ปุ๋ยยูเรียน้ำ

วิธีการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) แบบประหยัดสกัดกั้นข้าวเฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลง


โดยปรกติปุ๋ยยูเรีย
(46-0-0) ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกร ทั้งพืชไร่ไม้ผล ข้าว อ้อย มัน ปาล์ม
และยางพารา เพราะใช้แล้วเห็นผลได้ชัดเจน คือใบจะเขียวเข้ม ต้นเจริญเติบโต
สูงใหญ่แตกใบกิ่งก้านเบ่งบานแผ่สาขาอย่างรวดเร็ว
เมื่อเริ่มปลูกลงกล้าใหม่ๆ ปุ๋ยยูเรียจึงเป็นขวัญใจของพี่น้องเกษตรกรชาวนาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะชาวนาเมื่อข้าวเริ่มได้อายุ 15 – 20 วันก็จะเริ่มหว่านปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย
จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
(ภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระทุ้งปุ๋ย เพื่อเร่งให้ข้าวโตเร็วๆ เหมือนเป็นการแข่งขันกัน
สร้างความภาคภูมิใจแก่เจ้าของนา)

หลังจากที่ใส่ปุ๋ย
ข้าวจะเจริญเติบโตงอกงามจนใบโค้งงอง้อมลงจนคำนับพับเพียบเจ้าของหาเจ้าของ แลดูเขียวขจีสดใสไปทั่วแปลง
เป็นที่ถูกอกถูกใจเจ้าของนาเป็นอย่างยิ่ง แต่ต้นกล้าในแปลงนากลับไม่ชอบ
เพราะการที่หว่านปุ๋ยตั้งแต่ข้าวยังเล็กอยู่นั้น เปรียบเหมือนเป็นการยัดเยียดให้ข้าวกินปุ๋ยมากเกินไป
ทำให้ต้นอวบอ้วน ใบหนา ใหญ่ โค้งงอ อุ้ยอ้าย ต่างเป็นที่ถูกอกถูกใจของเหล่าหนอน แมลง
ที่มักอาศัยหลบซ่อนตัวเข้ามาทำลายลำต้นและใบข้าวในช่วงที่ข้าวอ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยยูเรียนี้เอง
หลังจากใส่ปุ๋ยไปได้สองสามวัน ชาวนาจะต้องเตรียมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งยาฆ่าแมลง
ยาฆ่าหนอนและเพลี้ยไฟ ไรแดง ต่างๆ สารพัดเท่าที่จัดหามาได้


ความจริงในระยะนี้เกษตรกรชาวนาไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
เพราะข้าวยังพอมีอาหารกินจากในเมล็ดและพื้นดินในแปลงนาตั้งแต่ทำเทือก
และต้องการดูดกินปุ๋ยมากจริงๆ ในช่วงระยะแตกกอ คือข้าวอายุประมาณ 30 วัน
ดังนั้นถ้าใส่ปุ๋ยในช่วงข้าวอายุ 29 – 30 วัน
ก็จะเป็นการใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เพราะ หลังจากใส่ปุ๋ยเพียงวันหรือสองวันข้าวก็เริ่มแตกกอให้หน่อออกลูกออกหลานมา ช่วยแบ่งเบากินปุ๋ยกระจายกันไปอย่างสมดุลย์ จะดีกว่าใส่ปุ๋ยตอนข้าวเป็นต้นเดียว (อายุ 15 -20
วัน) ที่ยังเป็นเม็ดเดียวต้นเดียวดูดกินปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเข้าไปเต็มๆ
นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์อะไรมากแล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองปุ๋ยและสิ้นเปลืองยาเคมีกำจัดศัตรูพืช
ทั้งทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่ต้านทานต่อโรค แมลง รา ไรอีกต่างหาก

เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ที่จะเปลี่ยนปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่สูญเสียง่ายละลายเร็วให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
คล้ายๆกับที่ประเทศญี่ปุ่นเขานำมาจำหน่ายในบ้านเราตกกิโลกรัมละหลายสิบบาท
คิดเป็นกิโลก็หลายร้อยบาท คิดเป็นตันก็สองสามหมื่นบาทหรือมากกว่า
เราสามารถทำให้ปุ๋ยยูเรียกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ได้ง่ายเพียงนำปุ๋ยยูเรีย
5 ส่วน พรมน้ำพอชุ่มชื้นไม่เปียกแฉะคลุกผสมกับ “ซีโอ-พูมิช”
(หินแร่ภูเขาไฟเกรดพรีเมี่ยม) 1
ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน เท่านี้เราก็จะได้สูตรปุ๋ยละลายช้าแบบไทยๆ
ที่ช่วยทำให้ข้าวไม่เฝือใบ ปลอดภัยต่อหนอนและแมลงที่จะเข้ามาทำลายได้เป็นอย่างดี



การทำปุ๋ยหมัก(Composting)
การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์  จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย   วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ  2. แบบไม่ใช้อากศ

          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic   compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน   2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ   ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น   ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์   และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus) 

          การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน   และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถ เกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า   ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว   ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มี ความดีน

         การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน   ช่วยเพื่มโพรงอากาศ   ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น   และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน   ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น   และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล   และธาตุไนโตรเจน  โพแทสเซียม   และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้

การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(Aerrobic Compost) 

         การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้ง จุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้ เหมาะสมที่สุด   ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์   วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้   ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วน ผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก(carbon-rich materrials) หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns) และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น   ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก   และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์   ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน   การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้ อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย

ตารางวัตถุอินทรีย์ที่สามารถใช้ทำปุ๋ยหมัก


ชนิด ประเภทคาร์บอน
(C)/ไนโตรเจน(N) 
รายละเอียด
สาหร่ายทะเลมอสทะเลสาบN  แหล่งสารอาหารที่ดี
เครื่องดื่ม น้ำล้างในครัวเป็นกลางใช้ให้ความชื้นแก่กองปุ๋ย
กระดาษแข็งCตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนใช้ ถ้ามีมากควรนำไปรีไซเคิล
กาแฟบดและที่กรอง Nหนอนชอบ
ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดCตัดเป็นช้นเล็กๆ
ผ้าสำลี  Cทำให้ชื้น
เปลือกไข่Nบดให้ละเอียด
เส้นผม Nกระจายอย่าให้จับตัวเป็นก้อน
มูลสัตว์กินพืช Nเป็นแห่งไนโตรเจน
หนังสือพิมพ์ Cอย่าใช้กระดาษมันหน้าสี ถ้ามีกมากให้นำไปรีไซเคิล
ใบโอ๊ก  Cตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นกรด
ขี้เลื่อย เศษไม้ (ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี)Cอย่าใช้มาก
ใบสนและผลของต้นสน Cอย่าใช้มาก ย่อยสลายช้า เป็นกรด

ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ต้องใช้อย่างระวัง


ชนิดของวัตถุ  ประเภทคาร์บอน
(C)/ไนโตรเจน(N)   
รายละเอียด
ขี้เถ้าจากไม้เป็นกลางใช้ในปริมาณที่พอเหมาเท่านั้น
ขี้นกNมีเมล็ดวัชพืชและเชื้อโรค
ต้นไม้ที่เป็นโรคตายNอย่าใช้ปุ๋ยหมักใกล้กับต้นไม้ชนิดเดียวกับที่เป็นโรคตาย
นม ชีส โยเกิร์ต  เป็นกลางจะดึงดูดสัตว์เข้ามาในกองปุ๋ยหมัก
วัชพืช Nทำให้แห้งก่อนใช้
หญ้าNต้องแน่ใจว่ากองปุ๋ยหมักร้อนพอที่จะหยุดการเจริญเติบโตของหญ้า

ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ห้ามใช้


ชนิดของวัตถุประเภทคาร์บอน
(C)/ไนโตรเจน(N) 
  
รายละเอียด
ขี้เถ้าจากถ่านหินหรือถ่านโค้ก-อาจมีวัสดุที่ไม่ดีต่อพืช
ขี้หมา ขี้แมว -อาจมีเชื้อโรค
เศษปลา-ดึงดูดพวกหนู ทำให้กองปุ๋ยหมักมีกลิ่นเหม็น
มะนาว -สามารถหยุดกระบวนการหมักปุ๋ย
เนื้อ ไขมัน จารบี น้ำมัน กระดูก -หลีกเลี่ยง
กระดาษมันจากวารสาร-หลีกเลี่ย

ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

         1.   อุณหภูมิ : อุณหภูมิ ในกองปุ๋ยหมักมีผลโดยตรงกับกิจกรรมย่อยสลายทางชีวภาพของจุลทรีย์   ยิ่งอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolic rate) ของจุลินทรีย์มากขึ้น (เจริญเติบโตมากขึ้น) อุณหภูมิภายในระบบหมักปุ๋ยก็จะสูงขึ้นในทางกลับกันถ้าอัตราการเผาผลาญอาหาร ลดลง  อุณหภูมิของระบบก็ลดลง จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์และก่อให้เกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมี 2 ประเภท คือ 1. แบคมีเรียชนิดเมโซฟิลิก (mesophilic bacteria) ซึ่งจะมีชีวิตเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 10^0C-45^0C (50^0F-113^0F) และ 2. แบคทีเรียชนิดเทอร์โมฟิลิก(thermophilic bacteria) ซึ่งเจริญเติบโตดีที่อุณหภูมิระหว่าง 45^0C-70^0C (113^0F-158^0F) การรักษาอุณหภูมิของระบบไว้เกินกว่า 55^0C (130^0F) เป็นเวลา 3-4 วัน   จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้   ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงถึง 69^0C (155^0F) การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของที่อุณหภูมิ  55^0C ถ้าอุณหภูมิเกิน 69^0C ประชากร ของจุลินทรีย์จะทำลายบางส่วน   ทำให้อุณหภูมิของระบบลดลง   อุณหภูมิของระบบจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อประชากรของจุลินทรีย์เพอ่มขึ้น   ปริมาณความชื้น   ออกซิเจนที่มีอยู่   และกิจกรรมของจุลินทรีย์มีอิทธิพลของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น   เมื่อมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มขึ้นและควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าถึงทั่วกองปุ๋ยหมัก   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะกลับสูงขึ้นอีกครั้ง   ทำเช่นนี้จนกว่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าการทำปุ๋ยหมักเสร็จสิ้นสมบรู ณ์ ขนาดของกองปุ๋ยหมักก็มีผลต่อุณหภูมิสูงสุดท่ะทำได้  โดยทั่วไปสำหรับกองปุ๋ยหมักที่เปิดโล่งควรมีขนาดของกองปุ๋ยหมักไม่น้อยกว่า 3 ฟุต x 3 ฟุต x 3 ฟุต

         2.   การเติมอากาศ (aeration) : ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายวัตถุ อินทรีย์   การย่อยสลายของอินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเป็นกระบวนการย่อยสลายที่ช้าแล พทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   ดังนั้นจึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเป็นระยะเพื่อให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจน อย่างเพียงพอ   ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยให้เร็วขึ้น   กองปุ๋ยหมักที่ไม่ได้กลับ   จะใช้เวลาย่อยสลสายนานกว่า 3-4 เท่า   การกลับกองปุ๋ยหมักจะทำให้อุณหภูมิสูงมากกว่า  ซึ่งจะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชและโรคพืชได้   กองปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นควรมีช่องว่างอากาศประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์   เพื่อให้สภาวะหารหมักที่ดีที่สุดเกิดขึ้น   และควรรักษาระดับออกซิเจนให้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั่งทั้งกองปุ๋ยหมัก   โดยทั่วไปรับออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 6-16 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ รอบผิวกองปุ๋ยหมัก   ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน   ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา   ดังนั้นออกซิเจนยิ่งมาก   การย่อสลายยิ่งเกิดมาก

         3.   ความชื้น (moisture) : ความ ชื้นที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์   กองปุ๋ยหมักควรมีความชื้นที่เหมาะสมที 45 เปอร์เซ็นต์   ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปการย่อยสลายจะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากจุลินทรีย์ ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายการใช้อากาศอยู่ระหว่าง 40-70 เปอร์เซ็นต์   การทดสอบความชื้นที่เหมาะสมในกองปุ๋ย   สามารถทำได้โดยใช้มือกำวัตถุอินทรีย์ในกองปุ๋ยแล้วบีบ   จะมีหยดน้ำเพีย 1-2 หยดเท่านั้น   หรือมีความรู้สึกชื้นเหมือนฟองน้ำที่บีบน้ำออกแล้ว

         4.   ขนาดวัตถุอินทรีย์ (particle size) : ขนาด วัตถุอินทรีย์ยิ่งเล็กจะทำให้กระบวนการย่อยสลายยิ่งเร็วขึ้น   เนื่องจากพื้นที่ให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายมากขึ้น   บางครั้งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากหรือมีความชื้นมากเช่นเศษหญ้าที่ตัดจาก สนาม   ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้  จึงควรผสมด้วยวัตถุที่เบาแต่มีปริมาณมากเช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง กระดาษ เพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ถูกต้อง   หรือจะผสมวัตถุที่มีขนาดต่างกันและมีเนื้อต่างกันก็ได้   ขนาดของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 นิ้ว แต่บางครั้งขนาดวัตถุอินทรีย์ที่ใหญ่กว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้บ้างเพื่อช่วย ให้การระบายอากาศดีขึ้น

         5.   การกลับกอง (turning) : ใน ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ย   จุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญวัตถุอินทรีย์   ขณะที่ออกวิเจนถูกใช้หมดกระบวนการหมักปุ๋ยจะช้างลงและอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก ลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้อากาศหมุนเวียนในกองปุ๋ยหมัก   เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กลับจุลิทรีย์   และเป็นการกลับวัสดุที่อยู่ด้านนอกเข้าข้างใน   ซึ่งช่วยในการย่อยสลายเร็วขึ้น  ระยะเวลาในการกลับกอง    สังเกตได้จากเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักขึ้นสูงสุดและเริ่มลดลงแสดงว่าได้ เวลาในการกลับกองเพื่อให้อากาศถ่ายเท

         6.   อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (carbon to nitrogen ratio) : จุลินทรีย์ ใช้คาร์บอนสำหรับพลังงานและไปนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน   จุลินทรีย์ต้องการใช้คาร์บอน 30 ส่วนต่อไนโตรเจน 1 ส่วน (C:N=30:1โดยน้ำหมักแห้ง)   ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   อัตราส่วนนี้จะช่วยในการควบคุมความเร็วในการย่อยจุลินทรีย์   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก (มีคาร์บอนมาก) การย่อยสลายจะช้า   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำมาก (ไนโตรเจนสูง) จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปแบบของแอมโมเนียสู่บรรยากาศและจะเกิดกลิ่น เหม็น   วัตถุอินทรีย์ส่วนมากไม่ได้มีอัตราส่วน C:N = 30:1 จึงต้องทำการผสมวัตถุอินทรีย์เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ถูกต้องคือใกล้เคียง เช่น   การผสมมูลวัวที่มี C:N = 20:1 จำนวน 2 ถุง เข้ากับลำต้นข้าวโพดที่มี C:N =60:1 จำนวน 1 ถุง จะได้กองปุ๋ยหมักที่มี C:N =(20:1+10:1+60:1)/3=33:1 ตารางข้างล่างแสดงค่า C:N ของวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่า C:N ไม่เกิน 20:1 เพื่อป้องกันการดึงไนโตรเจนจากดินเมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

ตารางแสดงค่าอัตราส่วน C:N ของวัตถุอินทรีย์ทั่วไป


วัตถุอินทรีย์อัตราส่วน C:N
เศษผัก12-20:1
เศษอาหาร   18:1
พืชตะกูลถั่ว 13:1
มูลวัว   20:1
กากแอปเปิ้ล 21:1
ใบไม้   40-80:1
ฟางข้าวโพด  60:1
ฟางข้าวสาลี 74:1
กระดาษ 80:1
ขี้เลื่อย 150-200:1
เศษหญ้า 100-150:1
กาแฟบด  12-25:1
เปลือกไม้ 20:1
ขยะผลไม้ 100-130:1
มูลสัตว์ปีกสด10:1
มูลม้า 25:1
หนังสือพิมพ์ 50-200:1
ใบสน 60-110:1
มูลที่เน่าเปื่อย 20:1

วิธีทำปุ๋ยหมัก (Composting Method)

          การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

          1.   การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน(hot composting) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตฮิวมัสที่มีคุณภาพโดยใช้เวลา น้อยกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำหลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวันและโรคพืช   การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) หรือแบบกองบนลาน (windrow) จะต้องอาศัยการจัดการในระดับสูง   ส่วนแบบ in-vessel จะใช้การจัดการน้อยกว่า

          2.   การทำปุ๋ยหมักแบบเย็น (cold composting) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่โคนต้นไม้  แปลงสวนเล็กๆ และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน เวลาในการทำปุ๋ยหมักถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อม   ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2 ปีหรือมากกว่า

          3.   การทำปุ๋ยหมักแบบผืนแผ่น (sheet  composting) เป็นการนำอินทรีย์วัตถุมาโปรยกระจายตามผิวหน้าดินที่ราบเรียบและปล่อยให้ ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ   เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้ย่อยสลายจะซึมผ่านลงในดิน   วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผืนดินที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์   ภูมิประเทศข้างทางหรือใช้ควบคุมการกัดกร่อน  วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืช   ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซากพืชและมูลสัตว์ ระยะเวลาการย่อยสลายถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะใช้เวลานาน

          4.   การทำปุ๋ยหมักแบสนามเพาะ (trench composting) เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายเพียงแต่ขุดหลุมลึก 6-8 นิ้ว   แล้วใส่วัตถุอินทรีย์ลงไปให้หนา 3-4 นิ้ว แล้วกลบด้วยดิน   รอประมาณ 2-3 อาทิตย์   ก็สามารถปลูกต้นไม้ตรงหลุมได้เลยวิธีนี้ไม่สามารถทำลายเม็ลดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ กระบวนการย่อยสลายค่อนข้างช้า

ขันตอนการทำปุ๋ยหมัก

          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) และแบบกองบนลาน(windrow) จะวางวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โดนใช้หลักการสมดุลระหว่างวัตถุที่มีคาร์บอนสูง(ชื้น) และคาร์บอนต่ำ(แห้ง)และมีขั้นตอนการทำดังนี้

          ขั้นตอนที่ 1 ใส่วัตถุหยาบลงที่ก้นถังหรือบนพื้นดินให้หนา 4-6 นิ้ว

          ขั้นตอนที่ 2 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนต่ำลงให้หนา 3-4 นิ้ว

          ขั้นตอนที่ 3 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนสูงให้หนา 4-6 นิ้ว

          ขั้นตอนที่ 4 เติมดินทำสวนหรือฮิวมัสหนา 1 นิ้ว

         ขั้นตอนที่ 5 ผสมให้เข้ากัน

          ขั้นตอนที่ 6 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 จนเต็มถังหรือสูงไม่เกิน 4 ฟุต แล้วปกคลุมด้วยวัตถุแห้ง

การเติมวัตถุดิบระหว่างการหมักปุ๋ย


          การเติมวัตถุดิบใหม่ระหว่างการหมักปุ๋ยจะทำในช่วงเวลาที่มีการกลับกองปุ๋ย หมักและคลุกเคล้าผสมโดยทั่วไปการเติมวัตถุดิบที่มีความชื้นเข้าไป  จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลาย  แต่ถ้าเติมวัตถุดิบที่แห้งไปกระบวนการย่อยสลายจะช้าลง

การทำถังหมักปุ๋ยสวนหลังบ้าน

          การทำถังหมักปุ๋ยสำหรับสวนหลังบ้านสามารถทำได้หลายวิธีโดยแบ่งตามขนาดที่ ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก วิธีแรกเหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กโดยนำถังขนาด 200 ลิตร มาเจาะรูด้านข้างถังขนาด 0.5 นิ้ว 6-9 แถวดังรูปที่ 1 แล้ววางถังบนอิฐบล็อกเพื่อให้อากาศหมุนเวียนก้นถัง   เติมวัตถุอินทรีย์ลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของถังแล้วเติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (ประมาณ 30%N)1/4 ถ้วยลงไปพร้อมเติมน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะแต่ไม่ถึงกับเปียกโชก   ทุกๆ 2-3 วัน   ให้กลิ้งถังกับพื้นรอบสวนเพื่อให้มีการผสมและระบายอากาศภายในถัง   เมื่อกลิ้งถังเสร็จแล้วสามารถเปิดฝาถังเพื่อให้อากาศซึมผ่านเข้าถัง   การทำวิธีนี้จะใช้เวลาในการย่อยสลาย 2-4 เดือน


รูปที่ 1[5]

          วิธีที่สองใช้ถังกลมแบบหมุนได้   ตามรูปที่ 2 การหมักทำโดยการเติมวัตถุสีเขียว และสีน้ำตาลเข้าถังประมาณ ¾ ส่วนของถัง   ผสมให้เข้ากันและทำให้ชื้นพอเหมาะ   หมุนถังหนึ่งครั้งทุกวันเพื่อให้อากศหมุนเวียนและคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่ว   วิธีนี้สามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์   ไม่ควีเติมวัสดุจนเต็มถังเพราะจะไม่สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้และ การระบายอากาศไม่ดี   การหมักแบบนี้ทำได้ทีละครั้ง (batch size)



รูปที่ 2[9]

          สำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่   การสร้างถังหมักปุ๋ยอย่างง่ายสามารถทำได้โดยการใช้ลวดตาข่ายเล็ก ๆ มาล้อมเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ฟุต   และสูงอย่างน้อย 4 ฟุต พร้อมกับมีที่เกี่ยวติกกันดังรูปที่ 3 ควรจะมีเสาปักตรงกลางถังก่อนใส่วตถุอินทรีย์เพื่อรักษารูปร่างของกองปุ๋ย หมักและช่วยอำนวยความสะดวกในการเติมน้ำ   การกลับกองปุ๋ยหมักสามารถทำได้ง่ายดายโดยการแกะลวดตาข่ายออกแล้วย้ายไปตั้ง ที่ใหม่ข้างๆ จากนั้นตักกองปุ๋ยหมักใส่กลับเข้าไป

 



รูปที่ 3[5]

          อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทานคือ การสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (three-chambered bin) ดังรูปที่ 4 ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี   โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน   การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรกและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น)เป็นเวลา 3-5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4-7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์   การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

 

รูปที่ 4[5]

          การหาทำเลสำหรับการตั้งปุ๋ยหมัก   ไม่ควรจะตั้งใกล้บ่อน้ำหรือที่ลาดชันไปสู่แหล่งน้ำบนดินเช่น ธารน้ำหรือสระน้ำควรตั้งในที่ไม่มีลมและโดนแสงแดดบางส่วนเพื่อช่วยให้ความ ร้อนแก่กองปุ๋ยหมัก   การตั้งถังหมักปุ๋ยใกล้ต้นไม้อาจทำให้รากต้นไม้ชอนไชเข้าถังได้   ทำให้ลำบากในการตักได้   ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรเริ่มต้น

ปัญหาที่เกิดระหว่างการทำปุ๋ยหมัก

          ปัญหาที่สามารถกเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยได้แก่   การเกิดกลิ่นเหม็น แมลงวันและสัตว์รบกวน กองปุ๋ยไม่ร้อน ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีแก้ไขดังนี้

         กลิ่นเหม็นเกิดจากการหมักแบบใช้อากาศเปลี่ยนเป้นการหมักแบบไม่ใช้อากาศ เนื่องจากขาดออกซิเจนในกองปุ๋ยซึ่งมีสาเหตุจากกองปุ๋ยมีความชื้นมากเกนไปและ อัดตัวกันแน่น  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้   การแก้ไขทำได้โดยการกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศและเติมวัตถุสีน้ำตาลประเภท ฟางข้าว กิ่งไม้แห้ง เพื่อลดความแน่นของกองปุ๋ยและให้อากาศผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยได้

          แมลงวันและสัตว์ เช่น หนู รบกวน มีสาเหตุมาจากการใส่เศษอาหารลงในกองปุ๋ย   ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้ล่อแมลงวันและหนูให้เข้ามา   วิธีแก้ปัญหาคือให้ฝังเศษอาหารลงในกองปุ๋ยและกลบด้วยดินหรือใบไม้แห้ง  หรือทำระบบปิดป้องกันแมลงวันและหนู

          กองปุ๋ยไม่ร้อน มีสาเหตุได้แก่ 1. มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ 2 มีออกซิเจนไม่เพียงพอ 3. ความชื้นไม่เพียงพอ และ 4. การหมักเสร็จสมบรูณ์แล้ว   สาเหตุแรกแก้ไขได้โดยการเติมวัตถุสีเขียวซึ่งมีไนโตรเจนสูง เช่น เศษหญ้าสด เศษอาหาร   สาเหตุที่สองแก้ไขโดยกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศ ส่วนสาเหตุที่สามให้กลับกองและเติมนในกองปุ๋ยชื้น

มาตรฐานปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์ในประเทศไทย

           ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุมีปริมาณธาตุอาหารหลักไม่สมบรูณ์ครบ ถ้วนที่จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์   แต่ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในด้านอื่นมีมากมายเช่น ปุ๋ยหมักที่อยู่ในรูปของฮิวมัสช่วยปรับปรุงสภาพของดินให้ดีขึ้น  ช่วยอุ้มน้ำได้มากช่วยป้องกันความแห้งแล้ง   ป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน   ช่วยกัดเก็บธาตุต่างๆ ในดิน เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง ช่วยทำให้สารพิษในดินเป็นกลาง ช่วยให้ต้นไม้ดูดซึมวิตามินและออกซิเจนดีขึ้น

          ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่าของธาตุต่างๆ เป็นไปได้ตามมาตรฐานของปุ๋ยหมัก   ถ้าปุ๋ยหมักไม่ได้มาตรฐานนี้อาจจะเป็นพิษต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อมได้   สำหรับมาตรฐานของปุ๋ยหมักในประเทศเป็นไปตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548 ดังนี้


ลำดับที่คุณลักษณะเกณฑ์กำหนด
1ขนาดของปุ๋ยไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร
2ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3ปริมาณหินและกรวด   ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และโลหะอื่นๆ  ต้องไม่มี
5ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
6ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)   5.5-8.5
7อัตราค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N) ไม่เกิน 20:1
8ค่าการนำไฟฟ้า (EC:Electrical Conductivity)   ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร
9ปริมาณธาตุอาหารหลัก-ไนโตรเจน(total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก-ฟอสฟอรัส( total P_2O_5) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
-โพแทสเซียม (total K_2O) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

10การย่อยสลายที่สมบรูณ์    มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
11สารหนู(Arsenic)แคดเมียม(Cadmium)
โครเมียม(Chromium)
ทองแดง(Copper)
ตะกั่ว(Lead)
ปรอท(Mercury)

ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม