แก่นตะวัน เงินล้าน



แก่นตะวัน เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี เพราะจะลงหัวได้ง่าย หากมีน้ำขังแฉะจะทำให้หัวเน่า การปลูกสามารถปลูกได้ในฤดูฝน ในพื้นที่ไร่เหมือนกับพืชไร่ทั่วไป การปลูกในฤดูแล้งต้องมีระบบน้ำชลประทาน เช่น การปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาดินร่วนทรายเขตชลประทาน การปลูกโดยใช้หัวปลูกต้องตัดหัวให้เป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละประมาณ 2- 3 เซนติเมตร บ่มหัวที่หั่นแล้วในถังมีความชื้น  จะกระตุ้นให้เกิดต้นอ่อนบนหัวท่อนพันธุ์ แล้วจึงนำไปปลูก  Alangcity
การปลูกแก่นตะวัน

ขั้นตอนการเตรียมดิน
1.      เริ่มจากการไถครั้ง แรกและทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อที่ตากดิน
2.      ไถครั้งที่ 2 ซ้ำอีกครั้ง เพื่อพรวนดินให้ละเอียด
3.      ไถครั้งที่ 3 เพื่อชักร่อง

ขั้นตอนการปลูกแก่น ตะวัน มี 2 วิธี  ดังนี้
1. การปลูกโดยการหยอด
2. การปลูกโดยจากการ เพาะกล้า
1.1 วิธีการปลูกโดยการหยอดหัวพันธุ์
เมื่อ เตรียมหัวพันธุ์เสร็จแล้วนำหัวพันธุ์ไปคลุกกับยากันเชื้อราในอัตราตามที่ ระบุไว้ข้างขวดและทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้ยากันเชื้อราซึมเข้าหัวพันธุ์และนำหัวพันธุ์ไปหยอดตามร่องที่ได้ เตรียมไว้ในระยะห่างระหว่างต้น  20 เซนติเมตร  หยอดลึกประมาณ  2 ข้อนิ้ว แล้วจึงกลบดินทำการรดน้ำให้ชุ่ม และต้องรดน้ำไปจนกว่าตาพันธุ์จะเริ่มมีการงอกหลังจากนั้นจึงให้น้ำวันเว้น วัน





1.2 วิธีการปลูกโดยการเพาะกล้า
วัสดุเพาะ
- แกลบเผา    100 %
- ถุงขนาด 3 * 4 นิ้ว
-  ปูนแดง
การเพาะกล้า
โดย ตาพันธุ์ที่สมบูรณ์พร้อมที่จะงอกนำไปแช่หรือคลุกกับปูนแดงเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะชำหรือถุงที่เตรียมไว้และใช้แกลบเผากลบหัวพันธุ์หนา ประมาณ 1 เท่าของขนาดหัวพันธุ์ ภายใน 5 – 7 วัน ตาพันธุ์จะเริ่มงอก ทำการดูแลรักษาโดยการให้น้ำตามปกติจนต้นกล้ามีอายุ10 – 15  วันจึงย้ายต้นกล้าไปแปลงปลูก




วิธีการปลูก
1.1  ควรขุดหลุมปลูกให้มี ขนาดกว้างและลึกประมาณ 30 เซนติเมตร
1.2  ยกถุงกล้าต้นไม้วาง ในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
1.3  ดึงถุงพลาสติกออกโดย ระวังอย่าให้ดินแตก
1.4  กลบดินที่เหลือลงไป ในหลุม
1.5  กดดินบริเวณโคนต้น ให้แน่น
1.6  รดน้ำให้ชุ่ม



การให้น้ำ
การ ให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมากในการปฏิบัติดูแลรักษา เพราะถ้าปล่อยให้ต้นแก่นตะวันขาดน้ำในช่วงแรกต้นแก่นตะวันจะโทรมแคระแกรนไม่ เจริญเติบโตและในที่สุดก็จะตาย โรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ระยะที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำทุกวัน หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นแก่นตะวันตั้งตัวได้แล้ว การให้น้ำควรให้น้ำวันเว้นวัน แต่เมื่อแก่นตะวันโตแล้วจะต้องควบคุมการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงการเจริญเติบโตและสภาพทั่วๆไป เช่นในระยะที่ออกดอกจะต้องการน้ำน้อยเพื่อให้มีช่วงการสะสมอาหารและควรลด ปริมาณน้ำจากปกติเพื่อจะช่วยให้ต้นแก่นตะวันและหัวแก่เร็วขึ้นวิธีการให้ อยู่กับความเหมาะสม เช่น ระบบน้ำหยด และการให้น้ำระบบสปริงเกอร์

การกำจัดวัชพืช
ควร มีการกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรก โดยใช้คนเข้าไปถางหญ้าตามร่องของต้นแก่นตะวันและให้มีการพรวนดินพร้อมไปใน ตัวด้วย ไม่นิยมใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชกับต้นแก่นตะวัน เพราะแก่นตะวันเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นอาจจะได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ใช้ กำจัดวัชพืช บางประเภทได้ และสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชอาจจะมีผลตกค้างไปถึงสัตว์ที่บริโภคหัวแก่น ตะวัน
โรคที่พบในแก่นตะวัน



1. โรครากเน่าโคนเน่า
ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา จะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดิน อาการเริ่มแรกหัวของแก่นตะวันจะเป็นจุดและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่า ใบจะเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้งและตายในที่สุด
1.1  การป้องกัน
โดยการกำจัดวัชพืช บริเวณโคนต้นให้สะอาด และการปลูกควรปลูกให้มีระยะที่เหมาะสม เพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น อย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นเป็นเวลานานๆ

2. แมลงศัตรูของแก่น ตะวัน
2.1  เพลี้ยอ่อน
ทั้งตัวอ่อนและตัว เต็มวัยสามารถเข้าทำลายแก่นตะวัน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงยอดอ่อนและใบเมื่อเริ่มผลออกมาใหม่ ทำให้ใบหงิกงอไม่เจริญเติบโต จะพบระบาดมากเมื่อฝนทิ้งช่วงโดยมีมดเป็นพาหนะในการแพร่กระจาย
การเก็บเกี่ยว
การเก็บผลผลิตของ แก่นตะวันจะเริ่มเก็บได้เมื่อหัวมีอายุประมาณ 4 – 5  เดือน นับจากปลูก การเก็บเกี่ยวใช้วิธีการขุด




การปฏิบัติหลังการ เก็บเกี่ยว
หลังจากการขุดแล้วนำ มาทำความสะอาดโดยการล้างน้ำให้สะอาดและคัดขนาดของหัวใหญ่และเล็ก เสร็จแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง ก็นำหัวยาไปบรรจุถุง เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหัวพันธุ์ต่อไป ซึ่งวิธีการเก็บก็สามารถทำได้โดยการเก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 4 – 10  องศา
การปลูกใน ฤดูฝนต้องใช้ระยะปลูกห่าง ประมาณ 70 x 50 เซ็นติเมตร แต่ฤดูแล้งอาจ จะใช้ระยะปลูกแคบขึ้น เนื่องจากจะมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าฤดูฝน 50 x 30 เซนติเมตร
การปลูกจากหัวที่มีต้นอ่อน ดินต้องมีความชื้นดีมาก หลังปลูกดายหญ้ากำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ตามความจำเป็น


การใส่ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยพืชไร่ สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อมีอายุ 20-30 วันหลังปลูก ปัจจุบันยังไม่พบโรค และแมลงที่สำคัญของพืชนี้
พืชนี้จะ ออกดอกสีเหลืองอร่ามเต็มทุ่งจนอาจขนานนามว่า  “ทุ่งแก่นตะวันบาน” นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไม่แพ้ทุ่งทานตะวันเลยทีเดียวแต่การ ปลูกในฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม อาจไม่มีดอกถ้าปลูกในฤดูฝน พืชนี้จะเก็บเกี่ยวหัวเมื่ออายุประมาณ120-140 วันและสำหรับการปลูกใน ฤดูแล้งเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ100-110 วันโดยสังเกตพบว่า หัวขยายเต็มที่ ใช้วิธีขุด หรือถอนเก็บเกี่ยวหัว
เพื่อการนำไปใช้ ประโยชน์ต่อไปมีศักยภาพในการให้ผลผลิต สูงโดยพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด ให้ผลผลิต 2.5-2.8 ตันต่อไร่ ใช้เวลาปลูกเพียง 4 เดือนหากเปรียบเทียบ กับมันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตระดับเท่านี้ต้องให้เวลาการผลิต 10-12 เดือนแก่น ตะวันนับว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของไทย ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นพืชทางเลือกเป็นการค้าหรืออุตสาหกรรมในอนาคต

      ถึงแม้ว่าพืชแก่นตะวันไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย แต่ว่าเรานำเอาเข้ามาพัฒนาด้วยการศึกษาวิจัย ให้ผลผลิตแล้ว ก็มาพัฒนาเรื่องพันธุ์ของไทย เพื่อที่จะแนะนำเกษตรกรให้ปลูก สำหรับพืชนี้เป็นพืชที่อยู่ในเขตหนาวแต่ว่าเรานำเข้ามาแล้วทดสอบดูแล้วปรากฏ ว่ามีการปรับตัวได้ดีในเขตร้อน มีอายุสั้น ประมาณ 120 วัน ให้ผลผลิตสูงประมาณ 2 ถึง 3 ตัน ต่อไร่ เป็นพืชหัว เราสามารถนำเอาหัวมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารได้ทั้งคนและสัตว์  จัดว่าเป็นพืชสมุนไพร ทำอาหารได้หลากหลาย เช่น บริโภคสด  ทำเป็นอาหารคาว หวาน เพราะว่าในหัวมีสารสำคัญเรียกว่า อินโนริน เมื่อคนบริโภคเข้าไป จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้นโดยเฉพาะมีแบคทีเรียที่อยู่ในระบบลำ ไส้ที่มีประโยชน์ จะเจริญเติบโตดี เช่น แลคโตบาซิลัส ในขณะเดียวกันก็ทำให้แบคทีเรียตัวที่ก่อโรคมีการเจริญเติบโตต่ำ