การเลี้ยงปลาสลิด



การเลี้ยงปลาสลิด
การเลี้ยงปลาสลิด  ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปไกลมากไม่ว่าจะเป็นวิธีการเพาะลูกปลา การเลี้ยงดู ระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้น จำนวนผลผลิตต่อไรที่สูงขึ้น รวมทั้งกลไกการซื้อขายในตลาดปลาที่เปลี่ยนไป รวมทั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทำให้สะดวกรวดเร็วและประหยัด แรงงาน ลดค่าใช้จ่าย โดยรวมแล้วถ้าเราจับหลักการในการเลี้ยงปลาสลิดได้ก็จะสามารถลดระยะเวลา และต้นทุนการผลิตลงได้อีก เพิ่มกำไรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง บ้านอะลาง


นายประสพชัย อารีวงศ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิด ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า การเลี้ยงปลาสลิด แบบธรรมชาติผสมผสานกับการเลี้ยงแบบพัฒนา สูตร 4+8 = 12 หมายถึง การเพาะลูกปลาแล้วเลี้ยงแบบใช้มัดพันหญ้า หมักลูกไร เป็นอาหารลูกปลา 4 เดือน เมื่อครบกำหนด เหลืออีก 8 เดือน จึงเลี้ยงแบบพัฒนาใช้อาหารเม็ดเลี้ยงจนครบ 12 เดือน จึงจับปลาขาย

วิธีการเลี้ยงปลาสลิด
เตรียมพื้นที่เลี้ยง โดยเริ่มจากการหาที่ดินที่เหมาะสม เพื่อขุดทำบ่อเลี้ยงพื้นที่ที่เหมาะสมต้องเป็นดินเหนียวและดินเค็มมาก่อน แต่น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาต้องจืดสนิททำเลบ่อต้องอยู่ติดคูคลองเพื่อง่ายต่อการวิดน้ำเข้าบ่อเลี้ยง วิธีการทำบ่อเลี้ยงต้องขุดบ่อกว้าง 3 เมตร ลึกเริ่มจากที่ดอนประมาณ 1 เมตร ขุดสโลปโดยรอบที่ จนถึงที่ลุ่มลึก 3 เมตร โดยขุดตามแนวรอบดิน นำดินที่ขุดจากร่องไปตั้งเป็นคัน ห่างจากร่องน้ำ 10 เมตร เพื่อเป็นคันสำหรับเก็บกักน้ำในบ่อเลี้ยง ทำคันดินให้กว้างประมาณ 6 เมตร อัดให้แน่นไม่ให้น้ำซึมออกและบนพื้นที่บ่อที่ลุ่มขุดบ่อเล็ก ๆ ขนาด 4x6 เมตร ลึก 2 เมตร เป็นบ่อสำหรับเก็บพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลาสลิดไว้เตรียมเพาะพันธุ์ลูกปลา


การเตรียมบ่อ
ปลูกหญ้าลิเก หรือผักบุ้งบนพื้นที่บ่อให้เต็ม กำจัดศัตรูของลูกปลาในบ่อ โดยเฉพาะในร่องรอบบ่อให้หมดโดยใช้ไซด์ยาไนต์ หรือ โรติ้น จัดการก่อนที่จะเพาะลูกปลา

การเตรียมพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลาสลิด
จัดหาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลาสลิดที่มีลักษณะลำตัวแป้น ยาว มีขนาดน้ำหนัก ประมาณ 6-7 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม เฉลี่ยประมาณ 4 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ หรือประมาณ 30 ตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่ อัตราเฉลี่ยตัวผู้กับตัวเมีย อัตรา 1 ต่อ 1 น้ำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาไว้ในบ่อพัก ขังไว้ 30 วันแรกไม่ต้องให้อาหารเลย เพื่อบังคับให้แม่พันธุ์สร้างไข่หลังจาก 30 วันไปแล้ว จึงเริ่มให้อาหารปลากินพืชเม็ดเล็กผสมกับฮอร์โมนเร่งไข่ ให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์กินวันละ 1 ถ้วยแกง ตอนช่วงเช้าทุกวัน รวมเป็นระยะเวลาขัง 60 วัน จึงค่อยตักแม่ปลาขึ้นมาดูว่ามีไข่หรือยัง ถ้าเห็นว่าแม่ปลาท้องเปล่งออกสีเหลือง แสดงว่าพร้อมที่จะปล่อยออกมาผสมพันธุ์ เพื่อเพาะลูกได้แล้ว

วิธีการเพาะลูกปลา
ใช้เครื่องตัดหญ้าตัดหญ้าบนพื้นบ่อเป็นช่อง ๆ ละ 3 เมตร ประมาณ 7-8 ช่อง เพื่อหมักน้ำให้เน่าทำลูกไรเป็นอาหารของลูกปลา เสร็จเริ่มวิดน้ำเข้าบ่อเลี้ยงให้เต็มแปลงที่สูงประมาณ 1 ฝามือที่ลึกประมาณครึ่งน่อง ที่สำคัญต้องใช้ตาข่ายในล่อนเขียวตาถี่กรองน้ำ ป้องกันศัตรูของลูกปลาที่อาจจะหลงปนเข้าไปในบ่อ หลังจากวิดน้ำให้ได้ระดับเครื่องวิดน้ำภายใน 24 ชั่วโมง พ่อพันธุ์แม่พันธุ์จะก่อหวอดผสมพันธุ์กัน เกิดลูกปลาภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น 7 วันจะเห็นปลาด้วยตาเปล่าบนผิวน้ำ ระยะนี้ต้องหมั่นดูน้ำในบ่อเลี้ยงอย่าให้น้ำเน่า ระยะนี้ควรวิดน้ำ 7 วัน ครั้ง ลูกปลายิ่งโตยิ่งต้องเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ พอลูกปลาเกิดได้ 15 วัน เริ่มให้อาหารเสริมโดยใช้อาหารลูกกุ้งเบอร์ 0 โรยตามรอบ ๆ บ่อวันเว้นวัน จนครบ 4 เดือน บ้านอะลาง


วิธีการเลี้ยงเดือนที่ 5-6 เริ่มลงมือเลี้ยงแบบพัฒนาโดยใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ก่อนให้อาหารต้องทำหลักหรือจุดให้เสียก่อนโดยหาไม่ไผ่รวกซึ่งมีความยาว 2.5 เมตร มาปักบนพื้นบ่อ ให้เป็นแถวโดยปักให้ระยะแถวห่างกัน 12 เมตร ปักเป็นแถวจนเต็มพื้นที่บ่อ เมื่อปักหลักอาหารเสร็จแล้วให้เริ่มนำอาหารปลาสลิดโปรตีน 15% ใส่เรือไปทิ้งตามหลักอาหารที่ปักไว้เฉลี่ย 1-3 กิโลกรัม แล้วแต่ว่าปลามากหรือปลาน้อยโดยต้องใส่อาหารทุกวัน ที่สำคัญต้องเช็คอาหารด้วยอย่าให้เหลือมากเกินไป มิฉะนั้นน้ำจะเน่า และที่สำคัญต้องวิดน้ำเข้าบ่อเพิ่ม

วิธีการเลี้ยงเดือนที่ 7-8 ให้อาหารทุกวันเช่นเดิมแต่เปลี่ยนมาเป็นอาหารกุ้งก้ามกรามโปรตีน 20% แทน วิดน้ำเข้าบ่อเพิ่ม

วิธีการเลี้ยงเดือนที่ 9-10 ให้อาหารทุกวันเช่นเดิมแต่นำอาหารกุ้งก้ามกรามโปรตีน 20% ผสมกับอาหารกุ้งก้ามกรามโปรตีน 25% อย่างละครึ่ง วิดน้ำเข้าบ่อ

วิธีการเลี้ยงเดือนที่ 11-12 เป็นช่วงเดือนระยะสุดท้ายปลาเริ่มโตเต็มที่ ปลาจะเริ่มกินอาหารลดลง ต้องเช็คอาหารไม่ให้ขาด และช่วงเดือนสุดท้ายปลาเริ่มโตเต็มที่จะใช้อาหารกุ้งก้ามกราม 20% อย่างเดียวจนจับปลาขายก็จะได้ปลาสลิดขนาด 6-7 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม และที่สำคัญลดต้นทุน ระยะเวลาในการเลี้ยงได้เป็นอย่างดี บ้านอะลาง

แหล่งที่มาของข้อมูล : ประสพชัย อารีวงศ์. สัมภาษณ์, 8 มีนาคม 2556.
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นงพงา ไกรวิลาศ. เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจังหวัดชุมพร.