การเลี้ยงกบ



การเลี้ยงกบ 1.
การ เลี้ยงกบ ปัจจุบันเป็นที่สนใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีตลาดต่างประเทศที่ต้องการสินค้ากบเปิดกว้างมากขึ้น กบนาที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรเมืองไทยจึงมีโอกาสส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศ มากขึ้น ขณะเดียวกันปริมาณกบที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงทุกที ๆ เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของมันถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช การใช้ยากำจัดวัชพืช กำจัดปูนา ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำลายพันธุ์กบในธรรมชาติให้หมดสิ้นไป แหละนี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ จังหวัดเพชรบุรีทำการศึกษาการเลี้ยงกบนาในบ่อดินขึ้น


การเลี้ยงกบนาใน บ่อดิน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ พัฒนา มาจากบ่อของชาวบ้าน โดยมีพื้นที่ขนาด 4.0 x6.0 ตารางเมตร ขุดแอ่งน้ำตรงกลางขนาด 2.0 x3.0 ตารางเมตร มีความลึก 50 ซม. ก่อล้อมขอบบ่อด้วยอิฐบล็อกสูง 1 เมตร ต่อด้วยตาข่ายไนลอนด้านบน ไม่มีหลังคาคลุมแต่ปลูกร่มไม้ให้ร่มเงา พันธุ์กบนำมาจากเกษตรกรที่เก็บรวบรวมลูกพันธุ์จากธรรมชาติในจังหวัดจันทบุรี และฉะเชิงเทรา เลี้ยงด้วยอาหารประเภท ปลาเป็ดสับละเอียดสำหรับลูกกบเล็กวางบนกระดานลอยน้ำให้ 2 เวลาเช้าและเย็น กบใหญ่ให้ปลาเป็ดสับเป็นชิ้นขนาด 1 นิ้ว วางบนกระดานลอยน้ำ โดยให้ 2 เวลาเช้าและเย็น กบมีการเจริญเติบโตดี โดยใช้เวลาเลี้ยงเป็นกบเนื้อ 5-6 เดือน พ่อแม่พันธุ์ใช้เวลาเลี้ยง 12-14 เดือน

ซึ่งจากการ ศึกษาพบว่าการเลือกสถานที่ที่จะสร้างคอกกบหรือบ่อเลี้ยงกบนั้นควรเป็นที่ที่ อยู่ใกล้บ้านสะดวกต่อการดูแลรักษาและป้องกันศัตรู เป็นที่สูงที่ดอนเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอกใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มที่และโตเร็ว

สถาน ที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องอยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมาก โดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้เหมือนสัตว์อื่น ๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว

กบที่เหมาะสม จะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3.4 กิโลกรัมจะได้เนื้อกบ 1 กิโลกรัม ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ



ลักษณะ ของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และ ส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือกบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่อง เสียงดังกล่าว กบตัวเมียก็ร้องเช่นกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสี เหลืองอ่อนหรือมีสีเหลือง ที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมีย ถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย

ปัจจุบัน กบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ตลาดต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศโดย ต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ มีการสั่งเข้าปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนไม่น้อย สำหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงช่วงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลด ปัญหาด้านราคาตกต่ำได้


อย่าง ไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตาม ธรรมชาติของกบลดลง ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในบ่อในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู่ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการตลาด และราคาก็ดีมีผลคุ้มค่าต่อการลงทุน สามารถส่งเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งการศึกษาแนวทางการเลี้ยงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี นับเป็นอีกหนึ่งของวิทยาการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรในพื้นที่ใกล้ เคียงนำไปปฏิบัติใช้เพื่อสร้างอาชีพและการมีอาหารโปรตีนภายในครัวเรือนเพื่อ บริโภคอย่างพอเพียงอีกด้วย.


การเลี้ยงกบ2 
พันธุ์กบ
กบ ที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ สำหรับผู้ที่สนใจควรเสาะ่หาพันธุ์เพี่อนำมาเลี้ยงกันหลาย ๆ ชนิด พันธุ์กบที่จะแน ะนำต่อไปนี้สามารถเลี้ยงได้ในเมืองไทย ซึ่งมีทั้ง กบพันธุ์พื้นเมือง และกบจากต่างประเทศที่มีคุณสมบัติเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศในบ้านเรา ดังต่อไปนี้

1 . กบนา ( Rana tigerina Daudin)
เป็น กบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม ผิวมีสีน้ำตาลปนเขียว อาจจะแตกต่างกันบ้างตามแหล่งที่ อยู่อาศัย ลักษณะโดยทั่วๆ ไปสังเกตุได้คือ ขาหน้าสั้นอยู่ระหว่างไหล่กับตา ปุ่มกระดูกเท้าล่างไม่แหลมคม มีสีคล้ำและมีลายพาดสีจาง ๆ ตรงริมฝีปาก ใต้คางอาจมีจุดหรือลายริ้วตรงคอหอย ด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล มีจุดสีดำเป็นจำนวนมาก

2. กบนา (Rana rugulosa Wiegmann)
เป็น กบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประ่มาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ผิวสีน้ำตาลปนดำ อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามแหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปที่สังเกตุได้คือ ขาหน้าและขาหลังมีขนาดยาวปานกลาง ส่วนนิ้วมีแผ่นหนัง ระหว่างนิ้วเกือบสุดปลาย ปลายนิ้วไม่มีแผ่นยึดเกาะ ปลายนิ้วเท้ามีปุ่มเล็กน้อย ไม่มีปุ่มที่กระดูก ฝ่าเท้า ด้านหลังมีแถบสีดำขาดเป็นตอน ๆ ประมาณ 10 แถว ขอบในดวงตาแคบกว่าเปลือก ตาบน บริเวณหัวและลำตัวส่วนหลังมีสีน้ำตาล ขามีลายพาดขวาง มีสีน้ำตาลตลอด ใต้ดางมีจุดเด่นสีเทา

3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer)
เป็น กับพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดปรมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง ตามแหล่งอาศัย ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตุได้คือ ปลายนิ้วโป้งนิ้วขาหน้าแยกออกจากกัน ผิวหนังด้านข้างไม่นูนโป่ง ไม่ม็ถุงลม ไม่มีแผ่นหนังที่นิ้วขาหน้าอันแรก ซึ่งยาวกว่านิ้วอันที่สอง แก้วหูห่างจากตาเป็นระยะทาง มากกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของตา กบเพศผู้จะมีเขี้ยวออกจากขากรรไกรล่างยืนยาว ส่วนเพศเมียจะสั้นกว่า มีตาโต ในบางท้องที่อาจมีเส้นพาดกลางหลัง จากริมฝีปากถึงส่วนก้น บางแหล่งไม่มี ที่ขามีลายพาดสีน้ำตาลเข้มตลอด ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือดำ ใต้คาง ใต้ท้องมีสีขาว-เหลือง ริมฝีปากบนและล่างมีจุดสีดำ พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้

4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show)
เป็น กบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้ว ลำตัวกว้าง ส่วนหัวสีเขียว ส่วนหลังมีสีน้ำตาลเขียว ส่วนท้องมีสีขาวเหลือง ผิวหนังขรุขระมีปุ่มขนาดเล็กๆ อยู่ที่ส่วนหลัง ไม่มีสันข้างตัวแต่จะมีสันตรงด้านหลังของแก้วหู ที่ขามีจุดสีน้ำตาลประปราย บางท้องที่อาจมีสีคล้ำหรือดำ
พันธุ์กบโดยทั่วไปนั้น ขนาดที่เหมาะสมส่าหรับการผสมพันธุ์คือ มีน้ำหนัก 300-700 กรัม อายุ 12-16 เดือนขึ้นไป โดยมีไข่แก่และน้ำเชื้อดี


การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กบ
พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ
1. มีสภาพสมบูรณ์ในระบบการผสมพันธุ์
2. มีอัตราการเติบโตปกติสม่ำเสมอ
3. เลี้ยงบำรุงด้วยอาหารอย่างดี
4. ไม่ควรได้รับการกระทบกระเทือนที่รุนแรง
5. ไม่มีบาดแผลตามลำตัว
6. ไม่มีโรคและพยาธิเบียดเบียน
7. มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์
8. มีอายุถึงขั้นสมบูรณ์เพศ

การแยกเพศกบ
1. ขนาดลำตัว กบเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบเพศเมีย เมื่อเลี้ยงไว้พร้อมกันหรือรุ่นเดียวกันจะสังเกตได้ง่าย
2. กล่องเสียง กบเพศผู้จะมีกล่องเสียงเป็นแผ่นกลม ๆ อยู่ใต้คางทั้งสองข้าง
3.ส่วน ท้องกบเพศเมียมีดวามกว้างของลำตัวมากกว่ากบเพศผู้และเมี่อถึงฤดูกาลผสม พันธุ์กบเพศเมียจะมีท้องโป่งตลอดเวลา เนื่องมาจากการ เจริญเติบโตของรังไข่
4.สีในฤดูกาลผสมพันธุ์กบเพศผู้จะมีสีเหลืองเข้มหรือเหลืองประปรายตรงบริเวณริมฝีปากล่างลงมาจนถึงใต้คาง
5.บริเวณ นิ้วโป้งในฤดูผสมพันธุ์บริเวณนิ้วโป้งของกบเพศผู้จะมปุ่มหยาบๆเกิดขึ้นอย่าง เด่นชัดชึ่งจะช่วยให้จับเกาะบนผิวตัวเมียได้แน่นและปุ่ม เหล่านี้จะหายไปจนกว่าจะถึงฤดูกาลผสมพันธุ์ใหม่

สภาวะแวดล้อมกับการผสมพันธุ์กบ
ใน ธรรมฮาติกบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูฝน กบจะวางไข่ในบริเวณที่ มีน้ำตื้น มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นพอสมควร ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการ ผสมพันธุ์ของกบได้แก่
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และการวางไข่ของ กบต้องไม่ต่ำกว่า 25 องศาเชลเชียส และ่ไม่ควรมีอุณหภูมิที่สูงเกินไป โดยปกติ อุณหภูมิในประเทศไทยจะมีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว
2. แสงสว่าง เมี่อกบไข่แล้วหากแสงสว่างไม่เพียงพอ แม่กบจะ่ไม่ ยอมผละจากไข่จะยังคงเฝ้าและดูแลไข่ของตน และในกรณีของการฟักไข่ ไข่ที่อยู่ในที่ร่มแสงแดดส่องไม่ถึงก็จะไม่ค่อยฟักออกเป็นตัวเช่นกัน
3. ความชื้น โดยสัญชาตญาณกบจะไม่วางไข่ในที่แล้ง กบจะไข่ ภายหลังฝนตาหรือระหว่างที่ฝนตก ดังนั้นในการกระตุ้นให้กบผสมพันธุ์และ วางไข่โดยวิธีการฉีดโปรยให้เหมือนกับมีฝนตก จะช่วยให้กบผสมพันธุ์และ วางไข่ดีขั้น
4. หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 2-3 วัน ไข่กบที่จมอยู่ก้นบ่อก็จะค่อยๆลอยขึ้นพร้อม ๆ กัน มีวุ้นหุ้มโดยรอบ เพื่อช่วยปัองกันความร้อน และช่วยรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมกับาารฟักเป็นตัว และยังช่วยปัองกันมิให้เชื้อโรดเข้าทำลายไข่ ทั้งยังทำให้ไข่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนอีกด้วย


การฟักไข่
การฟักไข่มีขั้นตอนปฎิบัติดังนี้
1. ทำความสะอาดบ่อฟักไข่ โดยใช้ฟอร์มาลีน 38-40 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 30 ชีชี ต่อน้ำ 1000 ลิตร ราดให้ทั่วบ่อ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เสร็จแล้วใช้น้ำสะอาดล้างทำ ความสะอาดให้หมดกลิ่น
2. เติมน้ำสะอาดให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร
3. ใส่พันธุ์โม้นำ เช่น ผักบุ้ง สาหร่าย และไม้น้ำชนิดอื้น ๆ ในบ่อฟักไข่ให้กระจาย สม่ำเสมอพอประมาณ
4. รวบรวมไข่กบทีได้ปล่อยลงในบ่อ บ่อขนาด 18-25 ตารางเมตร จะจุไข่กบได้ ประมาณ 5,000 - 7,000 ฟอง
5. เพิ่มออกซิเจนด้วยเครื่องอัดอากาศตลอดเวลา
6. ถ่ายน้ำทุก ๆ วัน ๆ ละครื่งหนื่งของบ่อ

การเตรียมสถานที่เลี้ยงกบ
บ่อและการสร้างบ่อ
1.บ่อ เลี้ยงกบควรจะสร้างด้วยคอนกรีต หรือวัสคุอี่น ๆ ที่มีความแข็งแรงพอสมควร สามารถป้องกันไม่ให้กบหนี และป้องกันศัตรูจากภายนอกไม่ให้เข้าไปทำลายกบได้ บ่อเลี้ยง กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ1. บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ส่วนบ่อกลม ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เมตร
2. บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำชานบ่อทางด้านกว้างทั้ง 2 ด้านให้ชานบ่อยาว 30 เชนติเมตร กว้าง 1.5 เมตร โดยให้ชานลาดเอียงสู่กลางบ่อ ส่วนทางด้านยาวทำ ลาดเอียงสู่ท่อระบายน้ำ ส่าหรับบ่อกลมพื้นบ่อควรลาดเอียงสู่จุดศูนย์กลางของบ่อซึ่งเป็น ที่ระบายน้ำทิ้ง มีดวามลึกประมาณ 12 เชนติเมตร
3. คันบ่อ ควรสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และกั้นด้วยตาข่ายเพื่อป้องกัน กบกระโดดออกจากบ่อเลี้ยงคาคลุมบ่อสร้างจากทางมะพร้าว
4. หลังคา ควรมีหลังคาคลุมบ่อเลี้ยงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเนื้อที่บ่อ หลังคาจะช่วยบดบังแสงแดดและป้องกันมิให้กบตกใจด้วย
สำหรับ การสร้างบ่อเลียงกบด้วยคอนกรีตนั้น หลังจากการสร้างบ่อเสร็จน้ำในบ่อ จะมีสภาพเป็นด่างมาก ยังไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงกบ ให้แก้ไขโดยใช้สารส้มหนัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำนบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ทิ์งไว้ 3-4 วัน จึงถ่ายน้ำทิ้งแล้วขัดให้สะอาดด้วยแปรง ตากบ่อให้แห้งเติมน้ำใหม่ลงไปก็เริ่มใช้เลี้ยงกบได้ ข้อควรระวังดืออย่าตากบ่อคอนกรีต ไว้นานจะทำให้บ่อแตกร้าวได้

 การผสมพันธุ์กบ
1. การผสมพันธุ์ในฤดูผสมพันธ์
ส่วน มากในคืนแรกหรือคืนที่ 2 หลัจงจากฝนตก กบจะทำการผสมพันธุ์ วางไข่แต่ อาจยึดเยื้อไปได้อีก โดยจะผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฝนตกประมาณ 5-7 วัน เมื่อเลือกกบ ที่มีลักษณะดีแล้วให้นำมาปล่อยในบ่อผสมพันธุ์ในอัตราตัวผู้ 2 ตัวต่อตัวเมีย 10 ตัว (ตัวผู้กับตัวเมียมีขนาดเท่ากัน) ระดับน้ำในบ่อลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ภายในบ่อ ใส่พวกสาหร่ายลงไปด้วยพอประมาณ รักษาระตับน้ำให้คงที่ตลอดเวลา ในช่วงนี้งดให้ อาหารประมาณ 2-3 วัน ถ้ายังไม่มีฝนตกให้เปลี่ยนน้ำใหม่และอาจพ่นน้ำในบ่อผสมพันธุ์ ไห้เหมือนกับฝนตก หลังจากนันกบก็จะผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาเช้ามืด
2. การผสมพันธุ์นอกฤดู
ได้ มีผู้คิดค้นและทดลองปฎิบัติกันหลายวิธี เช่น เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งจะเติมน้ำจนเต็ม บ่อเลี้ยงกบ และฉีดน้ำให้กบชุ่มชื้นอย่างน้อย 2 วันต่อครั้ง แล้วถ่ายน้ำออกปล่อยให้บ่อแห้ง ประมาณ 2-3 วัน เมื่อบ่อแห้งดีแล้วจีงทำการคลุมหลังคาให้ร่มครึ้มอย่างเดิมอีกครั้ง หลังจาก นั้นฉีดน้ำให้บ่อกบชุ่มชื้น 6-7 วันติดต่อกัน แล้วฉีดน้ำต่ออีก 15 นาที สังเกตว่าในตอน กลางคืนกบจะร้อง พอเช้าให้ฉีดน้ำในตอนเที่ยงและบ่ายครั้งละครี่งธั่วโมง หลังจากนั้นใน เวลาประมาณ 4 นาฬิกาถึง 5 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น กบก็จะจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นก็จะแยกกันไปหลบในที่อาศัย ผู้เลี้ยงก็จะสามารถจับพ่อและแม่พันธุ์คืนสู่บ่อเลี้ยงเดิมได้
กรณี ดังกล่าวนีค่อนข้างยุ่งยาก ทางที่ดีควรแยกเลี้ยงพ่อและะแม่พันธุ์กบ เมื่อ ต้องการจะเพาะก็คัดพ่อพันธุ์กบที่มีน้ำเชื้อดีและแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่ลงบ่อ เพาะที่เตรียมไว้ดัง ได้กล่าวแล้วข้างต้น กบจะผสมพันธุ์วางไข่ในคืนแรกหรือคืนที่ 2 ถ้ากบไม่วางไข่จะต้อง เปลี่ยนน้ำใหม่อีกครั้ง กบอาจผสมพันธุ์วางไข่ได้ แต่ถ้ากบยังไม่วางไข่ก็ต้อูปลี่ยนพ่อและ แม่พันธุ์ไหม่

วิธีเลี้ยงกบ
การเลี้ยงกบในปัจจุบัน ลูกกบที่นำมาเลี้ยงได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ลูกกบจากธรรมชาติ
เป็นการรวบรวกบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อ จนกระทั่งได้ขนาดก็จับขาย ามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
    1.1 การรรวบรวมลูกอ๊อดและการอนุบาล ทำการรรวบรวมไข่กบที่ผสมแล้ว จากแหล่งน้ำธรรมชาติมาพาะฟักและอนุบาลในบ่อที่เตรียมไว้ หรืออาจช้อนลูกอ็อดถบที่พบเห็น อยู่ตามธรรมชาติมาเลี้ยงล หรือโดยการจับพ่อแม่พันธุ์กบ ในช่วงต้นฤดูฝนมาเลี้ยงในบ่อเพื่อ ให่ผสมพันธุ์กันและออกไข่ในบ่อเลี้ยง ป็นต้น
อุปสรรดส่าคัญของการจับ ลูกอ๊อดมาเลี้ยงก็คือ มักจะมีลูกอ๊อดของเขียด หรือคางคกปะปนมาด้วยผู้จับจึงต้องมีความรู้และความชำนาญในการเลือก ข้อสังเกตุง่าย ๆ คือ หัวลูกอ๊อตเขียดจะแหลมกว่าหัวลูกอ๊อดกบ ขนาดตัวก็เล็กกว่ารวมทั้งลายที่หลังและเส้นขาวที่พาด ตามลำตัวก็ไม่เหมือนกัน สีที่ด้านหลังและส่วนท้องก็แตกต่างกัน และถึงแม้จะเป็นลูกอ็อดกบ แต่กบก็มีหลายชนิด เช่น กบบัว ชี่งมีขนาดโตเต็มที่เพียงแค่ 15 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของผู้เลี้ยง
การรวบรวมลูกกบจากธรรมชาติเพื่อนำมาเลี้ยงมีหลายวิธีเช่น
  1.1.1 การจับด้วยมือเปล่าโดยใช้ไฟฉายหรือตะเกียงส่องแล้วใช้มือตะปบ จับใส่ถุงผ้าที่สะพายติดตัวไป
  1.1.2 การจับด้วยแห จะใช้แหที่มีตาถี่ ทอดเหวี่ยงโดยวิธีเดียวกับการจับปลา
  1.1.3 การจับด้วยการขุดหลุมดัก ทำหลุมลึกประมาณ 1 เมตรในบริเวณ ที่มีลูกกบชุกชุม ก้นหลุมวางอาหารผสมหรืออาหารหมักล่อไว์ในตอนเย็น ปากหลุมราดน้ำให้ เปียกชุ่มปรับให้เรียบและลื่นเป็นมัน ลูกกบจะมากินอาหารในตอนกลางคืนแล้วไม่สามารถขึ้น จากหลุมได้ ในตอนเช้าจึงมารวบรวมลูกกบ อย่าปล่อยทิ้งไว้ข้ามวันลูกกบจะมีโอกาสตายได้มาก
  1.1.4 การจับด้วยเครื่องมือดัก คล้ายไชดักปลา ด้านหน้ามีทางเข้าทางเดียว ด้านท้ายมีประตูเปิดปิดได้ เมื้อลูกกบเข้าแล้วจะออกไม่ได้ เมื่อต้องการจะใช้งานนำเครื่องมือนี้็ ให้ฝังดินให้พื้นล่างเสมอกับผิวดิน ปิดด้วยหญ้า ราดน้ำพอชุ่ม ด้านหน้าปรับผิวดินให้ลื่น ภายใน เครื้องมือดักใส่อาหารล่อ ลูกกบจะเข้าไปกินอาหารในตอนกลางคืน ตอนเช้าจึงรวบรวมลูกกบที่ได้
  1.2 การเลี้ยงลูกกบ ภายหลังจากลูกอ๊อดเจริญกลายเป็นกบแล้ว จะดำเนินการ อนุบาลจนกระทั่งเติบโตได้ขนาดจึงปล่อยลงบ่อเลี้ยง ลูกกบที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยงนี้นิยมลูกกบ ที่มีขนาด 3-5 เชนติเมตรขี้นไป หรือถ้ารวบรวมจากธรรมชาติก็ต้องมีขนาดที่ทราบแน่นอนแล้ว ว่าเป็นลูกกบ

2.ลูกกบจากโรงเพาะฟัก
เป็น วิธีการเลี้ยงที่ดีที่สุด เพราะจะได้ผลผลิตมากและแน่นอน นอกจากนี้ต้นทุนยังต่ำ สามารถลดปัญหาการบอบช้ำจากการลำเลียงลูกกบจากธรรมชาติได้อีกด้วย วิธีนี้ลูกกบจะได้มา โดยการนำเอาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีมาผสมกันในบ่อผสมพันธุ์ แลัวนำไข่ท็่ได้มาฟ้กใน บ่อเพาะฟกเพื้อให์ไดัลูกกบ แล้วจึงนำไปอนุบาลต่อในภายหลัง
การอนุบาลลูกกบ
1. การอนุบาลลูกกบระยะแรก (ลูกอ๊อด)
 ให้ปฎิบัติดังนี้
1.1 หลังจากไข่กบฟักออกมาเป็นตัวแล้วลูกกบจะมีลักษณะเหมือนลูกปลาให้รีบช้อน ลูกกบมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะแรกก่อนที่ถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวลูก กบจะยุบหมด ส่าหรับจำนวนลูกกบที่จะปล่อยนั้นประมาณ 2,000 ตัวต่อตารางเมตร
1.2 การให้อาหาร ได้แก่ไรแดงและอาหารปลาอย่างผงหรือไข่ตุ๋น ซึ่งควรเตรียมไว้ ก่อนในบ่อ พอถุงไข่แดงยุบลูกกบก็สามารถกินอาหารได้เลย
1.3 การถ่ายเทน้ำ ควรกระทำทุกวัน วันละ 50-70 เปอร์เช็นต์ของจำนวนน้ำในบ่อทั้งหมด
1.4 ควรให้อากาศกับน้ำด้วยเพื้อให้น้ำมีสภาพสะอาดจะทำให้ลูกกบกินอาหารได้มาก และเจริญเติบโตเร็ว
1.5 การเจริญเติบโตของลูกกบ หลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะมีขาหลัง 2 ขาโผล่ออกมาจากส่วนท้ายของลำตัวบริเวณโคนขา เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่ก็จะมี ขาหน้าโผล่ออกมาอีกทั้ง 2 ข้างของช่องเหงือกทางด้านหน้าของลำตัว หางจะเริ่มหดสั้นลง ปากจะเริ่มสมบูรณ์ขึ้น สามารถขึ้นกินอาหารได้เช่นเดียวกับกบตัวโต ซึ่งระยะเวลาในการเจริญ เติบโตนี้จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 25-35 วัน จากลูกอ๊อดมาเป็นกบเล็ก
2. การอนุบาลลูกกบระยะพี่สอง (กบเล็ก)
หลังจากลูกกบมีขาครบสมบูรณ์ดีแล้ว ให้ย้ายลูกกบไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะที่สอง เพื่อมิให้ลูกกบกัดกินกันเอง มีหลักปฎิบัติดังนี้คือ
2.1 การให้อาหาร ลูกกบที่มีขาสมบูรณ์ จะเริ่มกินอาหารที่เคลือนไหวได้ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา หนอนแมลงขนาดเล็ก แต่ถ้าไม่สามารถหาอาหารดังกล่าวได้ก็ให้อาหารพวกเครื้องในสับ เศษปลาสับหรือให้อาหารผสมด้วยโดยค่อย ๆ หัดให้ลูกกบกินและควรหัดให้ลูกกบกินอาหารที่หา ได้ง่ายและมีปริมาณที่แน่นอนเช่น อาหารเม็ด
2.2 การถ่ายเทน้ำ อาหารที่ให้จะทำให้น้ำเสีย ควรเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพี่อปัองกันน้ำเสีย การรักษาคุณภาพของน้ำให้ดีอยู่เสมอ จะมีส่วนช่วยให้กบมีสุขภาพสมบูรณ์ ลูกกบระยะสองนี้ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ควรคัดกบที่มีขนาดโตกว่านำไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงได้ เพราะลูกกบมีขนาดต่างกันหรือมีปริมาณหนาแน่นเกินไปก็จะกัดกินกันเอง

อาหารและการให้อาหาร
1.ชนิดของอาหาร
ชนิดของอาหารและวิธีการให้ แบ่งตามระยะเวลากวรเจริญเติบโตของกบ ดังนี้คือ
  1.1 อาหารธรรมชาติ ได้แก่ไรแดงและแพสงค์ตอน จะให้ลูกอ๊อดหลังจากถุง ไข่แดงยุบและให้กินอาหารเหล่านี้ประมาณ 1-2 อาทิตย์
  1.2 อาหารส่าเร็จ ได้แก่ไข่แดง เนื้อปลาต้มสุก ผักกาดขาวลวกพอให้สุก ไข่ตุ๋น เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารเสริมอาหารธรรมชาติต้องอาศัยการฝึกให้ลูกกบรู้จักกินอาหารพวก นี้ เพราะระยะแรกลูกอ๊อดจะไม่กินอาหาร
  1.3 อาหารเป็นหรืออาหารที่ยังมีชีวิต ได้แก่หนอนและแมลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาหาร ที่ลูกกบเล็กและกบโตชอบ
  1.4 อาหารผสม ได้แก่การนำอาหารต่าง ๆ มาผสมให้เข้ากัน โดยใช้เครื่องผสมอาหาร หรือจะใช้อาหารผสมอัดเม็ดเหมือนกับอาหารปลาก็ได้ อาหารที่ใช้ควรมีโปรตีนประมาณ 30-40 เปอร์เชนต์ ชนิดและขนาดของอาหารผสมควรมีความสัมพันธ์กับขนาดของลูกกบด้วย ดังนี้
ขนาดของกบ (เซนติเมตร)  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของอาหาร (มิลลิมตร) ขนาดความยาวอาหาร (เซนติเมตร)
1.0-2.5  1.5-2.0  0.5 
2.5-5.0  2.0-4.0  1.0-1.5 
7.5-10.0  8.0-10.0 1.5 
มากกว่า 10.0  10.0  ไม่จำกัด

2. การเตรียมอาหาร
อาหารชนิดต่าง ๆ ที่ใช้เลี้ยงกบมีวิธีเตรียมดังนี้
  2.1 ไรแดง การเพาะไรแดงเพี่อให้เป็นอาหารของลูกกบหลังจากลูกกบเป็นตัวใหม่ ๆ นั้นจะเพาะไรแดงในบ่ออนุบาลเลย เมื่อถุงอาหารของลูกอ๊อดยุบตัว ลูกอ๊อดจะสามารถกินไรแดง เป็นอาหารได้เลย
วิธ็เพาะไรแดงทำได้ดังนี้คือ
  2.1.1 ใส่น้ำลงในบ่อให้มีความลึกประมาณ 20 เชนติเมตร
  2.1.2 ใส่ส่วนผสมดังต่อไปนี้ลงในบ่อ
ขี้วัวแห้ง 2.4 กิโลารัม (3 ลิตร)
รำละเอียด 800 กรัม ุ
ยูเรีย 10 กรัม (3- 4 ช้อนชา)
น้ำ 1 ตัน
  2.1.3 หลังจากใส่ส่วนผสมลงไปในบ่อ 3 .5 วัน น้ำจะเริ่มมีสีเขียว ให์ไส่หัวเชื้อ ไรแดงลงไปประมาณ 3-4 วัน ก็จะเกิดไรแดงส่าหรับเป็นอาหารของลูกอ๊อด และถ้าต้องการให้มี ไรแดงในบ่ออีกให้เติมรำละเอียดอีก 1/4 ลิตรต่อน้ำ 1000 ลิตร
  2.2 ไข่แดงต้มสุก นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วใส่กระชอนตาละเอียด ขยี้หลาย ๆ ครั้งให้ ไข่แดงเป็นฝอยเล็ก ๆ โรยลงใส่บ่อให้ลูกอ๊อดกินได้ แต่ระวังอย่าให้ไข่แดงมาก เพราะไข่แดงที่เหลือ จะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
  2.3 เนื้อปลาต้มสุก นำเนื้อปลาที่ต้มสุกแล้วใส่กระชอนตาละเอียด ขยี่หลาย ๆ ครั้ง ให้ได้เนื้อปลาเป็นฝอยเล็ก ๆ นำไปโรยลงในบ่อให้ลูกอ๊อด
  2.4 ผักกาดขาว ลวกใบผักกาดขาวพอสุก วางไว้ชายบ่อให้ลูกอ๊อดกิน ใบผักกาดที่เหลือนี้ ต้องเก็บทิ้งทุกวันป้องกันน้ำเสีย
  2.5 ไข่ตุ๋น : ใช้ส่วนผสมดังนี้
ไข่ (ทั้งไข่แดงและไข่ขาว) 2 ส่วน
นมผงส่าหรับเด็กหรือนมสด 2 ส่วน
น้ำสะอาด 1 ส่วน
ผสม ให้เข้ากันดีแล้วนึ่งในลังถึงให้น้ำเดือดประมาณ 15-20 นาที เมื้อสุกแล้วปล่อย ทิ้งไว้ไห้เย็นแล้วนำมาขยี้ในกระชอนผ้าตาถี่ ๆ นำส่วนที่ได้ไปให้ลูกอ็อดกินเป็นอาหาร
  2.6 หนอน ตัวหนอนชนิดต่าง ๆ ที่จะใช้เป็นอาหารลูกกบนั้น จะเริ่มให้เมื่อลูกกบเคลื้อนตัว ขี้นสู่บกได้แล้ว วิธีการเพาะหนอนมีหลายวิธีคือ
  2.6.1 ใช้ปลา นำปลาดิบ ๆ มาใส่ในอวนที่มีรูขนาดที่หนอนสามารถลอดได้ แล้วนำ ไปแขวนในบ่อเลี้ยง แมลงวันจะมาตอมและวางไข่ เกิดเป็นหนอนแมลงวันขึ้น ตัวหนอนจะตกลงสู่พื้นน้ำ กบก็จะกินเป็นอาหาร
  2.6.2 ใช้มูลสตว์ เช่น มูลวัว มูลควาย มูลหมู หากมีปลาเน่าก็ผสมลงไปด้วย เอาใส่ลงในกะบะไม้ที่มีขอบไม่สูงนักพอที่หนอนคลานแล้วตกลฒาได้ นำกะบะไปวางไว้เหนือบ่อ เมื่อเกิดตัวหนอนก็จะคลานขึ้นมาที่ขอบกะบะและตกลงไปในบ่อ
  2.7 แมลง แมลงชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารอย่างดีของกบ วิธีล่อแมลงให้นำหลดไฟนีออนขนาด 40 วัตต์ แขวนไว้ห่างจากพื้นบ่อประมาณ 50-100 เชนติเมตร ในเวลากลางคืนจึงเปิดไฟล่อแมลง เมื่อแมลงมาเล่นไฟจะตกลงไปในบ่อกลายเป็นอาหารของกบ
ชนิดอาหาร  กิโลกรัม
  1. ปลาป่นอัดน้ำมัน  56 
  2. รำละเอียด  12 
  3. กากถั่วเหลือง  12 
  4. แป้งเหนียว  14 
  5. น้ำมันปลา  4 
  6. วิตามิน + แร่ธาตุ  1.6 
  7. สารเหนียว  0.4 
รวม  100.00
  2.8 อาหารผสมอัดเม็ด อาหารผสมแบบอัดเม็ดเป็นอาหารที่สะดวกในการใช้ การเก็บรักษา มีปริมาณและคุณค่าอาหารที่แน่นอน การเตรีอมอาหารผสมจะเตรียมจากวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ นำมาผสม กันตามสูตร อาหารผสมนี้ลูกกบจะไม่ค่อยคุ้นเคยต้องหัดให้กินโดยในระยะแรกอาจจะผสมปลาเป็ด ให้ มากไว้ก่อนแล้วค่อยๆ ลดปลาเป็ดลงจนเหลือแต่อาหารผสมล้วน ๆ

โรคและวิธีป้องกันรักษา
การ ที่กบที่เลี้ยงไว้เป็นโรคต่าง ๆ นัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความสกปรกของบ่อ การจัดการและดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้กบมีสภาพอ่อนแอ หรือในกรณีที่กบไม่มีบาดแผล อาจเกิดจากอาหารสกปรกก็ได้ เมื่อผ่าอวัยวะภายในพบว่าถุงน้ำดีมีสีเขียวเข้มถึงน้ำเงินแก่ ไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ลำไส้เล็กส่วนท้ายเกิดการตกเลือด ปอดมีตุ่มหนอง วิธีการบำบัด ให์ไช้ยาออกซิเตทตราไชคลีน 3 กรัมต่ออาหารกบ 1 กิโลกรัม ให้กบกินทุกมื้อประมาณ 3-7 วัน กบก็จะหายเป็นปกติ น้ำที่ใช้เลี้ยงกบควรอยู่ไนช่วงสภาพความเป็นกรดด่าง (พีเอช) ประมาณ 6.5-8.5 ในวันที่ฝนตกหนักหรืออุณหภูมิเปลี่ยนอย่างรวดเร็วร่างกายของกบจะ ปรับตัวไม่ทัน อาจตายได์ในวันรุ่งขี้นอย่างน้อย 1 ตัวเสมอ ในช่วงฝนตกจึงควรสร้างหลังคา หรือใชผาใบคลุมบ่อ หรือปรับอุณหภูมิในบ่อเลี้ยงให้คงที่
เมื่อกบเล็กอายุ 1 เดือน ควรมีการถ่ายพยาธิโดยใส่ดีเกลือ 3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้เพียง 1 มื้อ ทำเดือนละครั้งจะทำให้กบเจริญเติบโตรวดเร็วต้านทานโรคได้ดีขึ้น
สิ่งส่าคัญในการป้องกันไม่ให้กบเกิดโรคคือ
1. รักษาความสะอาดของบ่อเลี้ยง
2. อย่าเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป
3. เปลี่ยนน้ำในบ่อบ่อย ๆ หรืออย่างน้อยทุกวัน
4. อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนสูงและเป็นอาหารที่กบชอบ
5. มีการจัดการที่เหมาะสม

การจับและการตลาด
1. การจับ
การจับกบทำได้หลายวิธี เช่น
  1.1 โดยใช้สวิงคลุมกันกบกระโดดหนี แล้วทยอยจับจนหมด
  1.2 โดยใช้ไซ ใช้ไซดักบนลานบ่อ กบจะเข้าไชในเวลากลางคืน ตอนเช้าจึงเลือกกบ ที่ได้ขนาดออกจำหน่าย

2. การลำเลียง
ก่อน การบรรจุกบเพื่อลำเลียงจำหน่าย ควรให้กบอดอาหารเสียก่อน จะช่วยลด อัตราการตายได้มาก ลำเลียงโดยใช้กล่องกระดาษเจาะรูด้านข้างและด้านบนให้มีขนาดพอที่อากาศ ผ่านได้ ภายในบรรจุกบช้อนกันไม่เกิน 2 ชั้น ปิดฝามัดให้แน่น ในระหว่างการลำเลียงควรรักษา อุณหภูมิ หรือใช้รถปรับอากาศ และควรมีฟองน้ำชุบน้ำพอชื้นใส่ลงรวมกับกบด้วย