ดอกหน้าวัว







หน้าวัว  ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก จึงนับเป็นโชคดีของเกษตรกรไทยที่สามารถปลูกไม้ดอกที่มีความสวยแปลกตา การปลูกไม้ดอกพื้นเมือง อาจกระทำได้ง่ายเนื่องจากมีความคุ้นเคยอยู่ก่อน แต่การนำเอาไม้ดอกเขตร้อนชื้นจากต่างประเทศ เข้ามาปลูกนั้น จำเป็นต้องมีวิทยาการและเทคนิคที่เหมาะสม เอกสารเผยแพร่ฉบับนี้จึงถูกเขียนขึ้นส่าหรับผู้สนใจที่จะปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัว เนื่องจากนิสัยความต้อง การของไม้ดอกสกุลนี้ต่างจากไม้ดอกชนิดอื่นอย่างมาก ส่าหรับความรู้ที่ใช้เขียนเอกสารฉบับนี้ ได้รับจากประสบการณ์ในมลรัฐฮาวาย และจากการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิชาการ และเกษตรกรไทย บ้านอะลาง ผู้ชำนาญในการปลูกไม้ดอกสกุลนี้ หากผู้อ่านต้อง การทราบข้อมูลเพิ่มเติมอาจติดต่อกับผู้เขียนได้ ทั้งนี้หวังว่าเอกสารฉบับนี้จะช่วยให้ผู้สนใจเริ่มปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวได้อย่างมั่นใจและประสบความส่าเร็จตามสมควร

ลักษณะทั่วไป
    หน้าวัวและเปลวเทียนเป็นไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่มีการ ปลูกเป็นการค้าในเขตร้อนชื้น โดยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีเนื้อไม้อ่อนและมีอายุยืน ลำต้นตั้งตรง ความยาวของปล้องจะแตกต่างกันใปขี้นอยู่กับชนิดหรือพันธุ์ เมี่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้นและรากเหล่านี้จะเจริญยืดยาวลงสู่ เครื่องปลูกได้ก็ต่อเมื่อโรงเรือนมีความชื้นสูงพอ ลำต้นอาจเจริญเป็นยอดเดี่ยวหรือ แตกเป็นกอก็ได้ ใบมีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปหัวใจ ดังเช่นที่พบในหน้าวัว หรือ รูปพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปี และรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดดังที่พบใน เปลวเทียน แต่ไม่ว่าจะมีรูปร่างอย่างไรจะสังเกตเห็นว่าปลายใบแหลม ในพวกที่มี ใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแห ขณะที่พวกซึ่งมีใบแคบเส้นใบจะเรียงตัว คล้ายเส้นขนาน แต่ทั้งนี้เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน

    ดอกหน้าวัวและดอกเปลวเทียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศคือ ดอกแต่ละดอกจะมี ทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกมีลักษณะเป็นดอกช่อโดยดอกรูปสี่เหลี่ยมข้าว หลามตัดจะเรียงอัดกันแน่นอยู่บนส่วนที่เรียกว่าปลี ดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ สีของกลีบดอกมักจะเปลี่ยนไปเมื่อดอกบาน เช่น ในปลีของดอกหน้าวัว ส่วนใหญ่ จะพบว่า เมื่อดอกบาน สีของกลีบดอกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีขาว ส่าหรับ จานรองดอกซึ่งมีสีสันที่สวยงามนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือใบประดับที่ติดอยู่กับโคน ช่อดอกหรือปลี จานรองดอกอาจมีสีขาว ส้ม ชมพูอมส้ม ชมพู แดง ม่วง และ สีเขียว หรือบางครั้งอาจพบจานรองดอกที่มีสีเขียวและ  สีอื่นปนกันก็ได้ ปกติจานรอง ดอกจะมีอายุการใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน โดยจานรองดอกจะมีคุณภาพทั้งในด้านสี และอายุการใช้งานดีที่สุดเมื่อตัดในขณะที่ดอกจริงบานได้ครึ่งปลี ส่าหรับจานรอง ดอกของหน้าวัวที่เหมาะส่าหรับในการตัดดอกเพื่อการส่งออกนั้น ควรมีร่องน้ำตาตื้น หูดอกช้อนกันเพียงเล็กน้อย และขอบจานรองดอกต้องไม่ม้วนงอ เนื่องจากลักษณะ ดังกล่าวจะช่วยป้องกันไม่ให้จานรองดอกหักในระหว่างการบรรจุและการขนส่ง อนึ่งจานรองดอกและปลีควรชี้ไปในแนวเดียวกัน ส่าหรับจานรองดอกของดอก เปลวเทียนนั้น ควรอยู่ชิดกับโคนปลีและโอบรอบปลีเอาไว้

พันธุ์ดอกหน้าวัว
    พันธุ์หน้าวัวของไทยที่มีผู้นิยมปลูกเพี่อตัดดอกคือพันธุ์ดวงสมร ซึ่งมี จานรองดอกสีแดง หน้าวัวพันธุ์นี้มีสีสดใส รูปร่างจานรองดอกสวยและให้ดอกดก แต่มีข้อเสียตรงที่ว่าจานรองดอกของหน้าวัวพันธุ์นี้มักมีรอยเว้าฉีกขาดในช่วง ที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากพันธุ์ดวงสมรแล้วก็อาจจะมีผู้ปลูกพันธุ์ ผกามาศซึ่งมีจานรองดอกสีส้ม และพันธุ์ขาวนายหวานซึ่งมีจานรองดอกสีขาวอยู่บ้าง พันธุ์ไทยอื่น ๆ เช่น พันธุ์จักรพรรดิ์ แดงนุกูล กษัตริย์ศึก กรุงธน นครธน ศรีสง่า ผกาทอง ดาราทอง สหรานากง โพธิ์ทอง ประไหมสุหรี ผกาวลี ศรียาตราและ วิยะดานั้นไม่เป็นที่นิยมในการปลูกเพื่อตัดดอกนัก ส่าหรับหน้าวัวพันธุ์ต่างประเทศก็ มีผู้ปลูกอยู่บ้างเหมือนกัน ได้แก่พันธุ์ Nagai พันธุ์ Avo-Anneke พันธุ์ Sunset (ตั้งชื่อโดยคนไทยที่นำเข้า) และ พันธุ์ Dusty Rose เป็นต้น ส่าหรับพันธุ์เปลวเทียนที่ปลูกกันนั้นได้แก่พันธุ์ไทย 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์ภูเก็ตซึ่งมีจานรองดอกสีแดง และพันธุ์ลำปาง ซึ่งมีจานรองดอกสีชมพู ส่วนพันธุ์ ต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกเพี่อเป็นไม้กระถาง ได้แก่พันธุ์ ARCS ซึ่งมีจานรองดอก สีม่วง พันธุ์ Lady Jane ซึ่งมีจานรองดอกสีชมพู และ A. Amni-oquiense ซึ่งมี จานรองดอกสีม่วงอ่อน แม้ปัจจุบันพันธุ์ไม้ดอกสกุลหน้าวัวมีอยู่ค่อนข้างจำกัด แต่กรมส่งเสริมการเกษตรและมูลนิธิโครงการหลวงกำลังนำพันธุ์ต่างประเทศเข้ามา ศึกษาเพื่อเตรียมเผยแพร่ในอนาคตอัน

โรงเรือน
    ธรรมชาติของไม้ดอกสกุลหน้าวัวต้องการสภาพที่มีความชื้นสูงและมีแสง แดดรำไร แต่ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ดังนั้นโรงเรือนจึงต้องมีความสูงไม่ต่ำ กว่า 3.0 เมตร หลังคาคลุมด้วยตาข่ายพลาสติกพรางแสงชนิดที่ยอมให้แสงผ่าน ได้ 20-30% โดยจะเลือกใช้ชนิดใดขี้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าว รอบ โรงเรือนควรปิดด้วยตาข่ายพรางแสงให้เว้นด้านบนไว้เล็กน้อย เพื่อระบายอากาศปัองกัน ไม่ให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไป พื้นโรงเรือนควรเก็บความชื้นได้ดี ขณะเดียวกันจะต้องระบายน้ำได้ดี ด้วย ดังนั้นพื้นโรงเรือนจึงอาจใช้อิฐมอญหรือกาบมะพร้าวปูพื้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม อาจใช้พื้นคอนกรีตเพือความทนทาน โดยพื้นคอนกรีตที่สร้างขึ้นจะต้องทำร่อง ระบายน้ำให้สามารถขังน้ำไว้ช่วยเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนได้ด้วย พื้นโรงเรือนใน ลักษณะที่กล่าวมานี้จำเป็นมากส่าหรับการปลูกในกระถาง แต่การปลูกในแปลงไม่ จำเป็นต้องใช้พื้นโรงเรือนที่เก็บความชื้นได้ เนื่องจากเครื่องปลูกช่วยเก็บ

การปลูก
    ไม้ดอกสกุลหน้าวัวสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกลงแปลง ส่าหรับ เกษตรกรไทยนั้นนิยมปลูกในกระถาง เนื่องจากสะดวกในการจำหน่ายต้นพันธุ์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะปลูกในกระถางหรือปลูกลงแปลง ควรเลือกเครี่องปลูกให้ เหมาะสม ส่าหรับในประเทศไทยเครื่องปลูกที่ดีที่สุดคือ อิฐมอญทุบขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง l.5 - 3.0 เชนติเมตร เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีและมีความคงทน สูง นอกจากนี้การเลือกขนาดอิฐทุบที่เหมาะสม ยังทำให้สามารถควบคุมการระบาย อากาศได้ตามต้องการอีกด้วย อนึ่งการปลูกด้วยอิฐมอญทุบในสภาพที่ค่อนข้าง แห้ง อาจเติมถ่านแกลบหรือกาบมะพรัาวสับเพี่อช่วยเก็บความชื้นคัวยก็ได้ อย่างไรก็ ตาม ผู้ปลูกควรทดลองปลูกด้วยอิฐมอญทุบจำนวนน้อยต้นก่อน เนี่องจากคุณภาพดิน ที่ใช้ทำอิฐมอญชี่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วย นอกจากอิฐมอญทุบแล้วอาจใช้กาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกก็ได้ แต่ต้องหมั่น เติมเครี่องปลูกบ่อย ๆ เพราะกาบมะพร้าวผุพังง่าย

การปลูกในกระถาง
     กระทำได้ไดยวางอิฐหักเปิดรูระบายน้ำที่บริเวณก้นกระถางเสียก่อน จากนั้นวางโคนต้นบนเศษอิฐหักนั้น  โดยให้ต้นอยู่ตรงกลางกระถางและรากกระจาย อยู่โดยรอบ นำอิฐมอญทุบขนาดใหญ่ที่แต่ละก้อนมีความยาวด้านละประมาณ 4 เชนติเมตร ใส่รอบโคนต้นประมาณครึ่งกระถาง แล้วนำอิฐมอญทุบที่มีก้อนขนาด เล็กกว่าเดิมครึ่งหนึ่งมาใส่จนมีระดับต่ำกว่าปลายยอดประมาณ 2 เชนติเมตร หรือ ใส่จนเต็มกระถางในกรณีที่ต้นค่อนข้างสูง หากโรงเรือนตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพ อากาศที่ค่อนข้างแห้ง อาจใส่ใยมะพร้าวบนผิวเครี่องปลูกเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่ม ชื้น ทั้งนี้การใช้จานรองกระถางก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความชื้นให้แก่พืชได้


 การปลูกลงแปลง
กระทำได้โดยกั้นขอบแปลงด้วยอิฐบล็อกหรือตาข่ายกรงไก่ให้ มีความสูงราว 30 เซนติเมตร พื้นแปลงควรทำเป็นสันนูนมีลักษณะคล้ายหลังเต่าเพื่อ ให้น้ำสามารถระบายออกทางด้านข้างแปลงได้โดยไม่ขังแฉะ และควรใช้ผ้าพลาสติก ปูพื้นแปลงเพี่อปัองกันไส้เดือนดิน จากนั้นจึงใส่เครี่องปลูกลงในแปลงให้มีความ หนาประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เสร็จแล้วปักหลักลงในแปลง ผูกต้นให้ตั้งตรงและ โคนต้นชิดกับเครี่องปลูกโดยให้รากแผ่กระจายบนเครื่องปลูกแล้วจึงเติมเดรี่อง ปลูกลงไปคล้ายกับการปลูกในกระถาง คือใส่ให้มากที่สุดโดยไม่กลบยอด

    โดยปกติแล้วการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวนี้ จะปลูกให้แต่ละต้นห่าง กันไม่น้อยกว่า 30 เชนติเมตร ซึ่งถ้าเป็นการปลูกในกระถาง ก็อาจปลูกในกระถาง ขนาด 12 นิ้วแล้วนำมาวางชิดกัน หลังจากปลูกแล้วจะต้องหมั่นเติมเครื่องปลูกอยู่ เสมอ อย่าปล่อยให้เครื่องปลูกอยู่ในระดับที่ห่างจากยอดเกิน 30 เซนติเมตร เพราะ การที่ยอดอยู่สูงเหนือเดรี่องปลูกมาก ๆ จะมีผลทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร


การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ควรเลือกใบ้ระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำเหวี่ยง โดยอาจใช้ระบบที่หัว พ่นน้ำตั้งบนพื้น การให้น้ำระบบนี้จะช่วยให้ความชื้นในโรงเรือนอยู่ในระดับ สูง ปกติจะให้น้ำวันละ 2 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำให้คราวละ 10 - 15 นาที การให้น้ำควรแบ่งทยอยเปิดน้ำภายในโรงเรือนเป็นส่วน ๆ ไปเพี่อรักษาความชื้น ในโรงเรือน ไม่ควรให้น้ำพร้อมกันทั้งโรงเรือน อนึ่งในช่วงที่มีสภาพอากาศ แห้ง อาจจะต้องให้น้ำถึงวันละ 3 ครั้ง


การให้ปุ๋ย
    ควรให้ปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรยรอบชายพุ่ม หรือรอบโคนต้นเดือนละครั้ง ในอัตราต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม) และอาจใช้ปุ๋ย เกร็ดละลายน้ำสูตร 15-30-15 หรือะ 17-34-17 อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นเสริมให้ทุก 15 วัน จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีและออกดอกดก


การตัดแต่ง
    ควรตัดแต่งใบออกบ้างในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยตัดให้ เหลือเพียงยอดละ 3 - 4 ใบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริเวณโคนต้นมีการระบายอากาศได้ดีขึ้นใน ช่วงฤดูฝน อีกทั้งการตัดใบจะช่วยให้มีโรคและแมลงลดลง โดยไม่ทำให้การเจริญ เติบโตหรือจำนวนดอกลดลงแต่อย่างใด


การขยายพันธุ์
ในการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพื่อการค้านิยมการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศหรือที่เรียกว่าการขยายโคลน เพราะต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโอกาสที่จะกลาย พันธุ์ไปจากต้นเดิมได้สูงมาก การขยายโคลนให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์เดิมอาจกระทำ ได้ดังนี้



การตัดดอก
    เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก สามารถทำได้ทั้งในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าขนาด เล็กชึ่งได้จาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อ และต้นขนาดใหญ่ที่สูงเกินไปคือ ยอดสูงกว่า เครื่องปลูกเกิน 60 เชนติเมตร โดยตัดให้มีใบติดยอดมาด้วยประมาณ 4 - 5 ใบ และหากมีรากติดยอดที่ตัดมาด้วย จะทำให้ต้นตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็ว แต่ถ้าไม่มี รากติดยอดมาเลย ในช่วงแรกจะต้องนำยอดที่ตัดมานี้ไปชำไว้ในที่ซึ่งมีความชื้นสูง มากก่อน รอจนยอดแตกรากและรากมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว จึงย้ายไปไว้ในโรงเรือนตามปกติ


การตัดหน่อ
    นิยมตัดหน่อที่มีรากแล้ว 2-3 ราก ซึ่งหน่อที่ตัดนี้อาจเกิดมาจากโคนต้น ของพันธุ์ที่มีหน่อดอก หรือเกิดจากตอที่ตัดยอดและหน่อไปแล้วหรือเกิดจากการชำ การรีบตัดหน่อ ในขณะที่ยังมีขนาดเล็กจะทำให้ต้นตั้งตัวช้า จึงควรทิ้งให้หน่อมีขนาดใหญ่และมีรากพอสมควรก่อน


การปักชำ
    วิธีนี้จะทำกับต้นตอที่เมื่อตัดยอดไปแล้วไม่เหลือใบติดอยู่ ซึ่งปกติจะ เป็นต้นที่มีอายุมากอาจปักชำทั้งต้นหรือตัดต้นเป็นท่อน ๆ ก่อนแล้วจีงนำไปปักชำ โดยที่แต่ละท่อนจะต้องมีข้อติดไปด้วยอย่างน้อย 3 ข้อ ในการปักชำจะต้องวาง ต้นให้ทำมุมกับวัสดุปักชำ 30-45 องศา โดยให้ตาหันออกด้านข้างเพราะจะทำให้ได้ หน่อในปริมาณมาก วัสดุปักชำอาจใช้อิฐมอญทุบละเอียด หรือทรายหยาบผสมถ่าน แกลบก็ได้ ควรปักชำในบริเวณที่มีแสงน้อยกว่าปกติ ถ้าเป็นการปักชำในกระบะชำ จะต้องควบคุมความชื้นให้อยู่ในระดับสูงอยู่เสมอแต่ไม่แฉะ


การเพาะเนื้อเยื่อ
    วิธีนี้เกษตรกรจะต้องพึ่งบริการจากห้องปฎิบัติการเชิงการค้า โดยจะใช้ ใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่ไปขยายพันธุ์ ซึ่งต้นพันธุ์ที่คัดเลือก ไว้เพื่อขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะ เลี้ยงเนื้อเยี่อนี้ จะต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ คือในการรดน้ำจะต้องรด เฉพาะบริเวณโคนต้นเท่านั้น การขยายพันธุ์วิธีนี้จะกระทำในกรณีที่ต้องการต้นพันธุ์ ในปริมาณมาก เช่น10,000 ต้น ในเวลา 2 - 2.5 ปี อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ได้จากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยือจะมีขนาดเล็ก จึงต้องปลูกในบริเวณที่ร่มและมีความชื้นสูง โดย เฉพา อย่างยิ่งในระยะที่นำออกจากขวดใหม่ ๆ

การขยายพันธุ์โดยวิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ต้นพันธุ์ที่ได้จะมีลักษณะที่แตกต่าง กันไป คือ การตัดยอดจะได้ต้นพันธุ์ที่ให้ดอกได้เร็วที่สุดแต่ได้จำนวนต้นน้อย การตัดหน่อจะได้จำนวนต้นพันธุ์มากขึ้นโดยต้นจะเล็กลง ในขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อ เยื่อจะได้ต้นพันธุ์จำนวนมากที่สุด แต่ต้นก็มีขนาดเล็กกว่าการขยายโคลนโดยวิธีอี่น

การตัดดอก
    ไม้ดอกสกุลนี้มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน คือไม่ควรต่ำกว่า 10 วัน ในระยะ ที่จานรองดอกเริ่มคลี่จะมีสีสดใสมากแต่ความสดใสจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่าหรับอายุการปักแจกันนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อรอให้ดอกบานบนต้นนานขึ้นจนถึงระยะ ที่ปลีเปลี่ยนสีทั้งปลีแล้วจากนั้นอายุการปักแจกันของดอกจะลดลง ปกติระยะที่เหมาะสม ที่สุดในการตัดดอกคือในระยะที่ปลีเปลี่ยนสีหรือเกสรตัวเมียชูขึ้นเหนือดอกแล้ว ครึ่งปลี ซึ่งเมื่อตัดดอกแล้วควรจุ่มมีดในน้ำยาฆ่าเชื้อเช่น ฟายแชน -20 (Physan-20) ในอัตรา 5 ชีชีต่อน้ำ 1 ลิตร ทุกครั้ง เพื่อป้องกันกันการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ดอกที่ตัดมาแล้วก็ควรแช่ในน้ำสะอาดและวางไว้ในร่มก่อนที่จะจัดส่ง ไปจำหน่ายต่อไป ทิ้งนี้ต้องระวังอย่าวางดอกไว้ในที่แห้งโดยไม่แช่น้ำ


ศัตรูและการป้องกันกำจัด
    ปกติไม้ดอกสกุลนี้มีศัตรูรบกวนน้อยมาก เนื่องจากสามารถผลิตสารเคมีมา ป้องกันตัวได้ อย่างไรก็ตาม หากจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็อาจพบโรคและศัตรูบางอย่าง เช่นโรคนี้หากไม่ได้เกิดจากการได้รับแสงมากเกินไป อาจเกิดจากเชื้อรา เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส หรืออาจเกิดจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค ไฟทอพโธรา อาการของโรคแอนแทรคโนสจะสังเกตเห็นได้ชัดเพราะแผลจะแห้ง เป็นวงช้อนกันในขณะที่อาการใบแห้งจากโรคไฟทอพโธราจะไม่เป็นวง หากมีโรค ใบแห้งเกิดขึ้น ควรลดแสงเพิ่มความชื้นและการระบายอากาศให้มากขึ้น แล้วฉีดพ่น ด้วยอาลีเอท หากเป็นโรคไฟทอพโธรา หรือฉีดพ่นด้วยบาวิสติน หากเป็น

โรคแอนแทรคโนส 
    โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยจะทำให้เกิดอาการช้ำและไหม้ซึ่งอาจทำ ให้ต้นตายได้ โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงมากเมี่อมีความชื้นและอากาศไม่ถ่ายเท หากพบอาการในระยะเริ่มแรกควรนำต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียและฉีดพ่น ด้วยแคงเกอร์เอ๊กช์หรือสเตรป
1 คือใบที่แสดงอาการโรคใบแห้งที่เกิดจากเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไฟทอพโธรา
2 คือใบที่แสดงอาการโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบหนาและด้าน ใบจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จึง ต้องรีบนำต้นที่มีอาการของโรคไปเผาทำลายทันที พบทั้งไรแดงและไรขาว ซึ่งจะทำลายทั้งใบและจานรองดอก ทำให้ผิว ใบและจานรองดอกมีลักษณะด้าน หากพบอาการเข้าทำลายของไร ควรฉีดพ่นด้วย โอไมท์หรือกำมะถันหรือไวท์ออยล์

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าไม้ดอกสกุลหน้าวัวเลี้ยงดูง่าย ผู้ที่สนใจ อาจเลือกปลูกพันธุ์พื้นเมือง เช่น หน้าวัวพันธุ์ดวงสมร ผกามาศและขาวนายหวาน หรือ เปลวเทียนพันธุ์ลำปาง และภูเก็ต หรือเลือกพันธุ์ต่างประเทศจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือจากประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้ Alangcity

ที่มา  :  กองส่งเสริมพืชสวน  กรมส่งเสริมการเกษตร