ข้าวโพดหวาน




เทคนิคการปลูกข้าวโพดหวาน
ให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักสดดี
นายไพศาล   หิรัญมาศสุวรรณ นักปรับปรุงพันธุ์พืช


พันธุ์ข้าวโพดหวาน
พันธุ์ ข้าวโพดหวานที่ใช้ปลูกควรเป็นข้าวโพดหวานลูกผสม  ในตลาดมีหลายพันธุ์ผลิตจากหลายบริษัทให้เลือก แต่พันธุ์ที่แนะนำคือพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง มีขนาดฝักใหญ่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณภาพฝักสดดีมาก รสชาติดี กลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ในทุกสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เพราะเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นโดยใช้เชื้อพันธุกรรมที่มีในประเทศ  ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างกว้างขวาง

การเตรียมดิน
การ เตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูง  เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ดจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง  ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วยการเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะและทิ้งตากดิน ไว้ 3-5 วัน จากนั้นจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้ แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่เหมาะกับการงอกของเมล็ด ควรมีการหว่านปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยขี้ไก่เป็นต้น อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น  และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน


การปลูก 
ควรปลูกเป็นแถวเป็นแนวซึ่งสามารถปลูกได้สองวิธี คือ
การ ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น จำนวนต้นต่อไร่ประมาณ 7,000-8,500 ต้น จะใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกแบบแถวคู่ มีการยกร่องสูง  ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็นสองแถวข้างร่อง ระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร1 ต้นต่อหลุม จะมีจำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500 ต้นต่อไร่และใช้เมล็ดประมาณ 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำจะปล่อยน้ำตามร่องซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกดี

การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน เพราะปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกพืชติดต่อ กันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง จึงควรใส่ธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) เพิ่มเติมลงในดิน การใส่ปุ๋ยในข้าวโพดหวานมีขั้นตอนดังนี้
การใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 15-15-15 หรือ 25-7-7 หรือ 16-16-8
อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่  ใส่พร้อมปลูกหรือใส่ขณะเตรียมดิน

หมายเหตุ
ถ้าปลูกด้วยมือ ควรหยอดปุ๋ยที่ก้นหลุมแล้วกลบดินบาง ๆ ก่อนหยอดเมล็ด
ไม่ควรให้ปุ๋ยสัมผัสกับเมล็ดโดยตรงเพราะอาจทำให้เมล็ดเน่าได้
การ ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าครั้งที่ 1      สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วันหลังปลูก โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม หรือพูนโคนกลบปุ๋ยก็จะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว
การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40-45 วันหลังปลูก ถ้าแสดงอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม

การกำจัดวัชพืช
ถ้า แปลงปลูกข้าวโพดหวานมีวัชพืชขึ้นมากจะทำให้ข้าวโพดไม่สมบูรณ์ ผลผลิตจะลดลงจึงควรมีการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก วิธีการกำจัดวัชพืชสามารถทำได้ดังนี้
การฉีดยาคุมวัชพืช    ใช้อลาคลอร์  ฉีดพ่นลงดินหลังจากปลูกก่อนที่วัชพืชจะงอกขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นเพื่อทำ ให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น
ใช้วิธีการเขตกรรม ถ้าหากจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่โรงงานผู้ส่งเสริมการปลูก

การให้น้ำ
ระยะ ที่ข้าวโพดหวานขาดน้ำไม่ได้คือระยะ 7 วันแรกหลังปลูก เป็นระยะที่ข้าวโพดกำลังงอก ถ้าข้าวโพดหวานขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่ก็จะน้อยลงจะทำให้ผลผลิตลดลงไปด้วย ระยะที่ขาดน้ำไม่ได้อีกช่วงหนึ่งคือระยะออกดอก การขาดน้ำในช่วงนี้จะมีผลทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงปลายหรือติดเมล็ดเป็นบางส่วน ซึ่งฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ โดยปกติถ้าเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ควรให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ แต่ช่วงที่ควรให้น้ำถี่ขึ้นคือช่วงที่ข้าวโพดกำลังงอกและช่วงออกดอก

การเก็บเกี่ยว
โดย ปกติข้าวโพดหวานจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 70-75 วันหลังปลูก  แต่ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50%   (ข้าวโพด 100 ต้นมีไหม 50 ต้น)   ข้าวโพดหวานพันธุ์  ไฮ-บริกซ์ 10  จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 68-70 วัน   และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3  จะเก็บเกี่ยวที่อายุประมาณ 65-68 วันหลังปลูก แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวอาจจะยืดออกไปอีก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรรีบส่งโรงงานหรือจำหน่ายโดยเร็ว    เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ  หากขาดน้ำจะมีผลต่อเมล็ดและน้ำหนักของฝัก

ปัญหาและการแก้ไข  ที่พบเห็นบ่อย ๆ  มีดังนี้
ความ งอก   ปกติเมล็ดพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ ไฮ-บริกซ์ 3 ได้ผ่านการทดสอบความงอกมาแล้วจึงจำหน่ายสู่เกษตรกร  แต่บางครั้งเมล็ดพันธุ์อาจจะค้างอยู่ในร้านค้าเป็นเวลานานหรือเกษตรกรอาจจะ ซื้อเมล็ดพันธุ์มาเก็บไว้ที่บ้าน และสถานที่เก็บอาจจะไม่เหมาะสม  สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกลดลง วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ ก่อนปลูกทุกครั้งให้ทดสอบความงอกของเมล็ดที่จะปลูกก่อน โดยการสุ่มเมล็ดจากถุงประมาณ 100 เมล็ด แล้วปลูกลงในกระบะทรายหรือดินแล้วรดน้ำเพื่อทดสอบความงอก นับต้นที่โผล่พ้นดินในวันที่ 7 ถ้ามีจำนวนต้นเกิน 85 ต้น  ถือว่ามีอัตราความงอกที่ใช้ได้ก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ถุงนั้นไปปลูกได้

โรครา น้ำค้าง  ปัจจุบันพันธุ์ข้าวโพดหวานเกือบทุกพันธุ์ที่ขายในประเทศไทยเป็นพันธุ์ที่ไม่ ต้านทานโรคราน้ำค้าง  ตั้งแต่พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 10 และ  ไฮ-บริกซ์ 3 จนถึงพันธ์ล่าสุดไฮ-บริกซ์ 9 ซึ่งทุกพันธุ์ได้ผ่านการคลุกยาป้องกันโรคราน้ำค้าง (เมตาแลกซิล) ในอัตรายาที่เหมาะสม  เมื่อปลูกแล้วจะไม่พบว่าเป็นโรค แต่การปลูกที่ผิดวิธีก็อาจเป็นสาเหตุให้เป็นโรคราน้ำค้างได้ การปลูกที่ผิดวิธีที่พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้
แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อน ปลูก  เกษตรกรเชื่อว่าการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้การงอกดีและมีความ สม่ำเสมอ แต่การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกจะทำให้ยาที่คลุกติดมากับเมล็ดพันธุ์ซึ่ง เป็นยาป้องกันโรคราน้ำค้างละลายหลุดออกไป ทำให้ยาที่เคลือบเมล็ดมีน้อยลงหรือไม่มีเลย เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ที่แช่น้ำไปปลูก  ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงเป็นโรค ราน้ำค้าง วิธีแก้ไข คือ ไม่แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำก่อนปลูกหรือคลุกสารเคมีอื่นเพิ่มเพราะมีผลต่อความ ต้านทานโรคราน้ำค้างและความงอกของเมล็ดพันธุ์
ปล่อยน้ำท่วมขังแปลง หลังปลูก  เกษตรกรบางรายเมื่อปลูกเสร็จจะปล่อยน้ำท่วมแปลงปลูกหรือปล่อยน้ำท่วมร่อง ปลูก ซึ่งน้ำจะท่วมขังอยู่เป็นเวลานานกว่าจะซึมลงดินหมด เมล็ดจะแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ยาป้องกันโรคราน้ำค้างที่เคลือบเมล็ดอยู่จะละลายหายไปกับน้ำ ทำให้ต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาไม่ได้รับยาป้องกันโรคราน้ำค้าง  จึงแสดงอาการเป็นโรคให้เห็น วิธีแก้ไข คือ ให้น้ำในแปลงก่อนการปลูกและรอให้ดินมีความชื้นเหมาะกับการงอกของเมล็ดจึงทำ การปลูก ยาที่เคลือบเมล็ดจะไม่ละลายหลุดไปกับน้ำ ต้นอ่อนที่งอกออกมาจึงได้รับยาอย่างเต็มที่และไม่เป็นโรคราน้ำค้าง

การ ระบาดของหนู  พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดหวานติดต่อกันหลายรุ่นมักจะพบว่ามีหนูระบาดและมักจะ เข้าทำลายข้าวโพดหวานในระยะงอกและระยะก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อมีหนูระบาดจะทำให้ผลผลิตลดลง ฝักที่เก็บได้มีร่องรอยการทำลายของหนูทำให้ขายไม่ได้   แก้ไขโดยการวางยาเบื่อหนู ซึ่งทำได้โดยใช้ข้าวโพดหวานฝักสดฝานเอาแต่เนื้อผสมกับยาเบื่อหนูที่เป็นผงสี ดำ (Zinc phosphide) คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วหว่านให้ทั่วในแปลงหลังจากปลูกเสร็จ   (อาจจะหว่านในช่วงหลังปลูก คือ ข้าวโพดกำลังงอก ) และในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ( ช่วงข้าวโพดกำลังเป็นน้ำนม ประมาณ 65-70 วันหลังปลูก )หว่านติดต่อกันสัก 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 วัน จะทำให้การระบาดของหนู   ลดลง

หนอนเจาะฝักข้าวโพด  บางฤดูจะพบว่ามีการระบาดของหนอนเจาะฝักเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้ฝักที่เก็บเกี่ยว ได้มีตำหนิขายไม่ได้ราคา ผลผลิตต่อไร่ลดลง สามารถป้องกันการระบาดได้โดยการหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะในระยะเริ่ม ผสมเกสร  ถ้าพบว่าเริ่มมีหนอนเจาะฝักให้ใช้ยา ฟลูเฟนนอกซูรอน หรือ ฟิโบรนิล (ชื่อสามัญ) ในอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ฝัก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

มวนเขียว  หลังจากข้าวโพดผสมเกสรแล้ว บางครั้งจะมีมวนเขียวระบาดโดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มวนเขียวจะใช้ปากเจาะฝักข้าวโพดและดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดที่ยังอ่อนอยู่ ชึ่งจะไม่เห็นร่องรอยการทำลายจากภายนอก เมื่อเก็บเกี่ยวจะพบว่าเมล็ดมีรอยช้ำหรือรอยดำด่างทำให้ขายไม่ได้ราคา ป้องกันได้โดยการหมั่นเดินตรวจแปลงในระยะหลังจากผสมเกสรแล้วถ้าพบมวนเขียว ให้ฉีดพ่นด้วยยา คาร์โบซัลแฟน (ชื่อสามัญ) อัตรา 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ฝักข้าวโพด

เพลี้ย ไฟ  ถ้าข้าวโพดหวานออกดอกในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในหน้าแล้ง มักจะพบว่ามีเพลี้ยไฟ(แมลงตัวเล็กๆ สีดำ)  เกาะกินน้ำเลี้ยงที่ไหมของฝักข้าวโพดทำให้ไหมฝ่อ การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดีตามไปด้วย ป้องกันได้โดยหมั่นตรวจแปลงในระยะออกดอก ถ้าพบว่ามีเพลี้ยไฟเกาะที่ไหม ให้ใช้ยาเอ็นโดซันแฟน (ชื่อสามัญ) หรือ วีฟอส (ชื่อการค้า) อัตรา 40 ซี.ซี.  ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ฝัก
ข้าว โพดไม่หวาน ถ้าพบว่าข้าวโพดหวานฝักสดมีรสชาติไม่หวานแสดงว่าดินในแปลงที่ปลูกข้าวโพดขาด ธาตุโปแตสเซี่ยม (K) ธาตุโปแตสเซี่ยมจะช่วยให้การสะสมน้ำตาลในเมล็ดดีขึ้น แก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมร่วมด้วย เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 16-16-8 หรือ 13-13-21 ขึ้นกับสภาพดิน  ถ้าดินขาดโปแตสเซี่ยมมากก็ควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีค่า K สูง

เปลือก หุ้มฝักเหลือง  การเก็บเกี่ยวที่อายุเกิน 20 วันหลังออกไหม 50% จะมีผลทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอ่อนลงดูเหมือนฝักจะแก่  บางครั้งถึงแม้ว่าจะเก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสม เปลือกหุ้มฝักก็ยังมีสีออกเหลือง  การแก้ไขทำได้โดยการเพิ่มปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นข้าวโพดในขณะดินมีความชื้นในระยะที่ข้าวโพดออกดอก  จะทำให้เปลือกหุ้มฝักมีสีเขียวอยู่ได้นานขึ้น
โรคราสนิม  ถ้ามีโรคราสนิมระบาดรุนแรงจะทำให้ฝักข้าวโพดไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่เต็มถึงปลายขายไม่ได้ราคา ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคราสนิมอยู่เป็นประจำควรฉีดพ่นด้วยยาไดฟีโนโคนา โซล (ชื่อสามัญ)หรือ สกอร์ (ชื่อการค้า) อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  เมื่อเริ่มเป็นโรค

ข้อควรระมัดระวัง
การใช้ สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคและแมลง เกษตรกรควรขอคำแนะนำจากโรงงานผู้ส่งเสริม หรือนักวิชาการโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงสารตกค้างที่อาจปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์