การปลูกกุหลาบตัดดอก
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ
ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และ
การให้น้ำ
ให้ น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
การใส่ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่าง การปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การ ให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การ ให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ - ระยะสร้างทรงพุ่ม 1 : 0.58 : 0.83
- ระยะให้ดอก 1 : 0.5 : 0.78
- ระยะตัดแต่งกิ่ง 1: 0.8 : 0.9
การขยายพันธุ์
1. การตัดชำ
วิธี การตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 (เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก
2. การตอน
กิ่ง ที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน
3. การติดตา
วิธีการทำต้นกุหลาบ ติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น
วิธีติดตา
วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ
1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง
2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย
3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ
4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก
เพื่อให้ตาเจริญ เติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติก นั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้ สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง (Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และการให้น้ำให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
แมลงและไรศัตรูกุหลาบ
1. ไรแดง (Spider mite)
2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
3. หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
4. หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
5. ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
6. เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
7. เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)
โรคและแมลงศัตรู
1.โรคราน้ำค้าง (Downey mildew)
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa
ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
2. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa
ลักษณะ การทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
3. โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae)
เป็น โรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
4. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
5. โรคราสีเทา (botrytis:Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
6. โรคกิ่งแห้งตาย (die back)
เกิด จากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ
ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และ
การให้น้ำ
ให้ น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
การใส่ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่าง การปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การ ให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การ ให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ - ระยะสร้างทรงพุ่ม 1 : 0.58 : 0.83
- ระยะให้ดอก 1 : 0.5 : 0.78
- ระยะตัดแต่งกิ่ง 1: 0.8 : 0.9
การขยายพันธุ์
1. การตัดชำ
วิธี การตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 (เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก
2. การตอน
กิ่ง ที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน
3. การติดตา
วิธีการทำต้นกุหลาบ ติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น
วิธีติดตา
วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ
1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง
2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย
3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ
4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก
เพื่อให้ตาเจริญ เติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติก นั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้ สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง (Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และการให้น้ำให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
แมลงและไรศัตรูกุหลาบ
1. ไรแดง (Spider mite)
2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
3. หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
4. หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
5. ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
6. เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
7. เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)
โรคและแมลงศัตรู
1.โรคราน้ำค้าง (Downey mildew)
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa
ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
2. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa
ลักษณะ การทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
3. โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae)
เป็น โรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
4. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
5. โรคราสีเทา (botrytis:Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
6. โรคกิ่งแห้งตาย (die back)
เกิด จากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง