การปลูกถั่วลันเตา
ถั่วลันเตา เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มีบริโภคในบ้านเรา แต่ไม่ค่อยแพร่หลายเท่าใดหนัก ไม่ค่อยมีจำหน่ายมากนักในท้องตลาด ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าถั่วลันเตาเป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างยากและต้องการการดูแลรักษาและเอาใจใส่มาก ถั่วลันเตาทั้งฝักมักกินแบบผัด จะผัดกับเนื้อสัตว์ที่เราชอบ อย่างหมู กุ้ง ไก่ หรือผัดน้ำมันหอยเปล่า ๆ ก็ได้รสดีทั้งนั้น เมล็ดถั่วลันเตาต้มสุกมักนำไปเป็นส่วนผสมของสลัด หรืออาหารฝรั่งมากกว่าจะนำมาทำอาหารแบบไทย เนื่องจากถั่วลันเตาเป็นพืชตระกูลถั่ว พืชตระกูลนี้เป็นพวกที่ได้รับสัมปทานโปรตีนมาจากธรรมชาติมากหน่อย แต่ใช่มีแค่โปรตีน ยังมีการใยอาหารหรือไฟเบอร์ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง แต่ก็นั่นแหละ วิตามินซีมักหายตัวไปหากถูกความร้อน ดังนั้นจึงควรผัดแต่พอสุกก็รับประทานได้แล้ว กากใยอาหารในถั่วลันเตาช่วยให้ระบบย่อยอาหารเป็นไปตามปกติ รวมไปถึงการขับถ่ายที่สะดวกสบายและเป็นเวล่ำเวลาแม้ว่าถั่วลันเตาจะให้สารอาหารต่าง ๆ และเส้นใยอาหารมากก็จริง แต่หากจะให้ดีควรรับประทานผักที่หลากหลายเพื่อจะได้รับสารอาหารและเกลือแร่ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน จัดเป็นพืชประเภทผักปีเดียว ลำต้นจะเลื้อยพันค้างขึ้นไปโดยใช้มือจับ เป็นพืชผักที่ชอบอากาศเย็นจึงปลูกได้ดีในช่วงฤดูหนาว แต่อย่างไรก็ตามถั่วลันเตาก็สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดโดยเฉพาะดินเหนียว ควรเป็นดินที่ค่อนข้างมีความเป็นกรดเล็กน้อย บ้านอะลาง

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ดินที่เหมาะสม สำหรับการะปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18′C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4′C หรือสูงกว่า 29′C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30′C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูกในสภาพอากาศเย็น มีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะ ที่ดอกบาน และเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน พันธุ์ที่นิยมใช้ปลูกในบ้านเราคือ พันธุ์แม่โจ้ 1 พันธุ์แม่โจ้ 2 และพันธุ์ฝางเบอร์ 7
การใช้ประโยชน์ของถั่วลันเตา
ถั่วลันเตาเป็นถั่วฝักแบน สีเขียวอ่อน มีเมล็ดเล็กๆ เรียงอยู่ภายใน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกฟัน เวลานำมาผัดจะมีรสหวานและกรอบ ควรผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะทำให้คุณค่าวิตามินยังคงอยู่ หรือนำไปลวกรับประทานได้อร่อยเช่นกัน นอกจากนี้เราสามารถนำส่วนของยอดต้นถั่วลันเตาพันธุ์รับประทานยอด ซึ่งมีลักษณะอวบและรสชาติหวาน นิยมนำมาผัดน้ำมันไฟแรงอย่างรวดเร็ว หรือต้มจืดกับหมูสับ
การปฎิบัติดูแลรักษาถั่วลันเตาในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การปลูก ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. รองพื้นก่อนปลูกและโรยตามร่องแถวปลูก พรวนดิน และหยอดเมล็ดโดยขีดร่องยาวตามแปลงลึก 5 ซม. หยอดเมล็ด 1 เมล็ด ห่างกัน 10-20 ซม. แถวห่าง 50 ซม. (ปลูกแถวคู่) กลบดินแล้วรดน้ำ ราดแปลงด้วยเซฟวิน 85 บนแปลงป้องกันมดกินหรือขนย้ายเมล็ด บ้านอะลาง
ข้อควรระวัง
1. หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่า
2. ควรคลุกเมล็ดด้วยไตรโคเดอร์ม่าหรือเอพรอน 35
การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงบะ 20 ซม. ของค้าง
การให้น้า ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
การใส่ปุ๋ย
1. ถั่วลันเตาอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.
2. ถั่วลันเตาอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวของแต่ละพันธุ์ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วประมาณ 60-90 วันหลักจากปลูก การเก็บฝักสดควรเก็บทุกๆ 3-4 วัน ทยอยไปเรื่อยๆเลือกเก็บฝักที่ได้ขนาดอ่อนนุ่ม กรอบ เมล็ดข้างในอ่อน อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 30-60 วัน เริ่มเก็บผลผลิตถั่วลันเตา เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน (ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝักไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึงให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตระกล้าพลาสติก บ้านอะลาง
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วลันเตาในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะเริ่มติดดอก 25-30 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไป
ระยะฝักเจริญเติบโต 35-45 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไป
ระยะเก็บเกี่ยว 45-70 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไป