ปูม้า



ปูม้า
ปัจจุบัน ได้มีการริเริ่มส่งเสริมการเลี้ยงปูม้า ซึ่งในธุรกิจการเลี้ยงกุ้งนั้นมีโรงเพาะฟักรองรับธุรกิจการเลี้ยงปูม้าใน อนาคตจำต้องมีการสร้างโรงเพาะฟักของเอกชนรองรับเพาะ โรงเพาะฟักของทางราชการเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรองรับการเพาะเลี้ยงปูม้าใน อนาคตได้ วัตถุประสงค์ในการผลิตลูกพันธุ์ปูม้าคือ จัดจำหน่ายแก่เกษตรกรเพื่อนำไปเลี้ยงในบ่อดินเพื่อการนำเนื้อปูส่งโรงงานแปร รูปต่อไปและเพื่อการผลิตปูนิ่ม นอกจากนั้นมรการนำไปทำส้มตำปูม้า ปูดอง ปูม้าปรุงรส(ของว่าง) อีกด้วย

การผลิตลูกพันธุ์ปูม้า สิ่งที่สำคัญประการแรกคือ การเตรียมโรงเพาะฟัก โดยหลักแล้วจะต้องมีบ่อพักน้ำ บ่อฆ่าเชื้อ บ่อเก็บน้ำ ถังฟักไข่และบ่ออนุบาล โดยเฉพาะบ่อพักน้ำจะต้องมีขนาดเพียงพอและต้องมีน้ำที่มีความบริสุทธิ์ สะอาด และปราศจากเชื้อโรค เพียงพอต่อการนำไปใช้ในโรงเพาะฟัก

สิ่ง ที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือ ถังฟักไข่ อาจใช้ถังกลมขนาด 200 ลิตร หรือถังสี่เหลี่ยม เพราะมีพื้นที่ผิวมาก แต่ถ้าเป็นบ่อเพาะฟักปูม้าที่มีการลงทุนระยะยาวควรใช้บ่อซีเมนต์จะมีความ คุ้มทุนมากกว่า อาจใช้บ่อเหลี่ยมหรือบ่อกลมขนาด 2 - 7 ตัน ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ถ้าใช้ไฟเบอร์ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

นอก จากบ่อพักน้ำแล้ว บ่อเก็บน้ำก็มีความจำเป็นต้องมีการฆ่าเชื้อในน้ำด้วยคลอรีนก่อนที่จะนำมาใช้ ในโรงเพาะฟัก เพราะน้ำแต่ละแหล่งมีคุณภาพไม่เท่ากัน บางที่น้ำอาจไม่มีความเหมาะสมในการนำไปใช้

ในส่วนของการเตรียมพ่อ - แม่พันธุ์
ปัจจุบัน ประสบปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากมีกฎหมายห้ามจับปูม้าในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ฟาร์มเอกชนไม่สามารถจับพ่อ - แม่พันธุ์จากธรรมชาติได้ ดังนั้น จึงมีการศึกษาการเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ในบ่อดินพบว่า แม่พันธุ์ปูม้าที่เลี้ยงไว้ 6 - 8 เดือน จะสามารถให้ไข่ได้ประมาณ 500,000 ฟอง แล้วจึงนำไข่ไปเพาะฟัก คุณภาพของไข่ที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับปูม้าที่จับจากธรรมชาติ ดังนั้น ถ้ามีการเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ปูม้าในบ่อดินได้ ก็สามารถเพาะลูกพันธุ์ปูม้าได้ตลอดทั้งปี

ลูกปูม้าที่ เกษตรกรผลิตเพื่อจำหน่ายที่เข้าไปอยู่ในโรงเพาะฟักจะมี 2 ระยะ คือ ระยะ megalopa (อายุ 9 - 10 วัน) ระยะนี้เกษตรกรบางรายจะเตรียมบ่อดินและสามารถนำไปปล่อยในบ่อดินได้เลย อีกระยะหนึ่งคือ ระยะลูกปู (crab) อายุ15 วันขึ้นไป (ตั้งแต่ระยะ first crab ไปจนถึงระยะ young crab) ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรต้องการระยะไหน ต้องผลิตให้ทันและตรงกับความต้องการของเกษตรกร

ในขั้นตอนการอนุบาลลูกปูม้า
อันดับ แรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การเตรียมอาหาร อาหารที่ใช้คือ แพลงค์ตอนพืชและแพลงค์ตอนสัตว์ แพลงค์ตอนพืชที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ คลอเรลลาและคีโตเซอรอส ซึ่งคีโตเซอรอสจะให้ลูกปูกิน ส่วนคลอเรลลาจะสำหรับการเพาะเลี้ยง แพลงค์ตอนสัตว์ เช่น โรติเฟอร์ไรน้ำกร่อย ไรแดง และอาร์ทีเมีย เพื่อใช้ในระหว่างขั้นตอนการอนุบาล ถ้าเป็นฟาร์มที่มีความพร้อม ควรเตรียมแพลงค์ตอนพวกนี้ไว้ก่อน เพราะยังไม่มีอาหารสำเร็จรูปสำหรับลูกปู


ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปูม้า

เริ่ม จากการนำปูม้าไข่แก่นอกกระดองสีเขียวอมดำจากทะเลหรือจากบ่อเลี้ยงมาฟักในถัง ขนาด 200 - 500 ลิตร แม่ปูม้าจะให้ไข่เฉลี่ย 713,000 ฟอง และวางไข่ได้สูงสุดถึงกว่า 2 ล้านฟอง ปริมาณไข่ขึ้นอยู่กับขนาดแม่ปูและความสมบูรณ์ของปู เมื่อปูม้าวางไข่หมดแล้วแยกแม่ปูม้าไปเลี้ยงต่อในบ่อดิน ปูม้าจะสร้างไข่ชุดใหม่ในเวลา 2 - 3 สัปดาห์ หลังจากไข่ปูม้าเข้าสู่ระยะโซเอี้ย(zoea) จะย้ายลูกปูระยะ zoea ไปอนุบาลต่อในบ่อซีเมนต์ ขนาด 2 - 7 ตัน ในอัตราความหนาแน่น 40,000 - 70,000 ตัว/ตัน โดยใช้โรติเฟอร์ คีโตเซอรอส และคลอเรลลา เป็นอาหารจนลูกปูเข้าสู่ระยะ zoea วันที่ 8 จะเริ่มให้อาร์ทีเมียหรือไรน้ำกร่อยเพิ่มเติม ลูกปูจะอยู่ในระยะ zoea 9 - 12 วัน จึงเปลี่ยนรูปร่างโดยการลอกคราบ เข้าสู่ระยะเมกาโลปา (megalopa) ซึ่งเริ่มมีก้ามสำหรับจับอาหาร และมีอัตราการกินกันเองสูง จึงต้องมีการย้ายลูกปูเพื่อลดอัตราความหนาแน่น โดยย้ายลงอนุบาลในอัตรา 10,000 - 15,000 ตัว/ตัน ระยะนี้จะใช้อาร์ทีเมีย ไรน้ำกร่อย ไรแดง ปลาบด คีโตเซอรอส เป็นอาหาร ลูกปูจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 5 - 7 วัน จะลอกคราบเปลี่ยนรูปร่างสู่ระยะ first crab ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนปูม้า ระยะนี้ลูกปูจะลงเกาะพื้นเก็บกินอาหารตามพื้นจึงให้อาหารพวกไรแดงและเนื้อบด ลูกปูในระยะนี้มีการกินกันเองสูง จึงใส่วัาดุหลบซ่อนสำหรับลูกปู โดยใช้ตาข่ายพรางแสง(ซาแลน) ตัดเป็นชิ้นยาวๆ คล้ายสาหร่ายเทียมวางบริเวณกลางน้ำจนถึงพื้นให้ลูกปูใช้เกาะหลบซ่อน อนุบาลลูกปูในระยะ first crab ต่อไป 10 - 15 วัน จะได้ลูกปูขนาด 0.8 - 1.2 เซนติเมตร ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงได้ดี

ปัญหาสำหรับการอนุบาลลูกปูในโรงเพาะฟักคือ
การ กินกันเองลูกปูในระยะ megalopa และระยะ first crab ดังนั้นการนำลูกปูระยะ megalopa ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มกินปลาบดได้ลงเลี้ยงในบ่อดิน โดยลดอัตราความหนาแน่นเหลือ 100 - 200 ตัว/ตารางเมตร จะช่วยให้อัตราการรอดตายของลูกปูม้าสูงขึ้น ซึ่งการอนุบาลปูม้าในบ่อดินทำได้โดย เตรียมบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตร ปูพื้นบย่อด้วยอวนตาละเอียดสำหรับจับปู เตรียมน้ำในบ่อให้มีความสมบูรณ์ของแพลงค์ตอน ระดับน้ำสูง 1 - 1.2 เมตร ปล่อยลูกปูม้าระยะ megalopa ในอัตรา 40,000 - 80,000 ตัว/บ่อ เลี้ยงปูโดยใช้ปลาสดบดละเอียดให้อาหารวันละ 3 ครั้ง อนุบาลปูม้าเป็นระยะเวลา 15 - 20 วัน จะได้ลูกปูม้าขนาดความกว้าง 1.2 - 1.5 เซนติเมตร มีอัตราการรอดตาย 40 - 60 % ลูกปูจากบ่อดินมีความแข้งแรงสูงสามารถนำไปเลี้ยงในบ่อดินได้ดี

การอนุบาลลูกปูม้าในบ่อดิน
เป็น อีกทางเลือกหนึ่งในการอนุบาลลูกปูเชิงธุรกิจ เพราะการอนุบาลทั้งในโรงเพาะฟักและบ่อดินสามารถทำได้ควบคู่กันไป ซึ่งผู้ดำเนินการเพาะพันธุ์ปูม้าต้องมีความพร้อมในด้านบ่อดินและโรงเพาะฟัก จะทำให้สามารถผลิตลูกพันธุ์ลูกปูม้าได้ขนาดตามความต้องการของเกษตรกรผู้ เลี้ยงปูม้า ตลอดเวลา