“หอยเชอรี่” Pomacea canaliculata (Lamarck )มีชื่อเรียกได้อีกว่า “หอยโข่งอเมริกาใต้” หรือ “เป๋าฮื้อน้ำจืด” และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Golden apple snail เป็นหอยทากน้ำจืด (freshwater snail) มีฝาเดียว ในประเทศไทยพบสองชนิดคือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจางๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน

หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ ได้เร็ว โดยที่ลูกหอยอายุประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถผสมพันธุ์ได้ และเพียง 1-2 วัน หลังจากผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่ในบริเวณที่แห้งเหนือน้ำ เช่น บนกิ่งไม้ ต้นไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ ซึ่งไข่จะมีลักษณะสีชมพูเกาะกันเป็นกลุ่ม และจะฟักตัวหลังจากวางไข่ได้ 7-12 วัน หอยเชอรี่เป็นสัตว์ที่กินพืชหลายชนิด เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักตบชวา และโดยเฉพาะต้นกล้าข้าว จึงจัดได้ว่า หอยเชอรี่เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย
การกำจัดโดยวิธีกล ได้แก่ การกำจัดเห็บและทำลายเมื่อพบตัวหอยและไข่ทันที่ หรือใช้ตาข่ายกั้นดักจับหอยเชอรี่บริเวณทางน้ำไหล หรือใช้ไม้หลักปักในนาข้าวเพื่อล่อให้หอยเชอรี่มาวางไข่แล้วจึงนำไปกำจัด บางส่วนก็มีการนำไปทำปุ๋ยชีวภาพ หรือนำมาบริโภค รวมทั้งผลิตเป็นอาหารสัตว์
แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า หอยเชอรี่ที่นำมาบริโภค หรือใช้เป็นอาหารสัตว์จะมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงและคนที่บริโภคสัตว์เลี้ยงนั้น เนื่องจากอาจมีสารพิษตกค้างจากการใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช ตลอดจนการสะสมของโลหะหนักจากสภาพแวดล้อม


นอกจากนั้นยังพบว่า วิธีการเลี้ยงเป็ดอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือ การเลี้ยงโดยให้ทั้งอาหารสำเร็จควบคู่กับวิธีไล่ทุ่ง ซึ่งจัดเป็นการเลี้ยงแบบผสมผสานแทนการใช้อาหารสำเร็จรูปอย่างเดียว เนื่องจากการตรวจสอบไข่ เนื้อ และเครื่องในเป็ด พบว่ามีประมาณโลหะหนักต่ำมาก ทำให้สามารถนำมาใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัย
การใช้หอยเชอรี่มาผสมในอาหารเลี้ยงสัตว์ นับว่าเป็นการช่วยกำจัดปริมาณหอยเชอรี่ได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของสารตกค้าง เนื่องจากสารพิษในอาหารที่บริโภคแม้จะมีในประมาณน้อย แต่สารเหล่านี้สามารถสะสมได้ในผู้บริโภคระดับสูง ดังนั้นการตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหารเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อสัตว์เพื่อการบริโภค รวมทั้งผู้บริโภคด้วย
อ้างอิงจาก : หนังสือสาส์นไก่ ปีที่ 59 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2554 สมาคมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย