การเลี้ยงปูนิ่ม




ปูนิ่ม  ปูทะเลที่เราเรียกตัวปูนั้นก็คือ ส่วนหัวกับส่วนอกซึ่งรวมกันเรียกว่า Cephalothrorax ส่วนนี้จะมีกระดองห่อหุ้มไว้ สำหรับส่วนท้องของปูได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่นบาง ๆ ที่เรียกว่าจับปิ้ง"พับอยู่ใต้กระดอง ซึ่งใช้แยกเพศได้คือ ในเพศเมียบปิ้งจะมีลักษณะกว้างปลายมนกลม ส่วนตัวผู้มีรูปเรียวและแคบแต่ตัวเมียที่ขณะยังเล็กอยู่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายตัวผู้จึงเข้าใจผิดและเรียกว่า ปูกระเทยปูทะเลมีขา 5 คู่ ขาคู่แรกอยู่หน้าสุดมีขนาดใหญ่ เรียกว่า "ก้ามปู" ขาคู่ที่2-4 มี  ลักษณะปลายสุดแหลมเรียกว่า "ขาเดิน" ส่วนขาคู่ที่ 5 เรียกว่า "ขาว่ายน้ำ" ตอนปลายสุดมีลักษณะคล้ายใบพาย ปูทะเลมีเลือดสีฟ้าใส ๆมีสารประกอบขอพวกทองแดงปนอยู่  ''บ้านอะลาง''
ชีววิทยาของปูทะเล
ปูทะเลจัดอยู่ในสัตว์จำพวกแมลงและกุ้งซึ่งอยู่ใน
Phylum Arthropoda Class Crustacea
Family Portunidae Genus Scyll

วงจรชีวิตของปูทะเล
ปูทะเลใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในป่าชายเลน ยกเว้นปูเพศเมียจะมีการอพยพไปวางไข่ในทะเล ในวงจรชีวิตพบว่าปูทะเลเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์มีการจับคู่ผสมพันธุ์ ต่อมาเพศเมียจะเดินทางสู่ทะเล เพื่อวางไข่ ลูกปูวัยอ่อนระยะแรกคือ ระยะซูเอีย (Zoea) จะล่องลอยเข้าหาฝั่งด้วยคลื่นและกระแสน้ำ ในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาเป็นระยะเมกกาโลป้า (Megalopa) และลอกคราบเป็นตัวปูที่เรียกว่า Young Crab ซึ่งมีลักษณะเหมือนปูตัวเต็มวัยก็จะอาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน
จนถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีการผสมพันธุ์และตัวเมียก็จะเดินทางออกไปวางไข่ในทะเลต่อไป

การเจริญเติบโต
ปูทะเลจะเจริญเติบโตต้องมีการลอกคราบ เนื่องจากกระดองของปูเป็นสารประกอบพวกหินปูนที่มีความแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถยืดขยายขนาดได้ เมื่อเจริญเติบโตจนมีเนื้อแน่นเต็มกระดองก็จะลอกคราบ เพื่อขยายขนาดและสร้างกะดองใหม่มาแทนที่ ระยะเวลาในการลอกคราบของปู จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของปู เมื่อปูลอกคราบใหม่ ๆ นั้นกระดองใหม่จะนิ่ม ผิวเปลือกย่น เรียกว่า "ปูนิ่ม" ซึ่งต่อมาลำตัวจะค่อย ๆ ตึงและแข็งขึ้น


ความสำคัญ
ปูทะเลเป็นสัตว์น้ำกร่อย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพราะปริมาณการจับในปี 2535-2539 มีจำนวน 4,243-6,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 358.0-700.8 ล้านบาท ปูทะเลจะพบอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทั่วไป ทั้งด้านฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ปัจจุบันพบมากในบางแหล่งเท่านั้น เช่น บริเวณอ่าวไทยพบมากที่จังหวัด ตราด จันทบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ส่วนทางฝั่งอันดามันพบที่ ระนอง พังงา ตรัง กระบี่ และสตูล แต่มีปริมาณการจับลดลงเป็นลำดับ


ชนิดของปูทะเลในประเทศไทย
ชนิดของปูทะเลที่พบในประเทศไทย พอจำแนกได้ 3 ชนิดคือ
1. ปูดำหรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าปูทองแดง พบว่าก้ามมีสีแดงเข้มปนดำไม่มีจุด หนามระหว่างตาจะเป็นสามเหลี่ยมมุมป้านปลายหนามมน โดยทั่วไปจะพบว่ามีขนาดเล็กถึงกลาง
2. ปูขาวหรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าปูทองหลาง พบก้ามมีสีเหลืองอ่อน มีจุดสีฟ้าเขียว หนามระหว่างตาจะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วปลายหนามแหลม โดยทั่วไปจะพบว่ามีขนาดใหญ่
3. ปูเขียวชาวบ้านมักจะเรียกว่าปูทองหลางเช่นเดียวกับปูขาว โดยทั่วไปพบว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน 3 ชนิด ที่สังเกตได้ชัดเจนคือ ก้ามมีสีม่วงอ่อนถึงม่วงเข้ม หนามระหว่างตาจะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วปลายมน แต่พบว่าชนิดนี้มีปริมาณน้อยมาก


ปูนิ่ม
ปูทะเล มีชื่อสามัญที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูทะเล ปูดำ ปูขาว ปูทองหลาง ปูทองโหลง ปูทองแดง เป็นต้น แต่ได้แยกลักษณะต่าง ๆ แล้วพบว่าปูทะเลในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ ปูดำ ปูขาว และปูเขียว ปูทะเลพบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำกร่อยป่าชายเลนและปากแม่น้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึง โดยขุดรูอยู่ตามใต้รากไม้หรือเนินดินบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยเฉพาะมีชุกชุมในบริเวณที่เป็นหาดโคลนหรือเลนที่มีป่าแสมและโกงกาง ตั้งแต่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี บริเวณอ่าวไทยตอนใน ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ที่ชุกชุมที่จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ส่วนที่ฝั่งอันดามันมีชุกชุมที่จังหวัด ระนอง กระบี่ พังงา และสตูล ปูทะเลเจริญเติบโต โดยอาศัยการลอกคราบ เนื่องจากกระดองของปูเป็นสารประกอบพวกหินปูนที่มีความแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถยืดขยาย ตัวออกไปได้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่คือ มีเนื้อแน่นเต็มกระดองก็จะมีการลอกคราบ เพื่อขยายขนาดโดยการสร้างกระดองใหม่มาแทนที่ ระยะเวลาในการลอกคราบของปู จะมีเพิ่มมากขึ้นตามอายุของปู เมื่อปูลอกคราบใหม่ ๆ นั้น กระดองใหม่จะนิ่ม ผิวเปลือกย่น เรียกว่า “ปูนิ่ม” ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ ตึงและแข็งตัวขึ้น ในระยะที่เป็นปูนิ่มจะเป็นระยะที่ปูมีความอ่อนแอมากที่สุดแทบจะเคลื่อนไหวไม่ได้ ระยะเวลาตั้งแต่ลอกคราบจนกระทั่งกระดองใหม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่กินเวลาประมาณ 7 วัน ปูทะเลในเขตร้อนจะใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขั้นสมบูรณ์เพศ ประมาณ 10-12 เดือน


การเลี้ยงปูนิ่มในตะกร้ามีวิธีการทำ 2 รูปแบบคือ
1.การเลี้ยงในบ่อดิน
2.การเลี้ยงในกระชังปลา

การพิจารณาเลือกทำเลมีดังนี้
เป็นบริเวณชายฝั่งที่สามารถนำน้ำทะเลมาได้หรือบริเวณปากแม่น้ำซึ่งน้ำมีความเค็ม 10-30 ppt มีน้ำหมุนเวียนถ่ายเทสะดวก  เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล โดยที่น้ำไม่ท่วมบ่อ หรือสถานที่เลี้ยง ขณะเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงสุด และสามารถระบายน้ำได้แห้ง เมื่อน้ำลงต่ำสุด  มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมสะดวก ดินควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายเล็กน้อย ที่สามารถเก็บกักน้ำได้ดี เป็นแหล่งที่จัดหาพันธุ์ปูทะเลได้สะดวก


การสร้างบ่อและแพรองรับตะกร้า
การสร้างบ่อจะทำเช่นเดียวกับการสร้างบ่อเลี้ยงกุ้ง อาจจะมีประตูระบายน้ำ เข้า-ออกประตู
เดียวหรือ 2 ประตูก็ได้ และวิธีได้เป็นที่นิยมเนื่องจากพบว่า ในบ่อดินปูจะลอกคราบได้ดี ส่วนขนาดของ
บ่ออยู่ระหว่าง 2-10 ไร่ บริเวณกลางบ่อมีทางเดินทำด้วยไม้พร้อมหลังคาพาดระหว่างคันบ่อ เพื่อใช้ในการตรวจเก็บปูนิ่มและให้อาหารปู สำหรับแพรองรับตะกร้า ใช้ท่อ PVC เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1-2 นิ้ว ปิดปลายทั้ง 2 ข้าง แล้วต่อเป็นแพยาว 10-20 เมตร มีจำนวน 4 ช่อง ใช้ไม้ไผ่วางพาดขวางยึดท่อให้มีระยะห่างพอดีรองรับกับตะกร้าที่ใช้บรรจุปูขนาดของตะกร้ากว้าง 22.6 เซนติเมตร ยาว 30.0 เซนติเมตร สูง 16.1 ซม. ใส่ปู 1 ตัว/1 ตะกร้า ตะกร้าที่ใช้จะเป็น 2 ใบมาประกบกันเพื่อป้องกันไม่ให้ปูหนีออก สำหรับแพต้องสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ โดยการดึงเชือกที่ผูกกับแพ


พันธุ์ปู
ปูที่ใช้เป็นชนิดปูดำที่มีขนาดตั้งแต่ 6.0–7.5 ซม. มาเลี้ยง และควรเป็นปูที่แข็งแรงและมีอวัยวะที่ครบสมบูรณ์


การปล่อยปูลงเลี้ยง
ก่อนที่จะทำการปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้ามีการปรับสภาพของปูให้เข้ากับแหล่งน้ำที่จะเลี้ยง โดยการใช้น้ำในบริเวณที่เลี้ยงรดตัวปูให้ชุ่ม จากนั้นจึงตัดเชือกมัดปูออกแล้วปล่อยลงตะกร้า และใช้ตะกร้าอีกใบหนึ่งครอบมัดด้วยเชือกให้สามารถเปิดได้สะดวก ส่วนตะกร้าด้านบนมีรูเพื่อที่จะให้อาหารและตะกร้าจะผูกบนแพที่เตรียมไว้ อัตราการปล่อย 10,000 ตัว/ไร่ และจะปล่อยเสริมเท่ากับจำนวนที่เก็บปูนิ่มขึ้นมา



การให้อาหาร
ให้ปลาเบญจพรรณ (ปลาเป็ด) ที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่มีขนาด 1-2 นิ้ว ในอัตราการให้ 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว และจะให้วันละ 1 ครั้ง


ระยะเวลาการเลี้ยง
ในการเลี้ยงปูของแต่ละชุดใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งหมด แต่เกษตรกรไม่นิยมเลี้ยงเป็นรุ่น เพราะเสียเวลาจึงทำการปล่อยเสริมทุก 15 วัน


การดูแลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากปล่อยปูลงเลี้ยง มีการตรวจสอบการลอกคราบทุก 4 ชั่วโมง เพื่อเก็บปูนิ่มเพราะว่าหากปูลอกคราบไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมงกระดองจะเริ่มแข็ง และเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ปูจะเริ่มลอกคราบจำนวนมาก การสังเกตปูลอกคราบดูได้จาก การพบปูจำนวน 2 ตัว ในตะกร้าเดียวกัน ซึ่งตัวหนึ่งจะเป็นคราบและอีกตัวหนึ่งก็เป็นปูนิ่ม ปูนิ่มที่เก็บได้นำมาแช่น้ำจืดประมาณ 10-15 นาทีแล้ว บรรจุใส่ภาชนะเก็บในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิไม่เกินกว่า 18 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาไว้ได้ในระยะเวลา 2-3 เดือน ผลผลิตที่ได้ประมาณ 60-70 กก./ปูที่เลี้ยง 1,000 ตัว/ระยะเวลา 45 วัน


การเลือกทำเล มีหลักในการพิจารณาดังนี้
เป็นบริเวณชายฝั่งหรือบริเวณปากแม่น้ำซึ่งน้ำมีความเค็ม 0.03 ppt เป็นแหล่งที่จัดหาพันธุ์ปูทะเลได้สะดวก เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และมลภาวะที่เป็นพิษ ไม่มีคลื่นลมแรง และกระแสน้ำไม่เชียว


ตะกร้าและการทำแพ
ตะกร้าที่ใช้จะเป็นตะกร้าพลาสติกเช่นเดียวกับการเลี้ยงบ่อดิน หรือขนาดประมาณ 40x60x15 ซม. (ในกรณีเลี้ยงรวมแบบหักก้ามและขา) สำหรับแพ ใช้ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว เป็นทุ่นรองรับพอดีกับตะกร้าเช่นเดียวกัน แต่จะมีขนาด 2-3 เมตร เท่าขนาดกระชัง ซึ่งโดยทั่วไปกระชังมีขนาด 3x3 เมตร และใช้ตะกร้าครอบอีกใบหนึ่งเพื่อป้องกันแสงและความร้อน


พันธุ์ปู
เป็นชนิดปูดำและขนาดเช่นเดียวกับการเลี้ยงในบ่อ
การปล่อยปูลงเลี้ยง ตะกร้าถ้าเลี้ยงแบบตะกร้าละ 1 ตัว จะมีอัตราการปล่อยกระชังละ 15-20 ตัว หรือ 200-300 ตัว/กระชัง การเลี้ยงจะไม่นิยมใส่จนเต็มพื้นที่กระชังเพราะไม่สะดวกในการให้อาหารแก่ปลาสำหรับปลา สำหรับปลาที่เลี้ยงในกระชังมี ปลากะรัง กะพงขาว กะพงแดง ซึ่งปล่อยในอัตรา 150-300 ตัว/กระชัง

-การให้อาหารและการดูแลทำเช่นเดียวกับการเลี้ยงในบ่อดิน


ระยะเวลาการเลี้ยง
ประมาณ 3 เดือน ต่อรุ่นเช่นเดียวกับบ่อดิน ยกเว้นการเลี้ยงด้วยวิธีการหักก้ามและขาจะมีระยะเวลาการลอกคราบเร็วกว่าปรติ 5-10 วัน แต่ก็มีอัตราการตายที่สูงกว่าเช่นกัน

การจำหน่ายเกษตรกรสามารถจำหน่ายให้กับพ่อค้าผู้รวบรวมในท้องถิ่นหรือพ่อค้าผู้ให้ทุนหรือจะจำหน่ายเอง ตามภัตตาคาร ห้องอาหาร ร้านค้าทั่วไป ราคาขายส่งอยู่ระหว่าง 120-200 บาท/กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของปูนิ่ม และผู้รวบรวมจะส่งจำหน่ายอีกทีหนึ่ง

ในการนำปูนิ่มไปประกอบอาหารนั้น ผู้ประกอบอาหารสามารถทำได้มากมายหลายอย่างเช่น ปูนิ่มทอดกระเทียมพริกไทย ปูนิ่มชุบแป้งทอด ปูนิ่มพล่า ต้มยำปูนิ่ม ปูนิ่มผัดผงกระหรี่ ปูนิ่มอบวุ้นเส้น ปูนิ่มสามรส ต้มข่าปูนิ่ม ปูนิ่มจานร้อน พะแนงปูนิ่ม ปูนิ่มนึ่งนมสด เป็นต้น และยังสามารถดัดแปลงเป็นอาหารแบบต่าง ๆ ทั้งอาหารไทย จีน ฝรั่ง และญี่ปุ่น

หมายเหตุ 
การเลี้ยงปูนิ่มโดยวิธีการหักขาและก้าม จะทำการหักขาและก้ามทั้งหมดยกเว้นขาว่ายน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำร้ายสัตว์ และอาจจะมีผลต่อการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ
หากทราบถึงวิธีการผลิตดังกล่าว จึงไม่ควรส่งเสริมเกษตรกรด้วยวิธีนี้


การเพาะเลี้ยงปูทะเล
การเพาะเลี้ยงปูทะเลได้เริ่มมานานแล้ว แต่ที่เขียนเป็นรายงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยการเลี้ยงในร่องสวนและมีการพัฒนามาตามลำดับ ปัจจุบันนี้การเลี้ยงที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมี 2 ประเภทคือ
1. การขุนปูทะเล
การขุนปู หมายถึง การนำพันธุ์ปูทะเลที่มีเนื้อน้อย (ผอมหรือโพรก) มาขุนด้วยอาหาร จนมีเนื้อแน่น (อ้วนหรือแน่น) โดยไม่มีการลอกคราบ หากเป็นปูเพศเมียก็สามารถมีไข่ในกระดองเต็มมากขึ้นด้วย ระยะเวลาที่ใช้ขุนประมาณ 15-25 วัน สำหรับขนาดใช้ขุนควรมีน้ำหนักตัวปูเกิน 200 กรัมขึ้นไป และมีระยางค์ครบถ้วนสมบูรณ์หลักในการพิจารณาเลือกทำเลในการสร้างบ่อเลี้ยงมีดังนี้
- เป็นบริเวณที่น้ำมีความเค็ม 10-30 ส่วนในพันส่วน มีน้ำหมุนเวียนถ่ายเทสะดวก
- เป็นที่น้ำไม่ท่วมบ่อ ขณะน้ำทะเลมีระดับสูงสุด และสามารถระบายน้ำได้แห้ง เมื่อน้ำลงต่ำสุด
- มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมสะดวก
- สภาพดินเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย ที่สามารถเก็บน้ำได้ดี
- เป็นแหล่งที่จัดหาพันธุ์ปูทะเลได้สะดวก
- เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และมลภาวะที่เป็นพิษ


การสร้างบ่อ
การสร้างบ่อจะขุดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดระหว่าง 400-1600 ตร.ม. บนคันบ่อจะล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่หรืออวนมุ้งเขียว บ่อที่นิยมมักจะมีขนาดเล็กเนื่องจากสะดวกต่อการจัดการและพอเหมาะกับพันธุ์ปูที่หามาได้ในแต่ละครั้งพันธุ์ปูและการปล่อยปูลงเลี้ยงพันธุ์ปูควรมีขนาดตั้งแต่ 8.5 เซนติเมตร หรือน้ำหนัก 200 กรัมขึ้นไป และมีระยางค์ครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะทำการปล่อยปูลงเลี้ยงควรมีการปรับสภาพของปูให้เข้ากับน้ำในบ่อ โดยการใช้น้ำในบ่อเลี้ยงรดตัวปูให้ชุ่ม จากนั้นจึงตัดเชือกมัดปูออกแล้วปล่อย การปล่อยควรเป็นเวลาเช้าหรือเย็น


การให้อาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงขุนปู คือ ปลาเป็ด อัตราการให้อาหาร 5-10 เปอร์เซ็นต์ หรือจะนับจำนวนชิ้นมากกว่าจำนวนปูที่ปล่อยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าให้หอยกะพงจะให้ในอัตรา 20-40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว การให้อาหารจะให้วันละ 1 ครั้ง ในตอนเย็นโดยหว่านให้ทั่วบ่อ
 ระยะเวลาเลี้ยง การดูแล และการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ระยะเวลาในการขุนปู จะใช้ระยะเวลาประมาณ 15-25 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ ในระหว่างการขุน จะต้องหมั่นถ่ายเปลี่ยนน้ำ และสังเกตการขึ้นตลิ่งของปูซึ่งแสดงว่าน้ำหรือพื้นบ่อเสีย ต้องรีบทำการแก้ไข สำหรับการจับปูมีหลายวิธีเช่น การใช้หยอง ลอบปู ใช้สวิงด้ามยาวจับปูขณะเล่นน้ำใหม่หน้าประตูน้ำ ใช้คราดและสวิงจับปูขณะน้ำแห้งบ่อ ใช้ตะขอเกี่ยวปูในรู เป็นต้น สำหรับอัตราการตายช่วงการขุนอยู่ระหว่าง 2-5 เปอร์เซ็นต์


2. การเลี้ยงปูนิ่ม
เนื่องจากชาวประมงมีการจับปูขนาดเล็กขึ้นมาจำหน่ายในราคาถูก คือขนาดต่ำกว่า 120 กรัม ซึ่งเกษตรกรจะขายในราคา 20-40 บาท/กก. จึงคิดหาวิธีการเลี้ยงปูทะเลนิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรปูทะเลในธรรมชาติ กล่าวคือนำปูเล็กมาเลี้ยงประมาณ 1-3 เดือน ปูลอกคราบเป็นปูนิ่มทำให้มีมูลค่าเพิ่มเป็น 150-200 บาท/กก. และประการที่ 2 เพื่อให้การรับประทานปูง่ายขึ้น เพราะสามารถรับประทานได้ทั้งตัวการเลี้ยงปูนิ่มนี้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้แล้วในหลายพื้นที่ เช่น ระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา ภูเก็ต สตูล สมุทรปราการ สมุทรสาคร และจันทบุรี


การสร้างบ่อและการทำแพรองรับตะกร้า
การเลี้ยงปูนิ่มจะสร้างบ่อเช่นเดียวกับบ่อเลี้ยงกุ้งทั้งขนาดและรูปบ่อ แต่มีทางเดินบริเวณกลางบ่อ เพื่อสะดวกในการตรวจเช็คปูนิ่มและให้อาหารสำหรับการสร้างแพ ใช้ท่อ PVC มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-2 นิ้ว มาต่อกันเป็นแพยาว 5-10 เมตร เพื่อรองรับตะกร้าที่มีความกว้างเท่ากับ 22.5 เซนติเมตรยาว 30 เซนติเมตร สูง 15.1 เซนติเมตร


พันธุ์ปูและการปล่อยปูลงเลี้ยง
พันธุ์ปูควรมีขนาดระหว่าง 6.5-7.5 เซนติเมตร และแข็งแรงมาเลี้ยง ก่อนที่จะทำการปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้าควรมีการปรับสภาพของปูให้เข้ากับแหล่งน้ำที่จะเลี้ยง เช่นเดียวกับการขุนปู จากนั้นจึงตัดเชือกมัดปูออกแล้วปล่อยลงตะกร้าและใช้ตะกร้าอีกใบหนึ่งครอบมัดด้วยเชือกให้สามารถเปิดได้สะดวกใส่ปู1 ตัว/ 1 ตะกร้า ส่วนด้านบนของตะกร้ามีช่องเพื่อให้อาหาร นำตะกร้าที่บรรจุปูไปวางเลี้ยงบนแพที่เตรียมไว้


การให้อาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงปูคือ ปลาเป็ดสับเป็นชิ้น ๆ มีขนาด 1-2 นิ้ว การให้อาหารจะให้ตัวละ 1-2 ชิ้นและวันละ 1 ครั้ง


ระยะเวลาการเลี้ยง
ระยะเวลาในการเลี้ยงปูของแต่ละชุด จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้เกือบทั้งหมด แต่เกษตรกรนิยมใส่ปูทดแทนที่ว่างทันทีเพื่อประหยัดเวลาและพื้นที่


การดูแล และการเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากปล่อยปูลงเลี้ยง จะต้องตรวจปูลอกคราบในวันถัดไป และเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ปูจะเริ่มลอกคราบจำนวนมาก การตรวจและเก็บปูนิ่มจะดูทุก 4 ชั่วโมง เพราะปูที่ลอกคราบไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมงกระดองจะเริ่มแข็ง ไม่สามารถจำหน่ายได้ การตรวจเก็บปูนิ่ม จะสังเกตจากตะกร้าใดมีปูอยู่ 2 ตัว แสดงว่าปูลอกคราบแล้วต้องรีบทำการเก็บทันที นำไปแช่น้ำจืดที่สะอาดและใส่ภาชนะบรรจุเก็บที่อุณหภูมิไม่เกินกว่า -18 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงความสดไว้เป็นระยะเวลานานหรือเก็บไว้ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นประจำบ้านหรือตู้แช่ไอศครีม เพื่อรอการจำหน่ายสำหรับอัตราการตายระหว่างการเลี้ยงอยู่ระหว่าง 6-10 เปอร์เซ็นต์


การนำไปประกอบอาหาร
ในการนำปูนิ่มไปประกอบอาหารนั้น ผู้ประกอบอาหารสามารถทำได้มากมายหลายประการ เช่น ปูนิ่มทอดกระเทียมพริกไทย ปูนิ่มชุบแป้งทอด ปูนิ่มพล่าต้มยำปูนิ่ม ปูนิ่มผัดผงกระหรี่ ปูนิ่มอบวุ้นเส้น ปูนิ่มสามรส ปูนิ่มจานร้อน พะแนงปูนิ่ม ปูนิ่มนึ่งนมสดและอื่น ๆ อีกมากมายอีกทั้งยังสามารถคิดค้นดัดแปลงเป็นอาหารแบบต่าง ๆ ได้ตามความประสงค์ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย จีน ฝรั่ง หรือแม้แต่อาหารญี่ปุ่นก็สามารถปรุงได้อย่างมีรสชาติและเอร็ดอร่อย


การเพาะพันธุ์ปูทะเล
เนื่องจากการจับปูทะเลขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณปูในธรรมชาติลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีการเพาะพันธุ์ปูทะเลขึ้นเพื่อปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติให้ชาวประมงมีอาชีพจับปูต่อไปและช่วยสนับสนุนพันธุ์ปูแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปูทะเลให้สามารถดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง


 วิธีการเพาะฟักและการอนุบาล
- แม่พันธุ์ปูทะเล นำแม่ปูที่มีไข่ในกระดองมาเลี้ยงในบ่อดินในอัตรา 500-100 ตัว/ไร่ นานประมาณ 20-30 วัน ก็จะได้แม่ปูไข่นอกกระดอง โดยระยะแรกจะเป็นไข่สีเหลืองติดอยู่ที่จับปิ้ง และสีไข่จะเปลี่ยนสีส้ม สีเทา และดำในที่สุดในเวลา 10 วัน
- การเพาะฟัก แม่ปูที่ได้ถูกนำไปใส่ถัง 200 ลิตร หรือกล่องโฟมขนาด 40 ลิตร ที่บรรจุน้ำทะเลสะอาด แม่ปูจะวางไข่ในเวลาเช้า ลูกปูที่ฟักออกมาเรียกว่าระยะ
Zoea 1 แล้วย้ายไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 2 x 10 x 1 ลบ.ม. ในความหนาแน่น 100-200 ตัว/ลิตร
- อาหารและการให้อาหาร อาหารของลูกปูระยะจะให้ตามตารางต่อไปนี้
ระยะ Zoea 1 Rotifer วันที่ 1-3 ให้ เช้า-เย็น
ระยะ Zoea 2 Rotifer วันที่ 4-6 ให้ เช้า-เย็น
ระยะ Zoea 3 Rotifer+Artemia วันที่ 7-10 ให้ เช้า-เย็น
ระยะ Zoea 4 Rotifer+Artemia วันที่ 11-14 ให้ เช้า-เย็น
ระยะ Zoea 5 Rotifer+Artemia วันที่ 15-18 ให้ เช้า-เย็น
ระยะ Megalopa Artemia +เนื้อปลาบด วันที่ 19-29 ให้ เช้า-เย็น
ระยะ Young Crab เนื้อปลาบด วันที่ 30- ให้ เช้า-เย็น
หมายเหตุ ระยะเวลาการพัฒนาของลูกปูอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับความเค็มและอุณหภูมิ
- การอนุบาล ลูกปูระยะ Zoea ต้องให้อาหารที่เพียงพอและถ่ายเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ลูกปูแข็งแรงและมีอัตราการรอดตายสูงขึ้น สำหรับลูกระยะ Megalopa จะใส่แสน เพื่อป้องกันการกินกันเองไปจนกว่าลูกปูที่เข้าระยะ Young Crab ไปแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงนำไปปล่อยในแหล่งน้ำหรืออนุบาลในบ่อดินได้


บทสรุป
-ปูม้านิ่มก็คือปูม้าที่เพิ่งลอกคราบใหม่ๆ ซึ่งกระดองยังนิ่มอยู่ สามารถนำมาปรุงอาหารกินได้ทั้งตัว โดยไม่ต้องรำคาญเรื่องของการแกะเปลือกออกก่อน ที่บอกว่าการเลี้ยงปูม้านิ่มทำได้ยากกว่าการเลี้ยงปูดำนิ่มก็เพราะว่าเมื่อปูม้าลอกคราบแล้ว จะใช้เวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง เปลือกก็เริ่มแข็งตัวกลายเป็นปูปกติเรียบร้อยแล้ว ต่างจากปูดำซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง การเก็บเกี่ยวปูม้านิ่มจึงมีช่วงดำเนินการได้สั้นมาก นั่นก็หมายความว่าต้องเดินมาดูทุกชั่วโมงว่าปูลอกคราบแล้วหรือยัง ดังนั้นจึงไม่สามารถเลี้ยงในบ่อขนาดใหญ่ได้

-วิธีการคร่าวๆ ในการผลิตปูม้านิ่มก็คือ ขั้นแรกต้องมีความรู้ในการคัดเลือกปูม้าใกล้ลอกคราบก่อน ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะเราต้องคัดเลือกปูที่ใกล้ลอกคราบแล้วเท่านั้น เพื่อนำมาเลี้ยงในกล่องลอยน้ำในบ่อหรืออ่างของเราในฟาร์ม หากดูไม่เป็น ก็หมายความว่าต้องเลี้ยงปูในกล่องนานเกินไป ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมากในการดูแล

-ปูม้าที่จะนำมาเลี้ยงให้เป็นปูนิ่มในฟาร์ม ได้มาจากการจับมาจากทะเล ซึ่งได้จากทั้งวิธีการใช้ลอบดักปู หรือใช้อวน หากมีการใช้อวน ชาวประมงอวนปูต้องให้อากาศหลังปลดปูม้าออกจากอวน เมื่อขนส่งปูมายังฟาร์ม ซึ่งปูจะมีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรง เทียบเท่ากับปูที่ได้จากลอบปู หากปูเหล่านี้ยังไม่อยู่ในระยะใกล้ลอกคราบ ก็อาจต้องนำไปปล่อยในบ่อที่ทำเลียนแบบธรรมชาติ โดยใช้บ่อซิเมนต์ขนาดไม่ต้องใหญ่มากนัก แล้วใส่ทรายสูง 60 ซม. เกลี่ยระดับทรายลาดเอียงตามแบบชายทะเล จากนั้นจึงใส่น้ำทะเลสูงเหนือชั้นทรายประมาณ 30 ซม. ให้อากาศผ่านหัวทราย ปล่อยปูม้าในปริมาณ 8-10 ตัวต่อตารางเมตร ให้อาหารเป็นหอยแมลงภู่มีชีวิตร้อยละ 10 ของน้ำหนักปูรวม

-หลังปล่อยน้ำออกประมาณร้อยละ 50 สังเกตการเข้าหาอาหารและการหลบใต้พื้นทราย แยกปูม้าที่ไม่กินอาหารและหลบอยู่ใต้พื้นทรายในระดับตื้นที่แสดงว่าอยู่ในระยะใกล้ลอกคราบออกใส่ตะกร้าและเลี้ยงในบ่อรอลอกคราบต่อไป

-ตะกร้าที่นำมาใช้เลี้ยงปูเพื่อรอให้ลอกคราบแตกต่างจากการเลี้ยงปูดำเล็กน้อย โดยออกแบบใหม่ ชนิดที่ไม่ต้องปิดฝา แต่ทำให้สูงขึ้นเพื่อกันปูหนีลงน้ำ การที่ไม่มีฝาทำให้สะดวกในการมองและคัดปูที่ลอกคราบแล้วออกมาขาย เพราะส่วนใหญ่ปูจะลอกคราบตอนกลางคืน ทำให้สังเกตได้ยากหากมีฝาปิดอยู่
 ปูม้าที่เหมาะสมในการผลิตปูม้านิ่มในครัวเรือนควรเป็นปูม้าที่กำลังจะลอกคราบภายใน 3-5 วันเพื่อประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยง สำหรับการผลิตในโรงเรือนควรใช้ปูม้าที่อยู่ในระยะก่อนลอกคราบไม่เกิน 7 วัน เป็นระยะที่ปูหยุดกินอาหาร มีกิจกรรมน้อยมาก จะอยู่นิ่งมากกว่าการว่ายน้ำแม้ในช่วงเวลากลางคืนซึ่งเป็นช่วงของการหากินของปู

-วิธีการแยกว่าปูใกล้ลอกคราบหรือยัง ต้องอาศัยทักษะในการสังเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูสีซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในบริเวณจับปิ้งและขา หากสังเกตได้เก่งก็สามารถแยกปูที่พร้อมจะลอกคราบออกจากปูทั่วไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ นั่นก็หมายถึงว่าโอกาสทำปูม้านิ่มก็จะประสบความสำเร็จสูงตามไปด้วย เพราะไม่ต้องเสียต้นทุนในการเลี้ยงนานเกินไป