ปลูกถั่วลิสงกำไรดีกว่าปลูกข้าว



เกษตรกรสิงห์บุรี 
    หันมาปลูกถั่วลิสงพืชทนแล้งช่วยสร้างรายได้ หลังน้ำคลองชลประทานลดลงเกษตรกรใกล้วัดสว่างอารมณ์ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ประสบปัญหาน้ำในคลองส่งน้ำชลประทานมีปริมาณลดลงมากในฤดูแล้ง เนื่องจากมีการแย่งน้ำใช้ทางการเกษตรด้วยการใช้เครื่องสูบ ทำให้ต้องแก้ไขด้วยการปลูกถั่วลิสงพืชที่ไม่ต้องอาศัยน้ำเพียงได้น้ำค้างตอนกลางคืนเติบโตได้ต้องการความชื้นเล็กน้อยได้ผลผลิตที่รวดเร็วใช้เวลาเพียง 80 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้แล้วเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงสู้แล้งรายนี้กล่าวว่า ในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้งของทุกปีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ลงปลูกถั่วเลยได้ผลผลิตเริ่มเก็บเกี่ยวกันแล้ว โดยส่งขายมีผู้มารับซื้อถึงที่ในราคา ถังละ 180 บาท หรือตันละ18,000 บาท  นอกจากจะทำให้มีรายได้แล้วยังเป็นการบำรุงเพิ่มปุ๋ยในดินเพื่อเตรียมการทำนาในครั้งต่อไป




ถั่วลิสง   ในบางท้องถิ่น เรียกว่า ถั่วดิน ถั่วขุด หรือถั่วยี่สง นอกจากการใช้เมล็ดเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันแล้ว ยังได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น ถั่วลิสงต้ม คั่ว ทอดทำขนมพวกขบเคี้ยว เช่น ถั่วตัด จันอับ ถั่วกระจก และเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด(แกงมัสมั่น น้ำจิ้มสะเต๊ะ น้ำพริกรับประทานกับขนมจีน) ใช้ทำแป้ง และเนยถั่วลิสง อนึ่งถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่ว การปลูกถั่วลิสงจึง เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่นเดียวกับถั่วเหลือง ต้นและใบถั่วลิสงหลังจากปลิดฝักออกแล้ว นำไปใช้เลี้ยงสัตว์หรือทำปุ๋ยหมัก  ''บ้านอะลาง''

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ถั่วลิสงจัดอยู่ในวงศ์ (Family) Legume-minosae เช่นเดียวกับถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก(มีอายุเพียงฤดูเดียว) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าArachis hypogaea L.

ถิ่นกำเนิด

    ถั่วลิสงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้ หลักฐานทางโบราณคดีระบุไว้ว่าชาวพื้นเมืองบริโภคถั่วลิสงมานานกว่า ๔,๐๐๐ ปี ชาวยุโรปได้นำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เมื่อประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีก่อนต่อมาจึงได้แพร่มายังทวีปเอเชีย และกลายเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของหลายประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย

    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วโลกมีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงประมาณ ๑๒๓ ล้านไร่ ได้ผลิตผล ๒.๒ล้านตัน อินเดียและจีนผลิตได้มากที่สุด คือประเทศละ ๖ ล้านตัน ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกถั่วลิสง ๗๖๓,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล(ถั่วทั้งเปลือก) ๑๖๒,๐๐๐ ตัน ใช้บริโภคและทำพันธุ์เกือบทั้งหมด ส่งเข้าสกัดน้ำมันเพียง ๒๒,๐๐๐ ตัน การเพาะปลูกมีอยู่ทั่วประเทศ แต่ ปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ เป็นพื้นที่ถึง ๔๓๓,๐๐๐ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๑๓,๐๐๐ ไร่ และภาคกลาง ๑๐๖,๐๐๐ ไร่

การขยายพันธุ์
    ถั่วลิสงขยายพันธุ์โดยเมล็ด เมื่อเมล็ดได้รับน้ำเพียงพอ ต้นอ่อนในเมล็ดจะงอกโดยขยาย แก้วเติบโตขยายไปทางแนวราบใต้ผิวดินแผ่ออกเป็นบริเวณกว้างและมีปมของจุลินทรีย์เกิดขึ้นเป็นกระจุกตามผิวราก ต้นอ่อนของถั่วลิสงเจริญเติบโตโผล่พ้นผิวดิน มีกิ่งแตกออกจากลำต้นตรงมุมใบ มีจำนวน ๓ - ๘ กิ่ง บางพันธุ์มีทรงต้นเป็นทรงพุ่มตั้งตรง บางพันธุ์แตกกิ่งเลื้อยไปตาม แนวนอน ลำต้นอาจมีสีเขียวหรือม่วง สูงประมาณ๕๐ - ๗๕ เซนติเมตร ใบถั่วลิสงเป็นใบรวม ประกอบด้วยใบย่อย ๒ คู่ (๔ ใบ) ขอบใบเรียบปลายมน ก้านใบยาวสีเขียวหรือม่วง ดอกถั่วลิสงเกิดขึ้นบนช่อดอกซึ่งแทงออกมาจากมุมใบ เริ่มจากโคนต้นไปสู่ยอด ดอกบานในเวลาเช้า มีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีอับเกสรตัวผู้ และเรณู(รังไข่) อยู่ในดอกเดียวกัน หลังจากผสมเกสรแล้วกลีบดอกจะเหี่ยวและร่วง

    แต่ก้านของรังไข่ขยายตัวยาวออกไปเรียกว่า เข็ม ปลายเข็มขยายตัวตามแนวดิ่งแทงลงไปในดินแล้วจึงพัฒนาเป็นฝักแต่ละฝักมีเมล็ด ๒ - ๔ เมล็ด เนื่องจากดอกออกไม่พร้อมกัน ทำให้ฝักแก่ไม่พร้อมกันด้วยการเก็บเกี่ยวจึงเลือกเวลาที่มีฝักแก่จำนวนมากที่สุดถั่วลิสงต้นหนึ่งเมื่อถอนออกมามีฝักที่สมบูรณ์อยู่จำนวน  ๘ - ๒๐ ฝัก และมีฝักอ่อนอีกจำนวนหนึ่งปนอยู่ ซึ่งเป็นฝักที่เกิดจากดอกชุดหลังหรือจากยอด ฝักแก่มีลายเส้นและจะงอยเห็นได้ชัด

    ฝักคอดกิ่วตามจำนวนเมล็ดในฝัก เมื่อตากให้แห้งแล้วเขย่าจะมีเสียง เยื่อหุ้มเมล็ดมีหลายสี เช่นขาว ชมพู แดง ม่วง และน้ำตาล เมล็ดประกอบด้วยใบเลี้ยงขนาดใหญ่ ๒ ใบ ห่อหุ้ม ต้นอ่อนไว้ภายใน
พันธุ์ถั่วลิสงที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกได้แก่พันธุ์ลำปาง สุโขทัย 38 ไทนาน 9 ขอนแก่น  60-1 ขอนแก่น  60-2 และ ขอนแก่น 60-3

การเลือกที่เพาะปลูก
   เนื่องจากฝักถั่วลิสงเจริญเติบโตอยู่ใต้ดินควรเลือกปลูกในดินร่วน หรือร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี มีปฏิกิริยาเป็นกลาง และไม่ใช่ดินเค็ม อนึ่ง ไม่ควรปลูกในดินที่มีสีดำหรือแดงจัด เนื่องจากถ้าฝักถั่วลิสงเปื้อนติดสีดังกล่าวทำให้ขายได้ราคาต่ำ ประเทศไทยอาจปลูกถั่วลิสงได้ตลอดทั้งปี แต่เพื่อเหมาะสมกับระบบการปลูกพืชได้ผลิตผลสูง และเก็บเกี่ยวสะดวก จึงนิยมปลูกเพียงปีละสองครั้ง คือ ในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ที่มีการชลประทาน


การปลูก
    การเตรียมดินปลูกถั่วลิสงก็เหมือนกับพืชไร่ทั่วไป คือ ไถพรวนให้ดินมีความร่วนซุยและกำจัดวัชพืชถ้าปลูกในเขตชลประทานควรมีการยกแปลงทำร่องส่งและระบายน้ำในระหว่างแต่ละแปลงนำเมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วปลูกเป็นหลุม ๆละ ๒ - ๓ เมล็ด ลึกจากผิวดิน ๕ เซนติเมตรมีระยะระหว่างแถว ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร และระหว่างหลุม ๒๐ เซนติเมตร จะได้จำนวนถั่วลิสงประมาณ ๕๐,๐๐๐ - ๖๐,๐๐๐ ต้นต่อไร่ซึ่งจะใช้เมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วจำนวน๑๒ - ๑๕ กิโลกรัมต่อไร่ หรือเมล็ดทั้งฝัก๒๐ - ๓๐ กิโลกรัมต่อไร่ (แล้วแต่ขนาดของเมล็ดและความงอก และควรกะเทาะเมล็ดก่อนปลูกเพื่อให้ได้ต้นงอกที่สม่ำเสมอ)

     เมล็ดเริ่มงอกภายใน ๕ วันหลังจากปลูก ทำการถอนหรือซ่อมให้มีจำนวนต้นต่อไร่ครบตามกำหนดภายในระยะเวลา ๗ - ๑๐ วัน และพรวนดิน ดายหญ้า เพื่อกำจัดวัชพืช ภายใน ๓๐วันหลังงอก และควรพรวนดินกลบโคนสูงประมาณ๕ - ๗ เซนติเมตร เพื่อให้เข็มแทงลงดินได้ง่ายขึ้นและงดการพรวนดินเมื่อต้นถั่วลิสงมีอายุ ๔๐วันไปแล้ว เนื่องจากจะไปรบกวนการแทงเข็มอันเป็นผลให้เมล็ดฝ่อ ในระยะเจริญเติบโตควรออก สำรวจแปลง ซึ่งอาจจะมีโรคและแมลงศัตรูพืช ระบาดทำลายต้นถั่วลิสง ทำการป้องกัน กำจัด ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ถั่วลิสงมีอายุตั้งแต่ ๙๐ - ๑๒๐ วัน (ตามลักษณะของพันธุ์)

    เมื่อฝักสุกแก่สังเกตได้จากใบร่วง และลำต้นเหี่ยวในของฝักได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเก็บเกี่ยวโดยใช้มือถอนต้นและฝักขึ้นจากดินเลือกปลิดฝักแก่ออก นำไปตากแดดจนฝักแห้งสนิทแล้วจึงเก็บเพื่อรอการจำหน่ายในปัจจุบันปัญหาสำคัญของถั่วลิสง ก็คือ การเกิดสารพิษแอลฟลาท็อกซินซึ่งเป็น สาเหตุของการเกิดมะเร็งในตับ ดังนั้น  จึงต้องตากเมล็ดให้แห้งสนิทโดยเร็ว (มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่าร้อยละ ๑๔) จะระงับการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งผลิตสารพิษชนิดนี้

    โดยทั่วไปเกษตรกรจะเก็บถั่วลิสงไว้ทั้งฝักเมื่อจะนำไปปลูกหรือใช้บริโภคจึงกะเทาะเปลือกออก โดยใช้มือหรือเครื่องกะเทาะเมล็ด เมล็ดถั่วลิสง ๑๐๐ เมล็ด มีน้ำหนัก ๓๐ - ๖๐ กรัมเมล็ดที่มีขนาดใหญ่นำไปปรุงแต่งเพื่อใช้บริโภคทั้งเมล็ด  ส่วนเมล็ดขนาดเล็กหรือเมล็ดแตก นำไปบดเป็นถั่วป่นและสกัดน้ำมัน เมล็ดถั่วลิสงมีโปรตีนร้อยละ ๒๕ - ๓๕ และน้ำมันร้อยละ ๔๔ - ๕๖ (ขึ้นอยู่กับพันธุ์) น้ำมันถั่วลิสงประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวถึงร้อยละ ๘๐ ของ น้ำมันทั้งหมด  จึงเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย (จึง ต้องเก็บรักษาไว้ทั้งฝัก) กากถั่วลิสงที่สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว นำไปอบให้แห้งใช้ประกอบเป็น  อาหารหรือส่วนผสมของอาหารสัตว์ได ''บ้านอะลาง''


คุณค่าของถัวลิสง
    ถั่วลิสงมีฤทธิ์ปานกลางถึงอุ่น มีคุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งคาร์โบไฺฮเดตร โปรตีน และที่สำคัญถั่วลิสงมีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการโดยเฉพาะเด็ก กรดอะมิโนจะช่วยพัฒนาสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังไม่พอในถั่วลิสงยังมีน้ำมันถึง 40 % ในน้ำมันถั่วลิสงมี วิตามิน และเกลือแร่ ถั่วลิสงยังมีกากใยอาหารสูงช่วยเรื่องการขับถ่ายด้วย

สรรพคุณ
แก้อาการนอนไม่หลับ ปวดหัว
วิธีทำ นำใบถั่วลิสงมาล้างให้สะอาดต้มกับน้ำ แล้วรินกินเฉพาะน้ำ

แก้อาการไอ ลดเสมหะ
วิธีทำ นำถั่วลิสง พุทราจีน น้ำผึ้ง ปริมาณเท่า ๆ กัน ต้มกับน้ำให้เปื่อย กินทั้งเนื้อและน้ำ

แก้ไส้เลื่อน
วิธีทำ นำถั่วลิสง ถั่วแดง พุทราจีน กระเทียม ต้มกับน้ำให้เปื่อย แล้วรินกินเฉพาะน้ำวันละ 3 ถ้วย
1. ช่วยบำรุงร่างกาย
2. ช่วยบำรุงน้ำนม
3. ช่วยย่อยอาหาร
4. ลดอาการบวมน้ำจากไตอักเสบ
5. ลดระดูขาวของผู้หญิง