วิธีปลูกชะอม
ชะอม
เป็นไม้ที่ปลูกง่าย ปลูกโดยวิธีการปักชำ การเพาะเมล็ด
การตอนกิ่งและการโน้มกิ่งที่มีข้อปักดินเพื่อให้ได้ต้นใหม่
แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการเพาะเมล็ด
การปลูกชะอมมักปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องดูแลมากนัก
การเพาะเมล็ดทำได้โดยเอาเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแล้วรดน้ำวันละ 1 ครั้ง
เมื่อเมล็ดงอกแล้ว จึงย้ายไปปลูกยังแปลงที่เตรียมไว้ ควรปลูกห่างกันประมาณ
5-5 เมล็ด เนื้อที่1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 60 ต้น ปุ๋ยที่
ใช้ดูแลรักษามักใช้ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์
ถ้าต้องการดูแลและควรรดน้ำให้สม่ำเสมอและเพียงพอเมื่อเก็บยอดชะอมควรเหลือ
ไว้ที่ยอด 3-4 ยอด เพื่อให้ชะอมได้ปรุงอาหารและหายใจ มิฉะนั้นชะอมจะตาย
ชะอมเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดีมีการบันทึกถึงรายได้จาการขายยอดชะอม
ของชาวบ้านที่ จ. สุรินทร์ พบว่ามีรายได้ 2,000-7,000 ต่อเดือน
ขึ้นกับฤดูกาลและขนาดของพื้นที่ที่ปลูก นอกจากนี้ยัง
เป็นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียวและเจริญเติบโตให้ยอดอ่อนได้นานหลายปี
วิธีการปลูก ใช้กิ่งพันธุ์ที่ได้จากการตอนปลูกระยะ 1 x 1 เมตร ควรปลูกในฤดูร้อนช่วยรดน้ำเจริญดีกว่าปลูกในฤดูฝนหากปลูกในฤดูฝนชะอมจะตายมาก
คลิกดูรูป
การบำรุงรักษา กำจัดวัชพืชโดยใช้จอบถากกลบโคนด้วยหญ้าและใบไม้ใส่ปุ๋ยคอกปีละครั้ง
โรคและแมลงศัตรู ชะอม ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวนหากพบโรคป้องกันโดยใช้ ปูนขาวโรยรอบโคนต้นหรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอมหลังฉีดยาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน
อายุการเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกกิ่งตอนได้ประมาณ 10 -15 วัน สามารถตัดยอดขายได้ หากบำรุงรักษาดี สามารถตัดยอดชะอมได้ทุก ๆ 2 วัน
ประโยชน์ทางยา
รากของชะอม สรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อน เป็นไม้ที่ออกทั้งปี แต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอม หน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบางครั้งทำให้ปวดท้อง
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดชะอม ใบอ่อน มีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย ยอดชะอม 100 กรัม ให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคเซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.24 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
การปลูกชะอมสูตรที่2
ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น และเป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่คนไทยนิยมปลูกชะอมเป็นรั้วบ้าน ซึ่งสามารถเด็ดยอดไปบริโภคเป็นผักได้ทุก ๆ 3 วัน ต้นชะอมหากถูกเด็ดยอดจะแตกกิ่งข้าง ต้นหนาแน่น ชะอมมีหนามตามกิ่งจึงใช้เป็นรั้วบ้านได้ดี
ลักษณะโดยทั่วไป
ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลถั่วที่มีอายุยืนนาน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ใบอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนและมีวิตามินเอสูงถึง 32,000 อินเตอร์เนชันแนลยูนิต ซึ่งสูงกว่าหัวแครอทที่ฝรั่งเชื่อว่ามีวิตามินสูงที่สุด ในบรรดาผักทั้งหลายอีกด้วย ยอดชะอมจัดเป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าอาหารสูงยิ่งทั้งวิตามินเอ โปรตีน และเยื่อใยที่ร่างกายต้องการ
พันธุ์ชะอม
ชะอมมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ
1. ชะอมพันธุ์เบา ลำต้นจะมีขนาดเล็ก ใบเล็ก และยอดขนาดเล็ก
2. ชะอมพันธุ์หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่ ยอดมีขนาดใหญ่ แต่ชาวสวนนิยมปลูกชะอมพันธุ์หนักกันมากกว่าเพราะสามารถเก็บยอดได้ตลอดทั้งปี
การขยายพันธุ์ชะอมมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. การใช้กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ
2. การใช้เมล็ด
เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งปักชำเพราะสะดวก และรวดเร็วกว่าใช้เมล็ด การเลือกกิ่งพันธุ์ชะอมที่จะนำมาขยายพันธุ์นั้นจะต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่หรือ อ่อนจนเกินไป ควรตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาวประมาณ 1 คืบ หรือประมาณ 20 เซนติเมตร และควรให้มีตาติดประมาณ 3-4 ตา หลังจากที่เลือกกิ่งพันธุ์ได้แล้วก็นำไปปักชำลงในถุงดินที่มีส่วนผสมของขี้ เถ้าแกลบ และปุ๋ยคอก อัตราส่วนอาจจะใช้ 3:3:1 หรือตามความเหมาะสม หลังจากนั้นก็รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 50-60 วัน ชะอมก็จะแตกรากออกมา หรือถ้าเราไม่ใช้ปักชำลงในถุง เราอาจจะปักชำลงในแปลงเพาะก่อนได้ โดยการเตรียมดินที่ดีมีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ แล้วนำกิ่งพันธุ์มาปักให้ทั่วแปลงเพาะ รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 10-15 วัน จะแตกช่อก่อน และประมาณ 50 วัน ก็จะแตกราก ต่อจากนั้นก็ทำการถอนมาใส่ถุงที่ผสมดินไว้เรียบร้อยแล้ว เลี้ยงต่อไว้อีกประมาณ 60 วัน เพื่อให้ระบบรากแข็งแรงสมบูรณ์ ต่อจากนั้นก็สามารถไปปลูกได้
การเตรียมดิน
ทำการยกร่องเหมือนกับแปลงผักทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ต้องยกร่องให้สูงมากนักและไม่ต้องย่อยดินให้ละเอียดเหมือนกับปลูกผัก การเตรียมดินปลูกชะอมก็เหมือนกับการเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ควรให้แปลงมีความกว้างประมาณ 1-1.50 เมตร และระหว่างแปลงจำเป็นต้องมีร่องขังน้ำไว้ด้วย
วิธีการปลูกชะอม
การปลูกชะอมเป็นวิธีที่ง่ายมาก ปลูกวิธีเดียวกับการปลูกมันสำปะหลัง คือ ขุดหลุมตรงกลางแปลงให้เป็นแถวระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 1 x 1 เมตร แต่ละหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร การที่ปลูกตรงกลางแปลงก็เพราะว่าชะอมเป็นไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ทรงพุ่มก็จะเต็มแปลงพอดี เมื่อเตรียมหลุมเรียบร้อยแล้วนำกิ่งชะอมปักชำลงในหลุม ตามแนวนอนขนานไปทางเดียวกัน หลุมหนึ่งอาจจะใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 5 กิ่ง ซึ่งกำลังเหมาะเพราะถ้ามากกว่านั้นจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบเกินไป หลังจากปักชำแล้ว ใช้ทางมะพร้าวมาทำร่มบังแดดให้
การปฏิบัติดูแลรักษาชะอม
ชะอมเป็นพืชที่ทนนานต่อดินฟ้าอากาศพอสมควร ในระยะแรกที่เริ่มปลูกนั้น ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้วหรือจะรดน้ำในเวลาเช้าเย็นก็ได้ การกำจัดวัชพืชควรกระทำปีละ 2 ครั้ง กลบโคนด้วยหญ้าและใบไม้ สำหรับการให้ปุ๋ยนั้นในระยะแรกที่ปลูกไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเลย จะให้ปุ๋ยก็ต่อเมื่อเริ่มเก็บยอดชะอมแล้ว ปุ๋ยที่ให้คือ ปุ๋ยคอก ละปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่มีธาตุตัวต้นสูง คือ ธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่บำรุงใบหรือจะใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ เป็นปุ๋ยสูตรครอบจักรวาลที่มีอาหารของพืชครบถ้วน คือธาตุไนโตรเจน ช่วยบำรุงใบ ธาตุฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงรากและผล และธาตุโปแตสเซียมเป็นธาตุที่บำรุงรสชาติ ชาวสวนชะอมจะนำปุ๋ยคอก และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วโรยรอบโคนต้น หลังจากนั้นก็รดน้ำตามลงไปเพื่อให้ปุ๋ยละลาย การที่ต้องการใช้ปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็เพราะว่า ปุ๋ยคอกจะไปช่วยส่งเสริมให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ซึ่งให้ประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ถ้าให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ เพียงอย่างเดียว ให้แค่ 1 ช้อนแกงก็เพียงพอแล้ว การให้ปุ๋ยนิยมให้ในระยะที่ชะอมจะโทรม เพราะจะช่วยเร่งให้ชะอมแตกยอดได้รวดเร็วขึ้น
โรคและแมลงศัตรูของชะอม
แมลงศัตรูที่ร้อยแรงของชะอมมีน้อยมาก แมลงศัตรูเท่าที่ทำความเสียหายให้กับชาวสวนชะอมในปัจจุบัน ได้แก่ หนอนกัดกินยอดชะอม เพราะชะอมเป็นพืชที่ตัดยอดขาย วิธีป้องกันกำจัด คือ ฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงทุก ๆ 8 วันต่อ 1 ครั้ง สารเคมีที่ใช้ได้แก่ คาบาริล และสารโปรไธโอฟอส สำหรับโรคของชะอมยังไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายแรงอะไร ส่วนเหตุร้ายแรงที่ทำให้ชะอมตาย คือ น้ำท่วม
การตัดแต่งกิ่งชะอม
ชะอมเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มหนาแน่นเราจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งบ้างเพราะถ้า ไม่ตัดแต่งกิ่งเลยจะทำให้ชะอมมีทรงพุ่มแน่นทึบ และจะไม่ค่อยแตกยอดการตัดแต่งกิ่งชะอมจึงมีความสำคัญ นอกจากจะลดปัญหาการแน่นทึบของทรงพุ่มแล้วยังเป็นการลดที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงอีกด้วย และที่สำคัญคือจะทำให้ชะอมมีการแตกยอดอ่อนมากขึ้น
การเก็บเกี่ยว
ชะอมเป็นพืชที่ให้ผลเร็วนับแต่เริ่มปลูกจนตัดยอดขายได้กินเวลาเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น วิธีตัดยอดขายจะต้องเหลือเอาใบรองยอดไว้จะช่วยให้ชะอมแตกยอดใหม่อีก การเก็บชะอมเก็บได้ทุก 4 วัน เมื่อเก็บแล้วนำมากำเป็นแพ ๆ ละ 14 ยอด แล้วใช้ใบมะพร้าว ตัดกลัดเป็นแพ ๆ ชะอม 25 แพ จะถูกมัดรวมเป็นมัด ๆ ขายราคามัดละ 15-35 บาท แล้วแต่ฤดูกาล
การปลูกชะอมแซมพืชอื่นเพื่อเสริมรายได้
การทำให้ชะอมมียอดในหน้าแล้งนั้นเริ่มแรกเราต้องทำการปลูกชะอมตอนต้นฤดูฝน ก็เริ่มขุดหลุมลึกประมาณ 1 หน้าจอบ หรือประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 25 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกัน 30 เซนติเมตร ต่อจากนั้นใช้ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกอย่างละ 1 กำมือ คลุกกับดินในหลุม จากนั้นจึงเลือกกิ่งชะอม การเลือกกิ่งควรเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ตัดกิ่งเฉียงเป็นปากฉลาม ให้กิ่งมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร หรือมีส่วนของตาที่จะทำให้เกิดยอดประมาณ 3-4 ตา
เมื่อเราเตรียมหลุมและกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้ว ก็รดน้ำลงในหลุม นำกิ่งพันธุ์ที่เราเตรียมไว้แล้วมาจุ่มลงในฮอร์โมนเร่งราก โดยการใช้เซราดิกซ์ เบอร์ 2 จากนั้นจึงนำมาปักในหลุมปักเฉียง 45 องศา ปักลึกประมาณ 5 ซม. หรือ 1 ตา หลุมละ 3-4 กิ่ง ปักในลักษณะที่เป็นวงกลม เมื่อปักชำเสร็จแล้วก็ใช้วัสดุคลุมจะเป็นใบมะพร้าวหรือใบกล้วยก็ได้ คลุมไว้จนกว่ากิ่งพันธุ์จะแตกยอด ในช่วงนี้ถ้ามีฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำ เช้า เย็น หลังปักชำไปแล้ว 7-10 วัน ชะอมจะเริ่มแตกใบอ่อน เมื่อชะอมมีอายุได้ 1 เดือน ก็ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 10 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่โดยการพรวนดินรอบ ๆ หลุมใส่ปุ๋ยแล้วก็พรวนดินกลบ และรดน้ำตามใส่ปุ๋ยชนิดนี้เดือนละครั้ง เพื่อให้กิ่งของชะอมยาว ถ้ามีใบมากก็ให้ตัดออกบ้าง ชะอมที่เราจะบังคับให้ออกยอดในฤดูแล้งนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพื่อที่ชะอมจะได้มีความทนต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเราได้ชะอมที่จะใช้บังคับให้ออกยอดตามที่ต้องการแล้ว ก็บังคับได้เลยคือจะเริ่มทำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนเมษายน ก่อนกระทำต้องกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนชะอมให้หมดก่อนแล้วจึงใช้มีดคม ๆ ตัดชะอมให้มีใบเหลือน้อยและกิ่งเสมอกัน จากนั้นใช้หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งวางให้ห่างจากโตนต้นชะอมประมาณ 15 ซม. แล้วจึงใช้หญ้าสดหรือฟางที่มีความชื้นวางทับอีกครั้งหนึ่งแล้วจุดๆ พยายามให้มีควันและความร้อนแต่อย่างให้มีเปลวไฟมากนัก หลังจากไฟดับแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน พอสังเกตเห็นว่าใบชะอมเหลืองและทิ้งใบบ้างแล้ว ก็ให้น้ำชะอมโดยรดที่โคนต้นให้ชุ่ม และใช้เครื่องพ่นสารเคมี พ่นน้ำเปล่าตามบริเวณกิ่งและยอดด้วย รดน้ำวันละครั้งเช้าหรือเย็นก็ได้ ประมาณ 3 วัน ชะอมจะเริ่มแตกตายอด ช่วงนี้ควรให้อาหารเสริมบ้าง คือ ใช้ยูเรีย 2 ช้อนแกงต่อน้ำหนึ่งปี๊บ ฉีดพ่นเพื่อให้ยอดชะอมยาวและสวย เห็นว่ายอดชะอมพร้อมที่จะตัดจำหน่ายได้เราก็ตัดไปจำหน่ายได้เลย ชะอมสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ใช้ชุบไข่ทอด แกงแค เป็นต้น
การตลาดของชะอม
ตลาดของชะอมที่วางขายตามตลาดใหญ่ ๆ และตลาดเล็กในกรุงเทพ ส่วนมากมาจากจังหวัดนครปฐม เพราะแหล่งปลูกชะอมแหล่งใหญ่อยู่ที่ตำบลวังตะคู ตำบลบ้านนาสร้าง อ. เมือง จังหวัดนครปฐม และจังหวัดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง บางสวนก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน แล้วนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง หรือบางสวนก็นำไปส่งให้กับขาประจำที่ตลาด แล้วเขาก็จะส่งต่อเข้ากรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง หรือก็ชาวสวนเก็บแล้วนำไปขายแถวตามตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ
วิธีการปลูก ใช้กิ่งพันธุ์ที่ได้จากการตอนปลูกระยะ 1 x 1 เมตร ควรปลูกในฤดูร้อนช่วยรดน้ำเจริญดีกว่าปลูกในฤดูฝนหากปลูกในฤดูฝนชะอมจะตายมาก
คลิกดูรูป
การบำรุงรักษา กำจัดวัชพืชโดยใช้จอบถากกลบโคนด้วยหญ้าและใบไม้ใส่ปุ๋ยคอกปีละครั้ง
โรคและแมลงศัตรู ชะอม ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวนหากพบโรคป้องกันโดยใช้ ปูนขาวโรยรอบโคนต้นหรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอมหลังฉีดยาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน
อายุการเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกกิ่งตอนได้ประมาณ 10 -15 วัน สามารถตัดยอดขายได้ หากบำรุงรักษาดี สามารถตัดยอดชะอมได้ทุก ๆ 2 วัน
ประโยชน์ทางยา
รากของชะอม สรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อน เป็นไม้ที่ออกทั้งปี แต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอม หน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบางครั้งทำให้ปวดท้อง
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดชะอม ใบอ่อน มีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย ยอดชะอม 100 กรัม ให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคเซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.24 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
การปลูกชะอมสูตรที่2
ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น และเป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่คนไทยนิยมปลูกชะอมเป็นรั้วบ้าน ซึ่งสามารถเด็ดยอดไปบริโภคเป็นผักได้ทุก ๆ 3 วัน ต้นชะอมหากถูกเด็ดยอดจะแตกกิ่งข้าง ต้นหนาแน่น ชะอมมีหนามตามกิ่งจึงใช้เป็นรั้วบ้านได้ดี
ลักษณะโดยทั่วไป
ต้นชะอมเป็นไม้ยืนต้น ตระกูลถั่วที่มีอายุยืนนาน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ใบอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนและมีวิตามินเอสูงถึง 32,000 อินเตอร์เนชันแนลยูนิต ซึ่งสูงกว่าหัวแครอทที่ฝรั่งเชื่อว่ามีวิตามินสูงที่สุด ในบรรดาผักทั้งหลายอีกด้วย ยอดชะอมจัดเป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าอาหารสูงยิ่งทั้งวิตามินเอ โปรตีน และเยื่อใยที่ร่างกายต้องการ
พันธุ์ชะอม
ชะอมมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ
1. ชะอมพันธุ์เบา ลำต้นจะมีขนาดเล็ก ใบเล็ก และยอดขนาดเล็ก
2. ชะอมพันธุ์หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่ ยอดมีขนาดใหญ่ แต่ชาวสวนนิยมปลูกชะอมพันธุ์หนักกันมากกว่าเพราะสามารถเก็บยอดได้ตลอดทั้งปี
การขยายพันธุ์ชะอมมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. การใช้กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ
2. การใช้เมล็ด
เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งปักชำเพราะสะดวก และรวดเร็วกว่าใช้เมล็ด การเลือกกิ่งพันธุ์ชะอมที่จะนำมาขยายพันธุ์นั้นจะต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่หรือ อ่อนจนเกินไป ควรตัดกิ่งพันธุ์ให้มีความยาวประมาณ 1 คืบ หรือประมาณ 20 เซนติเมตร และควรให้มีตาติดประมาณ 3-4 ตา หลังจากที่เลือกกิ่งพันธุ์ได้แล้วก็นำไปปักชำลงในถุงดินที่มีส่วนผสมของขี้ เถ้าแกลบ และปุ๋ยคอก อัตราส่วนอาจจะใช้ 3:3:1 หรือตามความเหมาะสม หลังจากนั้นก็รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 50-60 วัน ชะอมก็จะแตกรากออกมา หรือถ้าเราไม่ใช้ปักชำลงในถุง เราอาจจะปักชำลงในแปลงเพาะก่อนได้ โดยการเตรียมดินที่ดีมีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ แล้วนำกิ่งพันธุ์มาปักให้ทั่วแปลงเพาะ รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 10-15 วัน จะแตกช่อก่อน และประมาณ 50 วัน ก็จะแตกราก ต่อจากนั้นก็ทำการถอนมาใส่ถุงที่ผสมดินไว้เรียบร้อยแล้ว เลี้ยงต่อไว้อีกประมาณ 60 วัน เพื่อให้ระบบรากแข็งแรงสมบูรณ์ ต่อจากนั้นก็สามารถไปปลูกได้
การเตรียมดิน
ทำการยกร่องเหมือนกับแปลงผักทั่ว ๆ ไป แต่ไม่ต้องยกร่องให้สูงมากนักและไม่ต้องย่อยดินให้ละเอียดเหมือนกับปลูกผัก การเตรียมดินปลูกชะอมก็เหมือนกับการเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ควรให้แปลงมีความกว้างประมาณ 1-1.50 เมตร และระหว่างแปลงจำเป็นต้องมีร่องขังน้ำไว้ด้วย
วิธีการปลูกชะอม
การปลูกชะอมเป็นวิธีที่ง่ายมาก ปลูกวิธีเดียวกับการปลูกมันสำปะหลัง คือ ขุดหลุมตรงกลางแปลงให้เป็นแถวระยะระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 1 x 1 เมตร แต่ละหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร การที่ปลูกตรงกลางแปลงก็เพราะว่าชะอมเป็นไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ทรงพุ่มก็จะเต็มแปลงพอดี เมื่อเตรียมหลุมเรียบร้อยแล้วนำกิ่งชะอมปักชำลงในหลุม ตามแนวนอนขนานไปทางเดียวกัน หลุมหนึ่งอาจจะใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ 5 กิ่ง ซึ่งกำลังเหมาะเพราะถ้ามากกว่านั้นจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบเกินไป หลังจากปักชำแล้ว ใช้ทางมะพร้าวมาทำร่มบังแดดให้
การปฏิบัติดูแลรักษาชะอม
ชะอมเป็นพืชที่ทนนานต่อดินฟ้าอากาศพอสมควร ในระยะแรกที่เริ่มปลูกนั้น ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้วหรือจะรดน้ำในเวลาเช้าเย็นก็ได้ การกำจัดวัชพืชควรกระทำปีละ 2 ครั้ง กลบโคนด้วยหญ้าและใบไม้ สำหรับการให้ปุ๋ยนั้นในระยะแรกที่ปลูกไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเลย จะให้ปุ๋ยก็ต่อเมื่อเริ่มเก็บยอดชะอมแล้ว ปุ๋ยที่ให้คือ ปุ๋ยคอก ละปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่มีธาตุตัวต้นสูง คือ ธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่บำรุงใบหรือจะใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ เป็นปุ๋ยสูตรครอบจักรวาลที่มีอาหารของพืชครบถ้วน คือธาตุไนโตรเจน ช่วยบำรุงใบ ธาตุฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงรากและผล และธาตุโปแตสเซียมเป็นธาตุที่บำรุงรสชาติ ชาวสวนชะอมจะนำปุ๋ยคอก และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วโรยรอบโคนต้น หลังจากนั้นก็รดน้ำตามลงไปเพื่อให้ปุ๋ยละลาย การที่ต้องการใช้ปุ๋ยคอกผสมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็เพราะว่า ปุ๋ยคอกจะไปช่วยส่งเสริมให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ซึ่งให้ประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ถ้าให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ เพียงอย่างเดียว ให้แค่ 1 ช้อนแกงก็เพียงพอแล้ว การให้ปุ๋ยนิยมให้ในระยะที่ชะอมจะโทรม เพราะจะช่วยเร่งให้ชะอมแตกยอดได้รวดเร็วขึ้น
โรคและแมลงศัตรูของชะอม
แมลงศัตรูที่ร้อยแรงของชะอมมีน้อยมาก แมลงศัตรูเท่าที่ทำความเสียหายให้กับชาวสวนชะอมในปัจจุบัน ได้แก่ หนอนกัดกินยอดชะอม เพราะชะอมเป็นพืชที่ตัดยอดขาย วิธีป้องกันกำจัด คือ ฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงทุก ๆ 8 วันต่อ 1 ครั้ง สารเคมีที่ใช้ได้แก่ คาบาริล และสารโปรไธโอฟอส สำหรับโรคของชะอมยังไม่ปรากฏว่ามีโรคร้ายแรงอะไร ส่วนเหตุร้ายแรงที่ทำให้ชะอมตาย คือ น้ำท่วม
การตัดแต่งกิ่งชะอม
ชะอมเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มหนาแน่นเราจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งบ้างเพราะถ้า ไม่ตัดแต่งกิ่งเลยจะทำให้ชะอมมีทรงพุ่มแน่นทึบ และจะไม่ค่อยแตกยอดการตัดแต่งกิ่งชะอมจึงมีความสำคัญ นอกจากจะลดปัญหาการแน่นทึบของทรงพุ่มแล้วยังเป็นการลดที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงอีกด้วย และที่สำคัญคือจะทำให้ชะอมมีการแตกยอดอ่อนมากขึ้น
การเก็บเกี่ยว
ชะอมเป็นพืชที่ให้ผลเร็วนับแต่เริ่มปลูกจนตัดยอดขายได้กินเวลาเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น วิธีตัดยอดขายจะต้องเหลือเอาใบรองยอดไว้จะช่วยให้ชะอมแตกยอดใหม่อีก การเก็บชะอมเก็บได้ทุก 4 วัน เมื่อเก็บแล้วนำมากำเป็นแพ ๆ ละ 14 ยอด แล้วใช้ใบมะพร้าว ตัดกลัดเป็นแพ ๆ ชะอม 25 แพ จะถูกมัดรวมเป็นมัด ๆ ขายราคามัดละ 15-35 บาท แล้วแต่ฤดูกาล
การปลูกชะอมแซมพืชอื่นเพื่อเสริมรายได้
การทำให้ชะอมมียอดในหน้าแล้งนั้นเริ่มแรกเราต้องทำการปลูกชะอมตอนต้นฤดูฝน ก็เริ่มขุดหลุมลึกประมาณ 1 หน้าจอบ หรือประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 25 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกัน 30 เซนติเมตร ต่อจากนั้นใช้ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกอย่างละ 1 กำมือ คลุกกับดินในหลุม จากนั้นจึงเลือกกิ่งชะอม การเลือกกิ่งควรเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ตัดกิ่งเฉียงเป็นปากฉลาม ให้กิ่งมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร หรือมีส่วนของตาที่จะทำให้เกิดยอดประมาณ 3-4 ตา
เมื่อเราเตรียมหลุมและกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้ว ก็รดน้ำลงในหลุม นำกิ่งพันธุ์ที่เราเตรียมไว้แล้วมาจุ่มลงในฮอร์โมนเร่งราก โดยการใช้เซราดิกซ์ เบอร์ 2 จากนั้นจึงนำมาปักในหลุมปักเฉียง 45 องศา ปักลึกประมาณ 5 ซม. หรือ 1 ตา หลุมละ 3-4 กิ่ง ปักในลักษณะที่เป็นวงกลม เมื่อปักชำเสร็จแล้วก็ใช้วัสดุคลุมจะเป็นใบมะพร้าวหรือใบกล้วยก็ได้ คลุมไว้จนกว่ากิ่งพันธุ์จะแตกยอด ในช่วงนี้ถ้ามีฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำ เช้า เย็น หลังปักชำไปแล้ว 7-10 วัน ชะอมจะเริ่มแตกใบอ่อน เมื่อชะอมมีอายุได้ 1 เดือน ก็ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 10 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่โดยการพรวนดินรอบ ๆ หลุมใส่ปุ๋ยแล้วก็พรวนดินกลบ และรดน้ำตามใส่ปุ๋ยชนิดนี้เดือนละครั้ง เพื่อให้กิ่งของชะอมยาว ถ้ามีใบมากก็ให้ตัดออกบ้าง ชะอมที่เราจะบังคับให้ออกยอดในฤดูแล้งนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพื่อที่ชะอมจะได้มีความทนต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเราได้ชะอมที่จะใช้บังคับให้ออกยอดตามที่ต้องการแล้ว ก็บังคับได้เลยคือจะเริ่มทำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนเมษายน ก่อนกระทำต้องกำจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนชะอมให้หมดก่อนแล้วจึงใช้มีดคม ๆ ตัดชะอมให้มีใบเหลือน้อยและกิ่งเสมอกัน จากนั้นใช้หญ้าแห้ง หรือฟางแห้งวางให้ห่างจากโตนต้นชะอมประมาณ 15 ซม. แล้วจึงใช้หญ้าสดหรือฟางที่มีความชื้นวางทับอีกครั้งหนึ่งแล้วจุดๆ พยายามให้มีควันและความร้อนแต่อย่างให้มีเปลวไฟมากนัก หลังจากไฟดับแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน พอสังเกตเห็นว่าใบชะอมเหลืองและทิ้งใบบ้างแล้ว ก็ให้น้ำชะอมโดยรดที่โคนต้นให้ชุ่ม และใช้เครื่องพ่นสารเคมี พ่นน้ำเปล่าตามบริเวณกิ่งและยอดด้วย รดน้ำวันละครั้งเช้าหรือเย็นก็ได้ ประมาณ 3 วัน ชะอมจะเริ่มแตกตายอด ช่วงนี้ควรให้อาหารเสริมบ้าง คือ ใช้ยูเรีย 2 ช้อนแกงต่อน้ำหนึ่งปี๊บ ฉีดพ่นเพื่อให้ยอดชะอมยาวและสวย เห็นว่ายอดชะอมพร้อมที่จะตัดจำหน่ายได้เราก็ตัดไปจำหน่ายได้เลย ชะอมสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ใช้ชุบไข่ทอด แกงแค เป็นต้น
การตลาดของชะอม
ตลาดของชะอมที่วางขายตามตลาดใหญ่ ๆ และตลาดเล็กในกรุงเทพ ส่วนมากมาจากจังหวัดนครปฐม เพราะแหล่งปลูกชะอมแหล่งใหญ่อยู่ที่ตำบลวังตะคู ตำบลบ้านนาสร้าง อ. เมือง จังหวัดนครปฐม และจังหวัดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง บางสวนก็จะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน แล้วนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง หรือบางสวนก็นำไปส่งให้กับขาประจำที่ตลาด แล้วเขาก็จะส่งต่อเข้ากรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง หรือก็ชาวสวนเก็บแล้วนำไปขายแถวตามตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ