ปลิงขาวเลี้ยงคู่ปูม้า กก.ละ3พัน
ปลิงขาว...สัตว์ทะเลเป็นที่ต้องการของนักเปิบชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน ทั้งยังนำมาเป็นยาแผนโบราณตามความเชื่อของชาวจีนได้อีก ที่ผ่านมาเลยถูกไล่ล่าจนเสี่ยงสูญพันธุ์สูงแต่วันนี้ปลิงขาวมีอนาคตที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ได้แล้ว ด้วยสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง สามารถเพาะพันธุ์เพื่อนำไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติได้แล้ว โดยการนำพ่อ-แม่พันธุ์จากทะเลลึกมาศึกษาวิจัยขยายพันธุ์
และเพื่อลดการล่าจับในแหล่งธรรมชาติ กรมประมงได้หาวิธีส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงได้เองด้วย โดย นายเชาว์ ศรีวิชัย หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง ได้นำข้อมูล “โครงการระบบการผลิตปูม้าเพื่อเป็นอาชีพที่ยั่งยืน” มาวิเคราะห์แล้วพบว่า สามารถเลี้ยงปลิงขาวให้อยู่ร่วมกับปูม้าได้ แบบต้นทุนไม่สูงขึ้น พร้อมกับนำมาให้ชาวบ้านเกาะสาหร่าย บ้านบากันใหญ่ อ.เมือง จ.สตูล เลี้ยงปลิงขาวในคอกปูม้า...เนื่องจากในอดีตบริเวณนี้ มีปลิงขาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถูกชาวบ้านจับขายจนแทบไม่เหลือ
โดยนำลูกปลิงขาวที่กรมประมงเพาะพันธุ์ได้ มาให้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปูม้าคอกทดลองเลี้ยง ปรากฏว่า เพียงแค่ให้ได้กินแค่เศษอาหารที่เหลือจากปูม้า ปลิงขาวมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วดี นอกจากจะไม่ต้องซื้ออาหารมาเลี้ยงปลิงขาวเป็นการเฉพาะแล้ว การให้กินเศษอาหารที่เหลือจากปูม้า ยังเป็นการช่วยกำจัดอาหารเน่าเสียไม่ให้ตกค้างไปในตัวอีกด้วย แต่การเลี้ยงต้องแบ่งคอกออกเป็น 2 ชั้น คอกชั้นบนส่วนที่อยู่ในน้ำลึก 1-2 เมตร ใช้เป็นส่วนที่เลี้ยงปูม้าในตะกร้า คอกชั้นล่างใช้เลี้ยงปลิงขาว ทำเป็นกระชังตาข่ายถี่ เพื่อป้องกันปลิงขาวหลุดรอดออกจากตาข่าย
การเลี้ยงจะให้เวลาประมาณ 8-9 เดือน จะได้ปลิงขาวขนาดลำตัว 10-12 นิ้ว หรือความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักตัวละ 8 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม จึงจะสามารถนำออกมาจำหน่ายได้และเมื่อปลิงขาวโตเต็มที่ จะต้องใช้ปลิงสด 8 กิโลกรัม เพื่อทำเป็นปลิงแห้งหนัก 1 กิโลกรัม ที่จะมีสนนราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3,000 บาท เลยทีเดียว แม้จะใช้เวลานานกว่าเลี้ยงปูม้า ที่ใช้เวลาแค่ 4 เดือนก็ขายได้แล้ว...แต่การเลี้ยงปลิงทะเลนับว่าเป็นอีกรายได้เสริมที่ดีไม่น้อย เพราะไม่ต้องลงทุนในเรื่องค่าอาหารเพิ่มแต่อย่างใดทั้งสิ้น บ้านอะลาง ไชยรัตน์ ส้มฉุน
การเพาะเลี้ยงปลิงขาวทะเล
ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ตำบลคลองวาฬ อำเภอ เมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการศึกษาวิจัยและเพาะขยายพันธุ์ปลิงทะเล เพื่อหาความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุน ชาวประมงชายฝั่งทำการเพาะเลี้ยง และในโอกาสที่กรมประมงได้จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร เส้นทางนวลจันทร์ทะเลขึ้น คณะสื่อมวลชนก็ได้มีโอกาสเยี่ยมชมงานการศึกษาวิจัยปลิงทะเลนอกเหนือจากการ ขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ด้วย
ปลิงทะเล เป็นสัตว์น้ำเค็มไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ตามก้นทะเล ฝังตัวขุดรูอยู่ในโคลน ทราย หรือตามกอสาหร่ายทะเล ปะการัง มีรูปร่างทรงกระบอก ยาวคล้ายถุง มีปากและช่องขับถ่ายอยู่ที่ปลายส่วนหัวและหาง รอบ ๆ ปากมีหนวด ผิวนุ่มมีลักษณะบางโปร่งแสง บริเวณผิวตัวจะมีสปิคุล ซึ่งเป็นแผ่นโครงร่าง ลักษณะของสปิคุลใช้ในการจำแนกชนิดของปลิงทะเล ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสปิคุลแตกต่างกันออกไป ปลิงทะเลกินอาหารประเภทแพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว สาหร่ายทะเล และไดอะ ตอม ใช้หนวดพุ่มไม้จับอาหารโดยอาศัยเมือกเหนียว ซึ่งฉาบอยู่ตามผิวหนวด คอยดักอาหารที่ผ่านมากับน้ำและอาหารประเภทอินทรีสารที่ตกอยู่ใต้ท้องน้ำซึ่ง มักจะปนไปกับโคลนและทรายที่มันฝังตัวอยู่
การประมงปลิงทะเลส่วนใหญ่เก็บในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และเขตน้ำตื้นชายฝั่ง เมื่อจำนวนปลิงทะเลลดน้อยลง จึงมีการดำน้ำลงไปเก็บที่ความลึกประมาณ 5-10 เมตร การแปรรูปปลิงทะเลโดยทั่วไปทำโดยผ่าหัวท้ายของปลิงเพื่อเอาอวัยวะภายในออก จากนั้นล้างทำความสะอาดและตากแห้ง ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีวิธีการแปรรูปตากแห้งแตกต่างกัน สำหรับน้ำหนักของผลผลิตหลังจากการแปรรูปจะแตกต่างกันไปตามชนิดของปลิง เช่น ปลิงทะเลสด จำนวน 100 กิโลกรัม จะได้ปลิงแห้งรมควัน 10 กิโลกรัม
ปลิงทะเลตากแห้งเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อในประเทศทางตะวันออก โดยเฉพาะทางหมู่เกาะทะเลใต้ ฟิลิปปินส์และญี่ปุ่นมีผู้นิยมรับประทานกันมากการ ทำปลิงทะเลตากแห้งที่นิยมกันมี 3 วิธี นำปลิงแช่น้ำทะเล ผ่าท้องทำความสะอาด นำไปต้ม 10-30 นาทีแล้วแต่ขนาดของปลิงแล้วนำไปตากแดดจนแห้ง ตากแห้ง และย่างไฟ วิธีนี้นิยมทำในฟิลิปปินส์ โดยต้มปลิงในหม้อ 20 นาที นำขึ้นจากหม้อปลิงจะแข็งและยืดหยุ่นได้ ใช้มีดผ่าท้อง นำอวัยวะภายในออก และนำไปตากจนเกือบแห้ง จึงนำเข้ารมควันอีก 24 ชั่วโมง จึงเก็บใส่ถุงการย่างไฟซึ่งนิยมใช้กันทางหมู่เกาะอินเดีย ตะวันออก
สำหรับประเทศไทยปลิงทะเลที่ต้มแล้วมีวางขายในตลาดสดของจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่นำไปประกอบอาหารประเภทซุป และยำ ที่จังหวัดกระบี่ ปลิงขาวมีราคากิโลกรัมละประมาณ 270 บาท ส่วนชนิดอื่นมีราคากิโลกรัมละประมาณ 90 บาท ส่วนน้ำในตัวปลิงทะเล ซึ่งมักนำไปเป็นส่วนผสมของยา จะขายในราคา 100 บาท ต่อ 1 แกลลอนขนาด 20 ลิตร ที่หมู่เกาะสุรินทร์ชาวเล จะนำปลิงตากแห้งมาขายที่ฝั่งจังหวัดระนองในราคา กิโลกรัมละ 200-400 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และชนิดของปลิงทะเล ส่วนที่จังหวัดพังงา ปลิงทะเลสด 3-35 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของปลิงทะเลหลังจากการแปรรูปแล้วจะขายต่อให้พ่อค้าคนกลางใน ราคา 130-300 บาทต่อกิโลกรัม
การศึกษาวิจัยเพื่อความเป็นไปได้ในการขยายพันธุ์ และเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบ คีรีขันธ์ กรมประมง ซึ่งพบว่ามีแนวทางสดใสในความเป็น ไปได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวประมงชายฝั่งสามารถนำ มาเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญจะ ทำให้การรบกวนโดยการลงไปจับปลิงทะเลในธรรมชาติจะได้ลดน้อยลงไป อันจะเป็นการช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติของทะเลไทยต่อไป บ้านอะลาง
ปลิงขาว...สัตว์ทะเลเป็นที่ต้องการของนักเปิบชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน ทั้งยังนำมาเป็นยาแผนโบราณตามความเชื่อของชาวจีนได้อีก ที่ผ่านมาเลยถูกไล่ล่าจนเสี่ยงสูญพันธุ์สูงแต่วันนี้ปลิงขาวมีอนาคตที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ได้แล้ว ด้วยสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง สามารถเพาะพันธุ์เพื่อนำไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติได้แล้ว โดยการนำพ่อ-แม่พันธุ์จากทะเลลึกมาศึกษาวิจัยขยายพันธุ์
และเพื่อลดการล่าจับในแหล่งธรรมชาติ กรมประมงได้หาวิธีส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงได้เองด้วย โดย นายเชาว์ ศรีวิชัย หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง ได้นำข้อมูล “โครงการระบบการผลิตปูม้าเพื่อเป็นอาชีพที่ยั่งยืน” มาวิเคราะห์แล้วพบว่า สามารถเลี้ยงปลิงขาวให้อยู่ร่วมกับปูม้าได้ แบบต้นทุนไม่สูงขึ้น พร้อมกับนำมาให้ชาวบ้านเกาะสาหร่าย บ้านบากันใหญ่ อ.เมือง จ.สตูล เลี้ยงปลิงขาวในคอกปูม้า...เนื่องจากในอดีตบริเวณนี้ มีปลิงขาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถูกชาวบ้านจับขายจนแทบไม่เหลือ
โดยนำลูกปลิงขาวที่กรมประมงเพาะพันธุ์ได้ มาให้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปูม้าคอกทดลองเลี้ยง ปรากฏว่า เพียงแค่ให้ได้กินแค่เศษอาหารที่เหลือจากปูม้า ปลิงขาวมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วดี นอกจากจะไม่ต้องซื้ออาหารมาเลี้ยงปลิงขาวเป็นการเฉพาะแล้ว การให้กินเศษอาหารที่เหลือจากปูม้า ยังเป็นการช่วยกำจัดอาหารเน่าเสียไม่ให้ตกค้างไปในตัวอีกด้วย แต่การเลี้ยงต้องแบ่งคอกออกเป็น 2 ชั้น คอกชั้นบนส่วนที่อยู่ในน้ำลึก 1-2 เมตร ใช้เป็นส่วนที่เลี้ยงปูม้าในตะกร้า คอกชั้นล่างใช้เลี้ยงปลิงขาว ทำเป็นกระชังตาข่ายถี่ เพื่อป้องกันปลิงขาวหลุดรอดออกจากตาข่าย
การเลี้ยงจะให้เวลาประมาณ 8-9 เดือน จะได้ปลิงขาวขนาดลำตัว 10-12 นิ้ว หรือความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักตัวละ 8 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม จึงจะสามารถนำออกมาจำหน่ายได้และเมื่อปลิงขาวโตเต็มที่ จะต้องใช้ปลิงสด 8 กิโลกรัม เพื่อทำเป็นปลิงแห้งหนัก 1 กิโลกรัม ที่จะมีสนนราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3,000 บาท เลยทีเดียว แม้จะใช้เวลานานกว่าเลี้ยงปูม้า ที่ใช้เวลาแค่ 4 เดือนก็ขายได้แล้ว...แต่การเลี้ยงปลิงทะเลนับว่าเป็นอีกรายได้เสริมที่ดีไม่น้อย เพราะไม่ต้องลงทุนในเรื่องค่าอาหารเพิ่มแต่อย่างใดทั้งสิ้น บ้านอะลาง ไชยรัตน์ ส้มฉุน
การเพาะเลี้ยงปลิงขาวทะเล
ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ตำบลคลองวาฬ อำเภอ เมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการศึกษาวิจัยและเพาะขยายพันธุ์ปลิงทะเล เพื่อหาความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุน ชาวประมงชายฝั่งทำการเพาะเลี้ยง และในโอกาสที่กรมประมงได้จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร เส้นทางนวลจันทร์ทะเลขึ้น คณะสื่อมวลชนก็ได้มีโอกาสเยี่ยมชมงานการศึกษาวิจัยปลิงทะเลนอกเหนือจากการ ขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ด้วย
ปลิงทะเล เป็นสัตว์น้ำเค็มไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ตามก้นทะเล ฝังตัวขุดรูอยู่ในโคลน ทราย หรือตามกอสาหร่ายทะเล ปะการัง มีรูปร่างทรงกระบอก ยาวคล้ายถุง มีปากและช่องขับถ่ายอยู่ที่ปลายส่วนหัวและหาง รอบ ๆ ปากมีหนวด ผิวนุ่มมีลักษณะบางโปร่งแสง บริเวณผิวตัวจะมีสปิคุล ซึ่งเป็นแผ่นโครงร่าง ลักษณะของสปิคุลใช้ในการจำแนกชนิดของปลิงทะเล ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสปิคุลแตกต่างกันออกไป ปลิงทะเลกินอาหารประเภทแพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว สาหร่ายทะเล และไดอะ ตอม ใช้หนวดพุ่มไม้จับอาหารโดยอาศัยเมือกเหนียว ซึ่งฉาบอยู่ตามผิวหนวด คอยดักอาหารที่ผ่านมากับน้ำและอาหารประเภทอินทรีสารที่ตกอยู่ใต้ท้องน้ำซึ่ง มักจะปนไปกับโคลนและทรายที่มันฝังตัวอยู่
การประมงปลิงทะเลส่วนใหญ่เก็บในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และเขตน้ำตื้นชายฝั่ง เมื่อจำนวนปลิงทะเลลดน้อยลง จึงมีการดำน้ำลงไปเก็บที่ความลึกประมาณ 5-10 เมตร การแปรรูปปลิงทะเลโดยทั่วไปทำโดยผ่าหัวท้ายของปลิงเพื่อเอาอวัยวะภายในออก จากนั้นล้างทำความสะอาดและตากแห้ง ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีวิธีการแปรรูปตากแห้งแตกต่างกัน สำหรับน้ำหนักของผลผลิตหลังจากการแปรรูปจะแตกต่างกันไปตามชนิดของปลิง เช่น ปลิงทะเลสด จำนวน 100 กิโลกรัม จะได้ปลิงแห้งรมควัน 10 กิโลกรัม
ปลิงทะเลตากแห้งเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อในประเทศทางตะวันออก โดยเฉพาะทางหมู่เกาะทะเลใต้ ฟิลิปปินส์และญี่ปุ่นมีผู้นิยมรับประทานกันมากการ ทำปลิงทะเลตากแห้งที่นิยมกันมี 3 วิธี นำปลิงแช่น้ำทะเล ผ่าท้องทำความสะอาด นำไปต้ม 10-30 นาทีแล้วแต่ขนาดของปลิงแล้วนำไปตากแดดจนแห้ง ตากแห้ง และย่างไฟ วิธีนี้นิยมทำในฟิลิปปินส์ โดยต้มปลิงในหม้อ 20 นาที นำขึ้นจากหม้อปลิงจะแข็งและยืดหยุ่นได้ ใช้มีดผ่าท้อง นำอวัยวะภายในออก และนำไปตากจนเกือบแห้ง จึงนำเข้ารมควันอีก 24 ชั่วโมง จึงเก็บใส่ถุงการย่างไฟซึ่งนิยมใช้กันทางหมู่เกาะอินเดีย ตะวันออก
สำหรับประเทศไทยปลิงทะเลที่ต้มแล้วมีวางขายในตลาดสดของจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่นำไปประกอบอาหารประเภทซุป และยำ ที่จังหวัดกระบี่ ปลิงขาวมีราคากิโลกรัมละประมาณ 270 บาท ส่วนชนิดอื่นมีราคากิโลกรัมละประมาณ 90 บาท ส่วนน้ำในตัวปลิงทะเล ซึ่งมักนำไปเป็นส่วนผสมของยา จะขายในราคา 100 บาท ต่อ 1 แกลลอนขนาด 20 ลิตร ที่หมู่เกาะสุรินทร์ชาวเล จะนำปลิงตากแห้งมาขายที่ฝั่งจังหวัดระนองในราคา กิโลกรัมละ 200-400 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และชนิดของปลิงทะเล ส่วนที่จังหวัดพังงา ปลิงทะเลสด 3-35 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของปลิงทะเลหลังจากการแปรรูปแล้วจะขายต่อให้พ่อค้าคนกลางใน ราคา 130-300 บาทต่อกิโลกรัม
การศึกษาวิจัยเพื่อความเป็นไปได้ในการขยายพันธุ์ และเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบ คีรีขันธ์ กรมประมง ซึ่งพบว่ามีแนวทางสดใสในความเป็น ไปได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวประมงชายฝั่งสามารถนำ มาเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญจะ ทำให้การรบกวนโดยการลงไปจับปลิงทะเลในธรรมชาติจะได้ลดน้อยลงไป อันจะเป็นการช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติของทะเลไทยต่อไป บ้านอะลาง