ผลและเมล็ดของพริกไทย รสเผ็ดอุ่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไข้มาเลเรีย แก้อหิวาตกโรคนอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Pepper oilยังใช้ร่วมกับน้ำมันหอมอื่น ๆ ในการนวดตัว เพื่อบำบัดอาการท้องอืดท้องเฟ้อท้องเสีย แก้คลื่นเหียน อาเจียน ช่วยให้หายใจสะดวก และช่วยล้างพิษ ข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากเกินไป และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคตาและเจ็บคอไม่ควรรับประทาน
ลักษณะ ทั่วไปพริกไทยเป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น ลำต้นเป็นปล้อง มีรากฝอยตามข้อใช้ในการยึดเกาะ ใบเดี่ยว รูปรี ออกเรียงสลับตามข้อ และกิ่งปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ คล้ายใบพลู ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามข้อ ช่อดอกแต่ละช่อมีดอกฝอยประมาณ 70-85 ดอกผลออกเป็นช่อทรงกระบอกกลมยาว ช่อผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองและแดงภายในมีเมล็ดกลม
การ ปลูก พริกไทยดำขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตัดเถาชำ ชอบดินร่วนซุยที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี อากาศแบบร้อนชื้น ควรเพาะเมล็ดในฤดูฝน เพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ดี การชำเถาให้เลือกเถาที่มีรากตามข้อปล้อง อายุประมาณ 1 ปีลิดใบออกบางส่วน ตัดเป็นท่อน ๆ ชำ เมื่อแตกยอดอ่อนจึงย้ายไปปลูกในถุงพลาสติก ซึ่งควรอยู่ในที่ร่ม ประมาณ 1- 2 เดือนจึงทำการย้ายปลูก การปลูกขุดหลุมกว้าง-ยาว-ลึก 30 -30-30 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 2-2 เมตร ไม้หรือเสาที่จะให้ต้นเลื้อยควรหุ้มด้วยกาบมะพร้าวเพื่อช่วยให้เถายึดเกาะ ได้ดีและช่วยให้ต้นพริกไทยได้ความชื้นจากกาบมะพร้าวเพื่อช่วยให้เถายึดเกาะ ได้ดี และช่วยให้ต้นพริกไทยได้ความชื้นจากกาบมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้หลุมชื้นแฉะหรือแห้งเกินไป พริกไทยจะตายได้ สำหรับไม้หรือเสาที่ทำค้าง ควรมีขนาดประมาณ 4x4นิ้ว ยาว 4เมตร ปักลงในดินลึก 60 ซม แต่ละค้างปักให้ห่างกัน
ประมาณ 2 เมตร
การดูแลรักษา
เมื่อพริกไทยเริ่มแตกยอดอ่อน 3-5 ยอด ผู้ปลูกต้องคอยตัดยอดอ่อนให้เหลือยอดที่สมบูรณ์ที่สุดต้นละ 2 ยอด เท่านั้น และคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้ยอดเลื้อยไปรวมอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของค้างเพียง ด้านเดียวเพราะเมื่อพริกไทยให้ผลจะทำให้ค้างล้มได้ วิธีการปฏิบัติที่ดีคือใช้เชือกมัดเถาพริกไทยเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 10-15 ซม. เปลาะแรกให้อยู่เหนือพื้นดิน 3 ข้อเมื่ออายุ 1 ปี ให้ตัดยอดที่สูงเหนือพื้นดินมาก กว่า 50 ซม.ทิ้งไปเพื่อให้แตกยอดมาใหม่และในระหว่างที่เถายังเจริญเติบโตไม่ถึงยอด ไม้ค้าง ให้ตัดช่อดอกที่ออกมาระหว่างนั้นออกไป ไม่เช่นนั้นต้นจะแคระแกรนโตช้าลงนอกจากนี้ให้ดูแลเรื่องการใส่ปุ๋ย
บำรุงดิน หมั่นพรวนดินคลุมโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยกคลอนล้มลงได้ และช่วยกระตุ้นให้รากแผ่กระจายหาอาหารสะดวก
ยิ่งขึ้น
อายุ ในการให้ผลผลิตของต้นพริกไทยจะอยู่ในปีที่ 3 จึงเริ่มให้ดอกและติดผล และจะสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ในอีก 6-7เดือนถัดมา การเก็บเมล็ดน้นต้องดูวัตถุประสงค์ว่าต้องการเก็บเพื่อใช้เป็นพริกไทยขาว หรือที่เรียกอีกชื่อว่า "พริกไทยล่อน"หรือต้องการเก็บเป็นพริกไทยดำเพราะทั้งสองแบบมีวิธีการเก็บที่ แตกต่างกัน ในการเก็บพริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อน ให้สังเกตจากรวงหรือช่อของพริกไทยที่มีเมล็ดสีเหลือ หรือสีแดง ช่อละ 3-4เมล็ด การเก็บให้เก็บทั้งช่อ โดยทยอยเก็บเป็นระยะ แต่ในฤดูเก็บเกี่ยวหนึ่ง ๆ ไม่ควรเก็บเกินกว่า 4 ครั้ง เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้จากนั้นนำไปตากแดดแล้วนำไปนวดเพื่อแยกเมล็ดออกมา แล้วนำเมล็ดไปใส่ไว้ในกระสอบมัดปากให้แน่น นำไปแช่น้ำนาน 7-14วันแล้วนำไปตากแดดทันทีหากไม่มีแดดให้แช่น้ำไว้ก่อนป้องกันการขึ้นรา
การ ตากแดดให้ตากบนลานหรือเสื่อลำแพนโดยเกลี่ยให้กระจายสม่ำเสมอ ตากแดด 4-5 วัน การทดสอบว่าเมล็ดแห้งสนิทแล้วหรือยังทำได้โดยใช้มือกอบเมล็ดขึ้นมาค่อย ๆ ถ่างนิ้วให้เมล็ดลอดลงระหว่างนิ้วหากมีการฝืดลอดลงนิ้วยากแสดงว่ายังไม่แห้ง สนิท หรือจะใช้วิธีฟันขบดูหากแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแสดงว่าแห้งดีแล้ว แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีกแสดงว่ายังแห้งไม่ดี ให้ตากแดดต่อไปอีก ในกรณีเก็บเมล็ดเพื่อใช้ทำพริกไทยดำ ให้เก้บเมล็ดแก่จัดที่ยังมีสีเขียวอยู่ โดยให้ใช้เล็บจิกลงที่เมล็ด หากจิกไม่ลงแสดงว่าเมล็้ดแก่ดีแล้ว การเก็บให้เก็บทั้งรวงเช่นเดียวกันเก้บมาแล้วนำไปตากแดดบนลานหรือเสื่อแล้ว ใช้ผ้าใบหรือสังกะสีคลุมทับไว้ 3-4วัน เพื่อให้ก้านเหี่ยว ง่ายต่อการนำไปนวดแยกเมล็ดออกแล้วนำไปร่อนในตะแกรงที่มีรูให้เมล็ด ลอดออกมาได้จนเหลือแต่เมล็ดพริกไทยล้วน ๆ จากนั้นนำไปตากแดดให้สม่ำเสมอ 5-6 วัน เมล็ดที่แห้งสนิทดีแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
พริก ไทยดำต่างกับพริกไทยขาวอย่างไรพริกไทยเป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญว่า Black Piper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn วงศ์ Piperaceae ผลอ่อนของพริกไทมีสีเขียว พอเริ่มแก่ก็จะกลายเป็นสีแดงและดำในในที่สุด พริกไทยดำ ( Black peper ) และ พริกไทยขาว( White peper ) ซึ่งทั้งสองอย่าง ได้มาจากพืชชนิดเดียวกันแต่วิธีการเก็บต่างกัน นั่นคือ พริกไทยดำ ได้จากการเก็บผลพริกไทยที่เป็นผลแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก เมื่อเก็บแล้วนำไปตากบนลาน ใช้สังกะสีหนือผ้าใบคลุมให้ผลหลุดจากขั้วจากนั้นทำอย่างไรก็ได้ให้เหลือแต่ ผล(ปกติคงใช้เท้าเหยียบ ร่อน และเหยียบ ซ้ำอีก) แล้วนำมาผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 4 – 5 วัน ผิวก็จะเหี่ยวย่น เป็นสีดำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของ พริกไทยดำจะมีน้ำมันหอมระเหยมากประมาณร้อยละ2-4 และมีสารแอลคาลอยด์เป็นสารสำคัญ เช่น Piperine ซึ่งเป็นตัวทำให้มีรสเผ็ด นอกจากนี้ยังมี Piperidine, Piperitine,Peperyline, Piperolein A และ B
ส่วน พริกไทยขาว ( White pepper ) นั้นได้จากการเก็บผลพริกไทยที่แก่จัด และผลเริ่มสุกเป็นสีแดง และกลายเป็นสีดำจากนั้นนำไปแช่น้ำ เพื่อลอกเอาเปลือกชั้นนอกออกไป เหลือแต่เมล็ดข้างในโดยจะแช่ในน้ำไหล หรือน้ำนิ่งก็ได้ แต่พริกไทยที่แช่น้ำไหล จะมีสีขาวกว่าพริกไทย ที่แช่ในน้ำนิ่ง โดยจะใช้เวลาในการแช่ประมาณ 7-14 วัน หลังจากนั้น นำพริกไทยที่แช่น้ำมานวด เพื่อลอกเปลือกออก ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปตากแดดทันที โดยใช้เวลาในการตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก็จะแห้งสนิทการทดสอบความแห้งทำโดยใช้ฟันขบเมล็ดพริกไทย ถ้าแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย แสดงว่าแห้งสนิทดี แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีก แสดงว่ายังไม่แห้งสนิท หรือทดสอบโดยใช้มือ
กอบเมล็ดพริกไทย แล้วค่อยๆกางนิ้วออก ให้เมล็ด
พริกไทยลอดระหว่างนิ้วถ้าเมล็ดลอดออกได้ง่าย
ไม่ฝืด และเมล็ดไม่เกาะติดกัน แสดงว่าเมล็ดแห้งสนิท
ข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ของพริกไทยขาว ( พริกไทยล่อน ) จะมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่าพริกไทยดำ ดังนั้นตัวที่ทำให้ช่วยขับลมก็คือ พวกน้ำมันหอมระเหยนั่นเองพริกไทยขาว จะมีราคาแพงกว่า พริกไทยดำ เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิต และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตพริกไทยดำ และประชาชนยังนิยมบริโภคพริกไทยขาว มากกว่าพริกไทยดำ แต่ในแง่สรรพคุณ ทางยาสมุนไพรนั้น พริกไทยดำจะมีตัวยามากกว่า พริกไทยขาว ที่มา : นสพ.ไทยโพสต์ วันที่ 21/042548