การทำสารสะเดา
ข้อ
ความ : 1. นำเมล็ดสะเดาตากแห้งบดให้ละเอียด ใส่กากน้ำตาล อีเอ็ม
และน้ำพอท่วม แช่ใว้ประมาณ 1 เดือนในถังพสาสติกเก็บใว้ในที่ร่ม
ก่อนใช้ฉีดพืชผักให้ผสมน้ำ 1 ขวด ลิโพ ต่อน้ำ 20 ลิตร
ถ้าแมลงระบาดให้ฉีดทุกวัน ถ้าไม่ระบาดให้ฉีด ทุกๆ 7 วัน (
สะเดา/กากน้ำตาล/อีเอ็ม/น้ำ = 1 กิโล /1ขวดลิโพ/1ช้อนโต๊ะ/น้ำพอท่วม)
จากประสบการณ์ตรง ถ้าไม่มีกากน้ำตาลและอีเอ็มก็ใช้น้ำธรรมดาก็ได้
2. ใช้ใบสะเดาแช่แทนเมล็ด โดยสับใบสะเดาให้ได้ขนาด ไม่เกิน 2 เชนติเมตร ส่วนผสมก็เหมือนกับเมล็ด น้ำหมักจากใบจะได้หมดน้อยกว่าจากเมล็ดแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะหาได้ตลอดปี
การใช้สารสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 52
สะเดา เป็นพืชที่รู้จักกันดี ปัจจุบันยิ่งเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพราะสะเดามีคุณประโยชน์ทางด้านกำจัดแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม แต่สะเดาก็มีหลายพันธุ์ดังที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อมูลไว้ว่า สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ สะเดาอินเดีย สะเดาไทย สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม
ศ.ดร.ขวัญ ชัย สมบัติศิริ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เขียนหลักการและวิธีการใช้สะเดาป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืชไว้ในเอกสารเผย แพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 1 โครงการเกษตรกู้ชาติ ม.เกษตรศาสตร์ ไว้ว่า เนื้อสะเดามีรสหวาน เป็นอาหารของนก และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค นํ้ามันสะเดาที่สกัดได้จากเมล็ดในจะนําไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ยาสีฟัน เป็นยารักษาเส้นผม เป็นยาคุมกําเนิด (โดยการฉีดนํ้ามันสะเดาเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงฆ่าเชื้ออสุจิ) เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อนโรคปวดตามข้อ แผลปวดตามข้อ แผลเป็นหนองแก้พิษแมลงกัดต่อย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงบางชนิดภายหลังจากการสกัดนํ้ามันจากเมล็ดสะเดาแล้ว กากที่เหลือสามารถนําไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือนํ้าเพื่อสกัดสารอะซาไดแรคติน (azadirachtin) ใช้ทําเป็นสารฆ่าแมลง กากที่เหลือจากการสกัดครั้งนี้ เรียกว่า นีม เค้ก (neem cake) ยังสามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ผสมกับกากนํ้าตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยหรือผสมกับปุ๋ยยูเรียทําเป็นปุ๋ยละลายช้า เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช และไส้เดือนฝอยบางชนิด
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า สารอินทรีย์ที่สกัดได้จากเมล็ดสะเดาที่สำคัญ คือสารอะซาไดแรคติน สามารถออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดได้หลายรูปแบบ คือเป็นสารฆ่าแมลง สารไล่แมลงทำให้แมลงไม่ชอบกินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง การเจริญเติบโตผิดปกติทำให้หนอนไม่ลอกคราบหนอนตายในระยะลอกคราบ สารออกฤทธิ์มีผลต่อการสร้างฮอร์โมน ทำให้แมลงมีการผลิตไข่และการฟักไข่ลดน้อยลง แต่สารอะซาไดแรคตินจะมีอันตรายน้อยต่อมนุษย์และสัตว์ศัตรูธรรมชาติของแมลง ศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม จากการทดลองพบสารอะซาไดแรคติน มากที่สุดในเมล็ดสะเดา โดยเฉพาะสะเดาอินเดีย พบปริมาณสูงที่สุด คือ 7.6 มก./กรัม โดยเฉลี่ย สะเดาไทยพบ 6.7 มก./กรัม โดยเฉลี่ย และสะเดาช้าง (ต้นเทียม) พบ 4.0 มก./กรัม โดยเฉลี่ย
สำหรับวิธีนำสะเดามาทำเป็นสารสำหรับกำจัดแมลงกรมส่งเสริมการเกษตรแนะไว้ดัง นี้ ให้เอาเมล็ดสะเดาแห้งที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียดแล้วนำผงเมล็ดสะเดามาหมักกับน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยใช้ผงสะเดาใส่ไว้ในถุงผ้าขาวบางแล้วนำไปแช่ในน้ำนาน 24 ชั่วโมง ใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อสารอะซาไดแรคตินที่อยู่ในผงสะเดาสลายตัวออกมาให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ก็ยกถุงผ้าออก พยายามบีบถุงให้น้ำในผงสะเดาออกให้หมดแล้วนำไปฉีดป้องกันกำจัดแมลง ก่อนนำไปฉีดแมลงควรผสมสารจับใบเพื่อให้สารจับกับใบพืชได้ดีขึ้น
ควรใช้สารสกัดนี้ ฉีดพ่นในเวลาเย็นจะมีผลในการฆ่าแมลงได้ดี ใช้ฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง และควรใช้สลับกับสารฆ่าแมลงเป็นครั้งคราว แต่ถ้าเป็นช่วงที่แมลงระบาดอย่างรุนแรง ต้องใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่น ซึ่งจะลดความเสียหายได้รวดเร็ว
ศ.ดร.ขวัญ ชัย บอกไว้ว่า การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ถูกต้อง จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ในสะเดามีปริมาณสูงมีผลให้สารสกัดสะเดาที่สามารถใช้ ป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลดี การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ไม่ดีจะเกิดเชื้อราเข้าทําลายสารออก ฤทธิ์ โดยเฉพาะสารอะซาไดแรคติน
วิธีการที่ถูกต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บ ควรเก็บผลสะเดาที่ร่วงหล่นอยู่ใต้ต้น หรือ เก็บผลสุกสีเหลืองจากกิ่งก็ได้ อย่าปล่อยทิ้งผลสะเดาที่ร่วงบนดินนานเกินไป จากนั้นนํามาผึ่งแดดประมาณ 2-3 สัปดาห์จนเปลือกสะเดาแห้งเป็นสีนํ้าตาลจึงนํามาผึ่งในร่มประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดในแห้งสนิท ขั้นตอนต่อไปคือเก็บบรรจุในถุงตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบป่าน (ยกเว้น กระสอบปุ๋ย) ซึ่งสามารถวางซ้อนกันได้ โดยมีแผ่นไม้วางข้างล่างเพื่อป้องกันความชื้นจากดินการเก็บรักษาในลักษณะ เป็นผลแห้งนี้จะนําไปใช้ได้เฉพาะการผลิตใช้เอง ไม่เหมาะที่จะนําไปผลิตเป็นอุตสาหกรรม (มีต่อในวันพุธหน้า).
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 29 เมษายน 2552
2. ใช้ใบสะเดาแช่แทนเมล็ด โดยสับใบสะเดาให้ได้ขนาด ไม่เกิน 2 เชนติเมตร ส่วนผสมก็เหมือนกับเมล็ด น้ำหมักจากใบจะได้หมดน้อยกว่าจากเมล็ดแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะหาได้ตลอดปี
การใช้สารสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 52
สะเดา เป็นพืชที่รู้จักกันดี ปัจจุบันยิ่งเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพราะสะเดามีคุณประโยชน์ทางด้านกำจัดแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม แต่สะเดาก็มีหลายพันธุ์ดังที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อมูลไว้ว่า สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ สะเดาอินเดีย สะเดาไทย สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม
ศ.ดร.ขวัญ ชัย สมบัติศิริ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เขียนหลักการและวิธีการใช้สะเดาป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืชไว้ในเอกสารเผย แพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 1 โครงการเกษตรกู้ชาติ ม.เกษตรศาสตร์ ไว้ว่า เนื้อสะเดามีรสหวาน เป็นอาหารของนก และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค นํ้ามันสะเดาที่สกัดได้จากเมล็ดในจะนําไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ยาสีฟัน เป็นยารักษาเส้นผม เป็นยาคุมกําเนิด (โดยการฉีดนํ้ามันสะเดาเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงฆ่าเชื้ออสุจิ) เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อนโรคปวดตามข้อ แผลปวดตามข้อ แผลเป็นหนองแก้พิษแมลงกัดต่อย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงบางชนิดภายหลังจากการสกัดนํ้ามันจากเมล็ดสะเดาแล้ว กากที่เหลือสามารถนําไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือนํ้าเพื่อสกัดสารอะซาไดแรคติน (azadirachtin) ใช้ทําเป็นสารฆ่าแมลง กากที่เหลือจากการสกัดครั้งนี้ เรียกว่า นีม เค้ก (neem cake) ยังสามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ผสมกับกากนํ้าตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยหรือผสมกับปุ๋ยยูเรียทําเป็นปุ๋ยละลายช้า เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช และไส้เดือนฝอยบางชนิด
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า สารอินทรีย์ที่สกัดได้จากเมล็ดสะเดาที่สำคัญ คือสารอะซาไดแรคติน สามารถออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดได้หลายรูปแบบ คือเป็นสารฆ่าแมลง สารไล่แมลงทำให้แมลงไม่ชอบกินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง การเจริญเติบโตผิดปกติทำให้หนอนไม่ลอกคราบหนอนตายในระยะลอกคราบ สารออกฤทธิ์มีผลต่อการสร้างฮอร์โมน ทำให้แมลงมีการผลิตไข่และการฟักไข่ลดน้อยลง แต่สารอะซาไดแรคตินจะมีอันตรายน้อยต่อมนุษย์และสัตว์ศัตรูธรรมชาติของแมลง ศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม จากการทดลองพบสารอะซาไดแรคติน มากที่สุดในเมล็ดสะเดา โดยเฉพาะสะเดาอินเดีย พบปริมาณสูงที่สุด คือ 7.6 มก./กรัม โดยเฉลี่ย สะเดาไทยพบ 6.7 มก./กรัม โดยเฉลี่ย และสะเดาช้าง (ต้นเทียม) พบ 4.0 มก./กรัม โดยเฉลี่ย
สำหรับวิธีนำสะเดามาทำเป็นสารสำหรับกำจัดแมลงกรมส่งเสริมการเกษตรแนะไว้ดัง นี้ ให้เอาเมล็ดสะเดาแห้งที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียดแล้วนำผงเมล็ดสะเดามาหมักกับน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยใช้ผงสะเดาใส่ไว้ในถุงผ้าขาวบางแล้วนำไปแช่ในน้ำนาน 24 ชั่วโมง ใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อสารอะซาไดแรคตินที่อยู่ในผงสะเดาสลายตัวออกมาให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ก็ยกถุงผ้าออก พยายามบีบถุงให้น้ำในผงสะเดาออกให้หมดแล้วนำไปฉีดป้องกันกำจัดแมลง ก่อนนำไปฉีดแมลงควรผสมสารจับใบเพื่อให้สารจับกับใบพืชได้ดีขึ้น
ควรใช้สารสกัดนี้ ฉีดพ่นในเวลาเย็นจะมีผลในการฆ่าแมลงได้ดี ใช้ฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง และควรใช้สลับกับสารฆ่าแมลงเป็นครั้งคราว แต่ถ้าเป็นช่วงที่แมลงระบาดอย่างรุนแรง ต้องใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่น ซึ่งจะลดความเสียหายได้รวดเร็ว
ศ.ดร.ขวัญ ชัย บอกไว้ว่า การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ถูกต้อง จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ในสะเดามีปริมาณสูงมีผลให้สารสกัดสะเดาที่สามารถใช้ ป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลดี การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ไม่ดีจะเกิดเชื้อราเข้าทําลายสารออก ฤทธิ์ โดยเฉพาะสารอะซาไดแรคติน
วิธีการที่ถูกต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บ ควรเก็บผลสะเดาที่ร่วงหล่นอยู่ใต้ต้น หรือ เก็บผลสุกสีเหลืองจากกิ่งก็ได้ อย่าปล่อยทิ้งผลสะเดาที่ร่วงบนดินนานเกินไป จากนั้นนํามาผึ่งแดดประมาณ 2-3 สัปดาห์จนเปลือกสะเดาแห้งเป็นสีนํ้าตาลจึงนํามาผึ่งในร่มประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดในแห้งสนิท ขั้นตอนต่อไปคือเก็บบรรจุในถุงตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบป่าน (ยกเว้น กระสอบปุ๋ย) ซึ่งสามารถวางซ้อนกันได้ โดยมีแผ่นไม้วางข้างล่างเพื่อป้องกันความชื้นจากดินการเก็บรักษาในลักษณะ เป็นผลแห้งนี้จะนําไปใช้ได้เฉพาะการผลิตใช้เอง ไม่เหมาะที่จะนําไปผลิตเป็นอุตสาหกรรม (มีต่อในวันพุธหน้า).
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 29 เมษายน 2552