งา พืชไร่น้ำมันที่เสริมรายได้ให้เกษตรกร เนื่องจากลงทุนต่ำ ใช้ เวลาปลูกสั้น และทนแล้งได้ดี มีตลาดกว้างขวาง และราคาดี เกษตรกรนิยมปลูกงาก่อนหรือหลัง พืชหลัก งาจึงเป็นพืชที่นิยมในระบบการปลูกพืช งาถูกใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเนื่องจากเมล็ด งามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 85 เปอร์เซ็นต์ มีโปรตีน 17-18 เปอร์เซ็นต์ มี สารต้านทานอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ไม่หืนง่าย งาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้ง อาหาร ยารักษาโรค และเครื่องสำอาง''บ้านอะลาง''
ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส
- พื้นที่ปลูกงาแปรปรวนเนื่องจากถูกจำกัดด้วยการตกของฝนว่าจะมาช้า หรือเร็ว ทำให้ไม่ สามารถคาดการณ์ปริมาณผลผลิตได้
- บางพื้นที่เกษตรกรปฏิบัติไม่ถูกต้องในขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวด้วย
- การบ่มงาที่ความชื้นสูง ทำให้เมล็ดงามีคุณภาพต่ำ
- มีการระบาดของโรคพืชจากเชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้ไม่สามารถปลูกงาติดต่อกันในพื้นที่เดิมได้
- ไม่มีเครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว ต้องใช้แรงงานมาก
- งาเป็นพืชเสริมรายได้ของเกษตรกร
พันธุ์ - การเลือกพันธุ์
- ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด
- ต้านทานหรือทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
- เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
- พันธุ์ที่นิยมปลูก มี 3 ชนิด ตามสีของเปลือกหุ้มเมล็ด คือ งาแดง งาขาว และงาดำ ดังนี้
พันธุ์งาแดง
พันธุ์อุบลราชธานี 1 : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 139 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพันธุ์แตกกิ่ง 2-5 กิ่ง ฝักมี 2 พู เรียงตัวแบบสลับบนลำต้น เมล็ดสีแดงสม่ำเสมอ ขนาดเมล็ดโต น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 3.20 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันในเมล็ด 50.3 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ดำและแมลงศัตรูงาที่สำคัญ
พันธุ์เกษตร : เป็นงาพื้นเมืองเมล็ดสีแดงที่มีสัดส่วน ของงาดำปนอยู่ เกษตรกรใช้ปลูกใน เขตจังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 115 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพันธุ์แตกกิ่ง ฝักมี 2 พู เรียงตัวแบบสลับบนลำต้น ขนาดเมล็ดปานกลางน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.73 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน มีน้ำมันในเมล็ดประมาณ 46.6 เปอร์เซ็นต์
พันธุ์งาขาว 5
พันธุ์อุบลราชธานี 2 : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 122 กิโลกรัมต่อไร่ ลำต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่ง ฝักมี 2 พู เรียงตัวแบบตรงกันข้ามบนลำต้น สีเมล็ดสม่ำเสมอและมีขนาดเมล็ดโต น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 3.18 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน มีน้ำมันในเมล็ด 49.3 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้านทานโรค เน่าดำ และโรคไหม้ดำ
พันธุ์มหาสารคาม 60 : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 107 กิโลกรัมต่อไร่ ลำต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่ง ฝักมี 2 พู เรียงตัวแบบตรงกันข้ามบนลำต้น สีเมล็ดสม่ำเสมอ มีขนาดเมล็ดค่อนข้างโต น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.90 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน มีน้ำมันในเมล็ด 46.3 เปอร์เซ็นต์ ไม่ ต้านทานต่อโรคเน่าดำและโรคไหม้ดำ
พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 116 กิโลกรัมต่อไร่ แตกกิ่ง 1-3 กิ่ง ฝักมี 4 พู เรียงตัวแบบสลับ บนลำต้น ขนาดเมล็ดปานกลาง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.47 กรัม อายุเก็บเกี่ยวสั้น 70- 75 วัน มีน้ำมันในเมล็ด 41.4 เปอร์เซ็นต์ ไม่ทนทานต่อหนอนห่อยอดงา หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก ไรขาว และมวนฝิ่น ไม่ต้านทานต่อโรคเน่าดำและโรคไหม้ดำ
พันธุ์พื้นเมืองเลย หรืองาไข่ปลา : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 104 กิโลกรัมต่อไร่ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ฝักมี 2 พู เรียงตัวแบบสลับบนลำต้น เมล็ดมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 1.50 กรัม เป็นพันธุ์ไวต่อช่วงแสง จะออกดอกช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เมล็ดมีกลิ่นหอมกว่างาพันธุ์ อื่นๆ เมื่อคั่วให้สุก
พันธุ์พื้นเมืองชัยบาดาล : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 105 กิโลกรัมต่อไร่ แตกกิ่ง 2-6 กิ่ง ฝักมี 2 พู เรียงตัว แบบสลับบนลำต้น ขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็ก น้ำหนัก 1,000 เมล็ดประมาณ 2.18 กรัม อายุเก็บ เกี่ยว 80-85 วัน มีน้ำมันในเมล็ด 40.1 เปอร์เซ็นต์
งาดำ พันธุ์ มก.18 : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 148 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกกิ่ง ฝักมี 2 พู เรียงตัวแบบตรงกันข้าม 6 บนลำต้น ขนาดเมล็ดโต น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 3.00 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 85-90 วัน มี น้ำมันในเมล็ด 48.2 เปอร์เซ็นต์
พันธุ์พื้นเมืองนครสวรรค์ : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 95 กิโลกรัมต่อไร่ แตกกิ่ง 3-5 กิ่ง ฝักมี 4 พู เรียงตัว แบบสลับบนลำต้น ขนาดเมล็ดค่อนข้างโต น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.80 กรัม อายุเก็บ เกี่ยว 80-85 วัน มีน้ำมันในเมล็ด 49.1 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้านทานต่อโรคเน่าดำและโรคไหม้ดำ พันธุ์
พื้นเมืองบุรีรัมย์ : ให้ผลผลิตเฉลี่ย 60 กิโลกรัมต่อไร่ แตกกิ่ง 3-5 กิ่ง ฝักมี 2 พู น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.60 กรัม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน
เทคโนโลยีการผลิต สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- พื้นที่ดอน ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง
- พื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของโรคในปีที่ผ่านมา
- ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว การระบายน้ำและ การถ่ายเทอากาศดี
- ความอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ มากกว่า 40 ส่วนในล้านส่วน
- ค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
- ไม่เป็นดินเค็ม
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส
- ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอประมาณ 800-1,200 มิลลิเมตรต่อปี หรือประมาณ 200 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูก
การปลูก ฤดูปลูก : ช่วงปลูกที่เหมาะสม 2 ช่วง
- ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ปลูกโดยอาศัยแหล่งน้ำหรือน้ำฝน ถ้าฝนมาเร็ว ส่วนมากเป็น การปลูกงาก่อนข้าวนาปี
- ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน จะได้เมล็ดมี คุณภาพดี เนื่องจากช่วงเก็บเกี่ยวไม่มีฝน
การเตรียมดิน
การเตรียมดินที่ร่วนซุยดีจะช่วยให้งางอกได้ดีและสม่ำเสมอ การไถพรวน จะมากหรือน้อยขึ้นกับ โครงสร้างและชนิดของเนื้อดิน และปริมาณวัชพืช
- ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ไถ 1-2 ครั้ง ดินร่วนเหนียวไถ 2-3 ครั้ง
- ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ให้หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 1,000-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
- ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาว อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้ว พรวนกลบ ก่อนปลูก 10-15
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
- ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่สะอาดปราศจากการทำลาย ของโรคและแมลงศัตรู
- เมล็ดพันธุ์ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ อัตราเมล็ดปลูก 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อไร่
- ในแหล่งที่มีโรคระบาด คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารแคปแทน หรือ เบโนมิล อัตรา 2.5-5.0 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เพื่อควบคุมโรค ที่เกิดจากเชื้อราในระยะต้นกล้า
วิธีการปลูก
- การปลูกแบบโรยเป็นแถว ใช้ระยะแถว 30 ถึง 50 เซ็นติเมตร เปิดร่องลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ใช้อัตราเมล็ดประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเมล็ดให้มีจำนวนต้นประมาณ 10-20 ต้นต่อความ ยาวแถว 1 เมตร
- การปลูกโดยวิธีหว่านด้วยแรงงานคน ใช้อัตราเมล็ดประมาณ 1 กd./ไร่ คราดกลบหลังหว่าน
- การปลูกโดยวิธีหว่านด้วยเครื่องติดท้ายรถแทรกเตอร์ ถังบรรจุเมล็ดพันธุ์มีช่องปล่อยเมล็ด พันธุ์ให้ออกตามอัตราที่กำหนด ใช้อัตราเมล็ดประมาณ 1 กิโลกรัมต่อไร่
การดูแลรักษา การให้ปุ๋ย ก่อนใส่ปุ๋ยควรวิเคราะห์ค่าความอุดมสมบูรณ์ของดิน จะช่วยให้การตัดสินใจ ในการใช้ปุ๋ยมี ประสิทธิภาพดีขึ้น ถ้าไม่มีการวิเคราะห์ดิน ควรใส่ปุ๋ยตาม ลักษณะเนื้อดิน ดังนี้
- ดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่
- ดินเหนียวสีแดง ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
- ดินเหนียวสีดำหรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล ใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่
- ปลูกเป็นแถว ควรใส่ปุ๋ยเมื่องาอายุ 15-20 วัน โดยโรยปุ๋ยข้างแถวงา แล้วพรวนดินกลบ เมื่องา อายุ 15-20 วัน
- ปลูกงาแบบหว่าน ควรใส่ปุ๋ยพร้อมปลูกโดยการหว่านปุ๋ยก่อน แล้วจึงหว่านเมล็ดตามและคราด กลบ
การให้น้ำ
งาค่อนข้างทนแล้ง ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ถ้าดินมีความชื้นสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก การปลูกงาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมในเขตที่มีการให้น้ำแบบยกแปลงปลูก ก่อนปลูก ควรให้ดินมีความชื้นพอเพียง และให้น้ำหลังงอกทุก 7-15 วัน ไม่ควรให้งาขาดน้ำในช่วงออกดอกและติดฝัก หรือประมาณ 30-45 วันหลังปลูก
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด โรคไหม้ดำหรือเหี่ยว
ต้นงาเหี่ยวและยืนต้นตายเป็นหย่อมๆ มีรอยประสีขาวหรือปื้นสีเขียวเข้ม หรือน้ำตาลดำ ตามแนวยาวของลำต้น ลำต้นอาจโป่งนูนหรือปริแตก เมื่อตัดขวางลำต้นจะเห็นเนื้อเยื่อภายในเน่าช้ำเป็นสีน้ำตาล และเมื่อนำไปแช่น้ำจะมีของเหลวสีขาวขุ่นซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ของเชื้อ แบคทีเรีย สาเหตุโรคไหลออกมาควรถอนต้นที่เริ่มแสดงอาการและเก็บเศษซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก โรคเน่าดำ ต้นงาเหี่ยว ใบเหลืองและร่วง ลำต้นเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาล และ ยืนต้นตาย ตรวจดูจะพบจุดเล็กๆ สีดำคล้ายผงถ่านบริเวณรากและลำต้น ที่เน่าแห้ง เชื้อสาเหตุอาจเข้า ทำลายที่ส่วนรากและโคนต้น หรือที่กลางลำต้น ทำให้เกิดแผลสีน้ำตาล แล้วลามสู่ด้านบนและ ล่างของลำต้น ฝักงาจะแห้งและแตก ทำให้เมล็ดร่วง เมล็ดงาจากต้นเป็นโรคจะลีบเล็ก เชื้อราติด ไปกับเมล็ดและเศษซากพืชที่เป็นโรค ในแหล่งที่มีการระบาดของโรค คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ด้วย เบนโนมิล หรือ แคปเทน
โรคยอดฝอยหรือพุ่มไม้กวาด
งาชะงักการเจริญเติบโต ใบเรียวเล็ก ส่วนยอดมีลักษณะเป็นฝอยหรือเป็น กระจุก มองดู เหมือนพุ่มไม้กวาด กลีบดอกเป็นสีเขียวคล้ายใบ ทำให้ไม่ติดฝัก หรือติดฝักน้อยมาก มีเพลี้ย จักจั่นเป็นแมลงพาหะ เมื่อโรคเริ่มระบาดให้พ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่น คาร์โบซัลแฟน
ไรและแมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนห่อใบงา
หนอนกัดยอดงาหรือดึงยอดงามาหุ้มตัวไว้ในระยะตัวอ่อน ทำให้งาตาย เมื่อต้นโตหนอน จะเข้าทำลายตายอด ดอก ใบ และฝัก ทำให้สูญเสียผลผลิต 27-40 เปอร์เซ็นต์ ควรใช้สารสกัด สะเดาเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วน พ่นทุก 7 วัน เริ่มตั้งแต่อายุ 5 วัน จะทำให้ผีเสื้อวางไข่ลดลง และทำให้หนอนวัยแรกตาย 80-100 เปอร์เซ็นต์ หากพบการรพบาดให้พ่นสารไตรอะโซฟอส หรือ คาร์โบซัลแฟน หรือ แลมบ์ด้าไซฮาโลทริน หรือไซฟลูทริน หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก หนอนกัดกินใบงาจนเหลือแต่ก้านใบและลำต้น ควรพ่นสาร ไตรอะโซฟอส หรือ คาร์โบซัลแฟน หรือ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอด ใบ อ่อน ดอกและฝักอ่อน ทำให้ยอดเหี่ยว บิดงอ มีสีเหลือง เมื่อใบขยายตัวจะทำให้เกิดลักษณะเป็น รูโหว่ขนาดเล็ก และใบขาดวิ่นจากรอยทำลาย ควรพ่นสารไตรอะโซฟอส หรือ คาร์โบซัลแฟน 10
ไรขาวพริก
ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่รวมกลุ่มดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ทำให้ใบหนา ขอบใบม้วนลง ยอดหงิก ต้น เตี้ย แคระแกรน ถ้าระบาดรุนแรงทำให้ดอกร่วง ติดฝักน้อย มักพบระบาดที่ส่วนยอด ควรพ่น สารไดโคโฟล
การป้องกันกำจัดวัชพืช
- ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของ วัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
- กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน 1-2 ครั้ง เมื่อ 15 วัน หรือ 30-40 วัน หลังจากงางอก โดยใช้จอบดาย ระหว่างแถว และใช้มือถอนระหว่างต้น ต้องระวังไม่ให้รากและต้นของงากระทบกระเทือน
- ในกรณีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล ไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ ควรพ่นสาร กำจัดวัชพืชก่อนหรือหลังปลูกงา ตามคำแนะนำ หลีกเลี่ยงการพ่นสารกำจัดวัชพืชโดยตรงไปที่ต้นงา การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูงาที่พบทั่วไป ได้แก่ แมลงห้ำมี 2 ชนิด คือ
ด้วงเต่า
ตัวเต็มวัยขนาด 0.3-0.7 เซ็นติเมตร ลำตัวกลม ด้านบนโค้งนูน ปีกมีสีส้ม หรือสีแดงเป็น เงา บางชนิดมีจุดหรือแถบสีดำ วางไข่เป็นกลุ่มหรือ เป็นฟองเดี่ยวบนพื้นผิวพืช หนอนมีสีดำ รูปร่างเรียวยาวคล้ายกระสวย บางครั้งมีจุดหรือแถบสีส้ม สีเหลืองอ่อน หรือสีขาวบนลำตัว หนอนและ ตัวเต็มวัยกัดกินไข่และตัวอ่อนของแมลงศัตรูงา
มวนพิฆาต
ตัวเต็มวัยสีเทาวางไข่ 23-70 ฟอง ต่อกลุ่ม วางไข่บนใบงานาน 3-10 วัน ชีพจักรรวม 39 วัน ระยะเวลาเป็นตัวห้ำ 30 วัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วัย 2 จนถึงตัวเต็มวัย มวนพิฆาตใช้ปากดูดน้ำเลี้ยง จากหนอนผีเสื้อหัวกะโหลก จนหนอนเหี่ยวแห้งตาย 11
การเก็บเกี่ยว ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
เก็บเกี่ยวตามอายุของพันธุ์ที่ปลูก สังเกตจากฝักงา 2 ใน 3 ของลำต้น เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และมีจำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูก ในงาดำและงาแดง สามารถสังเกตจากเมล็ดในฝักที่ 2-3 จากยอดเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาล
วิธีการเก็บเกี่ยว
ตัดต้นงาใต้ฝักล่างสุดแล้วมัดรวมกันมัดละ 10-20 ต้น นำมัดงามาพิงกันไว้กลุ่มละ 3-4 มัดบนลานตากซึ่งอาจปูผ้าใบหรือผ้าใยพลาสติกรองรับเมล็ดที่จะร่วงไว้ ตากแดด ประมาณ 5-7 แดด หรือจนฝักแห้งและแตกอ้า เคาะเมล็ดออกจากฝัก ถ้ายังไม่หมด ตากแดดทิ้งไว้อีก 3-4 แดด จึงเคาะเมล็ดอีกครั้ง อย่าบ่มงาหลังการเก็บเกี่ยว เพราะจะทำให้เมล็ดมีกลิ่นเหม็น และมีเชื้อราติดมากับเมล็ด
ปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว
- ทำความสะอาดเมล็ด โดยการฝัดด้วยกระด้ง เพื่อให้เศษสิ่งเจือปน และเมล็ดลีบร่วงทิ้งไป
- ลดความชื้นของเมล็ด โดยการตากแดดจัดประมาณ 4-5 แดด เพื่อลดความชื้นของเมล็ดลง เหลือประมาณ 4-5 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงบรรจุถุงเพื่อเก็บรักษา หรือจำหน่าย
- บรรจุเมล็ดงาในกระสอบป่านที่ไม่ชำรุด สะอาด ปากกระสอบ ตัดแต่งให้เรียบร้อย และเย็บ ปากกระสอบด้วยเชือกฟาง
- ควรวางกระสอบที่บรรจุเมล็ดงาในที่ร่ม บนพื้นที่มีไม้รอง การขนส่ง
- ระหว่างการขนส่ง ไม่ควรให้เมล็ดงาถูกความชื้น
- รถบรรทุกต้องสะอาด
- ไม่ควรเป็นรถที่ใช้ บรรทุกดิน สัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี หรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะอาจมีการปนเปื้อน ยกเว้น จะมีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ก่อนนำมาบรรทุก
- กรณีขนส่งเมล็ดงาในฤดูฝน ต้องมีผ้าใบคลุม เพื่อป้องกัน เมล็ดงาถูกความชื้นและได้รับความ เสียหาย
การแปรรูปงา - การสกัดน้ำมันงา
การสกัดน้ำมันงาโดยใช้แรงงานสัตว์ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งชาวไทยใหญ่ในจังหวัด แม่ฮ่องสอนยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ วิธีการนี้ทำได้โดยนำเมล็ดงาที่ตากแดด 5-6 วันให้ร้อน นำไปใส่ในครกไม้ซึ่งมีความจุประมาณ 22-25 ลิตร (ประมาณ 15 กิโลกรัม) แล้วใช้แรงงานจากวัวหรือควายลากสากให้หมุนเป็นวงกลมไปรอบ ๆ ครก สากไม้จะบีบให้เมล็ดงาเบียดกับครกจน ป่นและมีน้ำมันซึมออกมา พอเริ่มถึงชั่วโมงที่สองเติมน้ำร้อนลงไปครั้งละประมาณ 150 มิลลิลิตร จำนวน 7 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 10 นาที (ใช้น้ำ 3 กระป๋อง/งา 1 ครก) ในชั่งโมงที่ 3 จะสังเกตเห็นน้ำมันลอยแยกขึ้นมาข้างบน เปิดช่องซึ่งอยู่ส่วนบนของครกให้น้ำมันไหลออกสู่ภาชนะรองรับ ใน การสกัดน้ำมันแต่ละครั้งจะได้น้ำมัน 7-8 ขวด (ขนาด 750 ซีซี.) และใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพัฒนานำเครื่องจักรและมอเตอร์ไฟฟ้ามาใช้ โดยเป็นระบบไฮโดรลิค และเกลียวอัด ซึ่งสามารถทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา น้ำมันงาที่ได้จะเป็นน้ำมันงาบริสุทธิ์ (virgin oil) โดยอาจเป็นน้ำมันงาดิบ ซึ่งได้จากงาที่ไม่ผ่านการคั่ว เป็นน้ำมันที่เหมาะที่จะใช้ สำหรับทาภายนอกแก้อาการปวดเมื่อย หรือเป็นน้ำมันงาที่ได้จากเมล็ดงาที่ผ่านการคั่วให้มีกลิ่น หอม ซึ่งน้ำมันที่ได้จะมีสีคล้ำ เหมาะสำหรับใช้ปรุงแตงรสอาหาร วิธีการสกัดแบบนี้จะสกัดน้ำมันออกไม่หมด จะมีน้ำมันงาเหลืออยู่ประมาณ 5-20% ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องบีบน้ำมัน ถ้าจะทำให้น้ำมันออกหมดต้องใช้สารละลายนอร์ มอล เฮกเซน ละลาย น้ำมันที่เหลือให้มารวมตัวกับสารละลาย แล้วจึงกลั่นไล่สารละลาย เฮ กเซนออกให้หมด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและอันตราย เนื่องจากสารละลายเฮกเซน เป็นสารไวไฟ จึงต้องใช้ความระมัดระวัง ในการปฏิบัติงาน แต่กากงาที่ได้จากวิธีนี้มีน้ำมันหลง เหลืออยู่น้อยกว่า 0.5%
น้ำมันที่ได้มาจากกรรมวิธีการสกัดต่าง ๆ นี้ยังมีสิ่งเจือปน จำเป็นต้อง ทำให้บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งเจือปน สารยางเหนียว กรดไขมันอิสระ สีและกลิ่น โดยผ่านกรรมวิธีการกำจัดใน ขั้นตอนการตกตะกอน การกำจัดกรด การล้างน้ำมัน การฟอกสีและ
การกำจัดกลิ่น การทำแป้งงา
หลังจากสกัดน้ำมันออกหมดด้วยสารละลายเฮกเซน ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ของการสกัด น้ำมัน แล้วอบไล่สารละลายเฮกเซน โดยใช้อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดัน ประมาณ 15 มม. ปรอทนาน 30 นาที จะได้กากงาที่มีคุณภาพสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกาก ที่ได้จากเมล็ดงาที่ลอกเปลือกออกแล้ว จะได้กากงาที่ไม่มีรสขม) เมื่อนำกากงาที่ได้ไปบดเป็นแป้ง และนำไปผสมกับแป้งถั่วเหลืองที่ได ้จากกรรมวิธีเดียวกัน ใน สัดส่วนที่พอเหมาะแล้วนำเข้าเครื่อง Extruder จะได้ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชที่มีคุณภาพดีเท่า เทียมกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพราะงามีปริมาณกรดอะมิโนไลซีนต่ำ ประมาณ 0.19 กรัม/ ปริมาณโปรตีน 1 กรัม ขณะที่ถั่วเหลืองมีถึง 0.42 กรัม แต่มีเมทไธโอนีนสูง 0.14 กรัม/โปรตีน 1 กรัม ขณะที่ถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนดังกล่าว 0.04 กรัม/โปรตีน 1 กรัม
นอกจากนี้ยังสามารถแยกโปรตีนชนิดเข้มข้นและชนิดบริสุทธิ์จากกากงา เพื่อนำไปทำ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ได้อีกมาก หรือนำไปใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มโปรตีนในขนมปัง ขนมอบ กรอบ อาหารโปรตีนจากพืชเป็นอาหารที่ร่างกายย่อยได้ง่าย เหมาะที่จะใช้เป็นอาหารบำรุง สำหรับคนไข้
การทำงาขัด
งาขัด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่างาล้าง คือ เมล็ดงาที่แยกเปลือกออก ทำให้ได้เมล็ดงาสี ขาวน่ารับประทาน และไม่มีรสขม เนื่องจากเปลือกงาซึ่งมีแคลเซี่ยมออกซาเลท และเยื่อใยอยู่สูง ถูกกำจัดออกไป งาขัด นิยมใช้โรยหน้า หรือปรุงแต่ง ขนมต่าง ๆ หลายชนิด นอกจากนี้การ ส่งออกเมล็ดงาไปยังต่างประเทศก็มักส่งออกในรูปงาขัด เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความ ต้องการใช้งาขาว แต่ประเทศไทยผลิตได้น้อย พ่อค้าส่งออกจึงนำงาเมล็ดสีดำ หรือสีน้ำตาลมา ลอกเปลือกออกให้เป็นสีขาว
การทำงาคั่ว
นำเมล็ดงามาทำความสะอาดเอาเศษ หิน ดิน หรือวัสดุต่าง ๆ ที่เจือปนออก หลังจากนั้น นำไปล้างในน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง โดยอาจล้างบน ตะแกรงร่อนแป้งซึ่งมีรูตาข่ายเล็กละเอียด หรือ ในถุงผ้าตาข่ายละเอียด เพื่อให้เศษฝุ่นผงดินต่าง ๆ เล็ดลอดออกไป เหลือเฉพาะเมล็ด งาที่ สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน จากนั้นนำไปผึ่งแดดให้แห้งพอหมาด แล้วนำไปคั่วโดยใช้ไฟปาน กลางและคนตลอดเวลา การคั่วแต่ละครั้ง ควรใช้งาครั้งละไม่มาก เช่น งา 1 กิโลกรัม ควรแบ่ง 14 คั่วประมาณ 3 ครั้ง คั่วจนเมล็ดงาเริ่มแตกและมีกลิ่นหมอแสดงว่าสุกได้ที่ เติมน้ำเกลือโดยพรม ให้ทั่ว คนต่อเล็กน้อยแล้วยกลงจากเตาไฟ ทิ้งไว้จนมีอุณหภูมิปกติจึงบรรจุในภาชนะที่ปิดฝา สนิท การทำงาบดควรแบ่งบดครั้งละไม่มาก เพื่อให้ได้งาบดที่มีรสชาติหอมอร่อยน่ารับประทาน
คุณค่าทางโภชนาการของงา
งาเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง เมล็ดงามีไขมันประมาณ 35-57 เปอร์เซ็นต์ และมีโปรตีนประมาณ 17-25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบงากับถั่วเหลืองและไข่แล้ว พบว่า งามีไขมันสูงกว่าถั่วเหลืองประมาณ 3 เท่า และสูงกว่าไข่ ประมาณ 4-6 เท่า มีโปรตีนสูงกว่าไข่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ต่ำกว่าถั่วเหลืองประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้ โปรตีนในงายัง แตกต่างจากพืชตระกูลถั่วและพืชให้น้ำมันอื่น ๆ เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็น ซึ่งพืชดังกล่าวขาด แคลน เช่น เมธไธโอนินและซีสติน แต่งามีไลซีนต่ำ ดังนั้น อาจใช้งาเสริมอาหารถั่ว ธัญพืช และ อาหารแป้งอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี