เรียบเรียงโดย : นันทวรรณ สโรบล
ถิ่นกำเนิด
สบู่ดำ (Jatropha curas Linn.) พืชน้ำมันที่กำลังเป็นที่สมใจของผู้คนทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้นั้น นักพฤกษศาสตร์จัดกลุ่มไว้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae วงศ์เดียวกับยางพารา ละหุ่ง และมันสำปะหลัง มีน้ำยางสีขาวใสลื่น ๆ เป็นฟอง มีคุณสมบัติคล้ายสบู่อยู่ในทุกส่วนของลำต้น
ประวัติและความสำคัญ
“สบู่” เป็นภาษาโปรตุเกส หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่ สำหรับชำระล้างร่างกาย และซักล้างเสื้อผ้า ของใช้ มีบันทึกไว้ว่าค้นพบโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เดินเรือไปทวีปอเมริกากลาง และนำเข้ามาในทวีปเอเชีย และแพร่มายังประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว ๆ 300 ปีก่อน โดยมีการแนะนำให้ผู้คนสมัยนั้นปลูกและพ่อค้ารับซื้อเมล็ดไปทำสบู่
-ในทวีปแอฟริกา สมัยก่อนปลูกกันมากที่แหลม Verde ในที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นแนวเขตรั้วบ้าน คอกสัตว์ หรือบริเวณหลุมฝังศพ เพื่อกันสัตว์ไม่ให้เข้าไปคุ้ยเขี่ย สำหรับในประเทศไทยมีรายงานว่า เคยมีการปลูกเป็นรั้วบ้าน ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยผู้เฒ่าผู้แก่ใช้ยางใส ๆ ที่หักออกจากก้านใบ หรือส่วนยอดใช้ทาแผลสด โดยเฉพาะแผลที่ปากให้เด็ก ๆ ที่เป็นโรคปากนกกระจอก หรือใช้กวาดลิ้นเด็กที่เป็นฝ้าขาว และใช้เนื้อในเมล็ดสีขาวเลียบไม้ จุดแทนเทียนไข ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนน้ำมันก๊าดที่ใช้จุดตะเกียง
-สบู่ดำ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ เรียก มะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก หมากเย่า, มะเยา หรือสีหลอด ภาคใต้เรียก หงส์เทศ (เพราะต้นโต) และภาคกลางเรียก สบู่ดำ ชาวเขาเรียก ไท้ยู หรือเกงยู (เพราะน้ำมันมีสีดำ) พม่าเรียก แจ้ทซู เขมรเรียก ทะวอง จีนกลางเรียก หมาฟ่งสู้
แต้จิ๋วเรียก มั่วฮองซิว ญี่ปุ่นเรียก บูราคีรี และภาษาอังกฤษเรียก physic nut หรือ purging nut (Jatropha spp.) พืชสกุลนี้จัดเป็นไม้สกุลใหญ่ กระจายอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อน จเร สดากร (2527) รายงานว่า พบสบู่ดำ 175 ชนิด (Airy Show, 1978) ในอินโดจีน พบ 4 ชนิด (Lecomit, 1931) 3 ชนิด พบในพม่า (Kura, 1974) และมาเลเซีย (Burkill, 1966) ในประเทศไทยเองพบ 5 ชนิด คือ J. gossypifolia (สบู่แดง), J. podagrica (หนุมานนั่งแท่น) J. integ-gerima (ปัตตาเวีย), J. multifida (มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น) และ J. curcas (สบู่ดำ)
1. สภาพพื้นที่ปลูกสบู่ดำ
สบู่ดำเป็นพืชที่เพาะปลูก และขึ้นได้ง่าย จัดเป็นพืชทนความแห้งแล้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดตั้งแต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จนถึงความอุดมสมบูรณ์สูง อย่างไรก็ตามผลผลิตที่ได้รับก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ดังนั้น การที่จะให้ได้ผลผลิตสูง ดินที่ปลูกควรมีความเป็นกรดเล็กน้อย ดินควรมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และหากจะปลูกในที่ลุ่มควรทำทางระบายน้ำ จากข้อมูลและรายงานระบุว่า สบู่ดำสามารถเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ในดินที่ไม่เหมาะสม และในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ดินด่าง ดินเค็ม ดินทราย ดินที่มีหินมาก หรือแม้แต่ดินที่มีฝนตกน้อยปีละ 200 มิลลิเมตร (Lele, 2005) 1) ค่าจะมีการปรับตัวได้ดีในเขตร้อนที่มีปริมาณฝน 300-1000 มิลลิเมตรต่อปี (Joker and Jepen, 2003) แต่ในแหล่งที่มีน้ำฝนมากกว่า 1000 มิลลิเมตรต่อปี และดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง เกษตรกรมักปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น การที่เกษตรกรจะเลือกปลูกพืชอะไรในที่ดินบริเวณไหน ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เกษตรกรคำนึงถึง
บ้านอะลาง
2. การเตรียมดิปลูกสบู่ดำ
โดยการไถพรวนในสภาพไร่ เพื่อให้ดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี และเป็นการกำจัดวัชพืช และหากเป็นที่ลุ่มควรมีการยกร่อง เพื่อเป็นการระบายน้ำสำหรับการปลูกเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ทางเศรษฐกิจในระยะยาว เกษตรกรบางส่วนจะขุดหลุมปลูกและเตรียมหลุมปลูกอย่างดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมก่อนปลูก และมีการกำจัดวัชพืช และพรวนดินระหว่างแถวตามความเหมาะสม เนื่องจากสบู่ดำเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีอายุยาวนานกว่า 40 ปี หากมีการวางแผนเตรียมการที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
3. วิธีการปลูกสบู่ดำ
การปลูกสบู่ดำ ที่นิยมปลูกทั่วไป มักทำใน 3 วิธี ดังนี้
1) โดยการหยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกโดยตรง หลุมละ 1-2 เมล็ด หยอดลึกประมาณ 2-5 ซม. และกลบดินกรณีนี้จะต้องมีการเตรียมแปลงปลูก และหลุมปลูกให้พร้อมเวลาปลูกที่เหมาะสม ควรเป็นฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน) หากไม่งอกให้ทำการปลูกซ่อม โดยใช้เมล็ดหรือต้นกล้าที่เพาะเตรียมไว้
2) ปลูกด้วยต้นที่เพาะจากเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดไปแช่ในน้ำ 1 คืน และนำไปเพาะในถุงเพาะชำ เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือน จึงย้ายลงแปลงปลูก การปลูกโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นที่แน่นอน มักเป็นการปลูกในแปลงที่มีการเตรียมการอย่างดี
3) ปลูกด้วยท่อนพันธุ์ โดยการปักชำท่อนพันธุ์ในถุงเพาะชำ ความยาวของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสม คือ 30-60 ซม. (จากการทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ปี 2529) เมื่อกิ่งแตกตาจนมีอายุ 45-60 วัน แล้วจึงย้ายลงแปลงปลูก การปลูกสบู่ดำโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นที่แน่นอน เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูง
เช่นเดียวกับการปลูกวิธีที่ 2
4. ระยะปลูกสบุ่ดำ
ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อพื้นที่จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก ปัจจุบันระยะปลูกและอัตราปลูกที่เหมาะสมยังอยู่ระหว่างการทำวิจัย ในที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และปลูกในสภาพน้ำฝน อาจปลูกระยะแคบและมีจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูก มากกว่าในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีแหล่งน้ำ เป็นไปตามคำแนะนำ "ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง" อัตราปลูกและระยะปลูกตามสภาพพื้นที่ดังแสดงใน ตารางที่ 1 บ้านอะลาง
การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำ : น้ำมันสบู่ดำ
เรียบเรียงโดย : สุปรียา ศุขเกษม
สบู่ดำเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง เมล็ดสบู่ดำมีปริมาณน้ำมัน 30 - 35% (ไพจิตร, 2530)การสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำวิธีการสกัดแยกน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำที่นิยมทำกันมากคือ ใช้วิธีการบีบอัด (pressing)จะได้น้ำมันประมาณ 25-30% มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15% อาจใช้เครื่องอัดแบบไฮโดรลิค (hydraulic press) หรือเครื่องอัดแบบสกรู (screw press) จะได้น้ำมันประมาณการแยกด้วยวิธีนี้จะได้น้ำมันปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับแรงอัดที่ใช้ ถ้าใช้แรงอัดสูงจะได้น้ำมันมาก แต่น้ำมันที่ได้จะมีคุณภาพลดลง เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจะไปเร่งปฏิกิริยาเคมีบางอย่าง ทำให้น้ำมันเสื่อมเสียได้เร็วขึ้น ดังนั้นการบีบอัดอาจทำได้ 2 แบบ คือ การบีบอัดโดยใช้แรงดันสูง เพื่อให้ได้น้ำมันมาก หรือการบีบอัดแบบ pre-press โดยบีบด้วยแรงดันต่ำก่อน แล้วจึงสกัดน้ำมันที่เหลือในกากต่อด้วยสารทำละลาย
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำมันสบู่ดำ
น้ำมันสบู่ดำจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวปนเหลือง ใสและยังคงใสที่อุณหภูมิต่ำ และมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ และองค์ประกอบกรดไขมัน (รพีพันธุ์และคณะ, 2525) ดังนี้
ปริมาณกรดไขมันอิสระ ( Free fatty acid, %as oleic acid) 4.80
ค่าสปอนนิฟิเคชั่น (Saponification value) 197.13
ค่าไอโอดีน (Iodine value, Wijs) 97.08
ดัชนีหักเห (Refractive index) ที่ 25oC 1.4670
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ที่ 25oC 0.9136
ความหนืด (Viscosity)ที่ 25oC (Gardner) (cp) 45.68
องค์ประกอบกรดไขมัน
Palmitic acid (C 16:0) 16.17
Stearic acid (C18:0) 5.11
Total saturated fatty acid 21.28
Oleic acid (C18:1) 44.88
Linoleic acid (C18:2) 33.83
Total unsaturated fatty acid 78.71
ถิ่นกำเนิด
สบู่ดำ (Jatropha curas Linn.) พืชน้ำมันที่กำลังเป็นที่สมใจของผู้คนทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้นั้น นักพฤกษศาสตร์จัดกลุ่มไว้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae วงศ์เดียวกับยางพารา ละหุ่ง และมันสำปะหลัง มีน้ำยางสีขาวใสลื่น ๆ เป็นฟอง มีคุณสมบัติคล้ายสบู่อยู่ในทุกส่วนของลำต้น
ประวัติและความสำคัญ
“สบู่” เป็นภาษาโปรตุเกส หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่ สำหรับชำระล้างร่างกาย และซักล้างเสื้อผ้า ของใช้ มีบันทึกไว้ว่าค้นพบโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เดินเรือไปทวีปอเมริกากลาง และนำเข้ามาในทวีปเอเชีย และแพร่มายังประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว ๆ 300 ปีก่อน โดยมีการแนะนำให้ผู้คนสมัยนั้นปลูกและพ่อค้ารับซื้อเมล็ดไปทำสบู่
-ในทวีปแอฟริกา สมัยก่อนปลูกกันมากที่แหลม Verde ในที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นแนวเขตรั้วบ้าน คอกสัตว์ หรือบริเวณหลุมฝังศพ เพื่อกันสัตว์ไม่ให้เข้าไปคุ้ยเขี่ย สำหรับในประเทศไทยมีรายงานว่า เคยมีการปลูกเป็นรั้วบ้าน ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยผู้เฒ่าผู้แก่ใช้ยางใส ๆ ที่หักออกจากก้านใบ หรือส่วนยอดใช้ทาแผลสด โดยเฉพาะแผลที่ปากให้เด็ก ๆ ที่เป็นโรคปากนกกระจอก หรือใช้กวาดลิ้นเด็กที่เป็นฝ้าขาว และใช้เนื้อในเมล็ดสีขาวเลียบไม้ จุดแทนเทียนไข ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนน้ำมันก๊าดที่ใช้จุดตะเกียง
-สบู่ดำ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ เรียก มะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก หมากเย่า, มะเยา หรือสีหลอด ภาคใต้เรียก หงส์เทศ (เพราะต้นโต) และภาคกลางเรียก สบู่ดำ ชาวเขาเรียก ไท้ยู หรือเกงยู (เพราะน้ำมันมีสีดำ) พม่าเรียก แจ้ทซู เขมรเรียก ทะวอง จีนกลางเรียก หมาฟ่งสู้
แต้จิ๋วเรียก มั่วฮองซิว ญี่ปุ่นเรียก บูราคีรี และภาษาอังกฤษเรียก physic nut หรือ purging nut (Jatropha spp.) พืชสกุลนี้จัดเป็นไม้สกุลใหญ่ กระจายอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อน จเร สดากร (2527) รายงานว่า พบสบู่ดำ 175 ชนิด (Airy Show, 1978) ในอินโดจีน พบ 4 ชนิด (Lecomit, 1931) 3 ชนิด พบในพม่า (Kura, 1974) และมาเลเซีย (Burkill, 1966) ในประเทศไทยเองพบ 5 ชนิด คือ J. gossypifolia (สบู่แดง), J. podagrica (หนุมานนั่งแท่น) J. integ-gerima (ปัตตาเวีย), J. multifida (มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น) และ J. curcas (สบู่ดำ)
1. สภาพพื้นที่ปลูกสบู่ดำ
สบู่ดำเป็นพืชที่เพาะปลูก และขึ้นได้ง่าย จัดเป็นพืชทนความแห้งแล้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดตั้งแต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จนถึงความอุดมสมบูรณ์สูง อย่างไรก็ตามผลผลิตที่ได้รับก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ดังนั้น การที่จะให้ได้ผลผลิตสูง ดินที่ปลูกควรมีความเป็นกรดเล็กน้อย ดินควรมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี และหากจะปลูกในที่ลุ่มควรทำทางระบายน้ำ จากข้อมูลและรายงานระบุว่า สบู่ดำสามารถเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ในดินที่ไม่เหมาะสม และในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ดินด่าง ดินเค็ม ดินทราย ดินที่มีหินมาก หรือแม้แต่ดินที่มีฝนตกน้อยปีละ 200 มิลลิเมตร (Lele, 2005) 1) ค่าจะมีการปรับตัวได้ดีในเขตร้อนที่มีปริมาณฝน 300-1000 มิลลิเมตรต่อปี (Joker and Jepen, 2003) แต่ในแหล่งที่มีน้ำฝนมากกว่า 1000 มิลลิเมตรต่อปี และดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง เกษตรกรมักปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น การที่เกษตรกรจะเลือกปลูกพืชอะไรในที่ดินบริเวณไหน ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เกษตรกรคำนึงถึง
บ้านอะลาง
2. การเตรียมดิปลูกสบู่ดำ
โดยการไถพรวนในสภาพไร่ เพื่อให้ดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี และเป็นการกำจัดวัชพืช และหากเป็นที่ลุ่มควรมีการยกร่อง เพื่อเป็นการระบายน้ำสำหรับการปลูกเพื่อหวังผลตอบแทนสูง ทางเศรษฐกิจในระยะยาว เกษตรกรบางส่วนจะขุดหลุมปลูกและเตรียมหลุมปลูกอย่างดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมก่อนปลูก และมีการกำจัดวัชพืช และพรวนดินระหว่างแถวตามความเหมาะสม เนื่องจากสบู่ดำเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีอายุยาวนานกว่า 40 ปี หากมีการวางแผนเตรียมการที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
3. วิธีการปลูกสบู่ดำ
การปลูกสบู่ดำ ที่นิยมปลูกทั่วไป มักทำใน 3 วิธี ดังนี้
1) โดยการหยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกโดยตรง หลุมละ 1-2 เมล็ด หยอดลึกประมาณ 2-5 ซม. และกลบดินกรณีนี้จะต้องมีการเตรียมแปลงปลูก และหลุมปลูกให้พร้อมเวลาปลูกที่เหมาะสม ควรเป็นฤดูฝน (พฤษภาคม-กันยายน) หากไม่งอกให้ทำการปลูกซ่อม โดยใช้เมล็ดหรือต้นกล้าที่เพาะเตรียมไว้
2) ปลูกด้วยต้นที่เพาะจากเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดไปแช่ในน้ำ 1 คืน และนำไปเพาะในถุงเพาะชำ เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้า อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือน จึงย้ายลงแปลงปลูก การปลูกโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นที่แน่นอน มักเป็นการปลูกในแปลงที่มีการเตรียมการอย่างดี
3) ปลูกด้วยท่อนพันธุ์ โดยการปักชำท่อนพันธุ์ในถุงเพาะชำ ความยาวของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสม คือ 30-60 ซม. (จากการทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ปี 2529) เมื่อกิ่งแตกตาจนมีอายุ 45-60 วัน แล้วจึงย้ายลงแปลงปลูก การปลูกสบู่ดำโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นที่แน่นอน เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูง
เช่นเดียวกับการปลูกวิธีที่ 2
4. ระยะปลูกสบุ่ดำ
ระยะปลูกและจำนวนต้นต่อพื้นที่จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก ปัจจุบันระยะปลูกและอัตราปลูกที่เหมาะสมยังอยู่ระหว่างการทำวิจัย ในที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และปลูกในสภาพน้ำฝน อาจปลูกระยะแคบและมีจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูก มากกว่าในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีแหล่งน้ำ เป็นไปตามคำแนะนำ "ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง" อัตราปลูกและระยะปลูกตามสภาพพื้นที่ดังแสดงใน ตารางที่ 1 บ้านอะลาง
การใช้ประโยชน์จากสบู่ดำ : น้ำมันสบู่ดำ
เรียบเรียงโดย : สุปรียา ศุขเกษม
สบู่ดำเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง เมล็ดสบู่ดำมีปริมาณน้ำมัน 30 - 35% (ไพจิตร, 2530)การสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำวิธีการสกัดแยกน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำที่นิยมทำกันมากคือ ใช้วิธีการบีบอัด (pressing)จะได้น้ำมันประมาณ 25-30% มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15% อาจใช้เครื่องอัดแบบไฮโดรลิค (hydraulic press) หรือเครื่องอัดแบบสกรู (screw press) จะได้น้ำมันประมาณการแยกด้วยวิธีนี้จะได้น้ำมันปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับแรงอัดที่ใช้ ถ้าใช้แรงอัดสูงจะได้น้ำมันมาก แต่น้ำมันที่ได้จะมีคุณภาพลดลง เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจะไปเร่งปฏิกิริยาเคมีบางอย่าง ทำให้น้ำมันเสื่อมเสียได้เร็วขึ้น ดังนั้นการบีบอัดอาจทำได้ 2 แบบ คือ การบีบอัดโดยใช้แรงดันสูง เพื่อให้ได้น้ำมันมาก หรือการบีบอัดแบบ pre-press โดยบีบด้วยแรงดันต่ำก่อน แล้วจึงสกัดน้ำมันที่เหลือในกากต่อด้วยสารทำละลาย
คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำมันสบู่ดำ
น้ำมันสบู่ดำจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวปนเหลือง ใสและยังคงใสที่อุณหภูมิต่ำ และมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ และองค์ประกอบกรดไขมัน (รพีพันธุ์และคณะ, 2525) ดังนี้
ปริมาณกรดไขมันอิสระ ( Free fatty acid, %as oleic acid) 4.80
ค่าสปอนนิฟิเคชั่น (Saponification value) 197.13
ค่าไอโอดีน (Iodine value, Wijs) 97.08
ดัชนีหักเห (Refractive index) ที่ 25oC 1.4670
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ที่ 25oC 0.9136
ความหนืด (Viscosity)ที่ 25oC (Gardner) (cp) 45.68
องค์ประกอบกรดไขมัน
Palmitic acid (C 16:0) 16.17
Stearic acid (C18:0) 5.11
Total saturated fatty acid 21.28
Oleic acid (C18:1) 44.88
Linoleic acid (C18:2) 33.83
Total unsaturated fatty acid 78.71