ไก่เบตง
เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีนที่เรียกว่าไก่กวางไส ซึ่งเป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่พันธุ์แลนซาน ไก่เบตงถือว่าเป็นไก่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ไก่เบตงจะมีลักษณะที่สำคัญแยกตามเพศพอที่สังเกตได้ดังนี้ ลักษณะไก่ตัวผู้จะมีสีเหลืองอ่อนๆตรงปากพร้อมกับมีจงอยปากงุ้มที่แข็งแรงมาก ตรงส่วนหัวจะกว้างและมีขนสีเหลืองทองที่ค่อย ๆ จางไปทีละน้อยจนถึงลำตัวคล้ายสร้อยคอ มีดวงตานูนใสแจ๋วและก็มีหงอนสีดำเป็นจักรๆไร้ตุ้มหู ตรงส่วนลำคอจะตั้งตรงมีลักษณะที่แข็งแรง ตรงส่วนปีกทั้งสองข้างนั้นสั้นแต่ว่าแข็งแรงมากพอสมควรและก็มีสีเหลือง บางทีอาจจะมีเส้นขนดำๆ 1-2 เส้นตรงแกนของขนด้วย อกกว้างแบบไก่พันธุ์เนื้อทั่วไปที่ควรจะเป็น ขนตรงบริเวณหน้าอกและ บริเวณใต้ปีกมีสีเหลืองบางๆ ส่วนหลังกว้างเป็นแผ่นๆที่ขนานกับพื้น ขนหางบางนุ่มแต่ว่า มีหางไขสั้นๆอยู่ 1 เส้น ส่วนก้นนั้นเป็นรูปตัดอย่างชัดเจนมาก ลำขาใหญ่นั้นมีสีเหลืองกลมและแข็งแรงเหมาะกับลำตัวพอดี มีขนสีเหลืองปกคลุมตรงขาบางๆผิวหนังมีสีแดงระเรื่อเพราะไม่ค่อยจะมีขนเท่าไหร่แต่ถ้าเป็นไก่ตอนจะมีขนดกกว่านี้เยอะ บ้านอะลาง
ตรงส่วนหน้าขานั้นจะมีเกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบสีเหลืองนิ้วเท้าเหยียดตรงแข็งแรงอีกทั้งมีเล็บสีขาวอมเหลือง สำหรับไก่ตัวเมียจะมี โคนปากมีสีน้ำตาลเข้มที่ค่อย ๆจางลงมาจนเป็นสีเหลืองที่ปลาย ปากพร้อมกับมีจงอยปากที่งุ้มแข็งแรง ส่วนหัวนั้นจะกว้างอีกทั้งมีหงอนรูปถั่วสั้นติดตรงบริเวณหนังหัวพร้อมตาใสแจ๋ว ส่วนลำคอนั้นตั้งตรงแข็งแรงสีเหลืองอ่อนๆ มีอกกว้างหนาตามลักษณะไก่เนื้อพร้อมมีขนสีเหลืองดกปกคลุมอยู่ทั่วตัว มีขนสีเหลืองดกตรงหลังและก็วางแนวขนานกับพื้น ปีกพอเหมาะกับลำตัวแข็งแรง มีขนนุ่มๆสีดำอย่างประปรายตรงบริเวณส่วนปีกเต็มไปหมด ส่วนหางที่อ่อนนุ่มดกดำปนสีเหลือง ส่วนขานั้นแข็งแรงสมกับลำตัวพร้อมมีขนสีเหลืองดกปกคลุม ไว้ ตรงบริเวณส่วนแข้งนั้นจะกลมสีเหลือง เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบนิ้วเท้าเหยียดตรงอย่าง แข็งแรงและก็มีเล็บเท้าสีขาวอมเหลือง ไก่ทั้งสองเพศแม้จะมีลักษณะที่ต่างกันแต่ว่ามีส่วนที่เหมือนกันอย่างเห็นเด่นชัดนั้นคือมีขนสีเหลืองทองเกือบจะทั้งตัว ไก่เบตงเป็นไก่เนื้อที่มีคนนิยมรับประทานกันมากเนื่องจากมีรสชาติที่อร่อยเนื่องจากมีลักษณะพิเศษดังนี้ตรงส่วนหนังจะมีสีเหลืองอ่อนเนื้อค่อนข้างเหลืองและก็นุ่ม ไม่ค่อยจะมีไขมันกลิ่นหอมมาก
ไก่พันธุ์เบตง
เป็นไก่พันธุ์ต่างประเทศอีกพันธุ์หนึ่ง ซึ่งเข้ามานิยมกันในประเทศไทย ตอนล่าง เมื่อสมัย 30 กว่าปี ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา ก็คือ ไก่กวางใส ซึ่งเป็นไก่พันธุ์เนื้อ ที่มีคุณภาพดีเลิศ รสชาติดี เนื้อนุ่ม ไม่เหนียว กลิ่นหอมชวนรับประทาน และต่อมา ได้เรียกชื่อไก่พันธุ์ ไก่พันธุ์เบตง ตามประวัติความเป็นมาของไก่พันธุ์นี้ เข้าใจว่าเป็นไก่ซึ่งมี เชื้อสายมาจากไก่พันธุ์ แลนซาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาตั้ง หลักแหล่งในประเทศไทยที่อำเภอเบตง ได้นำเอาไก่พันธุ์นี้มาเลี้ยงด้วย ต่อมาก็แพร่พันธุ์ไป ทั่วในจังหวัดยะลา และจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันไก่พันธุ์นี้จำนวนลดน้อยลง เนื่องจากมีการ อพยพบ้านเรือนบ่อย ๆ และราษฎรบางที่ไม่นิยมการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ไก่ตายไปเป็นจำนวนมาก ๆ จนแทบจะสูญพันธุ์
ลักษณะที่แท้จริงของไก่เบตง จะมีขนสีเหลืองทอง ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้ปากเหลือง อ่อน จงอยปากงุ้มแข็งแรงเป็นพิเศษ ตานูนแจ่มใส หงอนจัก หัวกว้าง ตุ้มหูไม่มี คอตั้งตรง แข็งแรงขนมีสีเหลืองทองที่หัว และค่อย ๆ จางลงไปถึงลำตัว ปีกแข็งแรง ขนปีกมีสีเหลือง อาจมีเส้นดำ 1-2 เส้นทีแกนของขน อกกว้างตามลักษณะของไก่พันธุ์เนื้อทั่ว ๆ ไป ขนที่อกและ ใต้ปีกสีเหลืองบางหลังมีระดับขนานกับพื้นดิน ขนหางไม่ดก มีหางไข 1 เส้น ไม่ยาวนัก บั้นท้าย เป็นรูปตัดเห็นได้ชัด ขาใหญ่แข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองผิวหนังแดงเรื่อ ๆ แต่ถ้าเป็น ไก่ตอนจะมีขนดก แข้งสีเหลืองกลมล่ำสัน เกล็ดวางแถวแนวเป็นระเบียบนิ้วเท้าเหยียดตรงแข็งแรง เล็บสีขาวอมเหลือง ตัวเมีย ปลายปากเหลือง โคนปากสีน้ำตาลเข้ม จงอยปากงุ้มแข็งแรง หัวกว้าง ตาแจ่มใส หงอนรูปถั่วสั้นติดหนังหัว คอตั้งแข็งแรงสีเหลืองอ่อน อกกว้างหนา ขนสีเหลืองดก คลุมทั้งตัว หลังมีขนสีเหลืองดกวางแนวขนานกับพื้น ปีกพอเหมาะกับลำตัวแข็งแรง ขนปีกเต็ม มีสีดำประปรายหางดำสีเหลือง ขาแข็งแรงพอเหมาะกับลำตัว ขนสีเหลืองดก แข้งกลมสีเหลือง เกล็ดวางแนวได้ระเบียบนิ้วเหยียดตรง แข็งแรง เล็บสีขาวอมเหลือง คุณลักษณะของไก่พันธุ์เบตง หนังสีเหลืองอ่อน เนื้อนุ่มค่อนข้างเหลือง ไขมันมีน้อย กลิ่นหอมชวนรับประทาน รสชาติอร่อยมาก เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แม้ว่าอายุมากเนื้อก็ยังไม่เหนียวเหมือน ไก่พันธุ์อื่น รสชาติคงที่ขายได้ ราคาดี ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีราคาสูงมาก
การเลี้ยงดู
ไก่เบตงเป็นไก่ที่ชอบอิสระ หากินเป็นอิสระในสนามหญ้าตามบริเวณบ้าน ตามป่าโปร่ง ไม่ชอบการกักขัง อาจจะเป็นเพราะไก่พันธุ์นี้มีลักษณะเป็นไก่ป่าอยู่มาก ราษฎรใน อำเภอเบตงชอบเลี้ยงตามบ้านหรือสวนยางพารา เชื่องมาก ชอบหากินเป็นฝูง ตัวผู้รักลูกมาก บางครั้งเราจะพบตัวผู้กกลูกแทนตัวเมีย ไก่เบตง เป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตดี ตัวผู้โตเต็มที่ น้ำหนัก 4.50 - 5 กิโลกรัม ตัวเมียโตเต็มที่ 2.50 - 3 กิโลกรัม อาหาร ได้แก่ มด แมลง ไส้เดือน ตัวปลวก หญ้าสดและผักต่าง ๆ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก ไม่ชอบอาหารผสม อาหารที่ชอบ มากที่สุดได้แก่ หญ้าสดและผักสด ดังนั้นหากท่านมีพื้นที่ว่างเพียงเล็กน้อย พอที่จะปลูกผัก และหญ้าไว้เลี้ยงไก่เบตง ก็จะเป็นการที่เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ให้จังหวัดยะลา จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้าน พันธุ์เบตงขึ้นที่หมู่บ้านสันติ อำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา เป็นหมู่บ้านอพยพของราษฎรจาก น้ำท่วม หลังจากสร้างเขื่อนพลังน้ำปัตตานีเสร็จ จังหวัดยะลาจึงมอบหมายให้สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดยะลา จัดทำโครงการนี้อย่างรีบด่วน ซึ่งคาดว่าในโอกาสต่อไปหมู่บ้านสันติ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ไก่เบตงอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้สถานนี บำรุงพันธุ์สัตว์ยะลาผลิตไก่พันธุ์เบตง เพื่อจำหน่ายและจ่ายแจกให้ราษฎร ตามโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านพันธุ์เบตง
ไก่เบตง
มี หงอนแบบจักร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ขนปีกน้อย ไม่มีขนหาง สีขน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เหลืองทองเข้ม เหลืองทองอ่อน และ ขาว หรือ ขาวแซมน้ำตาล
ไก่พันธุ์นี้ทนต่อสภาพอากาศร้อน ทนต่อโรคแมลง สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าไก่พันธุ์พื้นเมืองทั่วๆไป ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอัตราใกล้เคียงกัน เพศผู้ อายุ 14 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,800 กรัม ตัวเมีย เมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนัก 1,700 กรัม ....โดยน้ำหนักเฉลี่ยที่อายุ 15 สัปดาห์ จะอยู่ประมาณ 1,700 กรัม...
ตัวเมียจะออกไข่ฟองแรกเมื่ออายุได้ 27 สัปดาห์ และจะวางไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 100 ฟอง
ไก่เบตง....มีเนื้อมาก เหนียวนุ่มหอม รสชาติดี เนื้อไม่แฉะ จึงเป็นที่นิยม ไม่ว่าจะแปรรูปอาหารชนิดใด อาทิ ไก่สับ ไก่นึ่ง ไก่ต้ม ตุ๋นยาจีน ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าไก่ ฯลฯ... อร่อยลืมอิ่มกันทั้งนั้น (แต่ต้องอยู่กับฝีมือคนปรุงด้วย) ด้วยความอร่อย(ของเนื้อ)เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภคนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้นำไก่พันธุ์เบตงมาทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถเลี้ยงได้ในสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
รศ.ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ คณบดีคณะเกษตร มก. บอกถึงเรื่องนี้ว่า...ปัจจุบันได้ทำการวิจัยและพัฒนาไก่เบตงจน กระทั่งรสชาติและคุณภาพเนื้อ เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพ ดีกว่า เนื้อมากและนุ่มกว่าเดิม อีกทั้งราคาไม่แพง...จน กระทั่งสายพันธุ์นิ่งสามารถขยายพันธุ์เข้าสู่ภาคปศุสัตว์ในภาคธุรกิจได้ จึงให้ชื่อว่า...ไก่เคยูเบ-ตง ตามนามของสถาบัน
ปัจจุบันพร้อมให้เกษตรกรโดยทั่วไปเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับ ผู้บริโภค
หากสนใจ สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฟาร์มสุวรรณวาจกสิกิจ ภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โทร. 0-2579-8525 เวลาราชการ
เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง