ไข่มดแดง




การเลี้ยงมดแดง
    มดแดงเป็นแมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในแมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบและเข้าใจลึกซึ้งถึงประโยชน์ที่ได้รับจากมดแดง ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของมดแดงและในบางครั้งก็ทำลายมดแดงไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การใช้สารเคมีฆ่าแมลง มดแดงช่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยต่างๆ หนอนศัตรูพืชเกือบทุกชนิดและแมลงที่เป็นศัตรูพืชต่างๆ เช่น ตั๊กแตก เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว ฯลฯ   เมื่อมดแดงมีความสามารถที่จะกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด   ก็เป็นการควบคุมศัตรูพืชให้อยู่ในระดับสมดุลย์ทางธรรมชาติ   ทำให้ศัตรุพืชไม่ระบาดรุนแรง เป็นการลดการใช้สารเคมี   ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรและสภาพแวดล้อม ''บ้านอะลาง''


การดำรงชีวิตของมดแดง
    มดแดงเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันสร้างรังเลี้ยงดูตัวอ่อนให้เติบโตเป็นสมาชิกใหม่
ภายในรังมดแดงจะมีสมาชิก คือ
1. แม่เป้ง (นางพญา) มีรูปร่างขนาดใหญ่มากกว่ามดแดงธรรมดามาก ลำตัวเป็นสีเขียวปนน้ำตาล มีปีกสำหรับบิน  มีหน้าที่ออกไข่คล้ายกับนางพญาปลวกผึ้ง เมื่อใดแม่เป้งเห็นว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการสร้างรังและวางไข่ แม่เป้งจะทิ้งรังเดิมไปสร้างรังและวางไข่ที่อื่นที่มีน้ำ อาหารสมบูรณ์ตามต้นไม้มีใบดก เขียวชะอุ่ม หนา ทึบ และปลอดภัย

2. มดแดง ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่า มดแดงตัวใดเป็นมดงาน มดพยาบาล หรือมดทหารเหมือนกับปลวก เนื่องจากมดแดงตัวเมียสามารถทำหน้าที่ทั้ง 3 กรณี คือ เป็นมดงานทำหน้าที่สร้างรัง มดพยาบาลทำหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อน และมดทหารทำหน้าที่สู้ขัดขวางผู้บุกรุกที่จะทำอันตรายแก่รังของมัน


การดำเนินประชากรของมดแดง
    เริ่มจากแม่เป้งจะออกไข่ไว้ในรังที่ตัวมันสร้างเพียงตัวเดียวก่อน จำนวนไข่มีไม่มาก ประมาณ 100-500 ฟอง ในจำนวนไข่ทั้งหมดจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. ไข่มาก เป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่ผิดธรรมดา จะฟักออกมาเป็นแม่เป้งมดแดง

2. ไข่ฝาก เป็นไข่ที่มีขนาดเล็กไม่โต ไม่เต่งเหมือนไข่มาก จะฟักตัวออกมาเป็นตัวมดแดงธรรมดา เมื่อไข่ทั้งหมดฟักเป็นตัวอ่อน และเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นประชากรมดแดงที่มีจำนวนมาก จำนวนจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว

3. ไข่มดดำ ไข่มีขนาดเล็กออกสีดำ ฟักออกเป็นตัวมดดำมีปีกแล้วบินหนีไป




การสร้างรังของมดแดง 
มดแดงทุกตัวจะมีเส้นใยพิเศษที่ได้จากน้ำลายและกรดมดจากท้องของมัน ลักษณะของใยมีสีขาว  (เมื่อแห้งแล้วอ่อนนุ่มและเหนียวคล้ายสำลี) มดแดงจะดึงใบไม้มายึดติดก้นโดยใช้ใยนี้เอง ส่วนมากจะสร้างรังเป็นรูปทรงกลม  สามารถป้องกันน้ำฝนได้ แม่เป้งจะออกไข่ให้มดแดงเลี้ยงดูจนกระทั่งฟังเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนจะได้รับการป้อนน้ำ ป้องอาหารตลอดเวลา หากได้รับอย่างเพียงพอจะเจริญเติบโตเป็นมดแดงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 5-10 วัน มดแดงชอบสร้างรังบนต้นไม้ที่มีใบดกถาวรไม่ผลัดใบง่าย อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นริมลำธาร หนองน้ำหรือแอ่งน้ำตามธรรมชาติ  มดแดงจะสร้างรังอยู่อย่างหนาแน่นมากกว่าที่ไม่มีน้ำ เนื่องจากมดแดงต้องการน้ำมากเพื่อใช้ในการสร้างกรดมดบรรจุไว้ส่วนท้อง   เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ต้นไม้ที่มดแดงชอบสร้างรัง เช่น ต้นมะม่วง สะเดา ต้นจิก ต้นไทร ต้นโพธิ์ ต้นกะบากและต้นขึ้เหล็ก เป็นต้น


 ข้อควรระวังสำหรับผู้เลี้ยงมดแดง
  คือเมื่อแหย่ไข่มดแดงมาปรุงอาหาร ควรปล่อยแม่มดแดง (แม่เป้ง) ให้หมด ไม่ควรนำมาคั่วหรือฆ่ามดแดง จะเป็นสาเหตุที่ทำให้มดแดงอพยพไปอยู่ที่อื่นจนหมด วิธีการแยกมดแดงออกจากไข่ของมัน ทำได้โดยใช้แห้งมันสำปะหลังโรยลงไปที่ไข่มดแดงแล้ว นำไปเทใส่ถาดเกลี่ยให้กระจายออก มดแดงจะไต่หนีไปจนหมดเหลือไว้แต่ไข่มดแดงเท่านั้น


ประโยชน์ของมดแดง
 มีมากมายหลายประการ พอสรุปได้เป็นหัวข้อ ดังนี้
1. ใช้เป็นอาหาร ได้จากไข่ และตัวมดแดง มดแดงมีกรดน้ำส้ม ให้รสเปรี้ยว อร่อย แดง มีคุณสมบัติเป็นกรดใช้แทนมะนาว หรือน้ำส้มสายชู ให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม รายการอาหารที่ได้จากมดแดงและไข่มดแดง ได้แก่ ยำไข่มดแดง ก้อยไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนไข่มดแดง แกงขี้เหล็กไข่มดแดง ทอดไข่ยัดไส้ เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการ มีทั้งตัวมดแดง แม่เป้ง ไข่มดแดง โปรตีน  13.9,12.7 ,7.0 กรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ตามลำดับ นอกจากนั้นมีคุณค่าทางไวตามินอีกต่างหาก


2. ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ดังนี้
2.1 ใช้สูดดม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย โดยใช้มดแดง นำมาขยำแล้ว สูดดม

2.2 แก้ท้องร่วง ใช้เนื้อไก่พื้นบ้าน นำส่วนที่เป็นเนื้อแหย่เข้าไปในรังมดแดง เมื่อมดแดงกัดได้ปริมาณ
      มากดึงออกมาแล้วใช้มือขยำนำไปย่างไฟให้สุกรับประทานขณะที่ยังร้อน อาการท้องร่วงจะบรรเทา
      และหายไป

2.3 แก้ท้องผูก นำมดแดงมาต้มใส่น้ำสะอาด ประมาณ 1 – 2 ถ้วย พอเดือด ยกลงแต่งรสโดยใช้เกลือ
      พอเหมาะ กรองด้วยผ้าขาวบาง ดื่มทันที อาการท้องผูกจะหาย

2.4 ใช้ลบรอยไฝหรือขี้แมลงวัน โดยจับเอาตัวมดแดงกัดตรงเม็ดไฝ ให้มันเยี่ยวใส่ ถ้าไฝเม็ดโต
      ให้กัดหลายตัวพร้อมกัน ด้วยฤทธิ์ของน้ำกรด ไฝจะบวมและเปื่อยละลายเอาสีดำไหลออกมา
       เมื่อแผลหายจะไม่ปรากฏเม็ดไฝอีกต่อไป มีเพียงรอยแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น

2.5 ใช้แก้โรควูบ นำรังมดแดงร้างที่เกิดจากต้นคูณ มาใส่หม้อนึ่งต้มให้เดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะ
      สูดเอาไอร้อน ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรควูบจะมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

3. ใช้กำจัดศัตรูพืช 
    ต้นผลไม้ต่างๆ ตลอดทั้งพืชผัก เช่น บวบ ถั่วฝักยาว แตงร้าน หากมีมดแดงอาศัยอยู่
    จะปราศจากหนอน แมลง เพลี้ย รบกวน เนื่องจากมดแดงจะจัดการนำไปเป็นอาหารจนหมดสิ้น
    ต้นมะม่วงที่มีปัญหาเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้งในต้นมะขาม หากนำมดแดงไปเลี้ยงเอาไว้ จะหมดปัญหา
    ไปทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการกำจัดศัตรูพืชและปลอดสารพิษด้วย


ปกติมดแดงจะมีไข่ประมาณฤดูแล้ง
    ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ในช่วงมดวางไข่ชาวบ้านออกไปเก็บไข่มดแดงในป่า
บางคนได้วันละ 2-3 กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลละ 150 บาท แต่ถ้าช่วงหายากเคยเพิ่มสูงถึง 400 บาท จึงเป็นรายได้เสริมให้ชาวบ้านในภาคอีสานได้


สำหรับการเลี้ยงมดนั้นจากประสบการณ์ตัวเอง
    เลี้ยงเพราะว่าเก็บมะม่วงไม่ได้ครับ ขึ้นต้นทีไรเป็นโดนกัด เลยเลี้ยงไว้มดก็เลยไม่โดนกัดครับแถมยังเชื่องด้วย โดนรังมันก็ไม่ทำอะไรเลย สามารถเก็บรังได้อย่างง่ายดายครับ   เลี้ยงง่าย มีต้นไม่ ใช้ต้นมะม่วงเพราะมีมดอยู่แล้ว เพียงแค่ หาถ้วย-ขวดน้ำพลาสติก ใส่อาหารและน้ำให้ ทุกวัน เพียงเท่านี้มดที่น่ารำคาญก็จะเชื่องน่ารักเชียวครับ เวลาปีนต้นขึ้นให้อาหารก็จะมีขบวนมดมาเข้าแถวต้อนรับครับ    อาหารที่ให้โดยมากให้ อาหารที่เหลือครับ ถ้าเลี้ยงเอาไข่ก็ต้องให้อาหารเสริมกันหน่อยครับ พวกเนื้อสัตว์ ดิบๆก็ได้สุกๆก็กินหมดครับ  น้ำ ก็น้ำเปล่าธรรมดาครับ หมดเมื่อไหร่ก็เติมอย่าให้ขาด "Alangcity"

           ***---------------------------------------------------------------------------------------***



เมนูไข่มดแดง  ชวนให้หิวข้าว
หมกไข่มดแดง
เครื่องปรุง
1. ไข่มดแดง
2. พริกแห้งป่น หรือพริกสดพอประมาณ
3. น้ำปลา หรือปลาร้า หรือเกลือป่น
4. ตะไคร้
5. หัวหอม
6. ใบแมงลัก

วิธีปรุง 
1. นำไข่มดแดงใส่ภาชนะ เช่น ชามหรือกะละมัง
2. โขลกพริกให้ละเอียดเทลงในชาม
3. เติมน้ำปลา หรือ ปลาร้า หรือเกลือ พอสมควร
4. เติมตะไคร้หั่นฝอย
5. ใช้ทัพพีคลุกให้เข้ากัน ชิมรสดูเมื่อเห็นว่าอร่อยแล้ว ตักใส่ในตองที่เตรียมไว้ โรยด้วยใบแมงลัก ต้นหอม นำไปตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อสุกยกลง แล้วนำมารับประทานได้


ก้อยไข่มดแดง
เครื่องปรุง
1. ไข่มดแดง
2. น้ำปลา
3. ข้าวคั่ว
4. ต้นหอม ผักชีหั่นฝอย ใบสะระแหน่
5. พริกป่น
6. น้ำมะนาว (อาจใช้มดแดงแทน)

วิธีปรุง 
1. นำไข่มดแดงที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะ
2. เติมพริกป่น ข้าวคั่ว น้ำปลาพอประมาณ
3. ใช้ทัพพีคลุกให้เข้ากันแล้วชิมรส เมื่อเห็นว่าได้ที่แล้วใส่หอมผักชี ใบสะระแหน่
4. หากต้องการรสเปรี้ยวก็เติมน้ำมะนาวหรือมดแดงก็ได้
5. ตักไข่มดแดงที่ปรุงสำเร็จแล้ว ตกแต่งจานให้สวยงาม เพื่อให้น่ารับประทาน


ต้มยำปลาช่อนไข่มดแดง
เครื่องปรุง
1. ไข่มดแดง 1 ถ้วย
2. ปลาช่อนตัวใหญ่ 1 ตัว
3. น้ำปลา ซีอิ้วขาว
4. มะเขือเทศ หรือ มะขามเปียก
5. เห็ดฟาง
6. ตะไคร้ ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี
7. กระเทียม หอมแดง ข่าอ่อนหั่นเป็นแว่น


วิธีปรุง 
1. นำปลาช่อนมาขอดเกล็ดควักไส้หั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ลงในหม้อเติมน้ำพอประมาณ
2. นำไปตั้งไฟให้เดือดใส่ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด หอมแดง และกระเทียมทุบ
3. ต้มปลาจนสุกแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา ซีอิ้วขาว
4. ใส่มะเขือเทศ เห็ดฟาง ชิมรสแล้ว ใส่ไข่มดแดง
5. ยกลงโรยด้วยต้นหอม ผักชี ตักรับประทาน ตามต้องการ "Alangcity"