พริกหวาน

 ลักษณะ  พริกหวาน
เป็น พืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ในระยะแรกพืชจะเจริญเป็นลําต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรก ตรงยอด ของลําต้นเดี่ยว จากนั้นจะแตกกิ่งแขนง ในแนวตั้งออกเป็นสองกิ่ง และเมื่อดอกเจริญที่ปลายกิ่ง ซึ่งกิ่งแขนง จะเจริญเป็นสองกิ่ง ทํ าให้จํานวนกิ่งเพิ่มขึ้น ตลอดฤดูการเจริญเติบโต ผลผลิตจะขึ้นอยู่กับ จํานวนกิ่ง และจํานวนผลต่อต้น ในระยะแรก ที่กิ่งเจริญจะเป็นกิ่งอ่อน ต่อจากนั้น จะเปลี่ยนเป็นกิ่ง ที่แข็งเมื่อแก่ เปราะและหักง่าย โดยทั่วไปจะสูง 0.5 - 1.5 เมตร  ใบ จะเป็นใบเดี่ยว เจริญสลับกัน ใบของพริกหวาน จะมีขนาดใหญ่ เมื่อใบเจริญ 9-11 ใบ ดอกแรกจะเจริญ  ราก จะเจริญในแนวดิ่งลึก 90 -120 เซ็นติเมตร รากแขนงจะแผ่กว้างออกด้านข้างประมาณ 90 เซ็นติเมตร และรากส่วนใหญ่ จะอยู่อย่างหนาแน่น ในระดับความลึก 50- 60 เซ็นติเมตร

ดอก จะเป็นดอกสมบูรณ์ เป็น ดอกเดี่ยว ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนใหญ่จะมีสีขาว แต่บางพันธุ์จะมีสีม่วง เกสรตัวผู้แยกกันมีจํ านวน 5 อัน อับละอองเกส รจะมีสีม่วง ยอดเกสรตัวเมียบางพันธุ์ จะอยู่สูงกว่า อับละอองเกสร ดอกสามารถเจริญ ได้ทั้งในสภาพ ช่วงแสงสั้น หรือช่วงแสงยาว โดยทั่วไปจะเจริญ หลังย้ายปลูก 1-2 เดือน

การผสมเกสร พริก หวานเป็นพืชที่ผสมตัวเอง แต่มีการผสมข้ามโดยธรรมชาติ ทําให้มีสายพันธุ์ใหม่จํานวนมาก อาจจะเนื่อง มาจากมีแมลง ช่วยผสมเกสรมากและ นอกจากนี้ อับละอองเกสร จะเปิดหรือพร้อม ที่จะผสมหลังจากดอกบาน 2-3 วัน ดังนั้น ก่อนที่เกสรตัวผู้ จะพร้อมที่จะผสม เกสรตัวเมียอาจจะได้รับ ละอองเกสรจากต้นอื่น ควรให้มีการผสมเกสร ภายในเวลา 24-30 ชั่วโมงหลังดอกบาน ในสภาพอากาศ ที่มีความชื้นในอากาศตํ่า จะทําให้อัตราการติดผลลดลง

ผล พริกหวาน Bell types ผลมีลักษณะกลมยาว ขนาดใหญ่ ผลประกอบด้วย capsaicin ในปริมาณที่ตํ่ามาก บางครั้งเรียกพริกหวาน (sweet pepper) พริกหวานสีเขียว จะมีปริมาณความต้องการ ของตลาดสูง แต่เมื่อปล่อยให้แก่บนต้น จะเปลี่ยนเป็นสีแดง สายพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ ขึ้นมาใหม่ อาจจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เหลือง ส้มหรือม่วง การปลูกพริกสีเหล่านี้ นิยมปลูกในเรือนโรง เนื่องจากการอายุ การเก็บเกี่ยวนาน กว่าพริกสีเขียว ในบางครั้ง อาจมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุให้ผลถูกทําลาย โดยโรค แมลง แสดงอาการตายนึ่ง หรือผลแตกได้ง่าย พริกสีเขียวประกอบด้วย chlorophyll พริกสี
แดง/เหลืองเกิดจากเม็ดสี carotenoids พริกสีม่วงเกิดจากเม็ดสี anthocyanin ส่วนสีนํ้าตาล เกิดจากการผสมระหว่าง chlorophyll,? lycopene และ? beta-carotene ผลมีรูปทรงและขนาด แตกต่างกัน บางพันธุ์ อาจจะมีเปลือกผลหนา แต่บางพันธุ์จะบาง มีขนาดความยาว 1-30 เซนติเมตร และกว้าง 1-15 เซนติเมตร

คุณค่าและสารอาหาร
พริก หวาน 100 กรัม ให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 0.8 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.0 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2.5 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.10 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 65 มิลลิกรัม
พริกหวานมีเบตาแคโรทีนสูง มีไวตามินซี เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมก็จะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน

ประโยชน์
พริก หวาน มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลือง ส้ม และสีช็อคโกแลค มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน มีคุณค่าทางวิตามิน A, B1, B2 และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง

 สรรพคุณทางยา
ช่วย กระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี


พริกหวาน
พริก เม็ดโตสีสันสดใส มีลักษณะกลมยาว หลายครัวเรือนนิยมนำมาผัดเพราะไม่มีรสเผ็ด เนื่องจากมีสารแคปไซซินในปริมาณที่ตํ่ามากจนถูกเรียกว่าพริกหวาน

ประโยชน์ของพริกหวาน
พริก หวานมีเบตาแคโรทีนสูง มีวิตามินซี เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมก็จะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสาร แคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง
ในหนึ่งเมนูของวัน ถ้ามีพริกหวานเป็นส่วนประกอบก็จะช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี

สภาพแวดล้อมการปลูก พริกหวาน (Sweet Pepper)
พริก หวาน ชอบสภาพที่มีความชื้นต่ำ จะทำให้อัตราการติดผลลดลง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 20-25 องศา มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ใสสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา หรือสูงกว่า 32 องศา จะจำกัดการผสมเกสร อัตราการติดผลต่ำ พริกหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี และมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8

การปฏิบัติดูแลรักษา พริกหวาน ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
การ เตรียมกล้า ทำการยกแปลงขนาด 1 ม. ย่อยดินให้ละเอียด แปลงห่างกัน 70 ซม. ร่องลึกประมาณ 10 ซม. ทำขวางแปลงความห่างระหว่างร่อง 10 ซม. รองพื้นด้วยไตรโคเดอร์ม่า หว่านเมล็ดแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม หรือคลุมด้วยตาข่ายพลาสติก หลังจาก 7-10 วัน ย้ายกล้าลงในหลุม
การ เตรียมดิน ขุดดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เก็บวัชพืชออกให้หมด ย่อยดิน แล้วใส่ปูนขาวคลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยสูตร 0-4-0 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ควรใส่โดโลไมด์อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.
การ ปลูก ทำแปลงกว้าง 1 ม. เว้นร่องน้ำ 70 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 40-50 ซม. เวลาปลูกรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมคลุกเคล้ากัน ควรใส่โดโลไมด์ อัตรา 100-150 กรัม/ตร.ม.

การให้น้ำและปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยพร้อมน้ำระบบ Fertigation ในอัตราดังนี้
ระยะที่ 1     ปุ๋ย 46-0-0     1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20     1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ สูตรใกล้เคียง อัตราใช้ 0.25-1 กรัม/ตร.ม./วัน
ระยะที่ 2     ปุ๋ย 46-0-0     1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-20-20     1.2 ส่วนน้ำหนัก
หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า
ระยะที่ 3     ปุ๋ย 0-0-51     1 ส่วนน้ำหนัก
ปุ๋ย 20-10-30     5 ส่วนน้ำหนัก
หรือ ปุ๋ย 20-10-30 หรือ ปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 3 กรัม/ตร.ม./วัน หรือมากกว่า

การเก็บเกี่ยวพริกหวาน
พันธุ์ สีเขียวเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตผิวเรียบ และแห้ง ใช้กรรไกรตัดตรงขั้ว พันธุ์สีแดงและเหลือง เก็บเกี่ยววิธีเดียวกับพันธุ์สีเขียว แต่เก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มมีสีได้มากกว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญ
พริกหวาน Sweet Pepper, Bell Pepper, Capcicum, ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน โรคที่พบ เช่น
โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคไวรัส, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน  โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,

ระยะเจริญเติบโต 50-60 วัน โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว,
ระยะเก็บเกี่ยว 90-100 วัน  โรคที่พบ เช่น
แอนแทรคโนส, โรคเหี่ยว, โรคราแป้ง, โรคใบจุด, โรคเน่าเปียก, โรคไวรัส, โรคใบไหม้, โรครากปม, ไรขาว, แมลงวันแตง,