เห็ดนกยูง (Macrolepiota gracilenta)
Parasol mushroom หรือ Tall mushroom
ชื่อทั่วไป มีชื่อเรียกหลายชื่อตามภาคต่างๆ
- เห็ดกระโดง เห็ดกระโดงตีนสูง (ภาคเหนือ)
- เห็ดหนังกลอง เห็ดไม กลอง เห็ดฆอนกลอง (ภาคใต้ )
- เห็ดผาออม เห็ดขานกกระยาง เห็ดคันรม เห็ดรม เห็ดคันจอง เห็ดกนกลอง (ภาคอีสาน)
-เห็ดนกยูง(ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป
- ดอกเห็ดมีลักษณะรูปทรงร่มและมีขนาดใหญ่
- หมวกดอกระยะแรก มีลักษณะกลม สีน้ำตาล ต่อมามีรูปร่างคล้ายกระดิ่ง
- เมื่อดอกบานเต็มที่มีลักษณะเกือบแบนราบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง5.0–15.5 เซนติเมตร
- เนื้อหมวกดอกมีสีขาวมีจุดสีน้ำตาลเข้มตรงกลางหมวกดอกและมีเกล็ดขนาดเล็กมองดูเป็น จุดสีน้ำตาล
กระจายออกโดยรอบไปยังขอบหมวกดอก ทําให้เกิดเป็นลวดลายบนหมวกดอก คล้ายลายของปากนกยูง
- ครีบหมวกมีสีขาวและไม้ติดกับก้านดอก ก้านดอกมีความยาว 10.0-15.5 เซนติเมตร หนา1 - 1.3 เซนติเมตร บริเวณโคนก้านมีลักษณะพองออกเป็นกระเปาะ
- ก้านดอกสวนบนมีเยื่อวงแหวนลักษณะหนาอยู่ใต้ หมวกดอก สปอร์ เป็นรูปไข่ มีขนาด10-13 x 7-8 ไมครอน
นิสัยตามธรรมชาติ
ชอบเกิดต้นและกลางฤดูฝนที่มีวัสดุและอาหารที่หมักได้ที่แล้ว โดยเกิดตามทุ่งหญ้า คันนา ตามที่เส้นทางที่วัว ควายเดินผ่าน ส่วนใหญ่ จะพบตอนที่ดอกบานแล้ว เพราะสังเกตเห็นได้ง่าย สวนดอกอ่อนจะพบไดยาก เพราะดอกจะมีหญ้าบดบังอยู่ ยกเว้นแต่คนที่มีประสบการณ์ ในการหาเห็ดชนิดนี้มาแล้วและจําสถานที่เกิดของเห็ดได้ จึงจะได้กินดอกอ่อนที่แสนอร่อย
แหล่งที่พบ
พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยขึ้นบนพื้นดินที่เป็นทุ่งหญ้าโดยเฉพาะ บริเวณที่มีการเลี้ยงวัว ควายจะพบได้บ่อย
ลักษณะของเส้นใย
สีขาวรวมตัวกันคล้ายรากแขนง เจริญออกจากศูนย์กลางเป็นรัศมีค่อนข้างกลม ปลายเส้นใยมีความหนาแน่นน้อยกว้าตรงกลาง เวลาแก่ เส้นใยจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน
วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดนกยูง
1.นําวัสดุเพาะที่ผ่านการหมักบรรจุถุงทนความร้อนขนาด 7x13 นิ้วหนา 0.12 มิลลิเมตร น้ำหนักบรรจุวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม ทุบให้ แน่นพอประมาณ ใส คอขวด ปิดฝาครอบฟอลเตอร์ในระหว่างบรรจุวัสดุเพาะลงถุงให้คลุมวัสดุเพาะด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกันวัสดุแห้ง ถ้าผิวหนาวัสดุแห้งให้ ฉีดพรมน้ำเพื่อชดเชยน้ำที่ระเหยไป
2.นําถุงที่บรรจุวัสดุเพาะทั้งหมดเข้าหม้อนึ่งพาสเจอร์ไรซ์นึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน4 ชั่วโมง(หลังจากผสมวัสดุเพาะเสร็จ ต องบรรจุลงถุงและนึ่งฆ่าเชื้อภายใน 24 ชั่วโมง)
3.นําถุงที่ฆ่าเชื้อแล้วพักไว้ในห้องตอเชื้อที่สะอาด(ทิ้งไว้ให้เย็นใช้เวลานาน 1 วัน)
4.นําหัวเชื้อข้าวฟางเห็ดนกยูง ถ่ายลงในถุงวัสดุเพาะแก้วลงถุงวัสดุเพาะให้ เมล็ดข้าวฟ างกระจายก้อนนําก้อนเห็ดบ่มไว้ในโรงบ่มปล่อยให้เชื้อเดินเต็มถุงใช้เวลา 30-60 วัน
5.หลังจากที่เชื้อเดินเต็มถุงแล้วปล่อยให้เส้นใยรัดตัวประมาณ1 เดือน
6.เปิดปากถุงพลาสติกออกโดยพับปากถุงให้เหลือประมาณ 1–2 เซนติเมตรกลับด้วยดินร่วนปนทราย
7. ให้ความชื้นโดยรดน้ำเช้า กลางวันและเย็น
8. ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากกลบดินเห็ดเริ่มให้ผลผลิต
ความสำคัญของเห็ดนกยูง
เห็ดนกยูงจากธรรมชาติมาพัฒนาให้เป็นเห็ดที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ เพื่อให้เกิดเป็น สาธารณะประโยชน์แก่เกษตรกร นําไปเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้สู่ท้องถิ่นมากขึ้นโดยในการศึกษา ได้ศึกษาการเพาะเห็ดนกยูงทั้งแบบถุงพลาสติก และแบบขึ้นชั้นเพาะในห้องปฏิบัติการซึ่งจากผลการศึกษาสามารถพัฒนาสายพันธุ์
รูปแบบเพาะเลี้ยง
ขยายพันธุ์ และปรับปรุงสูตรให้มีความเหมาะสมกับการเพาะเห็ดนกยูงซึ่งพร้อมที่จะถ่ายทอดสู่เกษตรกร และผู้ที่สนใจ ดังนั้นศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการถ่ายทอดเทคโนยีการเพาะเลี้ยงเห็ดนกยูงแก่ ชุมชน โดยพัฒนารูปแบบการเพาะเป็นแบบขึ้นชั้นเพาะในโรงเรือนเพาะเลี้ยง ซึ่งได้ผลผลิตในปริมาณที่สามารถเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้ การศึกษาและถ่ายทอดการเพาะเลี้ยงเห็ดนกยูงที่เหมาะสมกับชุมชน
ไบโอเทคได้ชูประเด็นเห็ดรา ที่นำมาพัฒนาเป็นยารักษามะเร็ง โดยนายสาธิต ไทยทัตกุล อุปนายกสมาคมวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมืองไทยมีเห็ดหลากหลายพันธุ์ ซึ่งถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก รวมคุณสมบัติของสารอาหารจากพืชและสัตว์ไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ มีการสรุปแล้วว่าเห็ดไม่ใช่พืชและไม่ใช่สัตว์ มีพันธุกรรมเฉพาะตัวที่แตกต่างออกไป มีชื่อเรียกว่า "ฟันใจคิงด้อม (FUNGI)" เช่น เห็ดนกยูง
ข้อควรระวัง !
อย่าเก็บเห็ดที่มีลักษณะคล้ายเห็ดนกยูงที่เกิดตามธรรมชาติมารับประทาน เนื่องจากเห็ดนกยูงมีลักษณะที่คล้ายกับเห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน หรือเห็ดกระโดงตีนต่ำ ดอกเห็ดเมื่อยังอ่อนเป็นก้อนกลม จากนั้นจะบานออกเป็นร่มสีน้ำตาล แตกออกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมกระจายออกไปถึงกลางหมวก ครีบสีขาว เมื่อแก่จัดจะเป็นสีเทาอมเขียวหม่น ก้านรูปทรงกระบอกสีขาว ขึ้นตามสนามหญ้าและทุ่งนา เห็ดชนิดนี้มีพิษไม่ร้ายแรงนัก ผู้ที่รับประทานเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น และอ่อนเพลีย ถ้าเป็นเด็กอาจเสียชีวิตได้ถ้ารับประทานมาก
มีเห็ดอีกมากชนิดที่มีพิษ เป็นอันตรายเมื่อรับประทานเข้าไป ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรเลือกกินเฉพาะเห็ดที่รูจักดีเท่านั้น โดยเฉพาะเห็ดป่าสมควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด