การปลูกถั่วพู



     การเตรียมหลุมและไม้ห้าง    
1. ควรปลูกหลุมละ  1 ต้น ห่างกัน 2x2 เมตร
2. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพประมาณ 1/2 กก. ต่อหลุม
3. ห้างถั่วพู ควรเป็นเสาไม้ไผ่ที่แข็งแรง เพียง 1 หลักต่อหลุม ยาว 2-25. เมตร
4. ฝังหลักค้างให้มั่นคง
การปลูกและการดูแล
1. เตรียมหลุมและไม้ค้างปักให้เรียบร้อย
2. ปลูกต้นกล้า รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน
3. ใช้เชือกกล้วย ผูกเถาพันหลักค้าง
4. ควรเติมปุ๋ยหมักชีวภาพ ประมาณ 100 กรัมต่อต้นทุก 15 วัน
5. ฉีดน้ำสะเดาหมักทุกๆ 7 วัน ถ้ามีเพลี้ยอ่อนให้เพิ่มน้ำหมักยาฉุนและกากน้ำตาลฉีดพ่นยามสายของทุกวัน

ผสมดิน ปุ๋ยดินหมักชีวภาพ และแกลบดำ อย่างละเท่า ๆกัน  กรอกถุงเพาะหยอดเมล็ดถั่วพูลงถุงละเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เมื่อต้นถั่วมีใบจริง 2-3 ใบ ก็นำไปปลูกได้ บ้านอะลาง

                      การปลูกถั่วพู                     
การเตรียมเมล็ด เนื่องจากเมล็ดถั่วพูเป็นเมล็ดที่แข็ง จึงต้องนำไปแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิที่สามรถนำมือแช่ได้นาน แล้วนำผ้าขาวบางมาห่อเมล็ดถั่วพู ทิ้งไว้ในบริเวณที่มีความชื้นเช่นในห้องน้ำ เป็นเวลา 3 คืน การเตรียมดินและปลูก ไถยกร่องแล้วใส่ปุ๋ยคอกมารองพื้นในหลุมที่จะปลูก ระยะห่างระหว่างแถวควรให้ห่างประมาณ 2 เมตรและระหว่างต้นควรห่างประมาณ 1 เมตร นำไม้ค้างมาปักไว้เพื่อให้ถั่วพูเลื้อยขึ้นได้ ในหนึ่งหลุมควรใส่เมล็ด 2-3 เมล็ด ประมาณ 5วันถั่วพูเริ่มงอก อายุ 70 – 80 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ รดน้ำทุกวันเช้าเย็น ใส่ปุ๋ยชีวภาพและฉีดสมุนไพรไล่แมลงทุกๆ 7 วัน การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวถั่วพูในตอนเช้าหรือตอนเย็นเพราะกลีบถั่วพูเป็นกลีบที่บางถ้า เก็บตอนสายหรือแดดร้อนมากจะทำให้กลีบถั่วพูช้ำไม่สวยลูกค้าไม่ต้องการ นำใบตองกล้วยหรือถุงพลาสติกรองตะกร้าเพื่อป้องกันไม่ให้กลีบถั่วพูช้ำ การจำหน่าย ถั่วพูเป็นพืชสวนครัวที่ปลูกง่าย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีตลาดรองรับที่แน่นอน

1.พันธุ์ ถั่วพูที่ใช้ปลูกส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งได้ปลูกมานานแล้ว ลักษณะฝักจะมีขนาดเล็ก
   ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และพันธุ์ฝักใหญ่ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร

2. การเตรียมดินปลูก ถั่วพูเป็นพืชที่มีรากลึกปานกลาง การเตรียมดินควรไถดินลึกประมาณ
   25-30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก พรวนดินให้ละเอียด
   ยกร่องเป็นแปลง มีทางเดิน พร้อมปลูกได้

3. การปลูก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 60 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ถั่วพูนิยมปลูกด้วยเมล็ด หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ให้ขุดหลุมปลูกตามระยะปลูก หยอดเมล็ดลงหลุมๆ ละ ประมาณ 5 เมล็ด ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร กลบด้วยดินบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่มชื้น หลังจากเมล็ดงอกประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้ถอนแยกเหลือหลุมละ 3 เมล็ด

4. การทำค้างถั่วพู มีวิธีทำได้หลายแบบ เช่น ค้างเดี่ยว ปักตรงหลุมละ 1 หลัก โดยใช้ไม้ลวกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาวประมาณ 2 เมตร หรือ ค้างแบบคู่ คือ ปักค้างตรงทุกร่อง และรวมปลายเป็นคู่ๆ ไป หรือใช้ตาข่ายขึงเป็นร่องๆ ก็ได้ แต่ต้องมีหลักไม้ปักทุกหลุม คอยจับเถาถั่วพูพันหลักด้วย จะช่วยให้เต็มค้างไวขึ้น บ้านอะลาง

5. การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ ตามความต้องการของพืช
6. การใส่ปุ๋ย ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน เริ่มใส่หลังปลูกประมาณ 30 วัน

7. การกำจัดวัชพืช คอยถอนหรือถากหญ้าอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งน้ำแย่งปุ๋ยถั่วพูและเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง

8. การเก็บเกี่ยว การปลูกถั่วพูด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน จึงจะออกดอก และให้ฝักเมื่อฝักโตจนได้ขนาดก็เก็บฝักไปขายหรือบริโภคได้

9. โรค ถั่วพูไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคมากนักแต่นานๆ จึงพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชบ้าง เช่น เมนโคเชป
10. แมลง แมลงที่พบได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ผัก ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารเคมี เช่น เชฟวิน หรือ ไซเปอร์เมทริน

              ข้อดีของถั่วพู               
สามารถรับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น ยอดอ่อน หากเราเด็ดยอดอ่อนออกบ้าง จะช่วยให้ต้นถั่วพูแตกกิ่งก้านสาขาได้มากขึ้น เรียกได้ว่ายิ่งเด็ดยิ่งแตก คล้ายๆ กับพวกตำลึง ยอดของถั่วพูมีโปรตีน และแร่ธาตุ สามารถนำมาต้นจิ้มกับน้ำพริก ผัด ใส่ต้มจืดก็อร่อย  ใบอ่อน ใบอ่อนของถั่วพูนำมาผัด หรือต้มใส่ต้มจืดได้

ดอก หากเราปล่อยดอกทิ้งไว้ก็จะติดเป็นฝัก แต่ถ้ามีฝักมากเกินไปต้นจะโทรมครับ จึงควรเด็ดออกมากินบ้าง โดยนำมาใส่ในสลัด ชุบแป้งทอด ทอดกับน้ำมัน (รสชาติคล้ายๆ เห็ด)หรือชุบไข่ทอดก็อร่อย

ฝักอ่อน เมื่อดอกบานเกิดการผสมพันธุ์ ฝักจะโตอย่างรวดเร็ว ฝักจะโตเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน ฝักจะใหญ่ที่สุดเหมาะที่จะนำไปกินได้ ฝักอ่อนนำไปชุบไข่ทอดก็อร่อย

เมล็ดอ่อน ฝักที่มีอายุเกิน 14 วันหรือ 2 อาทิตย์ จะเริ่มมีเสี้ยนมากจนไม่เหมาะที่จะกิน แต่เมล็ดภายในฝักยังอ่อนพอที่จะนำไปกินได้ โดยการนำไปทำเป็นผักต้ม ผัด ฯลฯ

เมล็ดแก่ เมื่อฝักแก่แห้งเหี่ยวแล้ว เมล็ดที่อยู่ภายในจะยังไม่แตกออก หากมีมาก เมล็ดเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 ทาง คือ
1. สกัดน้ำมัน - ได้น้ำมันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี เพราะมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว จึงไม่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดเส้นเลือด ดังเช่นน้ำมันบางประเภท น้ำมันเมล็ดถั่วพู จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม น้ำมันสกัด

2. โปรตีน - เป็นโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหารไล่เลี่ยกับเมล็ดถั่วเหลือง ซึ่งจัดว่าเป็นโปรตีนจากพืชที่ดีเยี่ยม ใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารได้ดีเช่นเดียวกับเมล็ดถั่วเหลือง และดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเต้าหู้ เมล็ดถั่วพูมีเปลือกแข็งจึงต้องใช้เวลานานในการหุงต้มหรือคั่ว โดยปรกติจะใช้เวลาต้มถึง 2-3 ชั่วโมง


       สรรพคุณและประโยชน์ของถั่วพู      
ถั่วพู หรือ ผักถั่วพู อีกหนึ่งผักที่มีคุณค่าทางอาหารที่ดีต่อร่างกายและมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร ได้อีกด้วย และวันนี้เราก็นำความรู้ของ สรรพคุณของถั่วพู และ ประโยชน์ของถั่วพู มาฝากกันอีกเช่นเคย เพื่อให้คุณ ๆ ได้รู้จักกับ สรรพคุณของถั่วพู และ ประโยชน์ของถั่วพู เพื่อให้รับสารอาหารที่ช่วยรักษาโรคและมีประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย คนส่วนใหญ่ชอบทานยำถั่วพูกันค่ะนั้นเราก็มาดูสรรพคุณของถั่วพูและประโยชน์ ของถั่วพูกันเลยดีกว่า
บ้านอะลาง



ประโยชน์ของถั่วพู
การกินถั่วพูก็ยังมีกาก ใยอาหารมากทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้วหัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลืองนำมาชง เป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของถั่วพู
ถั่ว พู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วพู
- หัวใช้บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ด ที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา