การปลูกเงาะ


ขั้นตอนการปลูกเงาะและการปฏิบัติดูแลรักษา

1. การเตรียมต้นหลังเก็บเกี่ยว
        1.1การตัดแต่งกิ่งตัดแต่งกิ่งกระโดงในทรงพุ่มกิ่ง เป็นโรค
        1.2 การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นปุ๋ยเคมี ทางดินสูตร ปุ๋ยทางใบสูตรทางด่วน
        1.3 การป้องกันกำจัดโรค-แมลง ที่สำคัญ

2. การเตรียมต้นก่อนการออกดอก
        การจัดการน้ำเพื่อกระตุ้นการออกดอก โดยให้น้ำอัตรา 30-35 มิลลิเมตรแล้วหยุดเพื่อรอดู อาการภายใน 7-10 วัน หากตายอดมีการพัฒนาและสีของตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดำเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในอัตราเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด แต่หากพบว่าตายอดพัฒนาจากสีน้ำตาลดำเป็นสีน้ำตาลปนเขียวหรือเขียวน้ำตาล ต้องหยุดให้น้ำและปล่อยให้กระทบแล้งอีกครั้งหนึ่ง

3. การจัดการต้นระยะออกดอก
       3.1 การป้องกันกำจัดศัตรูทำลายช่อดอกและผลเงาะ
       3.2 การช่วยผสมเกสรเพื่อส่งเสริมการติดผล โดยการเก็บละออง เกสรมาผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นตัวเมีย หรือการใช้สารควบคุมการ เจริญเติบโต
       3.3 การจัดการปุ๋ยและน้ำเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของดอก

4. การจัดการต้นระยะผลพัฒนา
        4.1 การป้องกันกำจัดศัตรูทำลายผลเงาะ
        4.2 ช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้า ได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลเล็กลีบ และมีเปลือกหนา
        4.3 กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัดหรือสารเคมีควบคุม
        4.4 ให้ปุ๋ยแก่เงาะ สูตร 15-15-15- หรือสูตร 16-16-16 และก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนให้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 หรือ 14-14-25

5. การเก็บเกี่ยวเงาะ
       5.1 เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดยใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผลจากต้น เมื่อสีผิวผล เงาะพันธุ์เรียนและพันธุ์เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวปนเหลืองแต้มแดง ขนสีเขียว
       5.2 รวบรวมช่อผลเงาะที่เก็บเกี่ยวแล้วใส่ตะกร้าพลาสติก หรือเข่งที่กรุภายในด้วยกระดาษหรือ กระสอบปุ๋ยที่สะอาด เพื่อป้องกันมิให้ผลกระแทกช้ำ และขนหัก จากนั้นขนย้ายไปยังโรงเรือน ภายในสวน หรือในที่ร่ม

6. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
       6.1 ขนย้ายผลิตผลเงาะไปยังโรงเรือน หรือในที่ร่มด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บเกี่ยวเสร็จ
       6.2 ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดยตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรใน กรณี จำหน่ายเป็นผลเดี่ยว
       6.3 ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติดอยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่ายเป็นเงาะช่อ
       6.4 คัดแยกผลที่เสียหายจากการเก็บเกี่ยว หรือมีตำหนิจากโรคและแมลงออก

การให้ปุ๋ย                                                                                            
        1. การใส่ปุ๋ยหลังเก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ยเคมีทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นเท่ากับ 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มเป็นเมตร หว่านให้ทั่วทรงพุ่ม หรือพ่นด้วยปุ๋ยทางใบสูตรทางด่วน (คาร์โบไฮเดรตสำเร็จรูป อัตรา 20 มิลลิลิตร + ปุ๋ยเกล็ดทางใบสูตร 20-20-20 ที่มีธาตุรองและจุล ธาตุร่วมด้วย อัตรา 60 กรัม + กรดฮิวมิค อัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมรวมกันในน้ำ 20 ลิตร) จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะกระตุ้น ให้ต้นเงาะแตกใบอ่อนได้ 2-3 ชุดใบ
          2. การใส่ปุ๋ย เมื่อตัดแต่งช่อผลเสร็จแล้ว พ่นปุ๋ยทางใบสูตรทางด่วน (คาร์โบไฮเดรต สำเร็จรูป อัตรา 20 มิลลิลิตร + ปุ๋ยเกล็ดทางใบสูตร 20-20-20 ที่มีธาตุรองและจุลธาตุร่วมด้วย อัตรา 60 กรัม + กรดฮิวมิค อัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมรวมกันใน น้ำ 20 ลิตร) จำนวน 1-2 ครั้ง ทุก 7 วัน หรือใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 13-13-21 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น

โรค-แมลงที่สำคัญ
        1. โรคราแป้ง พ่นด้วยกํามะถันผง 80% ดับบลิวจี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบโนมิล 50% ดับบลิวพี อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร หรือสารไดโนแคป 19.5% ดับบลิวพี อัตรา 20-25 กรัม หรือสารไตรดีมอร์ฟ 75% ดับบลิวพี อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร
       2. โรคราสีชมพู พ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัม หรือสารคาร์เบนดาซิม 60% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
       3. โรคช่อดอกแห้ง พ่นด้วยสารไอโปรได โอน 50% ดับบลิวพี อัตรา 15-20 กรัม หรือสารโพรคลอราช 50% ดับบลิวพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซะโค นาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือtriadimcnol 25% SC อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
       4. เพลี้ยแป้ง พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 45 กรัม หยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน หรือสารอิมิดา โคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20%อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
       5. หนอนเจาะขั้วเงาะ พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน
       6. แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อเมทิลยูจินอล ผสมสารมาลาไท ออน 83%อีซี อัตราส่วน 2: 1 โดยปริมาตร
       7. หนอนคืบกินใบ พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
       8. แมลงค่อมทอง พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30-45 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร
          9. เพลี้ยไฟ พ่นด้วยสารฟิโปรบิลนิล 5%เอสซี หรือ อิมิดาโคลพริด 10%เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือสารคาร์โบซัล แฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร หรือสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
เทคโนโลยีการผลิตเงาะและการจัดการ
 แผนการทำงานในสวนเงาะ (ตามระยะการเจริญเติบโต)

เทคนิคการผลิตเงาะ
1. พันธุ์เงาะ พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์ ได้แก่
        1.1 พันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู ผิวสีแดงเข้ม โคนขนมีสีแดง ปลายขนมีสีเขียว เนื้อหนา แห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี เมื่อขาดน้ำในช่วง ผลอ่อน ผลจะแตกหรือหล่นได้มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู
        1.2 พันธุ์สีชมพู เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่ง

2. สภาพพื้นที่
        • เป็นพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 650 เมตร
        • พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
        • ความลาดเอียงประมาณ 1 - 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ควรเกิน 15 เปอร์เซ็นต์
        • ควรใกล้แหล่งน้ำ

3. ลักษณะดิน
        • ดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
        • หน้าดินลึกมากกว่า 1 เมตร
        • มีค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 5.0-5.7
        • สภาพภูมิอากาศ
        • อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส
        • ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
        • ความชื้นในอากาศสูง

4. แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำ
        4.1. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ควรเป็นน้ำที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้ในการเกษตร ต้องไม่ ใช้น้ำเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตราย กรณี จำเป็นต้องใช้ ต้องมี หลักฐานหรือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าน้ำนั้นได้ผ่านการบำบัดน้ำเสียมาแล้ว และสามารถ นำมาใช้ในกระบวนการผลิตได้ และน้ำที่ใช้ล้างผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพบริโภคได้
        4.2. ควรมีการเก็บตัวอย่างน้ำอย่างน้อย 1 ครั้ง ในระยะเริ่มระบบการจัดการคุณภาพ: GAP เงาะ ตาม คำแนะนำในเอกสารสนับสนุนวิธีเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อการวิเคราะห์ ส่งห้องปฏิบัติการ ที่เชื่อถือได้ เพื่อ

การจัดการปลูกเงาะ
สภาพต้นเงาะงานที่ต้องทำ
1. การเตรียมพื้นที่
        - ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และขุดร่องระบายน้ำในแปลง

2. การเลือกต้นพันธุ์
        - ต้นพันธุ์ที่นำไปปลูกได้จากการเพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่ง การติดตา มีความสมบูรณ์แข็งแรงมีระบบ รากสมบูรณ์ รากไม่ขดหรืองอ

3. ระยะปลูก
        - ระยะระหว่างต้นประมาณ 8-10 เมตร ระหว่างแถว ประมาณ 8-10 เมตร

4. การเตรียมหลุมปลูก
        -   ขุดหลุมกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร
        -   ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรมีขนาด 1x1x1 เมตร ผสมดินปลูกด้วยหินฟอสเฟต 2 กระป๋องนม และ ปุ๋ยคอกแห้ง ประมาณ 1 ปุ้งกี๋ กลบลงในหลุมให้ระดับ ดินสูงกว่าระดับเดิม 20-25 เซนติเมตร

5. การปลูก
          -   เตรียมดินไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ วางกิ่งพันธุ์ดีตรงกลางหลุม กลบดินให้สูงกว่าระดับเดิมไม่เกิน 1 นิ้ว อย่าให้สูง
ถึง รอยแผลที่ติดตา ใช้ไม้เป็นหลักผูกยึดกิ่งเพื่อป้องกันต้นล้ม

แผนการทำงานในสวนเงาะ  การจัดการเงาะระยะออกดอก ดอกบาน ติดผล 
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
        1. โรคราแป้ง พ่นด้วย กํามะถันผง 80% ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบโนมิล 50%ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัมหรือ สารไดโนแคป 19.5 % ดับบลิวพี อัตรา 15-20 กรัม หรือสารไตรดีมอร์ฟ 75% ดับบลิวพี อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อ น้ำ 20 ลิตร
        2. เพลี้ยไฟ พ่นด้วยสารฟิโปรบิลนิล 5% เอสซี หรือ อิมิดา โคลพริด 10%เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือสารคาร์โบ ซัล แฟน20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร หรือสารแลมป์ดา ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
        3. โรคช่อดอกแห้ง พ่นด้วยสารไอโปรได โอน 50%ดับบลิว พี อัตรา 15-20 กรัม หรือสารโพรคลอราช 50%ดับบลิวพี อัตรา20 กรัม หรือสารเฮกซะโค นาโซล 50% เอสซี อัตรา 20 มิลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
การให้น้ำ
        1. กระตุ้นการออกดอกโดยปล่อยให้ต้นเงาะขาดน้ำหลัง ฝนทิ้งช่วงแล้วประมาณ 25-30 วัน เมื่อสังเกตใบแก่ที่อยู่ ปลายช่อตั้งชันขึ้นพร้อมกับมีอาการใบห่อในเวลาเช้า จัดการให้น้ำต้นเงาะในปริมาณมากทันทีเพียง 1 ครั้ง แล้ว หยุดเพื่อรอดู อาการภายใน 7-10 วันเมื่อตายอดเปลี่ยน จากสีน้ำตาลดำเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่ม ให้น้ำอีกครั้งหนึ่ง ในอัตราเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด
        2. ควบคุมการให้น้ำเพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน ถ้ามีใบอ่อนแซมช่อดอกมากควรงดให้น้ำสักระยะจนกว่าใบอ่อนที่ แซมมาจะร่วงหมดจึงเริ่มให้น้ำใหม่ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป ต้องให้น้ำ 1 ใน 3 ของการให้น้ำตามปกติและเพิ่ม ปริมาณขึ้นเรื่อยๆ
          3. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
สภาพต้นเงาะ
         
 การจัดการเงาะระยะพัฒนาและเจริญเติบโตของผล
        1. ช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ผลเล็กลีบ และมีเปลือกหนา
        2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
        3. การให้ปุ๋ย
             3.1 ให้ปุ๋ยแก่เงาะ สูตร 15-15-15- หรือสูตร 16-16-16 อัตรา     1-2 กิโลกรัม/ต้น
             3.2 ก่อนเก็บเกี่ยว      1 เดือนให้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 หรือ 14-14-25 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น
หว่านให้ทั่วบริเวณ ทรงพุ่มแล้วใช้คราดกลบบางๆ หลังรดน้ำ
        4. เฝ้าระวังป้องกันกำจัดศัตรูเงาะ
             4.1 เพลี้ยแป้ง พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 45 กรัม หยุดพ่นก่อนการ เก็บเกี่ยว 7 วัน หรือสารอิมิดา
โคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20
ลิตร
             4.2 หนอนเจาะขั้วเงาะ พ่นด้วยสารคาร์บา ริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน
             4.3 แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อเมทิลยูจินอล ผสมสารมาลาไท ออน 83% อีซี อัตราส่วน 2 : 1 โดยปริมาตร
             4.4 โรคราแป้ง พ่นด้วยกํามะถันผง 80% ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัม หรือสารเบโนมิล 50%ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม
หรือสารไดโน แคป อัตรา 15-20 กรัม หรือสารไตรดี มอร์ฟ 75% อีซี อัตรา 5 มิลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
สภาพต้นเงาะ
      
 การจัดการเงาะระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
        1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผลจากต้น เมื่อสีผิวผลเงาะพันธุ์เรียนและพันธุ์เปลี่ยน
จากสีเขียวเป็นสีเขียวปนเหลืองแต้มแดง ขนสีเขียว
        2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้าพลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไปยังโรงเรือน ภายในสวน หรือในที่ร่มด้วยความ ระมัดระวัง ทันที
ที่เก็บเกี่ยวเสร็จ
        3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดยตัดขั้ว ผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรใน กรณี จำหน่ายเป็นผลเดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
        4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติดอยู่ ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัมในกรณีจำหน่ายเป็นเงาะช่อ
   
การจัดการเงาะระยะพักต้น และแตกใบอ่อน
1. การตัดแต่งกิ่ง
1.1 ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่ง แห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออกให้หมดเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี

1.2 เตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออกดอกในฤดู ถัดไป
     
 2. การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด และรักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์
 3. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัดหรือ สารเคมีควบคุม
 4. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15- หรือ 16-16-16 1-3   กก./ต้น

5. เฝ้าระวังกำจัดศัตรูพืช
5.1 หนอนคืบกินใบ พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
5.2 แมลงค่อมทอง พ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30-45 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
 5.3 โรคราแป้ง พ่นด้วย กำมะถันผง 80% ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบโนมิล 50% ดับบลิวพีอัตรา 10 กรัม หรือ สารไดโนแคป 19.5% ดับบลิวพี อัตรา 15-20 กรัม หรือสารไตรดีมอร์ฟ 75% ดับบลิวพี อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
5.4 โรคราสีชมพู พ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอ ไรด์ 85%ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัม หรือสารคาร์เบนดาซิม 60%
ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

แผนการทำงานในสวนเงาะในรอบ 12 เดือน
เดือน มกราคมงานที่ต้องทำ
        1.1 ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ ระบาดมาก ในช่วงแล้งและระยะออกดอก หากระบาด ควรพ่นด้วย สารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
        1.2 เฝ้าระวังโรคช่อดอกแห้ง ชำลายช่อดอก ระยะก่อนดอกบาน และระยะดอกบาน เมื่อ พบระบาดควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัด โรคช่อดอกแห้ง
        1.3 ราแป้ง พบระบาดตั้งแต่ช่วงก่อนดอก บานจนถึงติดผลอ่อน หากพบระบาดควรพ่น ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคราแป้ง
การให้น้ำ 
        1. กระตุ้นการออกดอกโดยปล่อยให้ต้นเงาะ ขาดน้ำหลังฝนทิ้งช่วงแล้วประมาณ 25-30 วัน เมื่อสังเกตใบแก่ที่อยู่ปลายช่อตั้งชันขึ้น พร้อมกับมีอาการใบห่อในเวลาเช้าจัดการให้น้ำต้นเงาะในปริมาณมากทันทีเพียง 1 ครั้ง แล้วหยุดเพื่อรอดู อาการภายใน 7-10 วัน เมื่อตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดำเป็นสี น้ำตาลทอง ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในอัตราเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด
        2. ควบคุมการให้น้ำเพื่อป้องกันการแตกใบ อ่อน ถ้ามีใบอ่อนแซมช่อดอกมากควรงดให้น้ำ สักระยะจนกว่าใบอ่อนที่แซมมาจะร่วงหมด จึงเริ่มให้น้ำใหม่ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป ต้องให้น้ำ 1 ใน 3 ของการให้น้ำตามปกติและ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ
        3. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
สภาพต้นเงาะ
    
เดือน กุมภาพันธ์ งานที่ต้องทำ
        1. ช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลควร ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าได้รับน้ำ ไม่เพียงพอจะทําให้ผลเล็กลีบ และมีเปลือกหนา
        2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้ รถตัดหรือสารเคมีควบคุม
        3. การให้ปุ๋ย
             3.1 ให้ปุ๋ยแก่เงาะ สูตร 15-15-15- หรือสูตร 16-16-16 อัตรา     1-2 กิโลกรัม/ต้น
             3.2   ก่อนเก็บเกี่ยว    1 เดือนให้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 หรือ 14-14-25 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น หว่าน ให้ทั่วบริเวณทรงพุ่มแล้วใช้คราดกลบ บางๆ หลังรดน้ำ
        4. เฝ้าระวังป้องกันกำจัดศัตรูเงาะ   เช่น เพลี้ยแป้ง /หนอนเจาะขั้วเงาะ / แมลงวันผลไม้ /โรคราแป้ง
สภาพต้นเงาะ

    
เดือน มีนาคม งานที่ต้องทำ
        1. ช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลควร ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทําให้ผลเล็กลีบ และมีเปลือกหนา
        2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้ รถตัดหรือสารเคมีควบคุม
        3. การให้ปุ๋ย
             3.1 ให้ปุ๋ยแก่เงาะ สูตร 15-15-15- หรือสูตร 16-16-16 อัตรา     1-2 กิโลกรัม/ต้น
             3.2 ก่อนเก็บเกี่ยว      1 เดือนให้ปุ๋ยสูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 หรือ 14-14-25 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น หว่านให้ทั่ว บริเวณทรงพุ่มแล้วใช้คราดกลบบางๆ หลังรดน้ำ
        4. เฝ้าระวังป้องกันกำจัดศัตรูเงาะ   เช่น เพลี้ยแป้ง /หนอนเจาะขั้วเงาะ / แมลงวันผลไม้ /โรคราแป้งสภาพต้นเงาะ
    
เดือน เมษายนงานที่ต้องทำ
        1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดย ใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผล จากต้น
        2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้า พลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไป ยังโรงเรือนภายในสวน หรือในที่ร่ม ด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บ เกี่ยวเสร็จ
        3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดย ตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรในกรณี จำหน่ายเป็นผล เดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
        4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติด อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่าย เป็นเงาะช่อ
สภาพต้นเงาะ

    
เดือน พฤษภาคมงานที่ต้องทำ
        1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดย ใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผล จากต้น
        2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้า พลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไป ยังโรงเรือนภายในสวน หรือในที่ร่ม ด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บ เกี่ยวเสร็จ
        3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดย ตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรในกรณี จำหน่ายเป็นผล เดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
        4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติด อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่าย เป็นเงาะช่อ
เดือน มิถุนายน
งานที่ต้องทำ
        1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดย ใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผล จากต้น
        2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้า พลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไป ยังโรงเรือนภายในสวน หรือในที่ร่ม ด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บ เกี่ยวเสร็จ
        3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดย ตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรในกรณี จำหน่ายเป็นผล เดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
        4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติด อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่าย เป็นเงาะช่อ

เดือน กรกฎาคมงานที่ต้องทำ
        1. ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออก ให้หมด เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
        2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
        3. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15- หรือ 16-16-16 1-3 กก./ต้น
        4. การเฝ้าระวัง
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดหนอนคืบกินใบ
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง
              - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ราสีชมพู

เดือน สิงหาคม งานที่ต้องทำ
        1. ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออก ให้หมด เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
        2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
        3. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15- หรือ 16-16-16 1-3 กก./ต้น
        4. การเฝ้าระวัง
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดหนอนคืบกินใบ
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ราสีชมพู

เดือน กันยายนงานที่ต้องทำ
        1. ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออก ให้หมด เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
        2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
        3. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15- หรือ 16-16-16 1-3 กก./ต้น
        4. การเฝ้าระวัง
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดหนอนคืบกินใบ
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง
             - เฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ราสีชมพู

เดือน ตุลาคมงานที่ต้องทำ
        1. เตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออก ดอกในฤดูถัดไป
        2. การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อน อย่างน้อย 2 ชุด และรักษาใบอ่อนที่ แตกออกมาให้สมบูรณ์
        3. หมั่นเฝ้าระวังและป้องกันกำจัดโรคราแป้ง และหนอนคืบกินใบ

เดือน พฤศจิกายนงานที่ต้องทำ
        1. เตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออก ดอกในฤดูถัดไป
        2. การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อน อย่างน้อย 2 ชุด และรักษาใบอ่อนที่ แตกออกมาให้สมบูรณ์
        3. หมั่นเฝ้าระวังและป้องกันกันกำจัดโรค ราแปง และหนอนคืบกินใบ

เดือน ธันวาคมงานที่ต้องทำ
        1. ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ ระบาดมาก ในช่วงแล้งและระยะออกดอก หากระบาด ควรพ่นด้วย สารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
        2. เฝ้าระวังโรคช่อดอกแห้ง ชำลายช่อดอก ระยะก่อนดอกบาน และระยะดอกบาน เพื่อ พบระบาดควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัด โรคช่อดอกแห้ง
        3. ราแป้ง พบระบาดตั้งแต่ช่วงก่อนดอก บานจนถึงติดผลอ่อน หากพบระบาดควรพ่น ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคราแป้ง
การให้น้ำ
        1. กระตุ้นการออกดอกโดยปล่อยให้ต้นเงาะ ขาดน้ำหลังฝนทิ้งช่วงแล้วประมาณ 25-30 วัน เมื่อสังเกตใบแก่ที่อยู่ปลายช่อตั้งชันขึ้น พร้อมกับมีอาการใบห่อในเวลาเช้าจัดการให้ น้ำต้นเงาะในปริมาณมากทันทีเพียง 1 ครั้ง แล้วหยุดเพื่อรอดู อาการภายใน 7-10 วัน เมื่อตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดําเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่ม ให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในอัตรา เท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด
        2. ควบคุมการให้น้ำเพื่อป้องกันการแตกใบ อ่อน ถ้ามีใบอ่อนแซมช่อดอกมากควรงดให้น้ำ สักระยะจนกว่าใบอ่อนที่แซมมาจะร่วงหมด จึงเริ่มให้น้ำใหม่ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป ต้องให้น้ำ1 ใน 3 ของการให้น้ำตามปกติและ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ
        3. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ