ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp)


ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp) 
หรือที่เรียกกันว่าปลาไนแฟนซี ปลาไนสี หรือปลาไนทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มปลาตะเพียน (carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โคย (Koi) หรือนิชิกิกอย (Nishikigoi) เดิมทีเป็นปลาไนชนิดธรรมดา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่พบอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก บริเวณที่ถือว่าเป็นแหล่งดั้งเดิมจริง ๆ ของปลาไนคือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ชาวจีนเป็นชนกลุ่มแรกที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาไนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศญี่ปุ่น ตามหลักฐานตามประวัติศาสตร์ชิ้นแรกที่มีอยู่เกี่ยวกับ Koi นั้นได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณสองร้อยปีหลังคริสต์ศตวรรษ หลักฐานดังกล่าวได้เล่าถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ปลาเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้สำหรับดูเล่น บ้านอะลาง

สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ป ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็มีผู้สั่งปลาเข้ามาเลี้ยงกันมากมายในราคาที่ค่อนข้างสูงได้มีการศึกษาและทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จ ยังผลให้การสั่งเข้าปลาแฟนซีคาร์ปลดลง และปลาในประเทศที่มีคุณภาพดีได้รับความนิยมมากขึ้นจนแพร่หลายดังเช่นปัจจุบันปลาแฟนซีคาร์ปจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันแล้วแต่สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่ ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์เป็นช่วงฤดูหนาว ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่สืบพันธุ์ สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ปสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งพ่อแม่ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
จำเป็นต้องทราบว่าปลาแฟนซีคาร์ปมีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างไร กล่าวคือโดยทั่วไปปลาเพศเมียจะมีความกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้ บริเวณส่วนท้องจะใหญ่ นิ่ม ช่วงหัวจะกลมและป้านกว่าเพศผู้ ในฤดูสืบพันธุ์ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่สมบูรณ์ จะมีส่วนท้องขยายกว้างใหญ่ออกจนถึงเกือบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อจับหงายท้องดูที่ช่องเพศจะสังเกตเห็นช่องเพศใหญ่และนูนออกเป็นรูปกลม ส่วนปลาเพศผู้ช่องเพศมีลักษณะเล็กเรียวกว่า และเว้าข้างในเล็กน้อย เมื่อจับรีดท้องเพียงเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมา และเมื่อเอามือลูบบริเวณแก้มหรือครีบหูจะรู้สึกสาก ๆ ในประเทศไทยปลาแฟนซีคาร์ปที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป บ้านอะลาง

หลักการคัดเลือกปลาแฟนซีคาร์  เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรคัดจากปลาที่อยู่ในกลุ่มสีเดียวกันหรือต่างกันในกรณีที่ต้องการให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ พ่อแม่พันธุ์จะต้องมีรูปร่างที่ถูกลักษณะ สมบูรณ์ไม่พิการ มีสีและลวดลายที่เด่นชัด เนื่องจากสายพันธุ์ที่ดีจะมีโอกาสให้กำเนิดลูกปลาที่ดีและสวยงามในเปอร์เซ็นต์สูงกว่าปลาที่สายพันธุ์ไม่ดี


บ่อผสมพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์ป
ควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 4 ตารางเมตร มีการทำความสะอาด กำจัดศัตรูและโรคอย่างดี น้ำที่ใช้เพาะพันธุ์ควรเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติดี ไม่มีสารพิษหรือเคมีใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวปลาและไข่ปลา โดยปกติระดับน้ำในบ่อเพาะควรมีความลึกประมาณ 50-70 เซนติเมตร ใช้เชือกฟางพลาสติก สาหร่าย หรือรากของพันธุ์ไม้น้ำมาผูกติดกันเป็นแพลอยอยู่ในบ่อเพื่อให้ไข่ติด อัตราส่วนของพ่อแม่พันธุ์ที่นิยมในการเพาะใช้แม่ปลา 1 ตัว ต่อพ่อปลา 2-3 ตัว การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงในบ่อเพาะควรกระทำในเวลาเย็นเพื่อปลาจะผสมพันธุ์ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แม่ปลาความยาว 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม จะมีไข่ประมาณ 7-8 หมื่นฟอง พฤติกรรมในการผสมพันธุ์วางไข่ มีลักษณะเช่นเดียวกันกับปลาในตระกูลคาร์ปชนิดอื่น ๆ คือ ปลาตัวผู้จะใช้ส่วนหัวดุนที่ส่วนท้องของตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่ แม่ปลาจะว่ายไปใกล้ผิวน้ำแล้วกลับตัวเพื่อปล่อยไข่ ขณะเดียวกันปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะติดกับวัสดุที่เตรียมไว้ หลังจากปลาวางไข่แล้วต้องย้ายพ่อแม่ปลาออกจากบ่อเพาะ ส่วนไข่ที่ติดอยู่กับวัสดุจะย้ายไปพักในบ่ออื่นหรือฟักในบ่อเดิมก็ได้


วิธีเพาะพันธุ์
ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ (18-22 องศาเซลเซียส) จำเป็นต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิ เพื่อกระตุ้นให้ปลามีการผสมพันธุ์และวางไข่แต่สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25-32 องศาเซลเซียส จึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น


การฟักไข่และอนุบาลลูกปลา
ไข่ปลาแฟนซีคาร์ปเป็นไข่ที่ติดกับวัสดุ มีสีเหลืองอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.7 มิลลิเมตร ไข่ที่ผสมแล้วมีลักษณะโปร่งใสใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 45 ชั่วโมง ณ อุณหภูมิ 28-29 องศาเซลเซียส เมื่อฟักเป็นตัวใหม่ ๆ ตัวอ่อนจะเกาะติดกับวัสดุใต้น้ำ ลูกปลาวัยอ่อนจะกินอาหารจากถุงไข่แดง (Yolk sac) ที่ติดอยู่ที่ตัวปลา เมื่อถุงไข่แดงยุบ (ประมาณ 2-3 วัน) ปลาจะเริ่มว่ายน้ำและหาอาหารธรรมชาติ อาหารในช่วงแรกนี้ควรใช้นมผงหรือไข่แดงต้มสุก บดละเอียดละลายน้ำให้กินวันละ 4-6 ครั้ง จากนั้นจึงให้ไรแดงจืด (Moina sp.) เป็นอาหาร ลูกปลาจะเริ่มเกิดครีบหาง และครีบหูเมื่ออายุ 6 วัน เริ่มมีเกล็ดเมื่ออายุ 12 วัน และจะเจริญเติบโตจนมีรูปร่างและอวัยวะต่าง ๆ ครบเหมือนปลาทั่วไปเมื่ออายุได้ 15 วัน ซึ่งในระยะนี้ลูกปลาจะมีความยาวเฉลี่ย 1.7 เซนติเมตร

การคัดเลือกลูกปลา โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่ลูกปลามีอายุประมาณ 60 วัน จึงเริ่มมีการคัดลูกปลา โดยคัดแยกปลาที่มีลักษณะดี สีสวยงาม ไม่พิการไปเลี้ยง ส่วนปลาที่ไม่ต้องการควรแยกออก เพื่อมิให้ปะปนกัน ปลาที่มีลักษณะดี ในการเพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์ปในแต่ละครั้ง อาจได้ลูกปลาที่สีสวยงามดี ในการเพาะแต่ละครั้งจะได้ลูกปลาที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ แต่ปลาที่สามารถคัดได้มีคุณภาพดีเยี่ยมอาจไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ หรือไม่ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของพ่อแม่ วิธีการอนุบาล ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่ของผู้เพาะพันธุ์การเรียกชื่อปลาแบบญี่ปุ่นปัจจุบันการเรียกชื่อปลาแฟนซีคาร์ปตามสายพันธุ์ อาศัยการดูลักษณะและรูปร่างแถบสีของปลาเป็นหลัก ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้กำหนดการเรียกชื่อของปลานี้โดยแบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม ลักษณะดังต่อไปนี้ บ้านอะลาง


โคฮากุ (KOHAKU)
"โค" แปลว่า แดง "ฮากุ" แปลว่า ขาว โคฮากุ คือปลาที่มีสีแดงกับสีขาว ปลาที่ดีสายพันธุ์นี้จะต้องเป็นสีขาวสะอาดเหมือนสีหิมะซึ่งจะตัดกับแดงซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ดีอย่างเด่นชัดไทโช-ซันโชกุ (TAISHO-SANSHOKU)  จักรพรรดิไทโช บิดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน คือเริ่มประมาณ ค.ศ. 1912 "ซันโชกุ" แปลว่า 3 สี ปลาคาร์ปพวกนี้พื้นลำตัวเป็นสีขาว แต่ลวดลายหรือจุดแต้มสีแดงหรือสีดำที่เด่นชัด ส่วนสีขาวก็เป็นเหมือนหิมะและที่ครีบหูจะต้องเป็นสีขาวด้วย

โชวา-ซันโชกุ (SHOWA-SANSHOKU)
"โชวา" หมายถึง ยุคหนึ่งในสมัยจักรพรรดิองค์ปัจจุบันครองราช เริ่มประมาณ ค.ศ. 1927 "ซันโชกุ" แปลว่า 3 สี ปลาคาร์ปกลุ่มนี้มีพื้นลำตัวเป็นสีดำ แต่มีลวดลายหรือจุดแต้มสีขาวและสีแดง ที่ครีบหูจะต้องมีจุดสีดำ

อุทซึริ-โมโน (UTSURI-MONO)
"อุทซึริ" หมายถึง สีดำที่เป็นลายแถบคาดคลุมจากหลังลงมา ถึงส่วนท้องด้านล่างบนพื้นสีอื่น ๆ ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ชิโร-อุทซึริ (Shiro-Utsuri), ฮิ-อุทซึริ (Hi-Utsuri), คิ-อุทซึริ (Ki-Utsuri)


เบคโกะ (BEKKO)
 "เบคโกะ" แปลว่า กระ ปลากลุ่มนี้มีสีขาว แดง หรือเหลือง สีลวดลายเป็นสีดำ มีลักษณะเหมือนที่พบบนกระดองเต่า คือ สีดำเป็นดอก ๆ บนลำตัว ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ชิโร-เลคโกะ (Shiro-Bekko), ฮิ-เบคโกะ (Hi-Bekko), คิ-เบคโกะ (Ki-Bekko) เป็นต้น

คาวาริโมโน (KAWARIMONO)
"คาวาริ" แปลว่า เปลี่ยนแปลงนอกคอก ไม่เหมือนใคร "โมโน" แปลว่า ชนิด รวมความแปลว่า ชนิดที่สีไม่เหมือนใคร เช่น ปลาสีดำ (Karasugoi) สีชา (Chagoi), สีเขียว (Midorigoi)



อาซากิ ชูซุย (ASAGI, SHUSUI)
   "อาซากิ" แปลว่า สีฟ้าอ่อน ส่วนบนของลำตัวปลาเป็นสีฟ้าหรือสีเทา แต่มีลวดลายคล้ายร่างแหหรือตาข่ายคลุม "ชูซุย" หมายถึง ปลาแฟนซีคาร์ปพันธุ์เยอรมัน (โดยซึ) ที่มีเกล็ดสีน้ำเงินบนแนวสันหลัง

โคโรโมะ (KOROMO)
 "โคโรโมะ" แปลว่า เสื้อคลุม โคโรโมะ หมายถึง ปลาซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างกลุ่มสีโคฮากุ กับกลุ่มสีอาซากิ หรือกลุ่มสีซันโกกุ กับกลุ่มสีอาซากิ สายพันธุ์ที่เกิดใหม่และรู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น อะ-โคโรโมะ (Ai-goromo), ซูมิ-โคโรโมะ (Sumi-goromo) เป็นต้น

ฮิการิ-มูจิโมโน หรือ โอกอน (HIKARI-MUJIMONO or OGON)
"ฮิการิ" แปลว่า แสงรัศมี "มูจิโมโน" แปลว่า ชนิดที่มีสีเดียวกันล้วน ๆ หมายถึงปลาที่มีสีเดียวกันตลอดตัว "โอกอน" เป็นปลาที่มีสีเหลืองทอง Platinum-Ogon เป็นปลาสีเหลืองที่มีประกายเหมือนทองคำขาว, Orange-Ogon เป็นปลาสีเหลืองมีประกายสีส้ม เป็นต้น

ฮิการิ-โมโยโมโน (HIKARI-MOYOMONO)
 "ฮิการิ" แปลว่า แสงรัศมี "โมโยโมโน" แปลว่า ชนิดที่ผสม รวมความแปลว่าชนิดที่มีเกล็ดสีเงินสีทองเป็นแสงรัศมี เป็นลูกผสมระหว่างปลาโอกอน กับปลาในกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปลากลุ่ม อุทซึริ ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ยามาบูกิ-ฮาริวากี (Yamabuki-Hariwake), คูจากุ (Kujaku) เป็นต้น


คินกินริน (KINGINRIN)
"คิน" แปลว่า ทอง "กิน" แปลว่า เงิน "ริน" แปลว่า เกล็ด รวมความแปลว่า ปลาที่มีเกล็ดทอง เกล็ดเงิน หมายถึงปลาที่มีเกล็ดสีเงินสะท้อนแสงแวววาวเป็นลายเส้นขนานตามแนวยาวของสันหลัง เช่น ปลาพันธุ์โคฮากุที่มีเกล็ดเงิน (Kinginrin-Kohaku) ปลาพันธุ์เบคโกะที่มีสีเงิน (Kinginrin-Bekko) เป็นต้น

ตันโจ (TANCHO)
 "ตันโจ" แปลว่า หงอนแดงของหัวไก่ หมายถึงปลาที่มีสีแดงลักษณะกลมที่หัว ส่วนลำตัวจะมีสีขาวหรือสีอื่นก็ได้ เช่น ตันโจ-โคฮากุ (Tencho Kohaku), ตันโจ-โชวา (Tancho-Showa) เป็นต้นจากการตั้งชื่อกลุ่มปลาดังกล่าวข้างต้น จะสังเกตได้ว่าการเรียกชื่อถือรากศัพท์ของสี สถานที่ ชื่อรัชสมัย ฯลฯ ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นคำเรียก ดังนั้นในการเรียกชื่อปลาแต่ละตัวซึ่งมีลักษณะรวมในกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่มปนกันจึงสามารถนำชื่อกลุ่มเรียงต่อกัน หรือจะตั้งเป็นชื่อใหม่ก็ได้

ตัวอย่างเช่น  
ตันโจ-แพลทินั่ม-กินริน (Tancho-Platinum-Ginrin) หมายถึงปลาสีแพลทินั่มที่มีสีแดงกลมที่หัวและเกล็ดสีเงินสะท้อนแสงแวววาวเป็นสายเส้นขนานตามลำตัว

ตันโจ-โชวา-ซันโชกุ (Tancho-Showa-Sanshoku) หมายถึงปลาสีแดง ดำ ขาว ซึ่งมีสีดำเป็นสีพื้นของลำตัวตลอดจนครีบหู และมีสีแดงกลมที่บริเวณหัว

แพลทินัม-โดยซึ (Platinum-Doitsu) หมายถึงปลาพันธุ์เยอรมันที่มีสีทองคำขาว
ฮิ-อุทซึริ (Hi-Utsuri)หมายถึงปลาสีแดงที่มีสีดำเป็นลายแดงคาดคลุมจากหลังลงมาถึงส่วนท้องด้านล่าง

ชิโร-เบคโกะ (Shiro-Bekko)หมายถึงปลาสีขาวที่มีลวดลายสีดำเป็นดอกบนลำตัว
เรียบเรียงใหม่โดยเกษตรบ้านอะลาง