การปลูกบวบงู



ชื่อทั่วไป บวบงู
ชื่อพื้นบ้านอีสาน  ศรีสะเกษ  บักงูเงี่ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes anguina Linn.
วงศ์ Cecerbitaceae

ประเภท ไม้เถา
ลักษณะวิสัย บวบงูเป็นไม้เถาลำต้นเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก มีขนที่สั้นแต่นุ่มปกคลุม มือเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่กว้างรูปไต หรือรูป 5 เหลี่ยม กว้าง 12-18 ซม.ยาว 10-15 ซม. ดอกมีสีขาว ขอบใบมีรอยเว้ามน 3-7 รอย โคนใบเว้า มีขนทั้งสองด้าน ดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบรองดอกมีฐานเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5กลีบ ปลายกลีบแผ่กว้างกว่าโคนกลีบ มีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวรูปขอบขนาน ดอกเพศเมีย  เป็นดอกเดี่ยวกลีบดอกและกลีบรองดอกเหมือนกันกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปยาว ภายในมีเพียง 1ช่อง มีไข่อยู่จำนวนมาก ผล ทรงกระบอกยาว แหลมหัวแหลมท้ายยาวถึง 1เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. สีขาวอมเขียวอ่อนๆ  มีลายสีเขียวเป็นทางยาว ผลมักบิด และคดงอ มีลักษณะคลเายงู เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม เมล็ด รูปไข่แบน กว้างประมาณ 0.8 ซม. ยาวประมาณ 1.2 ซม.

ประโยชน์ของบวบงู 
ผลอ่อน กินได้ เป็นยาบำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ระบาย ขับพยาธิ ทำให้อาเจียน ลแะแก้ท่อน้ำดีอุดตัน เมล็ด เนื้อเมล็ดกินเป็นยยาเย็น ลดไข้และแก้ร้อนใน

คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา
คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ของบวบงู 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 16 กิโลแคลอรี น้ำ 96 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.8 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 24 มิลลิกรัม ผลบวบงูใช้บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ขับพยาธิ แก้อาการท่อน้ำดีอุดตัน


วิธีการปลูกบวบงู
การเตรียมต้นกล้า
1. นำปุ๋ยดินหมักชีวภาพ ดิน และแกลบดำ อย่างละเท่า ๆกัน
    ผสมกันแล้วกรอกลงถุงเพาะ
2.หยอดเมล็ดบวบลงถุงเพาะ รดน้ำ จนบวบโตมีใบแท้ 2 ใบ
   จึงนำต้นกล้าไปปลูกได้

 การเตรียมค้าง,ร้านและเตรียมหลุม
1. ค้างที่จะทำคือ การสานไม้ไผ่ขัดแตะ ยกร้านสูงจากพื้น
    ประมาณ 1.80 เมตร
2. ปักหลักตรงหลุมปลูก เพื่อเป็นค้างผูกเถาบวบขึ้นสู่ร้าน
    ผูกปลายค้างติดร้านให้แน่น ไม่โยก
3. หลุมปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพ อย่างน้อย
    1 บุ้งกี๋ต่อหลุม คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง ปลูกหลุมละ 1 ต้น
4. หลุมควรห่างกันประมาณ 1.50 x 1.50  เมตร


           การดูแลบวบงู                

1. ขณะต้นกล้าที่ย้ายมา ยังเล็กอยู่ จะมีเต่าทองมา
   คอยทำลาย เจาะใบ ควรป้องกันโดยการล้อม
   กรอบต้นกล้าด้วยหนังสือพิมพ์ ปักหลัก 4 หลัก
2. ควรใช้ต้นกล้วยมาผูกเถาของบวบ
    ติดค้างจนถึงร้านบวบ
3. คอยปลิดแขนงออก ให้มียอดเถาเดียว ขึ้นร้าน
    แต่เมื่อขึ้นบนร้านให้มีหลายแนงยิ่งดี จะมีผลดก
4. ควรเติมปุ๋ยหมักชีวภาพทุก ๆ 15 วัน รดน้ำให้ชุ่ม
5. ฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา ทุกสัปดาห์
6. ควรตัดผลบวบขณะอายุพอดี
7. ขณะผลบวบหอมยังเล็ก มักถูกแมลงวันทองทำลาย ป้องกันโดยใช้หนังสือพิมพ์ห่อหุ้ม



ประชาชนที่ไปเที่ยวงาน “เกษตรปราจีนบุรี” ระหว่างวันที่ 7-16 มิ.ย. 56 บริเวณลานหน้า    ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี (หลังเก่า) แห่ไปดูที่แผงผลไม้ของสวนปัญจะ เพราะรู้สึกทึ่ง! ไม่เคยเห็นบวบชนิดหนึ่ง มีลักษณะเรียวยาวเหมือนงู ยาวกว่า 2 เมตร น้ำหนักเกือบครึ่งกิโลกรัม

สอบถามถึงที่มาที่ไป จึงทราบว่าบวบชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า “บวบงู” ปลูกอยู่ในสวนปัญจะ หมู่ที่ 13 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เจ้าของสวนมีดีกรีเป็นอดีตรอง ผวจ.ปราจีนบุรี คือ นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล หลังจากเกษียณในตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ก็ผันตัวเองมาเป็นชาวสวน ปลูกผลไม้ ปลูกบวบ ปลูกน้ำเต้า พอเลี้ยงชีพไปวัน ๆ (ฮา)

นายเดชฤทธิ์บอกว่าไปเอาพันธุ์บวบงูมาจากเมืองจีน มาทดลองปลูกที่ปราจีนบุรี      ใช้เวลาตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงออกดอก-ผล ประมาณ 45 วัน ต้องทำค้างสูง ๆ ให้ต้นบวบเลื้อยไปตามค้าง ส่วนผลบวบงูมีความยาวกว่า 2 เมตร ห้อยลงมาเกือบติดดิน สำหรับบวบงูจะต่างจากบวบทั่วไป คือ กิน  ได้เลยโดยไม่ต้องขูดผิว หรือปอกเปลือก ถ้ากินสด ๆ จะกรอบเหมือนแตงกวา หรือจะนำไปผัด แกงเลียง แกงอ่อมก็ได้

เมื่อถามถึงราคาขายบวบงู อดีต รอง ผวจ.ปราจีนบุรี บอกว่าปลูกบวบชนิดนี้มาแล้ว 4 รุ่น ไม่รู้จะขายเป็นฝัก หรือเป็นกิโลกรัม สุดท้ายจึง “แจก” พรรคพวกเพื่อนฝูงเป็นหลัก.

ที่มา : เดลินิว