกมาก็จะพบไส้เดือน จำนวนมาก แสดงว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ปลาหลดชอบกิน"

ผศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ถึง 60% ของน้ำหนักตัว จะทำให้ปลาโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง เกล็ดเป็นเงา งาม สามารถผลิตปลาหลดได้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยง ไส้เดือนเพื่อเป็นอาหารของปลาหลดนั้น ข้อดีคือ ต้นทุนในการเลี้ยงน้อย มาก เพราะการเลี้ยงไส้เดือนใช้เพียง มูลช้าง วัว ควาย ขุย มะพร้าว กระดาษ เศษอาหาร ผลไม้เน่าเสีย เลี้ยงใน ภาชนะ เช่น ถัง กะละมัง ซึ่งอยู่ในที่ร่มและมีความชื้น ก็ทำให้ไส้เดือน สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของการเลี้ยงปลาหลดด้วยไส้เดือน 
1.ไส้เดือนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่เพียงพอลงทุนต่ำ
2.ไส้เดือนเมื่องลงบ่อจะอยู่ได้ถึง1 วัน ไม่ตาย ปลาหลดจะจับกินได้อย่างต่อเนื่อง
3. ปลาหลด ชอบกินเหยื่อไส้เดือน

แต่อย่างไรก็ตามอาหารปลาหลดยังมีอีกหลายๆอย่างดังนี้
1. หอยเชอรี่ นำมาทุบแยกเปลือกเนื้อหอยแล้วสับให้ละเอียด นำมาวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อทรายกับผิวปูนซีเมนต์ กองไว้ให้อาหาร 2 – 3 ครั้ง เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากิน และอาจกินตั้งแต่สดๆ ได้ พิจารณาว่าปลาหลดกินเหยื่อหมดใน 2 – 3 วันหรือไม่ ถ้าหมดควรเพิ่มให้ ถ้าเหลือควรลดลง พยายามอย่ากระทบกระเทือนปลาจะตกใจหนี

2. ไส้เดือน จะเป็นอาหารที่ปลาหลดโปรดปรานมากที่สุด เมื่อนำไส้เดือนให้ จะให้ช่วงเย็น – ค่ำ พอไส้เดือนเคลื่อนตัวตามผิวทราย ปลาหลด 1 ตัวจะกินไส้เดือน 1 – 2 ตัว ก็จะอิ่ม และมีลักษณะความสมบรูณ์ของตัวปลามาก เช่น ปลาจะอ้วน เกล็ดเป็นเงางาม

3. ระยะเวลาของการเลี้ยง ปลาหลดเป็นปลาที่จัดว่าโตเร็ว การเลี้ยงจะใช้เวลา 6-7 เดือน ก็จะได้ขนาดที่จำหน่ายประมาณ 30 – 40 ตัวต่อกิโลกรัม และอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้


ปัจจุบันปลาหลดที่มีจำหน่ายตามตลาดเป็นปลาหลดที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทำให้ปลาหลดเริ่มหายากมากขึ้นและมีราคาค่อนข้างสูงขึ้นกิโลกรัมละ70–80 บาท (ตามท้องตลาดขายขีดละ 12 – 17 บาท) ในช่วงฤดูฝนจะหาซื้อได้ง่าย เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้วปลาหลดจะลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก จะหาซื้อลำบาก ราคาค่อนข้างสูงโดยมีราคาประมาณ 120 – 200 บาท ด้วยเหตุดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาชีววิทยาของปลาหลดเป็นเบื้องต้น ศึกษาวิธีการสำหรับนำมาเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนอาหารประเภทโปรตีน และยังเป็นรายได้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงปลาหรือจับปลาขายเป็นอาชีพอีกด้วย

โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในชุมชนของเกษตรกรเองไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่นช่วยให้สามารถมีรายได้และช่วยพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อชุมชนหรือชุมชนใกล้เคียงและทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งส่งผลให้ประเทศชาติมีการพัฒนาที่ดี

ข้อมูลจาก: http://www.oknation.net/blog/surapinyo
ภาพประกอบ:www.rakbankerd.com  
Aquatoyou.com
nanasarakaset.blogspot.com