ไรแดง




กาเพาะเลี้ยงไรแดง
ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีสำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ทั้งปลาสวยงามและปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลา ปอมปาดัวร์ ปลากัด กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลาบึก ปลาเทโพ และปลาดุกอุย เป็นต้น ในอดีตไรแดงส่วนใหญ่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำโสโครกตามบ้านเรือน โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีปริมาณไม่แน่นอน ปัจจุบันไรแดงจากธรรมชาติมีปริมาณลดลงเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เปลี่ยนไปในขณะที่ความต้องการไรแดงกลับเพิ่มขึ้น ทำให้ประสบปัญหาการขาดแคลนไรแดงในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนมากขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมงได้ศึกษาวิจัยและประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไรแดง ซึ่งเป็นการลดปัญหาการขาดแคลนไรแดง และช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงไรแดง และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ไรแดง  เป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้นการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยไรแดงจึงทำให้อัตราอดและอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อนสูงมาก ไรแดงน้ำหนักแห้งประกอบด้วยโปรตีน 74.09 เปอร์เซ็นต์ คาร์ดบไฮเดรต 12.50 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 10.19 เปอร์เซ็นต์ และเถ้า 3.47 เปอร์เซ็นต์
 
ไรแดง  เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกกุ้ง หรือที่เรียกว่า crustacean มีชื่อวิทยาศาสตร์ Moina macrocopa และมีชื่อสามัญว่า Water flea เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งมีขนาด 0.4-1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นไรแดงมีสีแดงเข้มไรแดงเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวอ้วนเกือบกลมมีขนาดเฉลี่ย 1.3 มิลลิเมตร ส่วนเพศผู้ตัวเล็กและค่อนข้างยาวกว่า มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มิลลิเมตร ตัวอ่อนที่ออกมาจากถุงไข่ของแม่ใหม่ ๆ จะมีขนาด 0.22-0.35 มิลลิเมตร มีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ไรแดงจะมีประชากรเพศผู้ 5 เปอร์เซ็นต์ เพศเมีย 95 เปอร์เซ็นต์ 
 
ไรแดง มีการสืบพันธุ์ 2 แบบ คือ 
แบบที่ 1 เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
ไรแดงเพศเมียจะไข่แล้วฟักเป็นตัวโดยไม่ต้องผสมกับไรแดงเพศผู้ โดยปกติไรแดงจะมีอายุระหว่าง 4-6 วัน แพร่พันธุ์ได้ 1-5 ครั้ง หรือเฉลี่ย 3 ครั้ง ๆ ละ 19-23 ตัว ทั้งนี้ สภาวะแวดล้อมจะต้องเหมาะสม
 
แบบที่ 2 เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
ในสภาวะแวดล้อมที่ผิดปกติ เช่น อุณหภูมิหรือต่ำเกินไป ความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสมหรือขาดแคลนอาหาร ไรแดงจะเพิ่มปริมาณเพศผู้มากขึ้นแล้วไรแดงเพศเมียจะสร้างไข่ขึ้นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้แล้วสร้างเปลือกหุ้มหนา แม่ 1 ตัว จะให้ไข่ชนิดนี้ 2 ฟอง หลังจากนั้นตัวเมียก็จะตาย เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนั้น ไข่จะถูกทิ้งให้อยู่ก้นบ่อหรือก้นแหล่งน้ำนั้น ไข่เปลือกแข็งนี้สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้นาน และจะฟักออกเป็นตัวเมื่อสภาวะแวดล้อมที่ดีขึ้นและมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์

วิธีการเพาะไรแดง
การเพิ่มผลผลิตของไรแดงในบ่อนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการพลังงานจากแสงแดดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่ทำให้ขบวนการต่าง ๆ ในภาพดำเนินไปด้วยดี ปุ๋ยและอาหารต่าง ๆ จะถูกย่อยสลายโดยบักเตรี ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการแพร่ขยายของน้ำเขียว อีกทั้งยังทำให้เกิดขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะใช้ของเสียต่างๆ จำพวกแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่น ๆที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ทำให้คุณสมบัติของน้ำดีขึ้น การหมุนเวียนของน้ำจะเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อไรแดง การเพิ่มปริมาณน้ำเขียวมากขึ้น และการใส่ยีสต์ก็สามารถช่วยในการเพิ่มผลผลิตของไรแดงได้อย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน 
 
แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1.การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อซีเมนต์ 
2.การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน

1.การเพาะไรแดงในวงบ่อซีเมนต์
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไรแดงมีประโยชน์มากมาย   ในด้านการอนุบาลสัตว์น้ำ  และใช้เป็นอาหารสำหรับกุ้งหรือปลาขนาดเล็กได้เป็นอย่างดีอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ โดยเฉพาะโปรตีนสูงมากแต่มักติดขัดตรงที่หายาก   และไม่แน่นอนบางวันก็มีบางวันก็หาซื้อไม่ได้โดยเฉพาะคนที่อยู่ต่างจังหวัดนี่ไม่ต้องพูดถึงหายากมากๆ  ถ้าไม่นับที่เป็นแบบแช่แข็ง   ผมเลยเอาประสพการณ์ที่ลองทำขึ้นมาแบบง่ายๆแต่ได้ผลจริงมาให้ลองทำกันดูเผื่อเป็นแนวทางอีกแนวทางหนึ่งให้เลือกใช้

วัสดุอุปกรณ์และส่วนผสมที่ต้องใช้
1. บ่อปูนขนาด 80 ซม. เป็นอย่างน้อย  ( ยิ่งมีขนาดใหญ่กว่านี้ก็ดีจะได้ผลผลิตเยอะ )
2. น้ำปราศจากคลอลีน 
3. รำ   2   ช้อน
4. ปลาป่น  1  ช้อน
5. ปูนขาว   1/4  ช้อน
6. ปุ๋ยสูตร  16- 20 - 0      1 ช้อน
7. ปุ๋ยสูตร  46- 0 - 0  ( ปุ๋ยยูเรีย )    1 ช้อน
8. ผ้าโอลอนแก้ว

สูตรนี้สำหรับบ่อขนาด   80 ซม.  ถ้าบ่อเล็กหรือใหญ่กว่านี้ก็ลดเพิ่มไปตามส่วนมีขั้นตอนการทำดังนี้
1. ใส่น้ำลงในบ่อปูนจนเต็ม  โดยใช้ผ้าโอลอนแก้วกรองน้ำด้วยเพือป้องกันศัตรูไรแดง
2. ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไป   แต่ปุ๋ย  16- 20 - 0   ต้องละลายน้ำก่อนเพาะถ้าหากใส่ไปเลยจะลละลายได้ยา
3. ใส่หัวเชื้อน้ำเขียวลงไป  ประมาณ  5  ลิตร  (  มากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้  ถ้าใส่มากน้ำก็เขียวเร็ว )
4. หมั่นกวนน้ำบ่อยๆ  จะทำให้น้ำเขียวเร็วขึ้น
5. ประมาณ 2 ถึง สามวันจะได้น้ำเขียวที่ใช้สำหรับเป็นอาหารของไรแดง
6. นำหัวเชื้อไรแดงที่มีชีวิตใส่ลงไป
7. ประมาณ 2  วันจำนวนไรแดงจะเพิ่มขึ้นจนสามารถตักให้ปลากินได้
หลังจากที่ไรแดงหมดให้เอาน้ำออกและตากบ่อให้แห้ง  อย่างน้อย 1 วัน   แล้วจึงเริ่มจากข้อที่ 1 ใหม่
 
ข้อแนะนำ
1. หลังจากใส่ส่วนผสมลงไปแล้ว  ควรเป่าออ็กด้วย  จะทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น   แต่ไม่ควรเป่านานเกิน  12  ชม.   เพราะน้ำเขียวจะตาย
2. ฝนมีผลต่อจำนวนผลผลิต  หน้าฝนถ้ามีหลังคากันฝนแบบโปร่งแสงจะดีมาก
3.สำหรับมือใหม่ ควรมีบ่ออย่างน้อย  4 บ่อเพื่อให้ครบวงจร 
1. น้ำเขียวมีกลิ่นเหม็น
2.  น้ำไม่เขียว
3. ไรแดงที่ปล่อยไม่ขยายเพิ่ม

วิธีแก้
1. อาหารผสมมากเกินไป  ควรลดสัดส่วนลงมา
2. มีศัตรูไรแดงคอยกินน้ำเขียวอยู่ควรหาผ้าโอล่อนกรองน้ำทุกชนิดก่อนใส่ลงบ่อ   หรืออาหารผสมน้อยเกิน   หรือ  ไม่มีแดดจะทำให้น้ำเขียวช้า
3. น้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม  ควรใส่ออ็กบ้าง  แต่เบาๆเพื่อเพิ่มออ๊กซิเจนในน้ำ
 
2.การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน 
ไรแดง (Water flea หรือ Moina macrocopa หรือ Crustacean) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกกุ้ง มีขนาด 0.4-1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อๆ เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ไรแดงน้ำหนักแห้งประกอบด้วยโปรตีน 74.09% คาร์โบไฮเดรต 12.50% ไขมัน 10.19% และเถ้า 3.47% ไรแดงมีการสืบพันธุ์ 2 แบบ คือ แบบไม่อาศัยเพศ และแบบอาศัยเพศ
การเพาะเลียงไรแดงในบ่อดิน

บ่อดินที่จะใช้เพาะเลี้ยงไรแดง ควรมีขนาดประมาณ 200-800 ตารางเมตร โดยวิธีดำเนินการดังนี้ 
1. กำจัดสิ่งรกภายในบริเวณบ่อและศัตรูต่างๆ ของไรแดง ประมาณ 2 วัน
2. กรองน้ำลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อประมาณ 25-40 เซนติเมตร พร้อมกับเติมปุ๋ยและอาหารลงไป 
3. สูตรอาหารที่ใช้ควรมีคุณภาพที่ดี  ถ้าไม่มีอามิ-อามิ ให้ใช้มูลไก่ประมาณ 80 กก./800 ตารางเมตร แล้วใส่น้ำเขียวประมาณ 2 ตัน ถ้าไม่มีน้ำเขียวก็หมักทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน 
4. เมื่อน้ำในบ่อมีสีเขียวแล้วให้เติมเชื้อไรแดงอย่างดีประมาณ 2 กิโลกรัม 
5. เริ่มเก็บเกี่ยวไรแดงได้ในวันที่ 4-7 จึงควรเก็บเกี่ยวไรแดงให้ได้มากที่สุด (ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์จขึ้นจะเก็บเกี่ยวได้สะดวกและได้ปริมาณมาก) หลังจากนั้นไรแดงจะเริ่มลดน้อยลง จึงควรเติมอาหารลงไป อาหารที่ควรเติมในระยะนี้ควรจะเป็นพวกย่อยสลายเร็ว เช่น น้ำถั่วเหลือง น้ำเขียว รำ เลือดสัตว์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอก เป็นต้น โดยเติมอาหารลดลงไปจากเดิมครึ่งหนึ่ง ไรแดงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอกภาพใน 2-3 วัน และจะกลับลดลงไปอีกก็ให้เติมอาหารลงไปเท่ากับครั้งที่ 2 ในกรณีนี้การเกิดไรแดงจะลดจำนวนลงมากถึงจะเติมอาหารลงไปอีก ไรแดงก็จะไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใส่อาหารกับผลผลิตที่ได้และเวลาที่เสียไปเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงปุ๋ยแล้วจึงควรเริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงใหม่ ซึ่งปกติแล้วเมื่อไรแดงไม่ได้ 15 วัน ก็จะเริ่มต้นใหม่