การปลูกเฉาก๊วย
เฉาก๊วย เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นท์) วงศ์เดียวกับ สะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก และยี่หร่า เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่ายคล้าย สะระแหน่ กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมดิน ยาวได้ 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื้อย ก้านใบสีขาว ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบเป็นสีเขียวสด เวลาใบดกจะหนาแน่น ทำให้น่าชมมาก ดอกเฉาก๊วยเป็นสีขาว ออกเป็นช่อแบบเชิงลด คล้ายดอก กระเพรา ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เวลามีดอกดกและบานพร้อมๆกัน จะแปลกตามาก ดอกจะออกได้เรื่อยๆเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง
ภูมิอากาศการปลูก
เฉาก๊วยจะขึ้นได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดดและความชุ่มชื้น ดังนั้น ก่อนปลูกจึงควรผสมกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมใส่แกลบดำลงไปอย่างละ 1 ส่วน เพื่อให้อุ้มน้ำชุ่มชื้นตลอดเวลา เหมาะจะปลูกทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและลงกระถางปากกว้างตั้งไว้ตามหัวเสา รั้วหน้าบ้าน หลังปลูกบำรุงด้วยปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 10 วันครั้ง จะทำให้ต้น เฉาก๊วย เจริญเติบโตเร็วและสามารถเก็บใบใช้ประโยชน์ได้ หรือ ถ้าปลูกจำนวนมาก นำใบไปตากแห้งขายได้ คนซื้อเอาไปต้มทำน้ำเฉาก๊วยขาย
ก่อนจะเป็นเฉาก๊วยกินหวานๆ เย็นๆ เฉาก๊วยคือผลผลิตจากการแปรรูป "หญ้าเฉาก๊วย" พืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นต์) วงศ์เดียวกับสะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า ชื่อสามัญคือ Grass Jelly ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesona chinensis ส่วนชื่อเฉาก๊วย แปลว่าขนมที่มาจากหญ้า (เฉา แปลว่าหญ้า, ก๊วย แปลว่าขนม) และเพราะหญ้าเฉาก๊วยพบมากในประเทศจีน (สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้งจากเมืองจีนมาทำเฉาก๊วย แต่ทุกวันนี้นำพันธุ์เฉาก๊วยมาปลูกในเมืองไทยแล้ว) ทั้งเฉาก๊วยยังเป็นของหวานที่แพร่จากเมืองจีน อาหารชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนที่ต่างกันไปตามท้องถิ่น ภาษาจีนกลางเรียก เหลียงเฝิ่น หรือเซียนเฉ่า แปลว่า หญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์เรียก จินเจา บ้านอะลาง
เฉาก๊วยเป็นไม้พุ่ม กึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นกลม เปราะและหักง่าย กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมดิน ยาวได้ 2-3 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื้อย ก้านใบสีขาว ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวสด ดอกเป็นสีขาว ออกเป็นช่อแบบเชิงลด คล้ายดอกกะเพรา ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกจะออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง
ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่เป็นไม้ชอบแดดและความชุ่มชื้น ดังนั้น ก่อนปลูกจึงควรผสมกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมใส่แกลบดำลงไปอย่างละ 1 ส่วน เพื่อให้อุ้มน้ำชุ่มชื้นตลอดเวลา หลังปลูกบำรุงด้วยปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 10 วันครั้ง จะทำให้ต้นเฉาก๊วยเจริญเติบโตเร็ว
สรรพคุณเฉาก๊วย เชื่อกันว่าบรรเทาอาการร้อนใน ดับกระหาย แต่เนื่องจากมีระดับของน้ำมันหอมระเหยและสารออกฤทธิ์ในระดับที่ต่ำกว่าตระกูลกะเพราเป็นอย่างมาก เฉาก๊วยจึงไม่มีฤทธิ์ขับลม หรือบรรเทาปวด เหมือนดังที่มีในพืชตระกูลกะเพรา-โหระพา ขณะที่ทางจีนเชื่อว่าเฉาก๊วยรักษาอาการหวัด เบาหวาน ตับอักเสบ และช่วยลดความดันโลหิตสูง ตำรายากล่าวว่า ใช้ใบสดหรือแห้งของต้นเฉาก๊วยครึ่งกำมือ ใส่น้ำลงไปให้ท่วมยาหรือใบ ต้มกับหม้อดินให้เดือด ดื่มเป็นประจำ จะทำให้อาการของโรคความดันค่อยๆ ลดลง และควบคุมอาการไม่ให้กำเริบขึ้นได้
วิธีทำเฉาก๊วย เริ่มจากนำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้มจนยางไม้และแพคตินละลายออกมา ได้น้ำสีน้ำตาลดำ เรียกว่า ชาเฉาก๊วย จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับแป้งพืช เพื่อให้เฉาก๊วยคงตัวเป็นเจลลี่ ซึ่งส่วนประกอบนั้น แต่ละเจ้าจะมีสูตรของตนเอง วิธีที่เป็นตำรับโบราณนิยมผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยแป้งมันจะทำให้เนื้อเฉาก๊วยนิ่ม (ใส่มากจะเหลว) ส่วนแป้งท้าวยายม่อมจะให้เนื้อเฉาก๊วยคงรูปได้นาน อาจปรับโดยใส่แป้งข้าวเจ้าเพื่อให้แข็งตัวขึ้น หรือเพิ่มแป้งข้าวเหนียวให้มีความหนุบหนับ ทิ้งไว้จนเย็นก็จะมีลักษณะเป็นวุ้น เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำเฉาก๊วย แต่เดิมชาวจีนจะกินกับน้ำตาลทรายแดง โดยเอามาคลุกกับน้ำตาลให้เข้ากัน ขณะที่คนไทยนำมาดัดแปลงโดยหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ในน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง กินชื่นใจ บ้านอะลาง
เฉาก๊วย ขนมหวานสีดำคล้ายวุ้น กินกับน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง ...หวานและเย็นชื่นใจ สมัยที่ยังไม่มีน้ำแข็ง เขากินเฉาก๊วยโรยน้ำตาลทราย เท่านี้ก็อร่อยถมไป เฉาก๊วยทำมาจากพืชชื่อเดียวกัน เป็นพืชล้มลุกประเภทคลุมดิน ต้นเล็ก ลักษณะคล้ายต้นสะระแหน่ เพียงแต่ใบใหญ่กว่าและเรียวแหลม สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้งจากเมืองจีนมาทำเฉาก๊วยปีละนับล้านบาท มา ๒๐ ปี นี้เอง จึงมีคนไทยนำพันธุ์เฉาก๊วยมาปลูกในเมืองไทย ทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกไม่น้อย
คนจีนเชื่อว่าเฉาก๊วยมีสรรพคุณแก้ร้อนใน ไข้หวัด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ตับอักเสบ และแก้อักเสบ พอพูดถึงเฉาก๊วย หลายคนก็เกิดสงสัยอีกว่า น้ำนมถั่วเหลืองนั้น ทำอย่างไรจึงเป็นเต้าฮวย “ซองคำถาม” ไปซอกแซกถามมาจึงรู้ว่า เขาเอาหินยิปซัมผสมกับน้ำนมถั่วเหลือง จึงข้นอย่างวุ้น ยิปซัมเป็นแร่ชนิดหนึ่ง บางทีก็เรียกว่า หินฟองเต้าหู้ ส่วนเต้าหู้ซึ่งแข็งกว่าเต้าฮวย เขากลับไม่ได้ใส่หินยิปซัม แต่ใส่เพียงน้ำเกลือเท่านั้น
เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง