หญ้าเนเปียร์ รายได้เสริม
“หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ไม่ต่างอะไรกับสาวงามซ่อนตัวอยู่ในป่า ที่อยู่มาวันหนึ่งกระทรวงพลังงาน สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาพบเจอเข้า ถึงได้รู้ มีสรรพคุณรอบตัว เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ ทำเป็นพืชพลังงานก็ดี” บ้านอะลาง
น.สพ.ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปรียบเทียบที่มาของหญ้าเนเปียร์ ที่กำลังได้รับความสนใจ สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตร กรปีละ 3,500-6,000 บาท/ไร่ และผลิตเป็นพลัง งานหมุนเวียนได้
แม้คนไทยจะเห็นเป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่เยอรมันทำสำเร็จมาแล้ว ใช้หญ้าชนิดนี้ผลิตไฟฟ้ากว่า 7,000 เมกะวัตต์ ในเมื่อบ้านเรามีพื้นที่สภาพภูมิอากาศเหมาะสมกว่าเยอรมัน ...ทำไมไทยแลนด์ถึงจะทำไม่ได้ทำมาแล้ว ตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพนำร่องที่เชียงใหม่ พบว่ามีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพ 6,860-7,840 ลบ.ม./ไร่/ปี นำไปผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) คุณภาพระดับเดียวกับ NGV ได้ 3,118-3,563 กก./ปี พร้อมกับนำไปใช้กับฟาร์ม โคนมต้นแบบ จังหวัดลำพูน ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นฟาร์มโคนมดีที่สุดในเอเชียไปด้วย
สำหรับที่มาของ “เนเปียร์ปากช่อง 1” เริ่มจากกรมปศุสัตว์ได้เอาหญ้าเนเปียร์ยักษ์จากไต้หวันมาผสมข้ามพันธุ์กับหญ้าไข่มุกของไทย ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เลยตั้งชื่อหญ้าพันธุ์ใหม่ว่า “เนเปียร์ปากช่อง 1” แรกคิดทดลองตั้งเป้าแค่จะเอาไปปลูกบำบัดน้ำเสียจากโรงงานมันสำปะหลังแล้วตัดต้นมาใช้เลี้ยงสัตว์...หวังได้ประโยชน์แบบ 2 อิน 1 เท่านั้นเองแต่เมื่อเอามาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร ปรากฏว่ามีสารอาหารครบถ้วนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง และสัตว์ก็ชอบเป็นพิเศษ กรอบอร่อยกินแล้วไม่มีขนทำให้คันปาก...คนปลูกก็ชอบ เข้าไปตัดต้นแล้วไม่คันตัวปลูกได้ทุกพื้นที่ทั่วไทย ปลูก 60 วัน ตัดเอาไปเลี้ยงสัตว์ได้ ให้ผลผลิต 12–15 ตันต่อไร่ ที่สำคัญ ลงท่อนพันธุ์ปลูก เก็บเกี่ยวได้ปีละ 5–6 ครั้งตัดแล้วแตกต้นอยู่นาน 8–9 ปี ถึงจะลงมือปลูกต้นใหม่
ต้นทุนปลูกต่ำเก็บผลประโยชน์ได้นาน กรมปศุสัตว์จึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไว้ใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะแกะ รวมทั้งช้างที่เพิ่งจะมารู้จักกินทีหลัง พร้อมกันนั้นนักวิจัยไม่หยุดนิ่งยังต่อยอดศึกษาไปถึงเรื่องพลังงาน เก็บข้อมูลเปรียบเทียบกับหญ้าชนิดอื่นๆพืชอาหารสัตว์ไม่ว่าพันธุ์ไหนล้วนทาบไม่ติดเนเปียร์ เพราะให้ก๊าซมีเทนสูงกว่า...และพลันที่ข้อมูลนี้รู้ถึงกระทรวงพลังงาน “เนเปียร์ปากช่อง 1” เลยถูกจับสวมมงกุฎนางงามพลังงานสีเขียวแบบไม่ตั้งใจ.
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานเสวนาหัวข้อวิกฤตไฟฟ้า-วิกฤตพลังงาน เรื่องจริงหรืออิงมายา จัดโดยศูนย์ข้อมูลและสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ ) ว่า กระทรวงพลังงานควรปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี)โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพราะต้นทุนมีแนวโน้มต่ำลง โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุน 5-6 บาทต่อหน่วยลดลงจากในอดีตที่มีต้นทุน 16 บาทต่อหน่วย ซึ่งต้นทุนปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา ( Roof top ) ยังมีศักยภาพ หากติดตั้งเพียงแค่ 1 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 2 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2,000 เมกะวัตต์
"แผนพีดีพีสามารถปรับปรุงได้ตลอด จึงควรเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าไปให้มากขึ้น แต่ไม่ควรเพิ่มการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้พิสูจน์ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลหญ้าเนเปียร์ " นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กับกระทรวงพลังงาน 600 ราย กำลังผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการพิจารณาอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีอุปสรรคจากกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม หากทั้ง 2 หน่วยงานไม่เป็นอุปสรรค จะทำให้มีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เข้าระบบประมาณ 1,000 เมกะวัตต์
"กระทรวงพลังงานกำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้ที่ 2,000 เมกะวัตต์ ทำให้มีการกำหนดโควตาปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนอุปสรรคจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นขั้นตอนการออกใบอนุญาตโรงงาน (รง.4) ทั้งที่ในอดีตไม่เคยมีปัญหาเวลาไปขอใบอนุญาตโรงงาน "
ด้านนางชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าและพลังงาน กล่าวว่า สังคมไม่ได้คัดค้านโรงไฟฟ้าแต่ต้องการธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เห็นจากปัญหาไฟฟ้าในเดือน เม.ย.2556 ที่เกิดจากการบริหารไม่ดี โดยผู้เกี่ยวข้องรู้อยู่แล้วว่าพม่าจะหยุดจ่ายก๊าซฯในช่วงดังกล่าวแต่ไม่มีการเตรียมการ ทำให้สถานการณ์เหมือนมีวิกฤตพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในวันที่เริ่มหยุดจ่ายก๊าซฯจริงนั้น โรงไฟฟ้าโรงใดที่ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ เพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
สำหรับการประมูล รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ไอพีพี) รอบใหม่นั้น ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะรับรู้และไม่ล็อกสเปก เพื่อให้มีโอกาสเกิดการลงทุนผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งอาจจะต้องมีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ลดต้นทุนด้านสายส่งลงได้ และให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น และทำให้ไม่ต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์
สำหรับโครงการวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงานดำเนินการโดย พพ. มีเป้าหมายในช่วง 10 ปี (2556-2565) รวมกำลังผลิต 10,000 เมกะวัตต์ กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ จะมีการปลูกพืชพลังงาน 800-1,000 ไร่ ที่จะได้รับเงินอุดหนุนที่ 3,000 บาท/ไร่ เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนมากขึ้น
นอกจากนี้ ในแต่ละโครงการยังได้เงินอุดหนุนแบบให้เปล่ากับเกษตรกรในรูปของวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ และยังกำหนดโครงสร้าง Feed in tariff ที่อัตรา 4.50 บาท/หน่วย ตลอดอายุสัญญา
เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี สายพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ หญ้าเนเปียร์แคระ (P. purpureum cv. Mott) หญ้าเนเปียร์ (ธรรมดา) และหญ้าเนเปียร์ลูกผสม (P. Purpureum x P. americanum)ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าเนเปียร์ยักษ์ และหญ้าบาน่า หญ้าเนเปียร์แคระสูง 1-2 เมตร แตกกอดี ใบมาก ส่วนหญ้าเนเปียร์ธรรมดา และเนเปียร์ลูกผสมสูง 3-4 เมตร ทุกสายพันธุ์เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงเหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 3.0-4.0 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 8–10 เปอร์เซ็นต์
การปลูกหญ้าเนเปียร์
ปลูกได้ด้วยท่อนพันธุ์ ระยะปลูก 75x75 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 2 ท่อน ให้ข้ออยู่ใต้ดินลึก 1-2 นิ้ว ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ 300-500 กิโลกรัม
การใส่ปุ๋ย
ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังการตัดทุกครั้ง
การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชภายหลังจากปลูกหญ้า 2-4 สัปดาห์
การใช้ประโยชน์
การตัดหญ้าเนเปียร์ไปเลี้ยงสัตว์ ควรตัดครั้งแรก 60-70 วันหลังปลูก และตัดหญ้าครั้งต่อไปทุก 30-45 วัน ช่วงฤดูฝนหญ้าโตเร็ว อาจตัดอายุน้อยกว่า 30 วัน โดยตัดชิดดิน หญ้าเนเปียร์เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ ในรูปหญ้าสด หรือหญ้าหมัก ไม่เหมาะสำหรับทำหญ้าแห้ง
“หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ไม่ต่างอะไรกับสาวงามซ่อนตัวอยู่ในป่า ที่อยู่มาวันหนึ่งกระทรวงพลังงาน สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาพบเจอเข้า ถึงได้รู้ มีสรรพคุณรอบตัว เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ ทำเป็นพืชพลังงานก็ดี” บ้านอะลาง
น.สพ.ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปรียบเทียบที่มาของหญ้าเนเปียร์ ที่กำลังได้รับความสนใจ สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตร กรปีละ 3,500-6,000 บาท/ไร่ และผลิตเป็นพลัง งานหมุนเวียนได้
แม้คนไทยจะเห็นเป็นเรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่เยอรมันทำสำเร็จมาแล้ว ใช้หญ้าชนิดนี้ผลิตไฟฟ้ากว่า 7,000 เมกะวัตต์ ในเมื่อบ้านเรามีพื้นที่สภาพภูมิอากาศเหมาะสมกว่าเยอรมัน ...ทำไมไทยแลนด์ถึงจะทำไม่ได้ทำมาแล้ว ตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพนำร่องที่เชียงใหม่ พบว่ามีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพ 6,860-7,840 ลบ.ม./ไร่/ปี นำไปผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) คุณภาพระดับเดียวกับ NGV ได้ 3,118-3,563 กก./ปี พร้อมกับนำไปใช้กับฟาร์ม โคนมต้นแบบ จังหวัดลำพูน ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นฟาร์มโคนมดีที่สุดในเอเชียไปด้วย
สำหรับที่มาของ “เนเปียร์ปากช่อง 1” เริ่มจากกรมปศุสัตว์ได้เอาหญ้าเนเปียร์ยักษ์จากไต้หวันมาผสมข้ามพันธุ์กับหญ้าไข่มุกของไทย ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เลยตั้งชื่อหญ้าพันธุ์ใหม่ว่า “เนเปียร์ปากช่อง 1” แรกคิดทดลองตั้งเป้าแค่จะเอาไปปลูกบำบัดน้ำเสียจากโรงงานมันสำปะหลังแล้วตัดต้นมาใช้เลี้ยงสัตว์...หวังได้ประโยชน์แบบ 2 อิน 1 เท่านั้นเองแต่เมื่อเอามาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร ปรากฏว่ามีสารอาหารครบถ้วนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง และสัตว์ก็ชอบเป็นพิเศษ กรอบอร่อยกินแล้วไม่มีขนทำให้คันปาก...คนปลูกก็ชอบ เข้าไปตัดต้นแล้วไม่คันตัวปลูกได้ทุกพื้นที่ทั่วไทย ปลูก 60 วัน ตัดเอาไปเลี้ยงสัตว์ได้ ให้ผลผลิต 12–15 ตันต่อไร่ ที่สำคัญ ลงท่อนพันธุ์ปลูก เก็บเกี่ยวได้ปีละ 5–6 ครั้งตัดแล้วแตกต้นอยู่นาน 8–9 ปี ถึงจะลงมือปลูกต้นใหม่
ต้นทุนปลูกต่ำเก็บผลประโยชน์ได้นาน กรมปศุสัตว์จึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไว้ใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ แพะแกะ รวมทั้งช้างที่เพิ่งจะมารู้จักกินทีหลัง พร้อมกันนั้นนักวิจัยไม่หยุดนิ่งยังต่อยอดศึกษาไปถึงเรื่องพลังงาน เก็บข้อมูลเปรียบเทียบกับหญ้าชนิดอื่นๆพืชอาหารสัตว์ไม่ว่าพันธุ์ไหนล้วนทาบไม่ติดเนเปียร์ เพราะให้ก๊าซมีเทนสูงกว่า...และพลันที่ข้อมูลนี้รู้ถึงกระทรวงพลังงาน “เนเปียร์ปากช่อง 1” เลยถูกจับสวมมงกุฎนางงามพลังงานสีเขียวแบบไม่ตั้งใจ.
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานเสวนาหัวข้อวิกฤตไฟฟ้า-วิกฤตพลังงาน เรื่องจริงหรืออิงมายา จัดโดยศูนย์ข้อมูลและสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ ) ว่า กระทรวงพลังงานควรปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี)โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพราะต้นทุนมีแนวโน้มต่ำลง โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุน 5-6 บาทต่อหน่วยลดลงจากในอดีตที่มีต้นทุน 16 บาทต่อหน่วย ซึ่งต้นทุนปัจจุบันอยู่ในระดับใกล้เคียงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา ( Roof top ) ยังมีศักยภาพ หากติดตั้งเพียงแค่ 1 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 2 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2,000 เมกะวัตต์
"แผนพีดีพีสามารถปรับปรุงได้ตลอด จึงควรเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าไปให้มากขึ้น แต่ไม่ควรเพิ่มการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้พิสูจน์ เช่น การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลหญ้าเนเปียร์ " นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กับกระทรวงพลังงาน 600 ราย กำลังผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการพิจารณาอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีอุปสรรคจากกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม หากทั้ง 2 หน่วยงานไม่เป็นอุปสรรค จะทำให้มีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เข้าระบบประมาณ 1,000 เมกะวัตต์
"กระทรวงพลังงานกำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไว้ที่ 2,000 เมกะวัตต์ ทำให้มีการกำหนดโควตาปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนอุปสรรคจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นขั้นตอนการออกใบอนุญาตโรงงาน (รง.4) ทั้งที่ในอดีตไม่เคยมีปัญหาเวลาไปขอใบอนุญาตโรงงาน "
ด้านนางชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าและพลังงาน กล่าวว่า สังคมไม่ได้คัดค้านโรงไฟฟ้าแต่ต้องการธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า เห็นจากปัญหาไฟฟ้าในเดือน เม.ย.2556 ที่เกิดจากการบริหารไม่ดี โดยผู้เกี่ยวข้องรู้อยู่แล้วว่าพม่าจะหยุดจ่ายก๊าซฯในช่วงดังกล่าวแต่ไม่มีการเตรียมการ ทำให้สถานการณ์เหมือนมีวิกฤตพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในวันที่เริ่มหยุดจ่ายก๊าซฯจริงนั้น โรงไฟฟ้าโรงใดที่ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ เพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
สำหรับการประมูล รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ไอพีพี) รอบใหม่นั้น ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะรับรู้และไม่ล็อกสเปก เพื่อให้มีโอกาสเกิดการลงทุนผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งอาจจะต้องมีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ลดต้นทุนด้านสายส่งลงได้ และให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น และทำให้ไม่ต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์
สำหรับโครงการวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงานดำเนินการโดย พพ. มีเป้าหมายในช่วง 10 ปี (2556-2565) รวมกำลังผลิต 10,000 เมกะวัตต์ กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ จะมีการปลูกพืชพลังงาน 800-1,000 ไร่ ที่จะได้รับเงินอุดหนุนที่ 3,000 บาท/ไร่ เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนมากขึ้น
นอกจากนี้ ในแต่ละโครงการยังได้เงินอุดหนุนแบบให้เปล่ากับเกษตรกรในรูปของวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ และยังกำหนดโครงสร้าง Feed in tariff ที่อัตรา 4.50 บาท/หน่วย ตลอดอายุสัญญา
เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี สายพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ หญ้าเนเปียร์แคระ (P. purpureum cv. Mott) หญ้าเนเปียร์ (ธรรมดา) และหญ้าเนเปียร์ลูกผสม (P. Purpureum x P. americanum)ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าเนเปียร์ยักษ์ และหญ้าบาน่า หญ้าเนเปียร์แคระสูง 1-2 เมตร แตกกอดี ใบมาก ส่วนหญ้าเนเปียร์ธรรมดา และเนเปียร์ลูกผสมสูง 3-4 เมตร ทุกสายพันธุ์เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงเหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 3.0-4.0 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 8–10 เปอร์เซ็นต์
การปลูกหญ้าเนเปียร์
ปลูกได้ด้วยท่อนพันธุ์ ระยะปลูก 75x75 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 2 ท่อน ให้ข้ออยู่ใต้ดินลึก 1-2 นิ้ว ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ 300-500 กิโลกรัม
การใส่ปุ๋ย
ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังการตัดทุกครั้ง
การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชภายหลังจากปลูกหญ้า 2-4 สัปดาห์
การใช้ประโยชน์
การตัดหญ้าเนเปียร์ไปเลี้ยงสัตว์ ควรตัดครั้งแรก 60-70 วันหลังปลูก และตัดหญ้าครั้งต่อไปทุก 30-45 วัน ช่วงฤดูฝนหญ้าโตเร็ว อาจตัดอายุน้อยกว่า 30 วัน โดยตัดชิดดิน หญ้าเนเปียร์เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ ในรูปหญ้าสด หรือหญ้าหมัก ไม่เหมาะสำหรับทำหญ้าแห้ง