หอยหวาน


หอยหวาน หรือบางท้องถิ่นเรียกว่าหอยตุ๊กแก ที่พบมากในประเทศมี 2 ชนิด คือ บาบิโลเนียอารีโอลาตา
(Babylonia areolata)  และบาบิโลเนียสไปราต้า  (Babylonia spirata)   ชนิดแรกเป็นชนิดที่มีผู้นิยมบริโภคมากกว่า หอยหวานเป็นสัตว์น้ำที่มีราคาค่อนข้างแพง ตามท้องตลาดทั่วไปราคากิโลกรัมละ 120-200 บ.

            ปัจจุบันสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดชลบุรี   สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี,ศูนย์พัฒนาประมงทะเลฯ  ต.บ้านเพ จ.ระยอง  และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง ต.ตะพง จ.ระยอง รวมทั้งภาคเอกชนบางรายได้พยายามเพาะขยายพันธุ์หอยชนิดนี้ให้มีมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณลูกหอยมากเพียงพอและลดต้นทุนการผลิตลูกหอยหวาน เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้สนใจเลี้ยงหอยชนิดนี้เป็นการค้าต่อไป

หลักเกณฑ์การคัดเลือกสถานที่
             สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงหอยหวานนั้นเป็นเงื่อนไขที่สำคัญเบื้องต้น ของความสำเร็จในการดำเนินการ โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้
            1. พื้นที่ที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับทะเล หรือเป็นเกาะอยู่ห่างจากทะเลไม่มากนัก สามารถนำน้ำทะเลมาใช้ได้สะดวกและ เพียงพอ ต้นทุนน้ำจะได้ไม่แพงมากนักไม่ควรอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ หรือลำคลองขนาดใหญ่ที่มีน้ำจืดไหลลงมาจำนวนมากในฤดูฝน เพราะอาจจะเกิดปัญหาความเค็มของน้ำลดลงรวดเร็ว ซึ่งจะมีผล

ต่ออัตราการตายของหอย
            2. น้ำทะเลที่จะใช้เลี้ยงหอยหวานควรมีความเค็มใอยู่ในช่วง 28 – 35 พีพีที หอยหวานอาจจะเจริญเติบโตช้าลง และหากมีความเค็มต่ำกว่า 20 พีพีที หอยบางส่วนจะเริ่มตายลง
            3. สถานที่ที่จะใช้เลี้ยงหอยหวาน ควรตั้งอยู่ใกล้ภัตตาคาร โรงแรม และร้านอาหารประเภทต่างๆ หากอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวก็ย่งดี   เพราะจะได้จำหน่ายผลผลิตหอยหวานได้สะดวกยิ่งขึ้น
           4. สถานที่สำหรับใช้เลี้ยงหอยหวาน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้โรงงานหรือแหล่งมลพิษต่างๆ ที่จะเป็นสาเหตุให้น้ำทะเลที่จะนำมาใช้เลี้ยงหอยหวานเกิดความสกปรก  น้ำไม่ใสสะอาดเท่าที่ควร อาจมีเชื้อโรคหรืสารพิษปนเปื้อน หอยที่เลี้ยงไว้เกิดโรคต่างๆ ตายได้
            5. แหล่งเลี้ยงหอยหวาน ควรอยู่ใกล้แหล่งอาหารที่จะใช้เลี้ยงหอยหวาน เช่น เนื้อปลา เนื้อหอยแมลงภู่ ทำให้ต้นทุนอาหาร มีราคาถูกไม่เสียค่าขนส่งแพง มีอาหารให้หอยกินอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ

การเตรียมบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง
            บ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงหอยหวานนั้นมีหลายรูปแบบเป็นเหลี่ยมหรือ รูปร่างกลม   แต่ต้องมีระบบที่จะทำให้สามารถถ่ายน้ำได้สะดวก  อาจเป็นบ่อคอนกรีต บ่อผ้าใบ หรือถังไฟเบอร์กลาสที่มีรูปร่างทรงกลม มีท่อน้ำล้น  และทางน้ำเข้าออกสะดวก มีระบบให้อากาศในปริมาณที่พอเพียง พื้นก้นบ่อหรือก้นถังดังกล่าวควรจัดให้มีทรายรองพื้นภาชนะ เริ่มจากการใช้ทรายละเอียด หากลูกหอยยังมีขนาดเล็ก ปริมาณทรายที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมากนัก ให้ทรายมีความหนาพอท่วมตัวหอยที่เลี้ยงก็เพียงพอแล้ว ในกรณีที่ผู้เลี้ยงไม่ประสงค์ใช้ทรายรองพื้นก้นบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงก็ ประสงค์พอทำได้ โดยที่ผู้เลี้ยงต้องหมั่นเช็ดถูพื้นผิวบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงให้สม่ำเสมอ มากยิ่งขึ้นทั้งนี้เพื่อเป็นการกำจัดเมือกและสิ่งสกปรกจากมูลหอยรวมทั้ง อาหารหอยที่เหลือตกค้างซึ่งมักจะเกิดขึ้นเสมอ

นอกจากนี้ แล้วผู้เลี้ยงยังควรตรวจวัดปริมาณออกซิเจน ค่าแอมโมเนีย ไนไทรต์ และไนเตรด เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงไม่ควรมีขนาดใหญ่มากนัก ควรเป็นขนาดที่สะดวกกับการระวังดูแลรักษาความสะอาดบ่อที่มีขนาดเส้นฝ่าศูนย์ กลาง 1 เมตร  ก็น่าจะใช้ได้ดีแต่ต้องมีผิวภาชนะที่ราบเรียบ ไม่ขรุขระซึ่งอาจจะเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่างๆ ได้ ควรทำการพรางแสง  เพื่อไม่ให้แสงสว่างส่องตัวหอยมากนัก แสงสว่างที่มากเกินไปนอกจากเป็นการรบกวนหอยที่เลี้ยงแล้วยังเป็นการกระตุ้น ให้แพลงตอนและสาหร่ายที่อยู่ในบ่อเกิดการสังเคราะห์แสง เกิดสาหร่ายสีเขียวจำนวนมากเกาะที่ก้นบ่อและผนังบ่อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำเสียและเปลือกหอยที่เลี้ยงก็จะมีสาหร่ายและสิ่งปน เปื้อนเกาะติด ทำให้ดูสกปรกและไม่สะอาด เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

น้ำ ที่ใช้เลี้ยงหอยหวานในบ่อหรือภาชนะต้องเป็นน้ำที่ใสสะอาด ไม่มีตะกอนแขวนลอย หากมีอยู่มากน้ำจะขุ่นตะกอนขนาดเล็กเหล่านี้ไปเกาะที่เหงือกภายในตัวหอย ทำให้หอยตายได้และน้ำที่ใช้เลี้ยงหอยก็ควรมีความเค็มในรอบปีไม่แตกต่างกัน มากนัก ขนาดความลึกของน้ำในบ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงไม่จำเป็นต้องลึกมากนัก ขนาดความลึกประมาณ 40 ซม. ก็ใช้ได้แล้ว ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดและความหนาแน่นของหอยที่นำมาเลี้ยงรวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ด้วย

ขนาดและอัตราการปล่อย
          เนื่องจากปัจจุบันมีผู้สนใจที่จะเลี้ยงหอยหวานมากขึ้น  ในขณะที่หน่วยราชการและเอกชนยังไม่สามารถผลิตลูกพันธุ์หอยชนิดนี้ได้เพียงพอ กับความต้องการของผู้ที่สนใจจะนำไปทดลองเลี้ยง อย่างไรก็ตามหน่วยงานของกรมประมงก็พยายามค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาการเพาะขยายพันธุ์หอยหวานชนิดนี้ หากสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ด้วยตนเอง ก็สามารถลดต้นทุนที่เป็นลูกพันธุ์หอยลงได้มาก  ขนาดลูกหอยหวานที่เหมาะสมจะนำไปเลี้ยงนั้น อย่างน้อยควรมีความยาวเปลือกตั้งแต่ 0.5 ซม ขึ้นไป ถ้าจะให้ได้ผลดีควรมีความยาวเปลือกตั้งแต่ 1 ซม. หากนำลูกหอยดังกล่าวไปเลี้ยงก็จะมีอัตราการรอดตายค่อนข้างสูง   อัตราการปล่อยลูกหอย ขนาดความยาวเปลือก 1 – 1.5 ซม.   ที่เหมาะสมควรปล่อยประมาณ 300 – 500 ตัวต่อพื้นที่ก้นบ่อ  1 ตารางเมตร อย่างไรก็ตาม อัตราปล่อยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการจัดการเรื่องการเลี้ยงและการดูแล รักษาที่ดีผู้เลี้ยงก็สามารถที่จะปล่อยลูกหอยลงเลี้ยงในบ่อได้หนาแน่นเพิ่ม ขึ้น

อาหารและการให้อาหาร
          โดยธรรมชาติของหอยหวานที่คืบคลานบนพื้นทะเล จะชอบกินอาหารประเภทเนื้อเป็นหลัก หากนำลูกหอยหวานมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถเลี้ยงด้วยเนื้อปลา เนื้อหอยแมลงภู่ เนื้อหอยกะพง รวมทั้งอาหารเม็ดกุ้งทะลและอาหารผสมอื่นๆทั้งนี้ขึ้นกับความสะดวกในการจัด ซื้อจัดหาและราคาของอาหารชนิดนั้นๆ ปัจจุบันพบว่าการใช้เนื้อหอยแมลงภู่เลี้ยงหอยหวาน หอยหวานจะมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าการใช้เนื้อปลา  การให้อาหารขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่จะให้และขนาดของลูกหอยหวานที่เลี้ยง หากใช้เนื้อปลาควรใช้เนื้อปลาที่ราคาไม่แพงนัก เช่นเนื้อปลาข้างเหลือง หรือปลาเบญจพรรณอื่นๆ ทำการแล่เอาเฉพาะเนื้อปลา  สับเป็นชิ้นๆใหญ่เล็กตามขนาดของหอยที่เลี้ยง   หากใช้เนื้อหอยแมลงภู่ควรซื้อหอยแมลงภู่ขนาดเล็กหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  หอยเป็ด มีขนาดความยาวเปลือกไม่เกิน 3 ซม.  ซึ่งชาวประมงผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่จะตัดหลักหอยขนาดเล็กนี้จำหน่ายในราคาถูกจะ ทำให้ต้นทุนค่าอาหารต่ำลง   หอยแมลงภู่และเนื้อปลาที่ใช้ควรมีความสะอาด   หากเป็นหอยแมลงภู่ก็ทำผ่าตัวหอยแล้วแบะให้ฝาหอยทั้งสองข้างอ้าออก  หอยหวานก็จะสามารถเข้ามาดูดกินเนื้อหอยแมลงภู่ได้สะดวก หากใช้อาหารชนิดอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็จำเป็นต้องดัดแปลงวิธีการให้อาหารให้เหมาะสมเป็นชนิด ไปปริมาณอาหารที่ให้ในกรณีที่ใช้เนื้อปลาเลี้ยงควรให้ 2 – 10 % ของน้ำหนักหอยหวานทั้งหมดที่เลี้ยงหากใช้เนื้อหอยแมลงภู่เลี้ยงก็ควรให้ 5 – 30 % ของน้ำหนักหอยทั้งหมดที่เลี้ยง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ จึงจำเป็นต้องปรับปริมาณอาหารที่ให้เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่ใช้เลี้ยงเหลือมากเกินไปหรือไม่เพียงพอ ปกติแล้วจะให้วันละ 2 ครั้งในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน โดยให้วันละ 2 – 3 ชั่วโมงหลังให้อาหารแล้วเก็บอาหารส่วนที่เหลือออกให้หมด

การดูแลรักษา
          การเลี้ยงหอยหวานในระดับที่มีความหนาแน่นมากนั้น จะมีเศษอาหารที่ให้และมูลหอยซึ่งเป็นอินทรีย์สารจำนวนหนึ่งเมื่อระบายน้ำ ซึ่งมีอินทรีย์สารเหล่านี้ลงทะเลก็จะเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทะล จึงไม่มีผลในทางลบกับสภาพแวดล้อมในทะเลแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นทำความสะอาดทรายรองพื้นหรือบ่อเลี้ยงเป็น ประจำ 3  วันครั้งหรือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติของน้ำที่ใช้เลี้ยงและสภาพพื้นทรายว่ามีสีดำและสกปรกมากหรือไม่ เพียงใด   หากพื้นทรายที่หอยอาศัยอยู่เกิดมีลักษณะคราบสีดำแผ่กว้างออกมากขึ้น   จำเป็นต้องจัดการทำความสะอาดที่รองพื้นดังกล่าวกรณีที่ตรวจพบว่าน้ำมีปริมาณ ออกซิเจนต่ำมาก และมีปริมาณแอมโมเนีย  ไนไทร์ตและไนเตรดค่อนข้างสูง   ผู้เลี้ยงต้องทำการปรับเปลี่ยนน้ำในบ่อเลี้ยงใหม่ หรือทำการปรับระบบให้น้ำที่ใช้เลี้ยงให้มีการไหลถ่ายเทมากขึ้นตามความจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่ใช้เลี้ยงคุณภาพเสื่อมและเสียเร็ว ผู้เลี้ยงควรเก็บอาหารที่ใช้เลี้ยงออกทุกครั้ง ควรทำการตรวจสอบประจำวันเกี่ยวกับระบบน้ำ  ระบบการให้อากาศ  และสภาพการเปลี่ยนความเค็มของน้ำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกะทันหันจะต้องเร่งแก้ไขทันที โดยเฉพาะในฤดูฝน  หากมีฝนตกมากน้ำฝนหลากไหลลงสู่ทะเลน้ำบริเวณชายฝั่งจะมีความเค็มลดลงมาก หากนำน้ำดังกล่าวมาใช้ในบ่อเลี้ยงจะส่งผลการกินอาหารของหอย อาจทำให้หอยโตช้าลงหรือตายได้   การตรวจสอบการเจริญเติบโตของหอยหวานในบ่อที่เลี้ยง ควรดำเนินการอย่างน้อยเดือนละครั้ง รวมทั้งการดำเนินการข้อสังเกตต่างๆ ของผู้เลี้ยง นำมาวิเคราะห์พิจารณาหาปัญหา หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข จะช่วยให้การเลี้ยงมีการพัฒนาและประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น

ต้นทุนและการผลิต
          ต้นทุนการเลี้ยงหอยหวานนั้นจะใช้ทุนมากในช่วงเริ่มต้น คือต้นทุนคงที่ ได้แก่  บ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง ถ้าหากมีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 5 ปีจะทำให้เกิดความคุ้มทุนได้  สำหรับต้นทุนผันแปรที่สำคัญที่ใช้เงินลงทุนมากก็คือ  ค่าลูกพันธุ์หอยหวานที่นำมาเลี้ยง รวมทั้งค่าอาหารที่ใช้ปัจจุบันราคาลูกพันธุ์หอยหวานขนาดที่มีความยาวเปลือก ประมาณ 0.5 ซม. นั้นราคาไม่แพงนัก  แต่ถ้าเป็นลูกพันธุ์หอยขนาดที่มีความยาวเปลือกถึง 1 ซม.อาจมีราคามากกว่า ตัวละ 1 บาท อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้นี้ ต้นทุนการผลิตลูกหอยจะต่ำลงมาก เนื่องจากกรมประมงและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนกำลังพัฒนาวิธีการเพาะและอนุบาลลูกหอยวัยอ่อนให้มีอัตรา รอดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่ำลง

เมื่อนำลูกหอยหวานขนาดดังกล่าวมาเลี้ยงเป็นเวลาประมาณ 5 – 6 เดือน จะมีอัตรารอดประมาณ 90 %
หอย จะมีนำหนักประมาณ 80 – 100 ตัว/กิโลกรัม โดยสามารถคัดขนาดและเริ่มจับจำหน่ายได้บ้างแล้ว หากตลาดต้องการหอยที่มีขนาดใหญ่ชึ้นก็สามารถเลี้ยงต่อจนกระทั่งหอยมีขนาด น้ำหนัก 40 -50 ตัว/กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคและราคาที่รับซื้อภายในประเทศรวม ทั้งราคารับซื้อเพื่อการส่งออกในขณะนั้น