ผักแขยง เงินล้าน




ชื่อสมุนไพร ผักแขยง
ชื่ออื่นๆ - กะออม กะแยง คะแยง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) กะแยงแดง(อุบลราชธานี) ผักพา(เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnophila geoffrayi Bonati.
ชื่อวงศ์ Scorphulariaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก- ฤดูเดียว สูง 10-35 เซนติเมตร
ลำต้น -เรียวยาว ตั้งตรง กลมกลวง อวบน้ำ มีขนหนาแน่น ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุน เผ็ดร้อน
ใบ – ใบเดี่ยว  เรียงตรงข้าม ทุกข้อ ตลอดลำต้น รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร  บ้านอะลาง

ขอบใบ - ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ปลายใบแหลม โคนใบห่อติดลำต้น ไม่มีก้านใบ
ดอก - ช่อกระจะออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกพร้อมกันทั้งต้น ดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเป็นรูปหลอดเล็กๆคล้ายถ้วย รูปกรวย ยาว 0.5 นิ้ว ปลายบานเล็กน้อย แยกออกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกสีม่วง ผิวด้านนอกเรียบ ผิวด้านในตอนล่างของกลีบดอกมีขน

ผล - ผลแห้งแตกได้ รูปกระสวย 
เมล็ด - เมล็ดรูปร่างกลมรี สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็กมาก
กลุ่มพรรณไม้น้ำ – ประเภทชายน้ำ ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย เป็นวัชพืชในนาข้าว
แหล่งที่พบ - พบทั่วไปตามบริเวณที่ชื้นแฉะ และริมคูน้ำของทุกภาค

การขยายพันธุ์
แยกกอ การปลูก
เตรียมพื้นที่ปลูกลักษณะคล้ายกับแปลงนาข้าวเพื่อปักดำโดยการทำเป็นแปลงนาเล็กๆ ขนาดประมาณ ๑๐ x ๑๐ เมตร ไถดะหรือใช้จอบขุดพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอก แล้วระบายน้ำเข้าหลังจากนั้นไถคลาด ใช้พันธุ์ที่เตรียมไว้มาดำลงในแปลงลักษณะคล้ายกับการดำนา ระยะปลูกประมาณ ๑๕ x ๒๐ เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ วัน จึงทำการหว่านปุ๋ยเคมีสูตร ๑๖-๑๖-๘ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕
โรคแมลงที่สำคัญ : มีน้อย


การเก็บเกี่ยว
หลังปลูก ๒๐-๓๐ วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ โดยวิธีการถอนแยกปล่อยส่วนโคนและรากให้เหลือติดไว้กับดิน หลังจากนั้นก็จะหวานปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร ๑๖-๑๖-๘ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕ แล้วให้น้ำขังระดับน้ำเหนือผิวดินประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร ภายในระยะเวลา ๑-๒ สัปดาห์ก็สามารถเก็บเกี่ยวครั้งต่อไปได้




ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน
ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 3,000 บาท / ไร่ ถ้าใช้ปุ๋ยคอก และ แรงงานทำด้วยตัวเอง คาดว่าต้นทุนคงประมาณ ไม่เกิน 1,000
ผลผลิต ประมาณรวม 7,500 กิโลกรัม / ไร่
ราคาที่เกษตรกรขายได้ 10 บาท / กิโลกรัม
รายได้รวม 75,000 บาท / ไร่ / รุ่น
รายได้สุทธิ 72,100บาท / ไร่ / รุ่น
ภาคอีสานขายได้ตลอดทั้งปี  บ้านอะลาง


ส่วนสรรพคุณทางยา 
ตำรายาพื้นบ้านระบุว่า นำทั้งต้นของ ผักแขยง รวมทั้งรากจำนวนตามต้องการล้างน้ำให้สะอาด เอาไปตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำกิน เป็นยาแก้ไข้ในช่วงฤดูหนาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไข้หัวลม ได้ดี
ต้นของผักแขยงยังใช้กินเป็นยาขับน้ำนมในสตรี ขับลม และเป็นยาระบายท้องได้ดีด้วย นำต้นสดประมาณ 15-30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มแก้ไข้ ใช้ต้นสดต้มกับน้ำหรือคั้นเอาน้ำทาแก้คัน กลาก ฝี ต้นสดๆ ประมาณ 15 กรัม ตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสดขนาด 30 กรัม แล้วเอาไปผสมกับน้ำส้มปริมาณพอควร คั้นเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากนั้นเอาพอกรอบๆ แผล แต่อย่าพอกบนแผล แก้พิษงูที่ไม่มีพิษร้ายแรง

ส่วนประโยชน์ทางอาหาร 
รับประทานทั้งลำต้น
- ยอดอ่อนและใบอ่อน โดยรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับ แจ่ว ป่น ส้มตำ ลาบ ก้อยและซุบหน่อไม้
- เป็นเครื่องปรุงรสและแต่งกลิ่น แกงหน่อไม้ ต้มส้ม แกงอ่อมต่างๆ เช่น อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมปลา อ่อมเนื้อวัว อ่อมหอย ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาว
ผักแขยง มีกลิ่นฉุนแมลงไม่ชอบ จึงปลอดภัยจากยาค่าแมลงค่ะ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่นิยมบริโภคผักพื้นบ้าน  เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง