จิ๊ดโป่ม



ชื่อพื้นเมือง จิดโป่ม จิ๊หล่อ (อีสาน)  จิ้งกุ่ง (เหนือ)  จิ้งโกร่ง (กลาง)
ชื่อสามัญ  Cricket
วิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus
ลำดับ(order )  Orthoptera
วงศ์  (Family)   Gyllidae
จิดโป่ม เป็นแมลงในวงศ์ จิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  แต่ครายังน้อย เคยเข้าใจว่า
เป็นสัตว์ในวงศ์ มดX supper one (พะนะ)  แต่นักวิทยาศาสตร์จัดมันอยู่ในประเภทเดียวกันกับ ตั๊กแตน
แรงดีดจากขาโต้ย (ต้นขา) แรงกว่าตั๊กแตน 2 เท่า ประมาณว่าหากมันเป็นมนุษย์
จะกระโดดไกลได้ 20 เมตร

ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตรไม่รวมรยางค์ที่ปลายท้องและปีกคู่หลังที่ยื่นยาวออกไป
ส่วนอกกว้างที่สุดประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว ทั้งสองเพศมีอวัยวะในการฟังเสียง
อยู่ที่โคน( tibia)ด้านนอกเป็นวงบุ๋มลงไป เพศผู้มีปีกคู่หน้าขรุขระซึ่งมีแผ่นที่ทำเสียงที่เรียกว่า ไฟล (file)
อยู่เกือบกึ่งกลางปีก และ สะแครบเปอร์ (scrapers) อยู่ที่มุมปีกด้านหลัง มีตุ่มทำเสียง (pegs) เรียงตัวกันอยู่ที่ขอบของแผ่นทั้งสอง

จิ๊ดโป่ม
มี จุดเด่นที่การร้องลำทำเพลง ทำให้เกิดเสียง เรียกว่าการ “ฮ้อง” แต่จริงๆ แล้วการเกิดเสียงจะเป็นการเสียดสีกันอย่างรวดเร็วโดยของปีกข้างหนึ่งเสียดสี กับ สะแครบเปอร์ของปีกอีกข้างหนึ่ง
อย่างรวดเร็ว เพศเมียไม่มีอวัยวะในการทำเสียงดังกล่าว ปีกจึงมีลักษณะเรียบ แต่ปลายท้องมีอวัยวะในการวางไข่รูปเข็มค่อนข้างยาวยื่นออกมาซางไม่พบในเพศ ผู้ แมลงชนิดนี้จัดเป็นอาหารเสริมรสเลิศของบางคนในชนบท โดยเฉพาะในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





วงจรชีวิต
โดยปกติ จิดโป่มมีอายุโดยเฉลี่ย  330 วัน  ตัวเมียอายุยืนกว่าตัวผู้   ตัวเมียตัวหนึ่ง วางไข่ได้
โดยเฉลี่ย  120 ฟองจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 87 วัน  หาอยู่หากิน 180 วัน ที่เหลือ
คือการ ทำรัง (ขุดรู) และสืบพันธุ์

การจับคู่ผสมพันธุ์
ตัวเต็มวัยอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน ( น้าหนาว ยามเกี่ยวข้าว )  โดยในช่วงนี้ จิดโป่ม
ตัวผู้จะทำฮัง หรือ ขุดรู เพื่อเตรียมวิมานน้อย ๆ  เมื่อเสร็จแล้ว ในตอนกลางคืนจะทำเสียงเพื่อเรียกตัวเมีย
เมื่อตัวเมียมาหา ตัวผู้จะเดินวนเวียนไปมารอบ ๆ ตัวเมีย มักพบการต่อสู้ของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมียอยู่เสมอ

พฤติกรรมการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในกลางคืน ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์จะตามหาตัวผู้จากนั้นจะซุกตัว
ที่ท้องตัวผู้ ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที จากนั้นตัวผู้จะอยู่นิ่งๆ และตัวเมียขึ้นไปอยู่บนหลัง
ตัว ผู้จะกระดกปลายส่วนท้องขึ้น ในขณะที่ตัวเมียโน้มอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะวางไข่เล็กน้อย ให้แนบกับถุงน้ำเชื้อของตัวผู้ ถุงน้ำเชื้อนี้มีลักษณะเป็นถุงใสๆ ถุงนี้จะมาติดอยู่ที่ปลายส่วนท้องของตัวเมียช่วงนี้ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที จากนั้นตัวผู้จะพักอยู่นิ่งประมาณ 5 - 10 นาที  แล้วพาตัวเมียเข้ารู

การ ผสมพันธ์ของ จิดโป่ม ตัวเมียจะอยู่ด้านบน เพราะฉะนั้น ภรรยาที่ชอบ ข่มเหง สามี แสดงว่า ชาติแต่ก่อนเคยเป็นจิ๊ดโป่มภาพจิดโป่มที่หาลักขุดนำคันนาพ่อใหญ่สี

การกินอาหาร
จิดโป่ม กินหญ้าและใบไม้และผลไม้พื้นเมืองเป็นอาหาร เช่นในทางภาคอีสาน จิโป่มจะกิน หญ้าปล้อง
ผักโขมผักกะแยง และหญ้าวัชพืชอื่นๆ เป็นอาหาร ในฤดูทำรัง วางไข่มักจะ สะสม ผลไม้ ดอกหญ้าอื่นๆ
ไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารในหน้าฝน จะสะสมลูกหว้า และผลไม้ลูกเล็ก ๆ ในรัง

ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์
จิดโป่มถือว่าเป็นตัวแปรในการ หมุนเวียนแหล่งธาตุอาหารในดิน และเป็นอาหารให้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
สัตว์เลื้อยคลานและ นก เป็นอาหารให้ กบเขียดอึ่งอ่าง ให้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ 
โบราณอีสานว่า หากถิ่นไหนจิดโป่ม สมบูรณ์ครอบครัวจะเป็นปึกแผ่น พี่น้องฮักกันสามัคคี 
ปลูกพืชระยะสั้นได้ผลดีแล  อีกทั้งยังเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น
ที่ไม่ต้องเสียภาษี ร้อยละ  7  หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่หวังกำไรไปเป็นทุนเล่นการเมือง
 

ความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตคนอีสาน
จิ ดโป่ม หรือ จิ้งโกร่ง เป็นอาหารของชาวอีสานในฤดูเก็บเกี่ยว น้ำในหนองคลองบึงเหลือน้อย แหล่งโปรตีนหายาก อาศัยแมลงชนิดนี้ เติมเต็มในส่วนที่พร่อง  เมื่อพ่อและแม่ ยากเวียกยากงาน เอื้อยและพี่น้องวัยไล่เลี่ยกันพากันถือเสียม และ คุ ลงท่ง ไปตามคันนา ท่งกว้าง ที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เพื่อ “ขุดจิโป่ม”  บ้างก็ถือ ขวดใส่น้ำ หรือ “กะตุง” เตรียมตัวไป ฮ่ายจิ๊ดโป่ม เป็นที่สนุกสนานคราจันทร์ทอแสงอับเฉา ในคืนเดือนแรม ก็ถือเอา ตะเกียงหรือ โคมไฟ  ไปไต้ จิ๊ดโป่ม คนธรรพ์แห่งทุ่งทุ่งนาเถาลำเนาไพร อลอึงด้วยเสียงเพรียกแห่งรัก ข้าวเหนียวจี่  กับ จิดโป่ม “จ่าม” ช่างโอชะ  เอื้อยป้อนจิ๊ดโป่มกับข้าวเหนียวให้น้อง พร้อมเช็ดขี้มูกให้   นั่งฟังนิทานที่พ่อเล่าเคล้ากลิ่นจำปาโรยร่ำ

จิ้งกุ่ง
จิ้งกุ่ง จิ้งโกร่ง หรือ จิโปม เป็นชื่อท้องถิ่นของจิ้งหรีดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus Lichtenstein อยู่ในวงศ์ Gryllidae อันดับ Orthoptera ลำตัวสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ตารวม (compound eye) ใหญ่มีสีน้ำตาลดำ ปากเป็นแบบปากกัดกิน มีกราม (mandible) ขนาดใหญ่ หนวดแบบเส้นด้าย (filifrom) มีลักษณะเป็นปล้องเล็กๆ ขาหลังเป็นแบบขากระโดดมีฟีเมอร์ (femur) ขนาดเล็บใหญ่ (claw) 2 อัน  ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน โดยตัวเมียมีผิวปีกคู่หน้าเรียบ แต่ของตัวผู้จะย่น ขรุขระอีกทั้งตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
 
จิ้งกุ่งเป็นแมลง ที่มีกิจกรรมต่างๆ ในตอนกลางคืน (noctural behavior) ในช่วงเวลากลางวันจิ้งกุ่งจะหลบอาศัยอยู่ในรูโดยไม่ออกมา จิ้งกุ่งขุดรูโดยการใช้ขาคู่หน้าขุดดินและใช้ส่วนหัวดันดินขึ้นมา รูจิ้งกุ่งยาวราว50 – 60 เซนติเมตร ปกติจะอาศัยอยู่บริเวณก้นรู รูละ 1 ตัว อาจจะพบจิ้งกุ่งรูละ 2 ตัวได้เช่นกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์  จิ้งกุ่งจะขึ้นมาจากรูเพื่อกินอาหารในช่วงกลางคืน มันจะกินเป็นใบพืชหลายชนิด  แต่มันมักจะชอบใบพืชที่มีรสชาดผาดอมเปรี้ยว อีกทั้งมักจะนำอาหารกลับลงไปเก็บไว้ในรู


ในฤดูผสมพันธุ์
ยาม ค่ำคืน ตัวผู้แสดงอาการเกี่ยวพาราสีตัวเมียด้วยการส่งเสียงร้องโดยการเสียดสีบริเวณ ด้านในของปีกคู่หน้าทั้งสองข้างที่มีอวัยวะคล้ายตะไบ (file) file ของปีกข้างขวาถูเข้ากับสันขอบปีก (scraper) ของปีกข้างซ้าย พร้อมกับเดินวนเวียนไปมา แล้วตัวเมียจะเดินไปหาตัวผู้ตามเสียง
ตัว เมียจะวางไข่ ช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน  โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ แต่จะวางใกล้ๆ กันเป็นกองๆ กองละประมาณ  30 - 40 ฟอง   3 - 4 ครั้ง ตลอดอายุของตัวเมียจะวางไข่ได้ราว 120-200  ฟอง ซึ่งเมื่อตัวเมียวางไข่เสร็จแล้ว จะมีอายุอีกประมาณ 20 วันจึงตาย มีอายุรวมราว 330 วัน ไข่มีลักษณะยาวรี  กว้างราว 1 มิลลิเมตร ยาวราว 4 มิลลิเมตร  มีลักษณะเป็นรูปวงรีคล้ายเม็ดข้าวสารสีเหลืองอ่อน เป็นมันวาว และจะเปลี่ยน เป็นสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัว ใช้เวลาฟักนานประมาณ  50-70  วัน ระยะตัวอ่อน (mymph)  ลอกคราบประมาณ 7 ครั้ง  ตัวอ่อนมีสีขาวใสและค่อยๆ มีสีเข้มเป็นสีน้ำตาลเมื่อโตเต็มวัย 

จิ้งกุ่งเป็นแมลงที่นิยมบริโภค  เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื้อมาก กินได้เกือบทั้งตัว มีโปรตีนสูงถึง 12 %  สามารถน้ำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น น้ำพริกนรก หรือนำไป ทอดกรอบ  ราคาขายปลีกในตลาดตกตัวละ 1.5 – 2.00 บาท และราคาขายส่งร้อยละ 150 –200 บาท  ช่วงที่จะพบและจับหาจิ้งกุ่ง คือ ช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน  ปัจจุบันสามารถหารับประทานได้เกือบตลอดปี เนื่องจากมีการเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น อย่างไรก็ตาม  พบว่าที่มีขายกันในตลาด เกือบทั้งหมดเป็นการหาจับจากธรรมชาติ  จึงเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า หากการขุดล่าเพื่อการค้า  ประกอบกับแหล่งอาหารตามธรรมชาติของจิ้งกุ่งถูกทำลาย  อาจทำให้ประชากรจิ้งกุ่งมีโอกาสจะลดน้อยหรือสูญหายไปได้