หอมแดง

การปลูกหอมแดง
1. หอมแดงพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ ทางภาคเหนือเรียก หอมบั่ว เป็นหอมแดงที่มีเปลือกนอกสีเหลืองปนส้มขนาดหัวปานกลาง ลักษณะกลมสี ใน 1 หัวแยกได้ 2-3 กลีบ กลิ่นไม่ฉุนจัด รสหวาน ระหว่างการเจริญเติบโตไม่มีดอกและเมล็ด เมื่อปลูก 1 หัว จะแตกกอให้หัว ประมาณ 5-8 หัว อายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ในฤดูหนาว 90 วัน และฤดูฝน 45 วัน ผลผลิตที่ได้แตกต่างกันตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ 2000-3000 กิโลกรัม/ไร่ คุณภาพในการเก็บรักษาไม่ค่อยดี เพราะมีเปอร์เซ็นต์ แห้งฝ่อ และเน่าเสียหายมากถึง 60%

2. หอมแดงพันธุ์บางช้าง หรือหอมแดงศรีสะเกษ เป็นหอมแดง ที่มีเปลือกนอกสีม่วงปนแดง เปลือกหนาและเหนียว ขนาดหัวใหญ่ สม่ำเสมอ หัวมีลักษณะกลมใน 1 หัว มี 1-2 กลีบ กลิ่นฉุนจัด มีรสหวาน ระหว่างการเจริญเติบโต จะสร้างดอกและเมล็ดมาก ซึ่งจะต้องหมั่นตรวจดูและเด็ดทิ้งให้หมด มิฉะนั้นจะทำให้ได้ขนาดหัวเล็ด และจำนวนหัวน้อย โดยทั่วไปเมื่อปลูก 1 หัวจะแตกกอให้หัวประมาณ 8-10 หัว การแตกกอและลงหัวช้ากว่าหอมบั่วเล็กน้อย มีอายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ให้ฤดูหนาว 100 วันขึ้นไป และฤดูฝน 45 วัน ให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ 1000-5000 กิโลกรัม/ไร่ คุณภาพใน
การเก็บรักษาดีกว่าหอมบั่ว

หอมแดงขยายพันธุ์ด้วยการปลูกจากเมล็ดและปลูกด้วยหัว

หอมแดงที่ปลูกด้วยเมล็ด
ต้น กล้าหอมแดงที่เจริญเติบโตจากเมล็ด แข็งแรงมาก เตรียมแปลงเพาะกล้าหอมแดง ด้วยการขุดดินตากแดดไว้ประมาณ 7-10 วัน รดน้ำดินที่ขุดตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง เมื่อตากแดดครบ 7-10 วัน ดินแปลงเพาะก็จะแตกร่อน เราจึงยกแปลงปลูกให้สูง จากระดับทางเดินระหว่างแปลง 20 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว ตารางเมตรละ 5 กิโลกรัม สับปุ๋ยหมักให้เข้ากับดินที่ความลึก 10 เซนติเมตร เอาจอบเกลี่ยผิวดินให้เรียบพร้อมปลูก นำทรายก่อสร้างมาผสม กับเมล็ดหอมแดง ด้วยอัตราส่วน เมล็ด 1 ส่วน ทราย 3 ส่วน คลุกเมล็ดหอมแดงกับทราย ให้กระจายทั่วกันแล้วจึงหว่านเมล็ด เมล็ดหอมแดง 25-50 กรัม เพียงพอที่จะหว่านเมล็ด ในพื้นที่แปลงเพาะ 3-5 ตารางเมตร การเอาทรายผสมเมล็ดพร้อมปลูก มีจุดประสงค์ที่จะให้เมล็ดหอมแดง กระจายทั่วกัน แล้วกลบเมล็ดด้วยปุ๋ยหมัก หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ปิดคลุมแปลงเพาะด้วยฟางข้าว หรือซาแรนตัดแสง 50 เปอร์เซนต์ แล้วให้น้ำทับลงไปบนฟาง หรือซาแรน ปิดซาแรนนานประมาณ 4 วันจึงเอาออก เลี้ยงต้นกล้าหอมแดงในแปลงเพาะนาน 42-60 วัน จึงย้ายปลูก โดยให้ระยะระหว่างต้น 10 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 20 เซนติเมตร หอมแดงจะลงตัว และแตกกอ 3-10 หัวต่อต้น หอมแดงโตพร้อมเก็บ เมื่อย้ายปลูกได้ประมาณ 4 เดือน ควรเพาะกล้าหอมแดง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป ควรเริ่มเพาะกล้าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นไป ใช้เวลาตั้งแต่เพาะกล้า จนเก็บเกี่ยวเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน

การปลูกหอมแดงด้วยหัว
ใช้ หัวพันธุ์มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 4-5 กรัม ให้ระยะปลูกระหว่างหัว 10 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างแถว 20 เซนติเมตร อย่าให้หัวจมดินจนมิด ปิดคลุมดินภายหลังปลูกด้วยฟาง หอมแดงปลูกด้วยหัว อาจปลูกได้ 2 ครั้ง ครั้งแรกปลูกต้นเดือนพฤษภาคม และเก็บหัวได้ราวปลายเดือนกรกฎาคม ครั้งที่สองปลูกต้นเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวปลายเดือนธันวาคม เราอาจเก็บเกี่ยวภายใน 55-60 วัน หลังจากปลูกก็ได้ แต่หัวหอมยังแก่ไม่เต็มที่ น้ำหนักหัว หรือผลผลิตอาจต่ำกว่าปกติ
หอม แดงเป็นพืชผักที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติแล้ว หอมแดงชอบอากาศเย็น และกลางวันสั้น คือ ต้องการแสงแดดเพียง 9-10 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นหากปลูกในฤดูหนาว หอมแดงจะมีการเจริญเติบโตดี แตกกอให้จำนวนหัวมาก และมีขนาดหัวใหญ่ แต่หอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาวนี้จะมีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าหอมแดงที่ปลูกใน ฤดูอื่น เช่น ในฤดูหนาวทางภาคเหนือ หอมแดงจะแก่จัดเก็บเกี่ยวได้ช่วงอายุ 90-110 วัน หากปลูกในฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงอายุ 45-60 วัน
แหล่ง เพาะปลูก แหล่งเพาะปลูกหอมแดง มากที่สุดคือ ภาคอีสาน ได้แก่ ศรีสะเกษ , บุรีรัมย์ , นครราชสีมา รองลงมาคือ ภาคเหนือ ได้แก่ ลำพูน , เชียงใหม่ , เชียงรายและอุตรดิตถ์ นอกจากนี้ยังมีปลูกกันที่ราชบุรี , กาญจนบุรี และนครปฐม ด้วย
ฤดูปลูก ปลูกได้ตลอดปี ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  
การเตรียมดิน
หอม แดงมีระบบรากตื้น ชอบดินร่วน มีการระบายน้ำดี แปลงปลูกควรไถพรวน หรือขุดด้วยจอบพลิกดินตากแดดไว้ก่อน 2-3 วัน แล้วย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก อย่าให้ละเอียดมาก เพราะจะทำให้ดินแน่น หอมลงหัวยากควรใส่ปุ๋ยคอก , ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เก็บเศษวัชพืช หรือรากหญ้าอื่น ๆ ออกให้หมดแล้วรองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 ในปริมาณ 20-50 กิโลกรัม/ไร่
ขั้นตอนการไถปรับสภาพดิน ควรมีการไถเพื่อปรับสภาพดินและทำการตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อรา

การรองพื้นโดยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ย มูลสัตว์) หลังจากตากดินไว้ 5-7 วันแล้ว ก่อนที่จะทำการไถในรอบที่ 2ให้ใช้ สาร ที-เอส-3000ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 100-200 ก.ก หว่านในอัตรา 50 -100 ก.ก ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินและความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
การรองพื้นโดยปุ๋ย เคมี หลังจากตากดิน 5-7 วันแล้ว ให้ใช้ สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา สารที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) หว่านอัตรา 25 ก.ก ต่อไร่ สาร ที-เอส-3000 จะช่วยกระตุ้นระบบรากให้มีมากขึ้นและช่วยให้ต้านทานโรคและแมลงได้ดีเนื่อง จาก สาร ที-เอส-3000จะมี ซิลิก้าซึ่งจะทำให้ลำต้นของพืชแข็งแรงพร้อมด้วยธาตุอาหารอื่นๆซึ่งจะทำให้ แข็งแรงต้านทานโรคและได้รับธาตุอาหารที่ครบถ้วนหลังจากนั้นให้ทำการคราดกลบ และรดน้ำเพื่อเตรียมการปลูกต่อไป

การเตรียมพันธุ์หอม
หัว หอมพันธุ์ที่จะใช้ปลูก ควรเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน เพราะหัวหอมที่จะใช้ปลูกควรมีระยะพักตัวอยู่สักระยะหนึ่ง แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน เพราะระยะนี้หอมจะเริ่มแดงยอดอ่อนสีเขียวพ้นหัวเก่ามาแล้ว ให้นำหัวหอมพันธุ์มาตัดแต่งทำความสะอาด ตัดเล็มรากเก่า และใบแห้งทิ้งให้หมด หากเห็นว่ายอดอ่อนยาว อาจตัดทิ้งเสียสัก 1 ใน 10 เพื่อเร่งให้งอกไวเมื่อปลูกแล้ว ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่จะใช้หัวหอมพันธุ์ประมาณ 200 กิโลกรัม ก่อนปลูกหากเห็นว่าหัวหอมพันธุ์เป็นโรคราดำ หรือมีเน่าปะปนมา ต้องฉีดพ่นหรือจุ่มน้ำ สารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราตามอัตราที่กำหนดในฉลาก และผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปปลูก

ระยะปลูก 
นิยม ปลูกเป็นแปลงขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร ความยาวของแปลง เป็นไปตามความสะดวกในการ ปฏิบัติงานควรปลูกเป็นแถว ระยะปลูก 15-20 ซม. หรือ 20-20 ซม.

การปลูก 
ก่อน ปลูกควรรดน้ำแปลงปลูกให้ดินชุ่มชื้นไว้ล่วงหน้า นำหัวหอมพันธุ์มาปลูกลงในแปลง โดยเอาส่วนโคนหรือที่เคยเป็นที่ออกรากเก่าจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว ระวังอย่ากดแรงนักจะทำให้ลำต้นหรือหัวชอกช้ำจะทำให้ไม่งอก หรืองอกรากช้า เมื่อปลูกทั่วทั้งแปลงให้คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหรือแกลบหนาพอสมควรเป็นการ รักษาความชุ่มชื้นและคุมวัชพืช จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ๆ ต้นหอมจะงอกออกมาภายใน 7-10 วัน หากหัวใดไม่ออกให้ทำการปลูกซ่อมทันที

การดูแลรักษา การให้น้ำหอมแดงต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอในระยะเจริญเติบโตและแตกกอ หากปลูกในที่ ๆ มีอากาศแห้งและลมแรง อาจต้องคอยให้น้ำบ่อย ๆ เช่น ภาคอีสาน ช่วงอากาศแห้งมาก ๆ ระยะแรกอาจให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ในภาคเหนือ เกษตรกรจะให้น้ำประมาณ 3-7 วันต่อครั้ง

การฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต
ชื่อ ผลิตภัณฑ์ ไฮ-แม็ก 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 20-30 ซีซี + ซุปเปอร์-บีม 3 พลังครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร   (ตัวเสริม โปรแท็ป 1-2 ขีด)
ประโยชน์ เร่งการเจริญเติบโต สร้างลำต้นให้แข็งแรง สีเข้ม ฉีดพ่นทุก 7-15 วัน ในเวลาเช้าหรือตอนเย็น ในเวลาที่อากาศไม่ร้อน

การฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเร่งลงหัว ระยะหลังปลูก 35-45 วัน
ชื่อผลิตภัณฑ์ ซุปเปอร์-แบม 30-40 ซีซี + เอ็มเร็ตต้า 3-4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร
ประโยชน์ สะสมแป้ง เร่งลงหัว ทำให้หัวแน่น หัวไม่ฝ่อ ไม่ลีบ ทำให้สีเข้ม น้ำหนักดี เก็บได้นาน

การให้ปุ๋ย
เมื่อ อายุ 14 วัน หลังจากปลูก ควรใส่ปุ๋ย แอมโมเนียมซัลเฟต 20-0-0,21-0-0 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตจำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) ผสมกันหว่านในอัตราประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง
-เมื่อ อายุ 35-40 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) ผสมกันหว่านในอัตราประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่
-เมื่อหอมเริ่มลงหัวให้ ใส่ปุ๋ย 13-13-21 ผสมด้วย สาร ที-เอส-3000 ในอัตรา สาร ที-เอส-3000 15 ก.ก (1กระสอบ) ปุ๋ยสูตร 13-13-21 จำนวน 50 ก.ก (1กระสอบ) ผสมกันหว่านในอัตราประมาณ 15 -20 ก.ก ต่อไร่
การใส่ปุ๋ยใช้วิธีโรยห่าง ๆ ต้นห่างจากต้นราว 7 ซม. หรือใช้วิธีโรยให้ทั่วแปลงก็ได้ หลังจากให้ปุ๋ยให้เอาน้ำรดหรือเอาน้ำเข้าแปลง




การกำจัดวัชพืช
ควร กำจัดวัชพืชบ่อย ๆ เมื่อวัชพืชยังเล็ก หากโตแล้วจะทำการกำจัดยากและจะกระทบกระเทือนรากหอมแดงได้มาก ปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากขึ้นเพราะประหยัดแรงงานกว่า ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงหอมแดง ได้แก่ อลาคลอร์ อัตราการใช้ให้ใช้ตามที่ระบุในฉลากยา

โรคแมลง
โรคที่สำคัญของหอมแดง ได้แก่ โรคเน่าเละ , โรคใบจุดสีม่วง , โรคราน้ำค้าง และ โรคแอนแทรคโนส
แมลงศัตรูหอมแดงที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกระทู้หอมและเพลี้ยไฟ
ควร ฉีดยาฆ่าแมลงและยากันรา ที่ราคาไม่แพงนักทุก 7 วัน เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า หอมแดงที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจะงอกงามและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

การเก็บเกี่ยว
โดย ปกติหอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาว จะแก่จัดเมื่ออายุ 70-110 วัน ถ้าปลูกในฤดูฝนจะสามารถเก็บได้ เมื่ออายุประมาณ 45 วัน แต่ผลผลิตของหอมแดงทั้ง 2 ฤดูแตกต่างกัน คือในฤดูหนาวจะให้ผลผลิตมากเป็น 2-3 เท่าของในฤดูฝน จึงเป็นเหตุให้ หอมแดงในฤดูฝนมีราคาสูงกว่า
หอม แดงที่เริ่มแก่แล้วจะสามารถสังเกตได้จากสีของใบจะเขียวจางลง ปลายใบเริ่มเหลืองและใบมักจะถ่างออก เอนล้มลงมากขึ้น ถ้าบีบส่วนคอ คือบริเวณโคนใบต่อกับหัวหอม จะอ่อนนิ่ม ไม่แน่นแข็ง แสดงว่าหอมแก่แล้ว

หลังจากเก็บเกี่ยว มีการปฎิบัติคล้ายกระเทียม คือหอมแดงที่ถอนแล้ว ต้องนำมาผึ่งลมในที่ร่มให้ใบเหี่ยวแห้งจากนั้นก็มัดเป็นจุก คัดขนาด และทำความสะอาด คัดพันธุ์แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่ม เช่นใต้ถุนบ้าน ให้มีลมโกรก เพื่อระบายความชื้นจากหัวและใบหอม ไม่ให้ถูกแดด ฝนหรือน้ำค้าง หอมแดง หากเก็บไว้ในอากาศอบอ้าวจะเกิดโรคราสีดำ และเน่าเสียหายเช่นเดียวกับกระเทียม

การเก็บหอมแดงไว้ทำพันธุ์
หอม แดงที่แก่จัดหากเก็บรักษาไว้ดีจะฝ่อแห้งเสียหาย เพียง 35-40% ควรคัดเลือกหอมแดงที่จะใช้ทำพันธุ์ แยกออกมาต่างหากจากส่วนที่จะขาย และฉีดพ่นยากันรา เช่น เบนเลท ให้ทั่ว และนำไปผึ่งลมจนแห้งสนิทจึงนำเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์ (ไม่ควรนำมารับประทาน) จะช่วยป้องกันไม่ให้หอมแดงเน่าเสียหายง่าย.

ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก กรมส่งเสริมการเกษตร