ผักเม็ก (เสม็ด)


          ผักเม็ก         
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE  บ้านอะลาง

ชื่อพื้นเมือง ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา); ไคร้เม็ด (เชียงใหม่); เม็ก (ปราจีนบุรี); เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) ;เสม็ด (สกลนคร, สตูล);เสม็ด เขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง); ยีมือแล (มลายู – ภาคใต้)


 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  
1. ต้น เสม็ดชุนเป็นไม้ พุ่มต้น ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาล
    แดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ    โคนต้นมักเป็นพูพอน
2. ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ
    ปลายใบแหลม
3. ดอก ดอกออกเป็นช่อซี่ ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลาย
    ยอด ออกดอกเดือนมีนาคม - เมษายน
4. ผล ผลกลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน
    พฤษภาคม - มิถุนายน

แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้ง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบแสงแดด รำไร ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด มักพบอยู่ตามริมลำห้วย การขยายพันธุ์ เพาะ เมล็ด


การขยายพันธุ์ เมล็ด
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณริมหนองน้ำ ทนแล้งได้ดี
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูแล้ง ฤดูฝน

สรรพคุณ 
ทางยาสมุนไพร คือ น้ำมันจากใบ มีกลิ่นคล้ายการบูร เรียกว่า “น้ำมันเขียว” ใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน กินเป็นยาขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม กินมากเป็นยาขับพยาธิ

      ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร      
ใบอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ  ใช้ทานกับขนมจีนหรือเป็นผักจิ้ม น้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาปรุงกับเครื่อง ปรุงต่าง ๆ เช่น ปลาร้า มะนาว ข้าวคั่ว หอมแดง พริก ฯลฯ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เรียก ซุบผัก เม็ก
ผักเม็กมีรสฝาดปนเปรี้ยวนิดๆ ยอดสีขาวจะ อร่อยกว่ายอดสีแดง นิยมรับประทานกันมาแต่โบราณจนถึง ปัจจุบัน



    คุณค่าทางโภชนาการ    
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักเม็ก ให้รายละเอียดไว้ว่า ผักเม็ก 100 กรัม ให้คาร์โบไฮเดรต12.6 กรัม โปรตีน 3 กรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.6 มิลลิกรัม และแคลเซี่ยม 10 มิลลิกรัม ซึ่งพบว่าสูงมาก ขณะที่ได้เบตาแคโรทีน 1415 ไมโครกรัม และวิตามินเอ 236 ไมโครกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม จัดได้ว่าผักเม็กเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากชนิดหนึ่ง บ้านอะลาง



ข้อแนะนำส่วนที่พึงระวัง 
สำหรับการรับประทานผักเม็ก คือ ในผักเม็กมีสารออกซาเลต (Oxalate) สูง หากรับประทานสดหรือรับประทานจำนวนมากอาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วได้ ซึ่งแก้ไขโดยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือประเภทเนื้อ