ยาสูบเตอร์กิซ



ใบยาเตอร์กิซ                  
     ใบยาเตอร์กิช จ.ร้อยเอ็ด :  ร้อยเอ็ด เป็นอีกแดนดินถิ่นอีสานที่น่าหลงใหลในบรรยากาศแห่งความรุ่งเรืองจากอดีตครั้งเก่าก่อนประวัติศาสตร์ ที่นี่เป็นอีกจังหวัดที่น่าเที่ยวมากครับ โดยมีแม่น้ำชีสีครามไหลผ่าน นอกจากบึงพลาญชัยที่สวยงาม เงียบสงบ น่าท่องเที่ยวแล้ว ที่นี่ยังมีงานประเพณีบุญผะเหวดที่เลื่องชื่อลือนามอีกด้วย นอกจากความเจริญรุ่งเรืองที่ปรากฏในตำนานอุรังคธาตุและงานบุญที่งดงามน่าประทับใจแล้ว ที่นี่ยังเป็นอีก 1 แหล่งปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิชที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย



แหล่งการปลูกใบยาเตอร์กิชส่วนมากอยู่ในเขตอีสานจังหวัดร้อยเอ็ด,ศรีสะเกษ และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะเกษตรกรที่บ้านอะลาง  หมู่ที่ 5  อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ  ได้หันมาปลูกใบยาสูบเตอร์กิชกันมากขึ้น  เนื่องจากรายได้ดี  ตลาดมีความต้องการสูง  แต่ต้องใช้ความอดทนและเอาใจใส่เป็นพิเศษเนื่องจากป็นยาสูบที่ค่อนข้างจะปลูกยาก ''บ้านอะลาง''

ดอกสีสันสดใส

ไร่ยาสูบพันธุ์เตอร์กิช
ใบยาเตอร์กิช ค่อนข้างแตกต่างจากใบยาอื่นๆ เพราะเป็นใบยาบ่มแดด มีความหอมเฉพาะตัวจากแว็กซ์ หรือเรซิ่นที่สะสมอยู่ในใบยา เหมาะมาก กับบรรยากาศแบบแห้งแล้ง ดินทรายจัด ไม่อุ้มน้ำ เพราะใบยาจะได้สร้างแว็กซ์ขึ้นมาเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ ยิ่งแว็กซ์มากยิ่งทำให้ใบยาหอมมาก ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นที่ต้องการมาก หากน้ำเยอะทำให้ใบใหญ่สวยงามแต่แว็กน้อยและไม่หอม


   หน้าตาของไร่ยาสูบเตอร์กิชค่อนข้างสวยงามเลยทีเดียว โดยใบยาเตอร์กิชนิยมปลูกกันในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะปลูกเป็นแถวเรียงกัน โดยต้องเพาะกล้าประมาณ 40 วันก่อนนำมาปลูกในไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ทางโรงงานยาสูบจัดสรรมาให้ตามโควตา ระยะเวลาเติบโตในไร่ 60 วันก่อนเก็บเกี่ยวครั้งแรก หลังจากนั้นจะเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วันจึงหมดต้น


การเก็บใบยาเตอร์กิช
เกษตรกรผู้ปลูกแนะนำเราว่าจะใช้วิธีการเก็บแบบเก็บเป็นใบ ๆ เช่นเดียวกับใบยาเวอร์จิเนียและเบอร์เล่ย์ โดยเก็บจากใบข้างล่างไล่ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงยอด วิธีเด็ดใบยาคือบิดออกด้านข้าง เพื่อป้องกันการฉีกขาดบริเวณลำต้น เก็บครั้งหนึ่งประมาณ 3-5 ใบต่อต้น เก็บแต่ละครั้งห่างกัน 4-7 วัน เก็บเสร็จวางใบยาใส่ตะกร้าเพื่อขนกลับไปเสียบร้อยต่อไป



รอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความสุข

ใบจะเล็กกว่าใบยาสูบทั่วไป


การคัดแยกคุณภาพ
เมื่อเก็บมาแล้วก็จะมีการแยกใบยาตามขนาดและคุณภาพ แล้วร้อยที่โคนก้านใบเข้าด้วยเข็มเหล็กยาวประมาณ 1 ฟุต ร้อยแบบเรียงใบไม่ต้องจับหน้าชนหน้าหลังชนหลังเหมือนใบยาเวอร์จิเนียและใบยาเบอร์เล่ย์ ร้อยเป็นพวงๆ ละประมาณ 300 ใบ จนเต็มเชือกแล้ว นำไปผูกกับกรอบไม้ โดยทางโรงงานยาสูบสนับสนุนกรอบหรือเฟรมตากใบยาที่ตรงตามคุณภาพ GAP ให้กับชาวไร่ยาสูบ


การบ่มใบยาด้วยแดด
ในการตากใบยา ต้องตากในร่มประมาณ 2-3 วัน เพื่อลดความชื้นก่อนการบ่มแดด หลังจากนั้นนำไปตากแดดรำไรหรือพลางแสงแดดอีก 3-5 วัน เพื่อต้องการให้น้ำระเหยออกจากใบยาอย่างช้า ๆ จนใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นำใบยาออกตากแดดเฉพาะกลางวัน ส่วนกลางคืนต้องนำเข้าที่ร่มหรือใช้ผ้าใบคลุมไว้เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำค้าง หลังจากนั้นตากแดดจัดต่ออีก 7-10 วัน เรียกว่าระยะทำใบแห้ง เมื่อใบแห้งแล้วแกะเชือกออกจากกรอบไม้นำปลายเชือกแต่ละด้านมาผูกกันคล้ายพวงมาลัย และแขวนผึ่งในร่มอีก 10-15 วัน เรียกว่าระยะทำก้านแห้ง เพื่อให้ใบยาอ่อนตัว



แขวนใบยาในที่ร่มเพื่อให้ก้านแห้ง
เมื่อบ่มจนได้ที่แล้ว ก็ยังไม่จบขั้นตอนเสียทีเดียวครับ ขั้นตอนต่อไป คือ การหมัก โดยจะนำใบยาที่ผ่านการบ่มแดดมากองเพื่อหมักอีก 10 - 15 วัน เพื่อให้คุณภาพสีใบยาดีขึ้น จึงนำไปอัดเป็นห่อเพื่อรอจำหน่าย โดยนำใบยาแห้งมาชั่งก่อนไม่ให้เกิน 15 กิโลกรัม เพราะทางโรงงานยาสูบกำหนดขนาดรับซื้อไว้ไม่เกิน 15 กิโลกรัมต่อ 1 ห่อใบยา หลังจากชั่งแล้วนำใบยาแห้งที่ยังร้อยเชือกมาเรียงใส่บล็อค หลังจากอัดแน่นก็เย็บกระสอบป่าน 3 ด้าน (ด้านแคบ) ส่วนอีก 3 ด้านใช้วิธีเย็บเชือกป่านไขว้ไปมาให้แน่นกันใบยาหลุดออกจากห่อ เป็นอันเสร็จพิธีแบบง่ายดายพอประมาณ

การรับซื้อใบยาจะเป็นไปตามคิวครับ โดยทางโรงงานยาสูบ ตรวจสอบห่อใบยาก่อนส่งเข้าไปตีเกรดชั้นใบยาอีกที บนห่อใบยามีเลขกำกับดังนี้ 1. No. หมายถึงหมายเลขห่อ 2. G (Grade) หมายถึงชั้นใบยา 3. W (Weight) หมายถึงน้ำหนักห่อใบยา


    ในพื้นที่ขานเกรดใบยาจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบันทึกคอมพิวเตอร์ ส่วนกรรมการรับซื้อ และส่วนจดบันทึกมือ วิธีการรับซื้อคือนำห่อใบยาขึ้นวางบนราง เลื่อนไปทีละห่อให้กรรมการรับซื้อใช้ไม้แหลมทิ่มลงไปที่ใบยาแล้วงัดขึ้นมาดูคุณภาพ หลังจากดูก็จะขานเกรดใบยาห่อนั้นๆ ไปทีละห่อจนครบจำนวนที่เกษตรกรหรือชาวไร่แต่ละรายนำมาขาย ลำดับขั้นตอนการขานเริ่มจากขานรหัสชาวไร่ก่อน ขานเบอร์ห่อใบยา ขานเกรดใบยา และขานน้ำหนัก ทางฝ่ายคอมพิวเตอร์ก็จะบันทึกไปพร้อมๆกับฝ่ายจดบันทึกมือ เพื่อกันข้อมูลผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และเพื่อความสบายใจของชาวไร่ยาสูบ



    สำหรับราคาใบยาสูบจะอยู่ที่ห่อละประมาณ 800-1,000 บาท โดยรายได้เฉลี่ยต่อไร่จะอยู่ไร่ละประมาณ 13,000 บาท   นับเป็นการใช้สภาพพื้นที่เพื่อเอื้ออำนวยกันอย่างสอดคล้องเหมาะเจาะมากครับ กลายเป็นอีก 1 ผลิตผลที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ จ.ร้อยเอ็ด ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว



สถานการณ์สินค้าเกษตรสำคัญ (ราคาใบยาสูบ)
โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การส่งเจ้าหน้าที่กำกับ ดูแล และติดตามการรับซื้อใบยาสูบทุกปี

รวมทั้งมีการประกาศกำหนดราคารับซื้อใบยาสูบขั้นต่ำไว้ สรุปได้ดังนี้
1. กรมสรรพสามิตได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับราคาใบยาสูบมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประสานงานกับ 3 หน่วยงาน คือโรงงานยาสูบ บริษัทผู้รับซื้อใบยาสูบเพื่อส่งออกและสมาคมผู้บ่มใบยา เพื่อพิจารณาการปรับราคาใบยาสูบให้เหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตใบยาและค่าเงินบาทลอยตัว ซึ่งในส่วนของโรงงานยาสูบได้มีการปรับราคารับซื้อใบยาแห้งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนโดยเฉลี่ยราคาดังนี้

1.1 พันธุ์เวอร์ยิเนียกิโลกรัมละ  8.48  บาท พันธุ์
1.2 เบอร์เล่ย์กิโลกรัมละ 4.00 บาท
1.3 พันธุ์เตอร์กิชกิโลกรัมละ 3.00 บาท

สำหรับบริษัทผู้รับซื้อใบยาสูบเพื่อส่งออกได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะรับซื้อใบยาในราคาที่ไม่ต่ำกว่าปีก่อน  แม้ว่าจะถูกบริษัทผู้รับซื้อต่างประเทศลดราคารับซื้อลงประมาณร้อยละ 10 - 20 ส่วนพันธุ์เตอร์กิชจะปรับราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.00 บาท

2. ในช่วงการซื้อขายใบยาสูบ  กรมสรรพสามิตได้ส่งเจ้าหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการรับซื้อใบยาสูบทุกปี ซึ่งในปีนี้จากการติดตามดูแลการรับซื้อใบยาสูบ ปรากฏว่าจากการปรับราคาใบยาแห้งดังกล่าวข้างต้นมีผลให้ราคารับซื้อใบยาสดและใบยาแห้งจากเกษตรกรผู้ทำไร่ยาสูบโดยเฉลี่ยสูงขึ้นจากปีก่อน ตามตารางการรับซื้อใบยาสูบตั้งแต่เริ่มต้นการรับซื้อ ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2541 ดังนี้

บาท/กิโลกรัม
รายการ            พันธุ์เวอร์ยิเนีย      พันธุ์เบอร์เลย์      พันธุ์เตอร์กิช

ใบยาสด   ใบยาแห้ง
ราคาเฉลี่ยปี 2539/2540       2.87     53.60       37.59          39.26

ราคาเฉลี่ยปี 2540/2541       3.18     59.84       42.00          42.26

(ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2541)
เพิ่มขึ้น                     0.31      6.24        4.41          3.00

คิดเป็นร้อยละ               10.80     11.64       11.73          7.64

อนึ่ง เนื่องจากปีนี้อากาศแห้งแล้งมาก มีผลให้คุณภาพใบยาสูบจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และส่งผลให้ราคา
ใบยาสูบไม่เพิ่มขึ้นมากนัก

3. กรมสรรพสามิต ได้มีการประกาศกำหนดราคารับซื้อใบยาสูบขั้นต่ำ เพื่อเป็นหลักประกันด้านราคา
แก่เกษตรกรผู้ทำไร่ยาสูบไว้แล้ว ส่วนราคาขั้นสูงไม่มีการกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด และ  คุณภาพใบยาสูบ


ข่าวเพิ่มเติม
    ตัวแทนกลุ่มเกษตรชาวไร่ยาสูบพันธุ์เตอร์กิซ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ทำจดหมายเปิดผนึกขอบคุณ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง หลังรมต. ช่วยฯ สั่งการให้กรมสรรพสามิตนำเรื่องขึ้นภาษียาสูบกลับไปทบทวนใหม่ เพื่อไม่ให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการขึ้นภาษีของรัฐตัวแทนกลุ่มเกษตรชาวไร่ยาสูบพันธุ์เตอร์กิซที่ลงนามจดหมายขอบคุณนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย นายสัน หาญสุโพ อดีตกำนัน ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

   นายประพันธ์ สมมงคล อดีตกำนัน ตำบลหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด นายคำตัน ถวิลรัตน์ อดีตสารวัตรกำนัน ตำหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด และ นายศูนย์ วะลาศรี ซึ่งเป็นตัวแทนชาวไร่ผู้ปลูกยาเตอร์กิชในจังหวัดร้อยเอ็ดกว่า 15,489 ราย รวมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 45,375 ไร่
โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เป็นพื้นที่ปลูกยาสูบพันธุ์เตอร์กิซที่สำคัญในประเทศไทย โดยใน 20 จังหวัดภาคอีสาน มีชาวไร่ยาสูบพันธุ์เตอร์กิซรวมกว่า 27,991 ราย และมีจำนวนผู้พึ่งพึงรายได้จากการปลูกยาสูบเป็นจำนวนกว่า 116,000 ราย

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบเบอร์เล่ย์จังหวัดสุโขทัยและเพชรบูรณ์ และ สมาคมผู้บ่มผู้เพาะปลูกและผู้ค้าใบยาสูบไทย (ส.ย.ท) จากภาคเหนือ ได้ทำจดหมายถึงนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ร้องขอให้อย่าขึ้นภาษีบุหรี่ซึ่งจะมีผลกระทบซ้ำเติมชาวไร่ยาสูบในเรื่องรายได้จากการขายใบยา หลังมีกระแสข่าวการปรับขึ้นภาษีบุหรี่จากกรมสรรพสามิตอย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังได้มีรายงานผ่านสื่อว่ารมต.ช่วยฯ รับฟังผลกระทบและสั่งการให้มีการทบทวนใหม่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง โทร. 0 2718 1886