มะลิ
เป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย
นอกจากนั้นส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้
พันธุ์
มะลิที่นิยมใช้ดอกมาร้อยมาลัยในปัจจุบันเป็นมะลิลาพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรด-ด่าง
5.5-6.5 มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์
ได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อให้มีดอกดก
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การปักชำ
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในภาชนะ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2.
เตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้เป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน
ตัดให้มีความยาวของกิ่ง 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย3 ข้อ
การตัดกิ่งควรตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออก
3.
นำกิ่งมะลิปักชำลงในแปลงชำ ให้มีระยะระหว่างแถวและกิ่ง 2x2 นิ้ว
รดน้ำและสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่
4.
หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้ย้ายลงปลูกในถุงขนาด 2x3 นิ้ว
โดยใส่ดิน+ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1
จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก
การปลูก
นิยม
ปลูกในช่วงฤดูฝน เดือน มิถุนายน-กรกฎาคมขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50
ซม. ใส่ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1
พร้อมทั้งเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ
1 กำมือ คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน
จึงนำต้นมะลิลงปลูก
การดูแลรักษาการ
ให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง
ระวังอย่าให้น้ำขังการใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3
ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม
การตัดแต่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
1.โรครากเน่า
2.โรคแอนแทรกโนส
3.โรครากปม
4.หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ
5.หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยไฟ
การเก็บเกี่ยว
เก็บดอกตูม ที่โตเต็มที่ สีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง ควรเก็บดอกเวลาเช้ามืด 03.00-04-00 น.
หมาย
เหตุ : การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว หลังจากเด็ดดอกมะลิจากแปลงแล้วบรรจุ
จะต้องลดอุณหภูมิดอก
โดยบรรจุดอกในถุงพลาสติกลงในกล่องโฟมที่ปูพื้นกล่องด้วยน้ำแข็งเกล็ด
แล้วปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
จากนั้นจึงค่อยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ส่งให้ผู้รวบรวม
งบประมาณการลงทุนและผลตอบแทน
รายการลงทุน
มูลค่าการลงทุน
ปริมาณผลผลิต
มูลค่าผลผลิต
ผลกำไร
- ค่าเตรียมดิน
4,950
1,866
93,300
ราคาเฉลี่ยตลอดปี กก.ละ 50 บาท
55,700
- ค่าต้นพันธุ์
6,600
- ค่าปุ๋ยเคมี
4,800
- สารเคมีควบคุมศัตรูพืช
7,200
- สารเคมีกำจัดวัชพืช
3,600
- วัสดุอุปกรณ์ในการบรรจุ
11,050
รวม
37,600
1,866
93,300
55,700
เทคนิคการบังคับมะลิให้ออกดอกในฤดูหนาว
เนื่องจากในฤดูหนาวมะลิจะออกดอกน้อย แต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณสูง
จึงทำให้มะลิมีราคาสูงกว่าปกติ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกใน
ฤดูหนาวได้ก็จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว
การตัดแต่งกิ่ง โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำลาย และกิ่งเลื้อย วิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธีคือ
1. แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย
เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ
เหมาะกับมะลิที่มีอายุน้อยต้นมะลิที่ยังไม่ได้ตัดแต่งกิ่งตัดแต่งแบบเหลือ
กิ่งไว้ยาว
2.
แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือ 3-4 กิ่ง
แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต เหมาะกับมะลิอายุ 2
ปีขึ้นไปต้นมะลิอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป
ตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้สั้น
มะลิช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอกจนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6
สัปดาห์ ดังนั้นถ้าต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด
ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ ฉะนั้น
เมื่องต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง
คือ ช่วงเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน
การบำรุงรักษาต้นและดอก
1. การบำรุงต้น หลังตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น ใส่เดือนละครั้ง
2. การบำรุงดอก ฤดูหนาวมะลิออกดอกน้อยและมีขนาดเล็ก
ควรใส่ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น 52-5-4 อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20
ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ในฤดูหนาวเท่านั้น
ฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ
เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงไม้คุ้มค่าการลงทุน
การใช้สารไทโอยูเรีย

สารไทโอยูเรีย มีผลต่อการชักนำให้มะลิดออกดอก จากการวิจัยพบว่า
สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ
และเร่งการออกดอกในฤดูหนาวของมะลิ จะออกดอกหลังพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ
20 วัน เก็บดอกได้นาน 1 เดือน และการให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง
ร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้น
ขั้นตอนการปฏิบัติ
ตัด
แต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายนให้ปุ๋ยและน้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ใช้สูตร
15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น ในเดือนกันยายนและตุลาคม
พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร)
ในเดือนพฤศจิกายน
ดอกมะลิที่ได้จะมีขนาดเล็ก
จึงมีการทดลองเพื่อเพิ่มขนาดดอก พบว่าถ้าฉีดพ่นสารละลายน้ำตาลซูโครส 1%
ผสมกับฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (GA3) 0.1 ppM ให้ทั่วต้นในระยะที่ดอกมีขนาดยาว 2
มม. ทุก 3 วัน จะทำให้ดอกมะลิมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่อาจจะพบปัญหาเกิดราดำที่ใบ
จึงควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราร่วมด้วย
จากการปฏิบัติดังกล่าวมะลิจะออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาสูง
การใช้สมุนไพรควบคุมศัตรูพืช
เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในดอก
มะลิ จึงได้ใช้สารสะเดาในการควบคุมหนอนเจาะดอกมะลิเพลี้ยไฟ และตั๊กแตน
ซึ่งมีวิธีการใช้สารดังนี้
ใช้สารสะเดาบดอบแห้ง จำนวน 5
กิโลกรัม ผสมกับแอลกอฮอล์ 3 ลิตร หมักทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง
เพื่อให้แอลกอฮอล์สกัดสารอาซาดิแรคติน ออกมาจากสะเดาให้มากที่สุด
จากนั้นเติมน้ำ 5 ลิตร ลงไปแล้วใส่ภาชนะมีฝาปิด หมักทิ้งไว้ 2 วัน
คนทุกวัน เมื่อครบกำหนดแล้วคั้นเอาน้ำเก็บไว้ในแกลลอน
แล้วเอากากสะเดามาผสมแบบเดิมใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทำเช่นเดิมแล้วคั้นเอาน้ำมารวมกับน้ำครั้งแรกไว้ฉีดพ่น โดยใช้น้ำไว้ฉีดพ่น
ในอัตราน้ำสารสะเดาหมัก 100 ซี.ซี. ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วัน
สามารถที่จะควบคุมศัตรูพืชดังกล่าวได้อย่างดียิ่ง
มะลิซ้อน มะลิลา มะลิจันทบูร มะลิฉัตร
เรียบเรียงโดย
นางนววรรณ ทองคนทา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ