การปลูกกล้วยหอมทอง



ความเป็นมาการดำเนินธุรกิจกล้วยหอมทองกล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการสูง ด้วยคุณลักษณะของกล้วยหอมทองที่มีน้้าหนัก แต่ละลูกเรียงกันอยู่ในหวีอย่างสวยงาม สีผิวของกล้วยเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง

รสชาติดี มีกลิ่นหอม น่ารับประทานอีกทั้งผลผลิตมีความปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้างปนเปื้อน ทำให้กล้วยหอมทองของไทยได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่น  แนวโน้มความต้องการของตลาดยิ่งเพิ่มมากขึ้น


กล้วยหอมทองที่ปลูกในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปจะมีกล้าต้นสูงประมาณ ๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
มากกว่า ๒๐ ซม. กาบล้าต้นด้านนอกมีประดำ  ด้านในสีเขียวอ่อน มีลายเส้นสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง เส้นกลาง  ใบสีเขียว ส่วนของดอก ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนมีสีแดงอมม่วง กล้วยเครือหนึ่งมี ๔-๖  หวี หวีหนึ่งมี ๑๒-๑๖ ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวานน่ารับประทาน

การปลูกกล้วยหอมทอง (เตรียมดิน) เกษตรกรต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม น้้าไม่ท่วม ดินร่วนซุย  ระบายน้้าได้ดี หากดินตรงไหนเป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเท เพื่อป้องกันน้้าท่วมในฤดูฝน ถ้าจะให้ดินมีแร่ธาตุ มีอินทรียวัตถุสูง เพิ่มธาตุอาหารในดินควรปลูกปอเทือง  แล้วไถกลบ ถ้าเป็นดินเหนียวควรทำการยกร่อง และ  ปลูกบนสันร่องทั้ง ๒ ข้าง ขุดหลุมขนาดกว้าง ๕๐ ซม. ลึก ๕๐ ซม. น้าดินที่ขุดกองตากไว้ ๕-๗ วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชที่ตกค้างในดินหลังจากนั้นคลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบน แล้วจึงเอา

(การปลูก) หน่อ ที่เตรียมไว้วางกลางหลุม กลบดิน รดน้้า กดดินให้แน่น ระหว่างต้นระหว่างแถวแต่ละหลุมห่างกัน ๒ เมตร เพื่อสะดวกในการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตัดใบ หมุนเวียนอากาศได้ดี

เมื่อต้นกล้วยมีอายุ ๒๐-๓๐ วัน ทำการปาดหน่อเพื่อให้ต้นและแตกใบเสมอกัน ต้นกล้วยอายุได้ ๔-๖
เดือน จะเริ่มมีการแตกหน่อ หน่อที่เกิดมาเรียกว่า หน่อตาม ควรเอาหน่อออก เพื่อไม่ให้หน่อแย่งอาหารจากต้นแม่ เก็บหน่อไว้ประมาณ ๑-๒ หน่อเพื่อพยุงต้นแม่เมื่อมีลมแรงและเก็บเกี่ยวผลผลิตในปี

 (การให้นัำ) ในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ จะใช้วิธีสูบน้้าจากบ่อบาดาล หรือบ่อกักเก็บที่อยู่ใกล้สวน สูบน้้า
ขึ้นมารดต้นกล้วย การให้น้้าแค่พอชุ่มชื่น ในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ และขณะที่กล้วยตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้้าทุกวันเหมือนพืชชนิดอื่น  (การให้ปุ๋ย) กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารและน้้าที่ได้รับ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ตั้งแต่เริ่มปลูก การปลูกกล้วยหอมเพื่อส่งออกจะต้องเป็นการผลิตที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและไม่ฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด จะท้าให้กล้วยหอมที่ได้ปราศจากสารพิษปนเปื้อน

(แต่งหน่อกล้วย) การตัดแต่งใบกล้วย ขณะที่มีการแต่งหน่อควรทำการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วย จนกว่ากล้วยตกเครือ ติดใบกล้วยไว้กับต้น ๑๐-๑๒ ใบ ต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้น อย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมา เมื่อเหี่ยวจะทำให้รัดล้าต้น ทำให้ล้าต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร การปล่อยให้ใบกล้วยมีมากเกินไป จะทำให้ปกคลุมดิน คลุมโคนต้น ทำให้แดดส่องไม่ทั่วถึงพื้นที่ ทำให้ดินมีความชื่นมากเกินไป

 (การค้ำยันต้นกล้วย) กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องหักล้มง่าย เครือใหญ่หนัก และคออ่อน เมื่อขาดน้้าหรือลมพัดก็หักโค่นเสียหาย จึงต้องใช้ไม้ค้้ายันหรือดามกล้วยทุกต้นที่ออกปลีแล้ว และตรวจดูการค้้ายันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ประมาณ ๑๐ เดือน หลังจากปลูกกล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา เมื่อกล้วยแทงปลีจนสุดให้ตัดปลีทิ้ง หากไม่ตัดปลีกล้วยทิ้งจะทำให้ผลกล้วยเติบโตไม่เต็มที่

(การห่อถุง) การปลูกกล้วยหอมเพื่อส่งออก หลังจากตัดปลีแล้ว ควรทำการคลุมถุง ถุงที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกที่ฟ้าขนาดใหญ่ และยาวกว่าเครือกล้วย เปิดปากถุงให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี (เก็บเกี่ยว) ประมาณ ๙๐-๑๑๐ วัน กล้วยจะแก่พอดี ก็จะทำการเก็บเกี่ยว สามารถสังเกตได้จากกล้วยหวีสุดท้ายเริ่มกลม สีผลจางลงกว่าเดิม ถ้าปล่อยให้แก่คาต้นมากเกินไปจทำให้เปลือกกล้วยแตก ผลเสียหาย

ปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด รับซื้อผลผลิตจากสมาชิก จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อส่งออกของ  สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด จะผลิตตามที่ได้ตกลงกันในสัญญาซื้อขายกับสหกรณ์ผู้บริโภค ประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายจะปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด เข้มงวดในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมโครงการ พื้นที่การปลูกกล้วยหอม การคมนาคมสะดวกต่อการเก็บลผลิต ประการสำคัญสมาชิกต้องจำหน่ายให้สหกรณ์เท่านั้น


สมาชิกต้องได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการผลิตกล้วยหอมทองปลอดสารพิษโดยไม่ใช้การใช้สารเคมีใช้เฉพาะปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก วิธีการปลูก การดูแลรักษา ต้องพิถีพิถันมากกว่าการปลูกกล้วยหอมทองตามปกติ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการเกษตร

การวางแผนการผลิต สหกรณ์ผู้บริโภคประเทศญี่ปุ่นมีความต้องกล้วยหอมทองปีละประมาณ ๔๐๐ ตัน
สหกรณ์จึงต้องวางการผลิตปลูกในแต่ละเดือน ให้สอดคล้องกับต้องการ โดยกระจายการปลูกไปยังพื้นที่ของสมาชิกอย่างทั่วถึง ลดความเสี่ยงจากการผลิตของสมาชิก เพื่อให้สามารถส่งกล้วยหอมออกไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ตามความต้องการของลูกค้า

การเก็บเกี่ยวกล้วยหอมทอง จะเก็บเกี่ยวกล้วยหอมที่มีความแก่ประมาณ ๗๐% โดยสหกรณ์จะขนส่ง  จากสวนของสมาชิกจนถึงสหกรณ์  เมื่อถึงสหกรณ์จะแบ่งเครือกล้วยออกเป็นหวี คัดกล้วยที่ได้ตามขนาดและมีความสมบรูณ์ หลังจากนั้นจะตัดเกสร ล้างทำความสะอาดผลกล้วย ตัดครึ่งหวีกล้วย ตัดแต่งผลที่เสียหาย แช่น้้า ๕ นาทีล้างยางกล้วย เป่าลมตามช่องเพื่อกำจัดแมลงและทำให้กล้วยแห้ง

ชั่งน้ำหนักก่อนการบรรจุ  ติดสติกเกอร์หมายเลขทุกกล่องเพื่อให้รู้ว่ากล้วยหอมทองเป็นของสมาชิกราย
ใด น้้าหนักของกล้วยต้องให้ผลมีน้้าหนักไม่น้อยกว่า ๑๑๐ กรัม ประมาณ ๗ ผล การบรรจุกล้วย ต้องไม่เกิน ๒ ซม. จากขอบกล่อง กล่องละ ๑๓ - ๑๓.๖๐ กิโลกรัม ห่อด้วยพลาสติก ดูดอากาศออกมัดปากถุงให้แน่น จากนั้นขนย้ายเข้าห้องเย็นเก็บรักษาที่อุณหภูมิ ๑๓ องศาเซลเซียส  การเรียงกล่องแต่ชั้นต้องไม่เกิน ๑๐ กล่อง เพราะต้องมีช่องว่างระบายอากาศ ปิดม่านตลอด รอการขนส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นต่อไป

การผลิตกล้วยหอมทองจำหน่ายภายในประเทศ  นอกจากการส่งกล้วยหอมทองไปจำหน่ายต่างประเทศแล้ว สหกรณ์การเกษตรกรท่ายาง จำกัด   ยังจำหน่ายกล้วยหอมทองให้กับห้างเทสโก้โลตัส ท๊อป จัสโก้ เลมอน วิลล่า ฟูจิ กล้วยที่จำหน่ายภายในประเทศจะมีความแก่มากกว่ากล้วยที่ส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น

ขั้นตอนการผลิตเหมือนกับการส่งกล้วยหอมทองไปต่างประเทศ เมื่อขนส่งกล้วยถึงสหกรณ์จะทำการคัดแยกหวี ล้างกล้วยให้สะอาดเป่ากล้วยให้แห้งด้วยแรงลมที่มีแรงอัดสูง การตรวจสอบคุณภาพจะมีการเช็คโรคแมลงอย่างละเอียด เพื่อมิให้สิ่งแปลกปลอมที่หลงเหลือติดไปกับผลกล้วย ตัดแบ่งหวีกล้วย ชั่งน้้าหนัก บรรจุถุงพลาสติกถุงละประมา๕.๕ กิโลกรัม เมื่อบรรจุลงกล่องน้าไปบ่มด้วยแก็สเอทิลีน ๒๐ ชั่วโมง แล้วนำออกมาพักไว้ ก่อนเก็บรักษาในห้องเย็น รอการขนส่งลูกค้า


แหล่งที่มาของข้อมูลโดย : สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี