การเพาะปลูก การปลูกข่า
ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติ ของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง
การเตรียมดิน
- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน
การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก
วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป
การปลูก
-ขุด หลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที
การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้า มีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอา เศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การ ที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม[/color]การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการข่า แก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3 ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลัง จากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น
ข้อมูล นินจาขาเป๋ แห่งบ้านตะเกียง
ประโยชน์ของ การปลูกข่า
ประโยชน์ทางยา
เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหารการ ปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม บ้านอะลาง
ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติ ของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง
การเตรียมดิน
- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน
การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก
วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป
การปลูก
-ขุด หลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที
การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้า มีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอา เศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การ ที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม[/color]การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการข่า แก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3 ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลัง จากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น
ข้อมูล นินจาขาเป๋ แห่งบ้านตะเกียง
ประโยชน์ของ การปลูกข่า
ประโยชน์ทางยา
เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหารการ ปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม บ้านอะลาง