กุ้งกุลาดำปลอดสารพิษ




เทคนิคการเลี้ยงกุ้งกุลาดำปลอดสารพิษ  
   ธุรกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนในหลายสาขาอาชีพ เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศถดถอยมาตั้งแต่ พ.ศ.2540 ทำให้ธุรกิจหลาย ๆ ด้านต่างประสบปัญหาการขาดทุน แต่ในทางตรงกันข้ามกุ้งกุลาดำเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดเดียวที่ได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นอาชีพที่ยังสามารถทำกำไรและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบกิจการสูงมาก บ้านอะลาง

โดยเฉพาะในขณะนี้พืชผลการเกษตรอื่น ๆ ต่างประสบปัญหาราคาตกต่ำอย่างรุนแรงในขณะที่ กุ้งกุลาดำราคากลับสูงขึ้นมากเนื่องผลผลิตจากประเทศอื่น ๆ ลดลง เกษตรกรบางรายอาจมีปัญหาเลี้ยงแล้วเกิดการขาดทุนเนื่องจากการดูแลจัดการฟาร์มกุ้งไม่ดีเท่าที่ควร การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การใช้ยา การใช้ปูน เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกษตรกรควรหันมาศึกษาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบปลอดสารพิษอย่างจริงจัง และในอนาคตคาดว่าการแข่งขันน่าจะเข้มข้นสูงถ้ารัฐบาลของแต่ละประเทศที่เลี้ยงกุ้งทะเลต่างสนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งอย่างจริงจังเมื่อผลผลิตในแต่ละประเทศออกมามากจะมีผลต่อราคากุ้งอย่างแน่นอน ประเทศใดมีต้นทุนในการผลิตสูงจะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า ในปัจจุบันนี้แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกกุ้งทะเลแช่เยือกแข็งมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา ติดต่อกันมานานหลายปีแต่ในช่วงหลัง ๆ มาการส่งออกกุ้งกุลาดำของไทยเริ่มซบเซา ตลาดต่างประเทศไม่ยอมรับกุ้งของไทย เพราะว่ามีสารพิษตกค้างในปริมาณที่เกินกำหนดการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่รัฐบาลควรจะช่วยส่งเสริม  บ้านอะลาง

1. ลดต้นทุนในการผลิต โดยใช้ความรู้และวิชาการต่าง ๆ มาพัฒนาการเลี้ยงให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ ในอนาคต ลดการใช้ยาเคมีต่าง ๆ หันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม และผลกระทบระยะยาวในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
       
2. พัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพราะทางประเทศทางสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะใช้เป็นข้ออ้างที่จะกีดกันทางการค้า โดยอ้างว่ามีผลกระทบสิ่งแวดล้อม
       
3. การผลิตกุ้งกุลาดำมีคุณภาพดี ปลอดสารพิษ ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อ กำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้า ตั้งแต่การเลี้ยงในฟาร์มกระทั่งจับขายและขั้นตอนต่าง ๆ ในโรงงานที่ผลิตสินค้าเพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพดีปลอดภัยต่อผู้บริโภคของ


ผู้เลี้ยงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจ ในเรื่องการเลี้ยงกุ้งปลอดสารพิษ
1. เลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพดี เท่าที่ผ่านมาผู้เลี้ยงกุ้งมักจะนิยมปล่อยลูกกุ้งอัตราความหนาแน่นที่สูงมากไว้150,000-250,000 ตัว/ไร่ การเลี้ยงจากการไต่ถามผู้เลี้ยงกุ้งที่ปล่อยอย่างนี้ก็เพราะเผื่อลูกกุ้งตาย จำนวนการติดของลูกกุ้งน้อย   ซึ่งสาเหตุอันนี้ เนื่องจากคุณภาพลูกกุ้งที่ผ่านมาไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองอาหารในช่วงเดือนแรกมากไม่มีการสร้างห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติในช่วงเตรียมน้ำก่อนที่จะปล่อยกุ้ง การปล่อยลูกกุ้งหนาแน่นเกินไปมักพบอาการกุ้งแตกไซด์ และมักจะพบว่าอัตรารอดของลูกกุ้งต่ำ การปล่อยลูกกุ้งที่เหมาะสม ที่ 50,000-80,000 ตัวต่อไร่ และเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีมีขั้นตอนการผลิตที่สามารถลดการติดเชื้อไวรัสดวงขาวได้ ซึ่งหากผู้เลี้ยงเลือกพันธุ์ที่ดี เลี้ยงอาหารธรรมชาติให้กุ้งกินในระยะเริ่มแรก และปล่อยลูกกุ้งตามที่กล่าวมาคือไม่ปล่อยกุ้งเผื่อลูกกุ้งตาย กุ้งไม่เป็นกุ้งจิ๊กโก๋ หรือแตกไซด์ จะสามารถผลิตกุ้งขนาด 30-40 ตัว/กิโลกรัมได้ ซึ่งขนาดดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะปัจจุบันนี้ประเทศไทยผลิตกุ้งขนาดใหญ่ได้ลดลงกว่าในอดีต การเลี้ยงกุ้งจะต้องมีระบบการเลี้ยงที่รัดกุม เช่น ระบบปิดน้ำหมุนเวียนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาชีพอื่น ๆ ข้างเคียงการเลือก การเลือกลูกกุ้งคุณภาพดี ต้องใช้แม่กุ้งที่ผ่านการตรวจด้วยพีซีอาร์แล้วเท่านั้น มาทำการเพาะลูกกุ้ง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกกุ้งปลอดเชื้อ โดยเฉพาะจากไวรัสดวงขาว (ตัวแดงดวงขาว) นอกจากนั้นก่อนซื้อลูกกุ้งจำเป็นต้องมีการทดสอบความแข็งแรงจะต้องมีการตรวจปริมาณของเอ็มบีวี (MBV) และเอชพีวี ( HPV) ด้วยเพราะไวรัสทั้งสองชนิดนี้อยู่ในเซลล์ตับ ถ้ามีปริมาณมากจะมีผลทำให้กุ้งโตช้าเนื่องจากการดูดซึมอาหาร การย่อยและการสะสมอาหารไม่เป็นปกติ จะทำให้ลูกกุ้งที่ปล่อยมีอัตรารอดต่ำ และมีปริมาณกุ้งแคระหรือกุ้งจิ๊กโก๋มากกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย และระยะเวลาเลี้ยงนานเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตให้สูงตามไปด้วย
       
2. เตรียมอาหารธรรมชาติก่อนปล่อยลูกกุ้ง ควรมีการเตรียมน้ำก่อนปล่อยลูกกุ้งให้มีอาหารธรรมชาติและ ปริมาณแพลงก์ตอนพืชแพลงค์ตอนสัตว์ที่เหมาะสม ลูกกุ้งจะมีอัตรารอดสูงขึ้นแข็งแรงและการเจริญเติบดี ประหยัดอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้เยอะแยะ ช่วยลดต้นทุนได้
       
3. ใช้อาหารที่มีคุณภาพดี การใช้อาหารที่มีคุณภาพดี หมายถึง ใช้อาหารปริมาณน้อยแต่ได้ " ค่าอัตราการแลกเนื้อ" ดีอาหารที่มีคุณภาพต่ำจะมีผลทำให้กุ้งโตช้ากว่าปกติ และยังต้องเสียเวลาเลี้ยงนานมากกว่าแล้วยังจะทำให้ของเสียที่พื้นบ่อเกิดสะสมขึ้นในบ่อเป็นจำนวนมากมีผลต่อคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมภายในบ่อทำให้กุ้งเครียด ขาดออกซิเจน มีก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อเป็นจำนวนมาก ฯลฯ การให้อาหารปรับเพิ่มลดปริมาณอาหารอย่างเหมาะสมตามขนาดและอายุของกุ้ง และตามพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้งจึงจะทำให้ได้ผลดีเต็มที่ การจับกุ้งขายในขณะที่กุ้งมีสุขภาพแข็งแรงดีการกินอาหารยังไม่ลดลง จะทำให้ได้กุ้งที่มีคุณภาพดีและอัตราแลกเนื้อต่ำไม่สิ้นเปลืองอาหารมากแต่ในทาง ตรงกันข้ามกุ้งในบ่อหนาแน่นมาก หรือคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมพื้นบ่อไม่สะอาดเช่นเลนกระจายทั่วบ่อ จะทำให้ กุ้งโตช้า ถ้าไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำและสภาพในบ่อให้ดีขึ้นได้และเลี้ยงต่อไปเรื่อย ๆ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น จะน้อยมากหรือไม่เพิ่มขึ้นเลยอาจจะไม่คุ้มกับค่าอาหารที่เพิ่มขึ้นด้วย การตัดสินใจวิเคราะห์เหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างถูกต้องและจับกุ้งขายทันเวลาสามารถลดต้นทุนได้มาก
         
4. มีการจัดการที่เหมาะสม การจัดการในด้านคุณภาพน้ำ แพลงก์ตอน การให้ออกซิเจน และการจัดการพื้นบ่อ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เลี้ยงแบบปลอดสารพิษ เลี้ยงระบบปิด โดยใช้ความเค็มต่ำโดยใช้น้ำที่มีความเค็มสูง 100-250 พีพีที จากการนำเกลือมาผสมกับน้ำจืดจนได้ความเค็มไม่เกิน 10 พีพีทีแล้ว ปล่อยลูกกุ้ง และเติมน้ำจืดในระหว่างการเลี้ยงความเค็มของน้ำจะค่อย ๆ ลดลงจนกระทั่งจับขาย พบว่าการเลี้ยงวิธีดังกล่าวข้างต้นจะมีปัญหาเรื่องโรคต่าง ๆ น้อยกว่าในพื้นที่ที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล

การใช้อากาศ หากผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำปล่อยกุ้งไม่หนาแน่นเกินไปจากที่เห็นผู้เลี้ยงกุ้งวางใบพัดให้ออกซิเจนในบ่อแล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องออกซิเจนในบ่อไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรกุ้ง   แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงกุ้งบางรายยังยึดติดกับการเลี้ยงกุ้งแบบเก่าก่อนคือปล่อยกุ้งเผื่อตายอยู่เลี้ยงกุ้งหนาแน่นเกินไป ระบบการให้อากา ศไม่ดี ก็จะทำให้กุ้งขาดออกซิเจน กุ้งเครียด และผลอื่น ๆ จะตามมา การใช้เครื่องให้อากาศแบบใบพัดใต้น้ำเพื่อรวมเลนซึ่งใช้พลังงานต่ำกว่าและรวมเลนได้ดีกว่าเครื่องตีน้ำทั่ว ๆ ไปนอกจากนั้น อาจจะมีการใช้ซุปเปอร์ชาร์จหรือเครื่องอัดอากาศตามสายยางที่เดินไปทั่วบริเวณบ่อเสริมบางส่วน เพื่อลดต้นทุนในด้านพลังงาน และในกรณีที่มีกุ้งหนาแน่นมาก การเสริมซุปเปอร์ชาร์จตอนกลางคืนถึงเช้ามืดซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้ออกซิเจนสูงมากในบ่อกุ้งจะสามารถป้องกันการลดลงของออกซิเจนได้มาก จะทำให้การเจริญเติบโตของกุ้งเป็นปกติผลผลิจะดีตามขึ้นด้วย จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องให้อากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจนและรวมตะกอนต่าง ๆ เข้ากลางบ่อทำให้มีพื้นที่สะอา ดสำหรับกุ้งอาศัยเพิ่มมากขึ้น  บ้านอะลาง



การควบคุมปริมาณแพลงก์ตอน
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันเน้นการเลี้ยงกุ้งแบบระบบปิดจึงมีการถ่ายเปลี่ยนน้ำน้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงในการเติมน้ำใหม่เข้าไปในบ่อซึ่งอาจจะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าไปในบ่อด้วย หลังจากเลี้ยงกุ้งมาได้ประมาณ 60 วัน โดยเฉพาะในช่วงที่ไม่มีฝนตก แสงแดดจัด ติตต่อกันหลายวัน มักจะพบว่าปริมาณแพลงก์ตอนจะเพิ่มขึ้น จนทำให้น้ำมีสีเข้มมากขึ้นจนถึงจุดที่มีผลต่อปริมาณออกซิเจนด้วย เช่น เมื่อใดออกซิเจนตอนเช้าลดต่ำลงมาเรื่อย ๆ ในขณะที่ออกซิเจน ตอนบ่ายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เกินจุดอิ่มตัวจนถึงระดับที่มากกว่าตอนเช้า ซึ่งเป็นผลมาจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชตอนกลางวัน แต่ในทางกลับกันหลังจากเที่ยงคืนจะพบว่าปริมาณออกซิเจนลดต่ำมากเนื่องจากการหายใจของแพลงก์ตอนตอนกลางคืนในบ่อที่มีการถ่ายน้ำน้อย ถ้าไม่มีการควบคุมและจัดการให้ปริมาณแพลงก์ตอนอยู่ในระดับที่เหมาะสมจะพบว่าในระยะต่อแพลงก์ตอนตายเป็นจำนวนมากในช่วงตอนบ่ายและกลางคืนทำให้ปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงมาถึงระดับที่มีกุ้งเกาะขอบบ่อ และบางส่วนอาจจะลอยตามผิวน้ำในเวลาต่อมาเมื่อระดับออกซิเจนต่ำลงน้อยกว่า 2.0 พีพีเอ็ม จะพบว่ากุ้งเกือบทั้งหมดลอยตามผิวน้ำ ถ้าแก้ปัญหาไม่ทันหรือไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดความเสียหายได้มากการแก้ไขที่ต้นเหตุก็คืออย่าปล่อยให้แพลงต์ตอนพืชบูมมากเกินไป ซึ่งการที่แพลงค์ตอนพืชบูมนั้นมีสาเหตุมาจากแอมโมเนียที่ละลายน้ำนั้นมีปริมาณที่เยอะ ซึ่งแอมโมเนียนั้นเป็นปุ๋ยอย่างดีของแพลงค์ตอนพืช ต้องกำจัดแอมโมเนียให้หมดไปโดยการหว่านสเม็คไทต์ หรือไคลน็อพติโลไลท์ ใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยของเสียหมักหมมในบ่อให้น้อยลง หากในบ่อมีปริมาณออกซิเจนน้อยกุ้งเกิดการลอยหัวให้เร่งเครื่องตีน้ำให้แรงขึ้น ให้หว่านไคลน็อพติโลไลท์ในอัตรา 2 กระสอบต่อไร่ พอช่วงบ่ายให้วัดค่าแอมโมเนีย ถ้ายังไม่ลดลงให้หว่านไคลน็อพติโลไลท์ตามไปอีกในอัตราเท่าเดิม และทำการตรวจ ทำต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าแอมโมเนียจะหายไป (แอมโมเนียเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหามากมาย เช่น pH ในบ่อเลี้ยงแกว่ง ถ้ามีปริมาณที่มากทำให้กุ้งเครียด กินอาหารน้อยลง กุ้งอ่อนแอ เป็นสาเหตุให้โรคต่าง ๆ เข้าตัวกุ้งได้ง่าย




การควบคุมพีเอช , อัลคาไลน์
    จากข้อมูลการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ต่าง ๆ พอจะสรุปได้ชัดเจนว่า ถ้า พีเอช ต่ำหรือสูงเกินไป จะมีผลต่อการเจริญ เติบโต นอกจากนั้นปริมาณอัลคาไลน์ที่ต่ำและสูงเกินไป ยังมีผลต่ออัตรารอดและการเติบโตของกุ้งด้วย พีเอช ที่เหมาะสมในตอนเช้าประมาณ 7.5-8.0 พีเอชในตอนบ่ายไม่ควรจะสูงเกินกว่าตอนเช้ามากนักไม่ควร เกิน 0.8 ค่าที่แตกต่างเกิน 0.5 แต่ไม่ถึง 1.0 ถ้าเป็นการเลี้ยงกุ้งระบบความเค็มต่ำก็ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก
พีเอช ของน้ำในกรณีที่ พีเอช ตอนเช้าต่ำกว่า 7.5 ถ้าเป็นบ่อที่เพิ่งปล่อยลูกกุ้งและมีน้ำใสอาหารธรรมชาติจะมี น้อยกุ้งจะโตช้า อัตรารอดอาจจะต่ำ ควรที่จะเติมวัสดุปูน เช่น ถ้า พีเอช ของน้ำตอนเช้า 7.2 อาจจะเติมโดไลไมท์ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยสร้างสีน้ำให้เขียวขึ้น ไม่ควรปล่อยให้ พีเอช ในตอนเช้าต่ำกว่า 7.5 สำหรับบ่อที่กุ้งยังมีขนาดเล็ก บ่อที่กุ้งมีอายุมากขึ้น พีเอช ตอนเช้าควรอยู่ระหว่าง 7.5-7.8 พีเอช ของน้ำสูงมาก คือ ตอนเช้าเกิน 8.3 ควรลด พีเอช ลงมา โดยใช้สารที่เป็นกรด ลด พีเอช ทีละน้อยเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง พีเอช ภายใน บ่ออย่างรวดเร็วทำให้กุ้งช็อค หรือหยุดการกินอาหาร พีเอช ของน้ำตอนเช้าไม่เกิน 8.0 ถ้าอัลคาไลน์ต่ำไม่เกิน 50 พีพีเอ็ม  พีเอช ตอนเช้าต้องไม่ต่ำกว่า 7.5  ถ้าปล่อยลูกกุ้งในบ่อที่น้ำมี พีเอช ต่ำกว่า 7.5 และอัลคาไลน์ต่ำกว่า 50 ลูกกุ้งจะลอกคราบไม่ออก อัตรารอดจะต่ำมาก ตอนเช้าจะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ส่วนอัลคาไลน์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อหอยเจดีย์โตเต็มที่ อัลคาไลน์สูงมากเช่น 180-250 พีพีเอ็ม และ พีเอช ของน้ำตอนเช้าเกิน 8.3 จะพบว่าเปลือกกุ้งมีตะกรัน กุ้งเปลือกสากไม่ลอกคราบ การกินอาหารลดลง กุ้งมุดเลน เหงือกดำ ส่งผลให้กุ้งโตช้ามาก การแก้ไขต้องลดพีเอชลงมาให้ตอนเช้าไม่เกิน 8.0


การจัดการพื้นบ่อให้สะอาด
    พื้นบ่อเป็นแหล่งที่กุ้งอาศัยหากิน การจัดการพื้นบ่อให้สะอาดเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กุ้งเจริญเติบโตได้ดี การวางใบพัดหรือเครื่องให้อากาศที่ดีให้ของเสียต่าง ๆ ไปกองรวมกันอยู่ที่บริเวณกลางบ่อ ทำให้ของเสียในพื้นบ่อมีจำนวนน้อยโดยการใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส ซับติลิสลงไปย่อยของเสียที่ก้นบ่อให้มีปริมาณน้อย ใช้สเม็คไทต์ หรือไคน็อพติโลไลท์หว่านควบคู่กับจุลินทรีย์ เพื่อจับก๊าซต่าง ๆ ในบ่อ บวกกับวางระบบให้อากาศที่ดี พื้นบ่อก็จะสะอาด กุ้งไม่เครียด กินอาหารได้มาก การเจริญเติบโตดี ในทางกลับกันถ้าวางใบพัดตีน้ำไม่ดี ของเสียมีเต็มพื้นบ่อ ไม่มีการย่อยของเสียด้วยจุลินทรีย์ ก๊าซต่าง ๆ ในบ่อมีจำนวนมาก กุ้งไม่มีที่อาศัย ไม่มีอาหารให้กุ้งกิน เพราะให้อาหารเม็ดลงไปก็ตกลงไปจมเลนหมด กุ้งจะลงไปกินก็เจอแต่ก๊าซต่าง ๆ ซึ่งถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้อาจทำให้ผู้เลี้ยงต้องจับกุ้งก่อนกำหนด ประสบกับภาวะขาดทุน